มีคนช่างสงสัยบางคน ถามผมว่า หากเขาก้าวเดินมาบนเส้นทางของการเปลี่ยนแปลงจนสามารถมีเงินล้าน และมีการกระจายสินทรัพย์ในการลงทุนออกไปตามหลักการที่ควรทำไปแล้ว รวมทั้งเชื่อในหลักคิดในเรื่อง “ชีวิต คือ การลงทุน” แต่จะเป็นไปได้มากแค่ไหน ที่เขาจะหา “ตัวช่วย” มาจัดการเรื่องเงินๆทองๆให้แทนตัวเอง
คนบางคนอาจจะสนใจ เรียนรู้ ชอบติดตามข้อมูลข่าวสาร และรู้จักวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ เพื่อการตัดสินใจ แต่อาจจะมีจุดอ่อนในบางเรื่อง เช่น ความไร้ระเบียบ ไม่มีวินัย และที่สำคัญคือ ขี้เกียจ การหาเพื่อนหรือ พี่เลี้ยง เพื่อมาช่วยจัดการในเรื่องต่างๆเหล่านี้ จึงอาจจะเป็นการลงทุนที่สามารถจะให้ผลตอบแทนที่ดีได้เหมือนกัน
คำตอบในเรื่องนี้ คงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจแต่ละคน แต่สิ่งที่ต้องยอมรับในเบื้องต้นก่อนก็คือ “ไม่มีของฟรีในโลก” และการหาตัวช่วยก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะสามารถผลักภาระทุกอย่างออกไป จนถึงขนาดหยุดการไขว่คว้าหาความรู้ หรือทำความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนได้
ที่สำคัญในขั้นตอนสุดท้าย การตัดสินใจยังต้องกลับมาที่ตัวคุณ และหากการลงทุนของคุณประสบความล้มเหลว หรือ ขาดทุน คุณก็ต้องพร้อมที่จะยอมรับความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้
ทุกวันนี้ ธุรกิจการจัดการ “กองทุนส่วนบุคคล” เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ลงทุนที่มีความเข้าใจเรื่องการลงทุน และมีเม็ดเงินในกระเป๋าค่อนข้างหนัก ประเภทที่เรียกว่า High Net Worth Individual (HNWI) ซึ่งต้องการมีที่ปรึกษาและให้บริการต่างๆแบบเฉพาะบุคคล สามารถจะกำหนดนโยบายร่วมกับผู้จัดการกองทุนในลักษณะเฉพาะตามความต้องการ โดยผู้ลงทุนสามารถ ปรับเปลี่ยน “พอร์ตการลงทุน” เลือกตราสารที่ลงทุนได้อย่างหลากหลายตามภาวะการลงทุนที่อาจจะมีการผันผวน
จุดเด่นของกองทุนส่วนบุคคลที่แตกต่างจากกองทุนรวมนี้เอง ทำให้กองทุนส่วนบุคคลเป็นที่นิยมมากขึ้น สะท้อนจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของอุตสาหกรรมกองทุนส่วนบุคคล ณ สิ้นปี 2552 เพิ่มขึ้นจาก 2551 ที่มีประมาณ 168,277 ล้านบาท เป็น 216,501 ล้าน เพิ่มขึ้นถึง 28.65%
หากคุณต้องการมี ”ตัวช่วย” ก็สามารถที่จะเดินเข้าไปหาสถาบันการเงินที่เปิดให้บริการในรูปแบบนี้ โดยเฉพาะบรรดาบริษัทจัดการกองทุนทั้งหลายที่คุณเคยนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมนั่นแหละครับ เพื่อขอจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคล โดยทำสัญญาร่วมกันระหว่าง ผู้ลงทุนกับบริษัทจัดการ
ผู้บริหารกองทุนฯ เขาจะนำข้อมูลของคุณไปวิเคราะห์เพื่อกำหนดนโยบายการลงทุนให้เหมาะสม ซึ่งคุณต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ฐานะทางการเงิน ภาระทางการเงิน ระยะเวลาในการลงทุน ประสบการณ์ในการลงทุน ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และผลตอบแทนที่คาดหวัง ตามปกติหลังจากตกลงร่วมกัน จะมีการลงนามสัญญาจัดตั้ง ชื่อเจ้าของทรัพย์สินของกองทุน เพราะกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ยังคงเป็นของผู้ลงทุน โดยจะมีการระบุชื่อของบริษัทจัดการ เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าทรัพย์สินของลูกค้านั้นบริหารจัดการโดยใคร และจะมีการดูแลเก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุนนั้น โดยธนาคารพาณิชย์ ที่จะถูกแต่งตั้งให้เป็น ผู้รับฝากทรัพย์สิน (Custodian) เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อทรัพย์สินที่ลงทุน
