วันนี้ขออณุญาตตามกระแส “อินเทรนด์” ไปกับละครแนวพีเรียดสุดฮิต “วนิดา” ที่เรียกเรทติ้งคนดูถล่มทะลายอยู่บนจอโทรทัศน์บ้านเราเวลานี้ เลียนแบบ รมว.คลัง กรณ์ จาติกวณิช สักหน่อยนะครับ
คุณกรณ์ หยิบละครเรื่องนี้มา เพื่อนำเสนอแง่มุมที่เชื่อมโยงกับ ร่าง พรบ.การติดตามทวงหนี้ที่เป็นธรรม ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและเตรียมเสนอเข้าสู่สภาฯในเร็วๆนี้ แต่ผมกลับมองว่า พล็อตของละครเรื่องนี้น่าจะทำให้เห็นถึง ความเสี่ยงในการใช้บุคคลเป็นคนค้ำประกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวคนไทยหลายๆคนอยู่ไม่น้อย
ในละครพ.ต.ประจักษ์ สุดหล่อที่บรรดาสาวๆกรี๊ดสลบ ต้องถูกมัดมือชกจาก นายทุนท้องถิ่น นายดาว(พ่อของวนิดา) ซึ่งเป็นเจ้าหนี้น้องชายของพ.ต.ประจักษ์ ให้แต่งงานกับลูกสาวคือวนิดา เพราะนายดาวเหมาเอาว่าพ.ต.ประจักษ์ อยู่ในฐานะเป็น“นายประกัน”ของน้องชายต้องรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้น และอาศัยเป็นข้ออ้างบังคับให้แต่งงานกับลูกสาวตัวเองเพื่อขัดดอก จนกว่าจะชำหระหนี้เรียบร้อยแล้ว จนทำให้พิศมัย (แฟนของ พ.ต.ประจักษ์) ต้องช้ำรักเพราะถูกแย่งแฟนไปหน้าตาเฉย จนต้องประกาศสงครามชิงรักหักสวาทตบตีกันเป็นการใหญ่
ถึงแม้จะเป็นเพียงละคร แต่ในชีวิตจริง ผลพวงจากการปลูกฝังความคิดและทัศนคติอันตรายที่ทำให้คนในสังคมเชื่อว่า“การเป็นหนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผิด” ซึ่งเกิดจากลัทธิบริโภคนิยมแบบสุดโต่ง ทำให้หลายๆคนที่อาจจะไม่ได้มีฐานะทางการเงินดีพอ แต่เสพค่านิยมผิดๆ ยอมเป็นหนี้เพียงเพื่อตอบสนอง ความต้องการที่อยากจะ“ดูดี” จนฉุดตัวเองและญาติมิตรตกลงในกับดักแห่งหนี้สินไปด้วย
สำหรับหลายๆคนที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง คงมีบ่อยครั้งที่เรามักจะถูกขอร้องจากญาติมิตรหรือลูกน้องให้ช่วยเซ็นค้ำประกัน ในการซื้อรถ ซื้อบ้าน หรือ การกู้เงินเพื่อไปทำธุรกิจ
ตัวอย่างที่เห็นชัดๆจากเรื่องนี้ดูได้จาก สถิติของข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจในกรุงเทพฯ ที่ถูกศาลฎีกาตัดสินให้ต้องกลายเป็นบุคคลล้มละลายเกือบพันราย เพราะไม่สามารถรับผิดชอบมูลหนี้ที่เกิดขึ้นจากการใช้ตำแหน่งไปเซ็นค้ำประกันให้คนอื่น เมื่อเจ้าหนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถาบันการเงินไม่สามารถทวงหนี้ได้จากผู้กู้ก็จะมาไล่เบี้ยเอาจากคนค้ำประกันแทน
การค้ำประกัน คือ สัญญาซึ่งบุคคลที่เรียกว่า “ผู้ค้ำประกัน” ได้ลงนามในสัญญาว่าจะยอมชำระหนี้ถ้าหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ โดยหากไม่มีการจำกัดความรับผิด ก็หมายความว่าจะต้องรับผิดชดใช้หนี้เท่ากันกับลูกหนี้ ทั้งเงินต้น ดอกเบี้ย ค่าเสียหายจากการผิดนัดชำระหนี้ ค่าภาระติดพัน ไปจนถึงค่าธรรมเนียมในการฟ้องร้องบังคับคดี
