หอการค้าไทยเผยเอสเอ็มอี 60% ยังไม่ปรับตัวรับเออีซี โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องหนัง-ผลิตภัณฑ์ไม้-ข้าว-เซรามิก และผลิตภัณฑ์ยางพารา พร้อมหนุนเลื่อนเปิดเออีซีไปอีก 1 ปี
นายอัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจผู้ส่งออกเอสเอ็มอีไทยปรับตัวอย่างไรภายใต้เออีซีว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 60.7% ของจำนวนเอสเอ็มอีไทยทั้งหมด 2.9 ล้านราย ยังไม่ได้ปรับตัวเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 โดยธุรกิจที่ยังไม่มีการปรับตัวเลยคือกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องหนัง อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้ ข้าว เซรามิก และผลิตภัณฑ์จากยางพารา
สาเหตุผู้ผลิตและผู้ส่งออกเอสเอ็มอีไทยยังไม่ได้ดำเนินการปรับตัว เนื่องจากส่วนใหญ่ 42.4% รอแนวทางช่วยเหลือที่ชัดเจนจากภาครัฐ รองลงมาเกือบ 30% พบว่ายังไม่ทราบข้อมูลหรือต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเออีซีที่ชัดเจน ส่วน 18.5% ขาดเงินทุนในการปรับตัว และอีก 9.3% คิดว่าตัวเองเป็นธุรกิจขนาดเล็กไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ดังนั้นจึงต้องการให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนเอสเอ็มอีเพื่อเออีซีขึ้นมาช่วยเหลือโดยตรง
สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ดำเนินการปรับตัวเพื่อรับการเปิดเออีซีเรียบร้อยแล้วมีเพียง 7.3% เท่านั้น โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธุรกิจสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย กระดาษและสิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก แก้วและอัญมณี ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
“ผลสำรวจที่ออกมาถือว่าไม่เป็นผลดีนัก และมีผู้ประกอบการที่ปรับตัวได้จำนวนน้อยเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่เหลืออีกแค่ 2 ปี 4 เดือนที่จะมีการเปิดเสรีเออีซี เพราะที่จริงตัวเลขที่ออกมาเวลานี้ผู้ประกอบการควรจะต้องปรับตัวพร้อมรับเออีซีแล้วให้ได้อย่างน้อย 50% ซึ่งหากเอสเอ็มอีไทยปรับตัวไม่ทันก็จะทำให้ภาพรวมการค้าของประเทศชะลอตัว รวมถึงกระทบต่อส่วนแบ่งการตลาดในอาเซียนให้หายไป ที่สำคัญจะทำให้สินค้าจากประเทศที่มีกองทุนรัฐบาลสนับสนุนไหลเข้ามาตลาดไทยมากขึ้นด้วย”
อย่างไรก็ตาม หากมีการเลื่อนการรวมตัวของเออีซีออกไปอีก 1 ปีจากปี 2558 จริง จะถือเป็นผลดีต่อทุกประเทศ เพราะจะทำให้แต่ละประเทศมีเวลาในการปรับตัวมากขึ้น โดยสิ่งที่เอสเอ็มอีไทยต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือมากที่สุดคือ การมีมาตรการส่งเสริมและช่วยเหลือที่ชัดเจน รวมทั้งหาช่องทางการตลาดให้ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเออีซี ดูแลราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบ ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และลดอัตราค่าจ้างแรงงานให้
นายอัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจผู้ส่งออกเอสเอ็มอีไทยปรับตัวอย่างไรภายใต้เออีซีว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 60.7% ของจำนวนเอสเอ็มอีไทยทั้งหมด 2.9 ล้านราย ยังไม่ได้ปรับตัวเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 โดยธุรกิจที่ยังไม่มีการปรับตัวเลยคือกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องหนัง อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้ ข้าว เซรามิก และผลิตภัณฑ์จากยางพารา
สาเหตุผู้ผลิตและผู้ส่งออกเอสเอ็มอีไทยยังไม่ได้ดำเนินการปรับตัว เนื่องจากส่วนใหญ่ 42.4% รอแนวทางช่วยเหลือที่ชัดเจนจากภาครัฐ รองลงมาเกือบ 30% พบว่ายังไม่ทราบข้อมูลหรือต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเออีซีที่ชัดเจน ส่วน 18.5% ขาดเงินทุนในการปรับตัว และอีก 9.3% คิดว่าตัวเองเป็นธุรกิจขนาดเล็กไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ดังนั้นจึงต้องการให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนเอสเอ็มอีเพื่อเออีซีขึ้นมาช่วยเหลือโดยตรง
สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ดำเนินการปรับตัวเพื่อรับการเปิดเออีซีเรียบร้อยแล้วมีเพียง 7.3% เท่านั้น โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธุรกิจสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย กระดาษและสิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก แก้วและอัญมณี ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
“ผลสำรวจที่ออกมาถือว่าไม่เป็นผลดีนัก และมีผู้ประกอบการที่ปรับตัวได้จำนวนน้อยเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่เหลืออีกแค่ 2 ปี 4 เดือนที่จะมีการเปิดเสรีเออีซี เพราะที่จริงตัวเลขที่ออกมาเวลานี้ผู้ประกอบการควรจะต้องปรับตัวพร้อมรับเออีซีแล้วให้ได้อย่างน้อย 50% ซึ่งหากเอสเอ็มอีไทยปรับตัวไม่ทันก็จะทำให้ภาพรวมการค้าของประเทศชะลอตัว รวมถึงกระทบต่อส่วนแบ่งการตลาดในอาเซียนให้หายไป ที่สำคัญจะทำให้สินค้าจากประเทศที่มีกองทุนรัฐบาลสนับสนุนไหลเข้ามาตลาดไทยมากขึ้นด้วย”
อย่างไรก็ตาม หากมีการเลื่อนการรวมตัวของเออีซีออกไปอีก 1 ปีจากปี 2558 จริง จะถือเป็นผลดีต่อทุกประเทศ เพราะจะทำให้แต่ละประเทศมีเวลาในการปรับตัวมากขึ้น โดยสิ่งที่เอสเอ็มอีไทยต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือมากที่สุดคือ การมีมาตรการส่งเสริมและช่วยเหลือที่ชัดเจน รวมทั้งหาช่องทางการตลาดให้ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเออีซี ดูแลราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบ ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และลดอัตราค่าจ้างแรงงานให้