ผู้จัดการกองทุนที่ดูแลบริหารเงินกองทุน และทรัพย์สิน จะต้องรับนโยบายการลงทุนที่กำหนดร่วมกันกับผู้ลงทุนมาบริหาร โดยใช้ข้อมูลการลงทุนเชิงลึก บทวิเคราะห์ และข่าวสารต่างๆจากแหล่งวิจัยเฉพาะทางมาประกอบการตัดสินใจลงทุนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีที่สุดตามระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับลูกค้า
นอกจากนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนมั่นใจได้ว่าการตัดสินใจลงทุนไม่ได้อ้างอิงกับการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุนเพียงคนเดียว ซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงต่อสินทรัพย์ของกองทุน จึงต้องมีคณะกรรมการการลงทุน ซึ่งมีประสบการณ์โดยตรงกับการวิเคราะห์และการลงทุน มีความใกล้ชิดกับข้อมูลและความเคลื่อนไหวในตลาดเงินและตลาดทุน เป็นผู้ดูแลอีกขั้นหนึ่ง
การติดตามใกล้ชิดของทีมงานมืออาชีพ ย่อมช่วยให้คุณเห็นโอกาส และมีจังหวะการลงทุนที่ดีกว่า เพราะปัจจุบันตลาดเงิน-ตลาดทุนของทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มีความเกี่ยวพัน และผันผวนอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์การเงินต่างๆก็มีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ผู้ลงทุนจำเป็นต้องมีความรู้ในการลงทุนสำหรับบางผลิตภัณฑ์ หรือต้องมีผู้เชี่ยวชาญการลงทุนคอยติดตามอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่าการลงทุนแบบทั่วๆไป
ยิ่งไปกว่านั้น กองทุนส่วนบุคคลยังมีความคล่องตัวในการลงทุน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ยินยอมให้นำสินทรัพย์ไปลงทุนในต่างประเทศได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถกระจายการลงทุนไปในหลักทรัพย์ ตราสารหนี้ที่มีเสนอขายในต่างประเทศ และสกุลเงินที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในระยะยาวมากกว่า 1 ปีขึ้นไปที่จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับกำไรที่ได้รับจากการลงทุน
กองทุนส่วนบุคคลจึงเป็นช่องทางที่ช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถไปถึงเป้าหมายนั้นได้ และยังช่วยให้ผู้ลงทุน ที่มีงานประจำหรือธุรกิจส่วนตัว ไม่ต้องคอยพะวงกับการลงทุน โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดหวือหวา ซึ่งผู้จัดการกองทุนนอกจากจะต้องคอยดูแลการลงทุนแล้ว จะต้องรายงานสถานการณ์ รวมถึงเสนอทางออกของปัญหาการลงทุนที่เหมาะสมอีกด้วย
ทุกวันนี้ แม้แต่นักการเมือง ข้าราชการ หรือผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานภาคเอกชน ที่มีสินทรัพย์มากๆ ก็นิยมที่จะลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลแบบนี้ เพราะช่วยหลีกเลี่ยงข้อครหา หรือปัญหาเรื่องของความขัดแย้งในผลประโยชน์ หรือ Conflict of Interest ตามหลักการของบรรษัทภิบาล
ฟังดูแล้วน่าสนใจใช่ไหมครับ เพราะหากเรามีผู้จัดการส่วนตัวมาเป็นตัวช่วยในเรื่องการลงทุน เราก็ไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับการทำการบ้านคอยหาข้อมูล แต่ก็ต้องทำใจนะครับว่า ต้นทุนในการหาตัวช่วยในรูปแบบนี้ไม่ธรรมดาแน่ๆ และหากเงินไม่ถึงก็ไม่มีทาง
ทุกวันนี้ ตลาดของกองทุนส่วนบุคคล เริ่มได้รับความนิยม และสถาบันการเงินเริ่มหันมาจับฐานลูกค้ากลุ่มนี้กันมากขึ้น จึงมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง แต่ตัวเลขขั้นต่ำของสินทรัพย์ที่คุณต้องมีเงินเย็นๆอย่างน้อยๆก็ต้องเป็นตัวเลข 8 หลัก คือ 10 ล้านบาทขึ้นไป โดยจะต้องเสีย ค่าธรรมเนียมบริหารรายปี Management Fee ซึ่งจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ตามมูลค่าของสินทรัพย์ และ ความยากง่ายของนโยบายการลงทุนของแต่ละคน รวมทั้งยังต้องมีค่าฝากทรัพย์สิน Custodian Fee อีกจำนวนหนึ่ง