เห็นอย่างนี้แล้ว คงหายแปลกใจใช่ไหมครับว่า ทำไมหลายๆคนถึงถูกโชคชะตาเล่นตลก ต้องประสบชะตากรรมถึงขั้นกลายเป็นคนล้มละลายทั้งที่ไม่ได้เป็นคนก่อหนี้สินสักบาท
สำหรับใครที่กำลังตกที่นั่งลำบากแบบนี้ เมื่อถูกทวงถามให้ชำระหนี้แทน เรายังมีสิทธิ์ที่จะเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ก่อนได้ หรือ หาทางเจรจาให้เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้กับลูกหนี้ เพราะถ้ามีการกำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว แต่เจ้าหนี้ยอมยืดเวลาชำระหนี้ออกไป ผู้ค้ำประกันก็พ้นความผิด
แต่หากไม่ได้ผลและต้องตกเป็นจำเลยร่วมกับลูกหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่หนีหายไปเสียก่อน ก็ยังมีสิทธิพิสูจน์ต่อศาลว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินเพียงพอจะชำระหนี้ทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งศาลก็ต้องบังคับ เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน
สิ่งที่ต้องระวังก็คือ บางครั้งในสัญญาอาจจะมีการระบุให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดกับลูกหนี้ ซึ่งเท่ากับต้องรับผิดหนักขึ้นเท่าๆกับลูกหนี้
หากพิจารณาตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 คุณจำเป็นต้องรับผิดใช้หนี้ตามสัญญาค้ำประกัน แต่จะต้องชำระหนี้มากน้อยแค่ไหนก็อาจจะต้องลองไปเจรจากับเจ้าหนี้ดู และหากคุณในฐานะคนค้ำประกันได้ชำระหนี้ไปเสร็จสิ้นแล้ว ก็มีสิทธิ์ที่จะรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยเอาเงินจากลูกหนี้คืนพร้อมดอกเบี้ยได้ตามมาตรา 693 แต่จะตามหนี้มาได้หรือเปล่าเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เพราะอย่างนี้ คำแนะนำที่ดีที่สุด สำหรับคนที่กำลังเดินอยู่บนเส้นทางการเปลี่ยนแปลงเพื่อพลิกชีวิต จนเริ่มมีเงินมีทองมากขึ้นแล้วก็คือ ปฏิเสธคำขอร้องของใครก็ตามในเรื่องของการค้ำประกันอย่างเด็ดขาด
แต่หากมีเหตุการณ์จำเป็นจริงๆ คำแนะนำก่อนเผลอใจไปเซ็นชื่อในสัญญาค้ำประกันใดๆก็ต้องมั่นใจ“เอ็กซเรย์”ตัวลูกหนี้ให้ดีว่าเขามีศักยภาพพอที่จะชำระหนี้ก้อนนั้นๆได้หรือไม่และมีความซื่อสัตย์เพียงใด ที่สำคัญต้องพิจารณาข้อความในสัญญาอย่างละเอียด พยายามจำกัดความรับผิดชอบให้น้อยที่สุด
ทั้งหมดไม่ได้เพียงแค่ “เขียนเสือให้วัวกลัว”นะครับ เพราะไม่อย่างนั้นคงไมมีคำกล่าวของคนสมัยก่อนที่เตือนไว้ว่า “อยากเป็นเศรษฐีให้เป็นนายหน้า อยากเป็นขี้ข้าให้เป็นนายประกัน”เพราะโอกาสที่เราจะประสบเภทภัยทางการเงินอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หลังจากที่ใจอ่อนจรดปากกาไปเซ็นค้ำประกันให้ใคร และสุดท้ายอาจจะต้องมานั่งช้ำใจเพราะเข้าตำรา “เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง แต่เอากระดูกมาแขวนคอ” ก็เป็นได้
แต่เชื่อไหมล่ะครับ ในกรณีของ พ.ต.ประจักษ์ ในละครเรื่องวนิดานั้น ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นจริงเลย เพราะ พ.ต.ประจักษ์ ไม่ได้ไปเซ็นค้ำประกันหนี้ของน้องชายในตอนแรกสักหน่อย จะมาบังคับให้แต่งงานกับวนิดาได้อย่างไรกัน สงสัยจริงๆ
