กลุ่มคลัสเตอร์เครื่องหนังมองโอกาสตัวเงิน ตัวทอง จะเป็นสัตว์เศรษฐกิจของไทยตัวต่อไปหลังวิจัยพบโอกาสสูงนำหนังแปรรูปทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหตุมีความสวยงามและราคาถูก หวังจะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ได้ในอีก 2 ปีข้างหน้าโดยต้องแก้ระเบียบหลังถูกกำหนดให้เป็นสัตว์สงวน
นายสมเกียรติ พรรณาราย ประธานกลุ่มคลัสเตอร์เครื่องหนัง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ประมาณ 25 ราย เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่มได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทดลองเลี้ยงตัวเงิน ตัวทอง ให้เป็นสัตว์ทางการค้าเชิงพาณิชย์เพื่อวิจัยนำหนังมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องหนังต่างๆซึ่งเบื้องต้นพบว่ามีศักยภาพสูงและมีลายหนังที่สวยงามโดยคาดหวังว่าจะพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า
“ขณะนี้กรมป่าไม้กำหนดให้ตัวเงิน ตัวทอง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์สงวนการฆ่า นำหนังมาแปรรูปผิดกฏหมายดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ที่จะต้องเลี้ยงขยายพันธุ์ได้ง่ายๆ ด้วยการให้อาหารเม็ดโดยมีความเป็นไปได้สูงมากที่สัตว์ดังกล่าวจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวต่อไปของไทยเพราะมีจำนวนมากกว่าควายหลายเท่าตัวและเลี้ยงง่าย”นายสมเกียรติกล่าว
อย่างไรก็ตามตลาดต่างประเทศจะนิยมลายหนังที่สวยงามและแปลกตาซึ่งพบว่าตัวเงินตัวทองมีลายที่สวยไม่แพ้หนังจระเข้แต่คาดว่าต้นทุนการผลิตจะถูกกว่ามากเมื่อพัฒนาเชิงการตลาดอาจกำหนดใช้ภาษาที่สวยงามแทนที่จะเป็นหนังจากตัวเงินตัวทองที่ตลาดไทยจะไม่ต้อนรับ
ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องหนังไทยประสบปัญหาขาดแคลนหนังดิบต้องนำเข้าจากต่างประเทศจำนวนมากโดยเฉพาะหนังโคที่ขณะนี้ได้พยายามส่งเสริมการเลี้ยงโคให้มากขึ้น
นายสมเกียรติกล่าวว่า การรวมกลุ่มคลัสเตอร์นับเป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างมากเพราะทำให้เกิดการเชื่อมโยงการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบทำให้กระบวนการผลิตราคาต่ำซึ่งเชื่อมั่นว่ากลุ่มเครื่องหนังจะสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) เนื่องจากไทยได้เปรียบที่มีอุตสาหกรรมต้นน้ำคือ โรงงานฟอกหนังที่เข้มแข็ง และยังมีฝีมือในการผลิตที่สวยงามและมีคุณภาพสูง
นายสมเกียรติ พรรณาราย ประธานกลุ่มคลัสเตอร์เครื่องหนัง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ประมาณ 25 ราย เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่มได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทดลองเลี้ยงตัวเงิน ตัวทอง ให้เป็นสัตว์ทางการค้าเชิงพาณิชย์เพื่อวิจัยนำหนังมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องหนังต่างๆซึ่งเบื้องต้นพบว่ามีศักยภาพสูงและมีลายหนังที่สวยงามโดยคาดหวังว่าจะพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า
“ขณะนี้กรมป่าไม้กำหนดให้ตัวเงิน ตัวทอง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์สงวนการฆ่า นำหนังมาแปรรูปผิดกฏหมายดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ที่จะต้องเลี้ยงขยายพันธุ์ได้ง่ายๆ ด้วยการให้อาหารเม็ดโดยมีความเป็นไปได้สูงมากที่สัตว์ดังกล่าวจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวต่อไปของไทยเพราะมีจำนวนมากกว่าควายหลายเท่าตัวและเลี้ยงง่าย”นายสมเกียรติกล่าว
อย่างไรก็ตามตลาดต่างประเทศจะนิยมลายหนังที่สวยงามและแปลกตาซึ่งพบว่าตัวเงินตัวทองมีลายที่สวยไม่แพ้หนังจระเข้แต่คาดว่าต้นทุนการผลิตจะถูกกว่ามากเมื่อพัฒนาเชิงการตลาดอาจกำหนดใช้ภาษาที่สวยงามแทนที่จะเป็นหนังจากตัวเงินตัวทองที่ตลาดไทยจะไม่ต้อนรับ
ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องหนังไทยประสบปัญหาขาดแคลนหนังดิบต้องนำเข้าจากต่างประเทศจำนวนมากโดยเฉพาะหนังโคที่ขณะนี้ได้พยายามส่งเสริมการเลี้ยงโคให้มากขึ้น
นายสมเกียรติกล่าวว่า การรวมกลุ่มคลัสเตอร์นับเป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างมากเพราะทำให้เกิดการเชื่อมโยงการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบทำให้กระบวนการผลิตราคาต่ำซึ่งเชื่อมั่นว่ากลุ่มเครื่องหนังจะสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) เนื่องจากไทยได้เปรียบที่มีอุตสาหกรรมต้นน้ำคือ โรงงานฟอกหนังที่เข้มแข็ง และยังมีฝีมือในการผลิตที่สวยงามและมีคุณภาพสูง