มาถึงตรงนี้ คำถามสำคัญก็คือ จะใช้หลักการอะไรในการเลือกให้ใครมาบริหารกองทุนส่วนบุคคลให้กับเรา คงต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องยากมากพอสมควร เนื่องจากเราไม่สามารถจะไปวัดผลการดำเนินงานของผู้บริหารกองทุนแต่ละรายได้ เนื่องจากลูกค้าแต่ละรายก็มีพอร์ตการลงทุนที่แตกต่างกัน และบริษัทจัดการกองทุนฯเองก็มีสไตล์การลงทุนแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน
วิธีที่ดีที่สุดคือ ต้องยอมเดิน Walk-in เข้าไปลองคุยกับหลายๆราย หาคนที่เหมาะสมที่สุดที่จะร่วมเดินไปกับเรา เพราะหากเราจะยอมปล่อยให้เขาเป็นผู้กำหนดชะตากรรมในการลงทุนทั้งหมดของเรา ก็คงต้องมั่นใจสุดๆใช่ไหมครับว่าเป็น“ตัวช่วย”ตัวจริง
คนบางคนอาจจะสนใจ เรียนรู้ ชอบติดตามข้อมูลข่าวสาร และรู้จักวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ เพื่อการตัดสินใจ แต่อาจจะมีจุดอ่อนในบางเรื่อง เช่น ความไร้ระเบียบ ไม่มีวินัย และที่สำคัญคือ ขี้เกียจ การหาเพื่อนหรือ พี่เลี้ยง เพื่อมาช่วยจัดการในเรื่องต่างๆเหล่านี้ จึงอาจจะเป็นการลงทุนที่สามารถจะให้ผลตอบแทนที่ดีได้เหมือนกัน
คำตอบในเรื่องนี้ คงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจแต่ละคน แต่สิ่งที่ต้องยอมรับในเบื้องต้นก่อนก็คือ “ไม่มีของฟรีในโลก” และการหาตัวช่วยก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะสามารถผลักภาระทุกอย่างออกไป จนถึงขนาดหยุดการไขว่คว้าหาความรู้ หรือทำความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนได้
ที่สำคัญในขั้นตอนสุดท้าย การตัดสินใจยังต้องกลับมาที่ตัวคุณ และหากการลงทุนของคุณประสบความล้มเหลว หรือ ขาดทุน คุณก็ต้องพร้อมที่จะยอมรับความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้
ทุกวันนี้ ธุรกิจการจัดการ “กองทุนส่วนบุคคล” เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ลงทุนที่มีความเข้าใจเรื่องการลงทุน และมีเม็ดเงินในกระเป๋าค่อนข้างหนัก ประเภทที่เรียกว่า High Net Worth Individual (HNWI) ซึ่งต้องการมีที่ปรึกษาและให้บริการต่างๆแบบเฉพาะบุคคล สามารถจะกำหนดนโยบายร่วมกับผู้จัดการกองทุนในลักษณะเฉพาะตามความต้องการ โดยผู้ลงทุนสามารถ ปรับเปลี่ยน “พอร์ตการลงทุน” เลือกตราสารที่ลงทุนได้อย่างหลากหลายตามภาวะการลงทุนที่อาจจะมีการผันผวน
จุดเด่นของกองทุนส่วนบุคคลที่แตกต่างจากกองทุนรวมนี้เอง ทำให้กองทุนส่วนบุคคลเป็นที่นิยมมากขึ้น สะท้อนจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของอุตสาหกรรมกองทุนส่วนบุคคล ณ สิ้นปี 2552 เพิ่มขึ้นจาก 2551 ที่มีประมาณ 168,277 ล้านบาท เป็น 216,501 ล้าน เพิ่มขึ้นถึง 28.65%
หากคุณต้องการมี ”ตัวช่วย” ก็สามารถที่จะเดินเข้าไปหาสถาบันการเงินที่เปิดให้บริการในรูปแบบนี้ โดยเฉพาะบรรดาบริษัทจัดการกองทุนทั้งหลายที่คุณเคยนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมนั่นแหละครับ เพื่อขอจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคล โดยทำสัญญาร่วมกันระหว่าง ผู้ลงทุนกับบริษัทจัดการ
ผู้บริหารกองทุนฯ เขาจะนำข้อมูลของคุณไปวิเคราะห์เพื่อกำหนดนโยบายการลงทุนให้เหมาะสม ซึ่งคุณต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ฐานะทางการเงิน ภาระทางการเงิน ระยะเวลาในการลงทุน ประสบการณ์ในการลงทุน ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และผลตอบแทนที่คาดหวัง ตามปกติหลังจากตกลงร่วมกัน จะมีการลงนามสัญญาจัดตั้ง ชื่อเจ้าของทรัพย์สินของกองทุน เพราะกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ยังคงเป็นของผู้ลงทุน โดยจะมีการระบุชื่อของบริษัทจัดการ เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าทรัพย์สินของลูกค้านั้นบริหารจัดการโดยใคร และจะมีการดูแลเก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุนนั้น โดยธนาคารพาณิชย์ ที่จะถูกแต่งตั้งให้เป็น ผู้รับฝากทรัพย์สิน (Custodian) เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อทรัพย์สินที่ลงทุน