คุณกรณ์ หยิบละครเรื่องนี้มา เพื่อนำเสนอแง่มุมที่เชื่อมโยงกับ ร่าง พรบ.การติดตามทวงหนี้ที่เป็นธรรม ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและเตรียมเสนอเข้าสู่สภาฯในเร็วๆนี้ แต่ผมกลับมองว่า พล็อตของละครเรื่องนี้น่าจะทำให้เห็นถึง ความเสี่ยงในการใช้บุคคลเป็นคนค้ำประกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวคนไทยหลายๆคนอยู่ไม่น้อย
ในละครพ.ต.ประจักษ์ สุดหล่อที่บรรดาสาวๆกรี๊ดสลบ ต้องถูกมัดมือชกจาก นายทุนท้องถิ่น นายดาว(พ่อของวนิดา) ซึ่งเป็นเจ้าหนี้น้องชายของพ.ต.ประจักษ์ ให้แต่งงานกับลูกสาวคือวนิดา เพราะนายดาวเหมาเอาว่าพ.ต.ประจักษ์ อยู่ในฐานะเป็น“นายประกัน”ของน้องชายต้องรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้น และอาศัยเป็นข้ออ้างบังคับให้แต่งงานกับลูกสาวตัวเองเพื่อขัดดอก จนกว่าจะชำหระหนี้เรียบร้อยแล้ว จนทำให้พิศมัย (แฟนของ พ.ต.ประจักษ์) ต้องช้ำรักเพราะถูกแย่งแฟนไปหน้าตาเฉย จนต้องประกาศสงครามชิงรักหักสวาทตบตีกันเป็นการใหญ่
ถึงแม้จะเป็นเพียงละคร แต่ในชีวิตจริง ผลพวงจากการปลูกฝังความคิดและทัศนคติอันตรายที่ทำให้คนในสังคมเชื่อว่า“การเป็นหนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผิด” ซึ่งเกิดจากลัทธิบริโภคนิยมแบบสุดโต่ง ทำให้หลายๆคนที่อาจจะไม่ได้มีฐานะทางการเงินดีพอ แต่เสพค่านิยมผิดๆ ยอมเป็นหนี้เพียงเพื่อตอบสนอง ความต้องการที่อยากจะ“ดูดี” จนฉุดตัวเองและญาติมิตรตกลงในกับดักแห่งหนี้สินไปด้วย
สำหรับหลายๆคนที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง คงมีบ่อยครั้งที่เรามักจะถูกขอร้องจากญาติมิตรหรือลูกน้องให้ช่วยเซ็นค้ำประกัน ในการซื้อรถ ซื้อบ้าน หรือ การกู้เงินเพื่อไปทำธุรกิจ
ตัวอย่างที่เห็นชัดๆจากเรื่องนี้ดูได้จาก สถิติของข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจในกรุงเทพฯ ที่ถูกศาลฎีกาตัดสินให้ต้องกลายเป็นบุคคลล้มละลายเกือบพันราย เพราะไม่สามารถรับผิดชอบมูลหนี้ที่เกิดขึ้นจากการใช้ตำแหน่งไปเซ็นค้ำประกันให้คนอื่น เมื่อเจ้าหนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถาบันการเงินไม่สามารถทวงหนี้ได้จากผู้กู้ก็จะมาไล่เบี้ยเอาจากคนค้ำประกันแทน
การค้ำประกัน คือ สัญญาซึ่งบุคคลที่เรียกว่า “ผู้ค้ำประกัน” ได้ลงนามในสัญญาว่าจะยอมชำระหนี้ถ้าหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ โดยหากไม่มีการจำกัดความรับผิด ก็หมายความว่าจะต้องรับผิดชดใช้หนี้เท่ากันกับลูกหนี้ ทั้งเงินต้น ดอกเบี้ย ค่าเสียหายจากการผิดนัดชำระหนี้ ค่าภาระติดพัน ไปจนถึงค่าธรรมเนียมในการฟ้องร้องบังคับคดี
เห็นอย่างนี้แล้ว คงหายแปลกใจใช่ไหมครับว่า ทำไมหลายๆคนถึงถูกโชคชะตาเล่นตลก ต้องประสบชะตากรรมถึงขั้นกลายเป็นคนล้มละลายทั้งที่ไม่ได้เป็นคนก่อหนี้สินสักบาท
สำหรับใครที่กำลังตกที่นั่งลำบากแบบนี้ เมื่อถูกทวงถามให้ชำระหนี้แทน เรายังมีสิทธิ์ที่จะเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ก่อนได้ หรือ หาทางเจรจาให้เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้กับลูกหนี้ เพราะถ้ามีการกำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว แต่เจ้าหนี้ยอมยืดเวลาชำระหนี้ออกไป ผู้ค้ำประกันก็พ้นความผิด
แต่หากไม่ได้ผลและต้องตกเป็นจำเลยร่วมกับลูกหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่หนีหายไปเสียก่อน ก็ยังมีสิทธิพิสูจน์ต่อศาลว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินเพียงพอจะชำระหนี้ทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งศาลก็ต้องบังคับ เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน
สิ่งที่ต้องระวังก็คือ บางครั้งในสัญญาอาจจะมีการระบุให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดกับลูกหนี้ ซึ่งเท่ากับต้องรับผิดหนักขึ้นเท่าๆกับลูกหนี้
หากพิจารณาตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 คุณจำเป็นต้องรับผิดใช้หนี้ตามสัญญาค้ำประกัน แต่จะต้องชำระหนี้มากน้อยแค่ไหนก็อาจจะต้องลองไปเจรจากับเจ้าหนี้ดู และหากคุณในฐานะคนค้ำประกันได้ชำระหนี้ไปเสร็จสิ้นแล้ว ก็มีสิทธิ์ที่จะรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยเอาเงินจากลูกหนี้คืนพร้อมดอกเบี้ยได้ตามมาตรา 693 แต่จะตามหนี้มาได้หรือเปล่าเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เพราะอย่างนี้ คำแนะนำที่ดีที่สุด สำหรับคนที่กำลังเดินอยู่บนเส้นทางการเปลี่ยนแปลงเพื่อพลิกชีวิต จนเริ่มมีเงินมีทองมากขึ้นแล้วก็คือ ปฏิเสธคำขอร้องของใครก็ตามในเรื่องของการค้ำประกันอย่างเด็ดขาด
แต่หากมีเหตุการณ์จำเป็นจริงๆ คำแนะนำก่อนเผลอใจไปเซ็นชื่อในสัญญาค้ำประกันใดๆก็ต้องมั่นใจ“เอ็กซเรย์”ตัวลูกหนี้ให้ดีว่าเขามีศักยภาพพอที่จะชำระหนี้ก้อนนั้นๆได้หรือไม่และมีความซื่อสัตย์เพียงใด ที่สำคัญต้องพิจารณาข้อความในสัญญาอย่างละเอียด พยายามจำกัดความรับผิดชอบให้น้อยที่สุด
ทั้งหมดไม่ได้เพียงแค่ “เขียนเสือให้วัวกลัว”นะครับ เพราะไม่อย่างนั้นคงไมมีคำกล่าวของคนสมัยก่อนที่เตือนไว้ว่า “อยากเป็นเศรษฐีให้เป็นนายหน้า อยากเป็นขี้ข้าให้เป็นนายประกัน”เพราะโอกาสที่เราจะประสบเภทภัยทางการเงินอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หลังจากที่ใจอ่อนจรดปากกาไปเซ็นค้ำประกันให้ใคร และสุดท้ายอาจจะต้องมานั่งช้ำใจเพราะเข้าตำรา “เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง แต่เอากระดูกมาแขวนคอ” ก็เป็นได้
แต่เชื่อไหมล่ะครับ ในกรณีของ พ.ต.ประจักษ์ ในละครเรื่องวนิดานั้น ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นจริงเลย เพราะ พ.ต.ประจักษ์ ไม่ได้ไปเซ็นค้ำประกันหนี้ของน้องชายในตอนแรกสักหน่อย จะมาบังคับให้แต่งงานกับวนิดาได้อย่างไรกัน สงสัยจริงๆ