ผู้จัดการกองทุนที่ดูแลบริหารเงินกองทุน และทรัพย์สิน จะต้องรับนโยบายการลงทุนที่กำหนดร่วมกันกับผู้ลงทุนมาบริหาร โดยใช้ข้อมูลการลงทุนเชิงลึก บทวิเคราะห์ และข่าวสารต่างๆจากแหล่งวิจัยเฉพาะทางมาประกอบการตัดสินใจลงทุนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีที่สุดตามระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับลูกค้า
นอกจากนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนมั่นใจได้ว่าการตัดสินใจลงทุนไม่ได้อ้างอิงกับการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุนเพียงคนเดียว ซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงต่อสินทรัพย์ของกองทุน จึงต้องมีคณะกรรมการการลงทุน ซึ่งมีประสบการณ์โดยตรงกับการวิเคราะห์และการลงทุน มีความใกล้ชิดกับข้อมูลและความเคลื่อนไหวในตลาดเงินและตลาดทุน เป็นผู้ดูแลอีกขั้นหนึ่ง
การติดตามใกล้ชิดของทีมงานมืออาชีพ ย่อมช่วยให้คุณเห็นโอกาส และมีจังหวะการลงทุนที่ดีกว่า เพราะปัจจุบันตลาดเงิน-ตลาดทุนของทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มีความเกี่ยวพัน และผันผวนอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์การเงินต่างๆก็มีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ผู้ลงทุนจำเป็นต้องมีความรู้ในการลงทุนสำหรับบางผลิตภัณฑ์ หรือต้องมีผู้เชี่ยวชาญการลงทุนคอยติดตามอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่าการลงทุนแบบทั่วๆไป
ยิ่งไปกว่านั้น กองทุนส่วนบุคคลยังมีความคล่องตัวในการลงทุน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ยินยอมให้นำสินทรัพย์ไปลงทุนในต่างประเทศได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถกระจายการลงทุนไปในหลักทรัพย์ ตราสารหนี้ที่มีเสนอขายในต่างประเทศ และสกุลเงินที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในระยะยาวมากกว่า 1 ปีขึ้นไปที่จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับกำไรที่ได้รับจากการลงทุน
กองทุนส่วนบุคคลจึงเป็นช่องทางที่ช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถไปถึงเป้าหมายนั้นได้ และยังช่วยให้ผู้ลงทุน ที่มีงานประจำหรือธุรกิจส่วนตัว ไม่ต้องคอยพะวงกับการลงทุน โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดหวือหวา ซึ่งผู้จัดการกองทุนนอกจากจะต้องคอยดูแลการลงทุนแล้ว จะต้องรายงานสถานการณ์ รวมถึงเสนอทางออกของปัญหาการลงทุนที่เหมาะสมอีกด้วย
ทุกวันนี้ แม้แต่นักการเมือง ข้าราชการ หรือผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานภาคเอกชน ที่มีสินทรัพย์มากๆ ก็นิยมที่จะลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลแบบนี้ เพราะช่วยหลีกเลี่ยงข้อครหา หรือปัญหาเรื่องของความขัดแย้งในผลประโยชน์ หรือ Conflict of Interest ตามหลักการของบรรษัทภิบาล
ฟังดูแล้วน่าสนใจใช่ไหมครับ เพราะหากเรามีผู้จัดการส่วนตัวมาเป็นตัวช่วยในเรื่องการลงทุน เราก็ไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับการทำการบ้านคอยหาข้อมูล แต่ก็ต้องทำใจนะครับว่า ต้นทุนในการหาตัวช่วยในรูปแบบนี้ไม่ธรรมดาแน่ๆ และหากเงินไม่ถึงก็ไม่มีทาง
ทุกวันนี้ ตลาดของกองทุนส่วนบุคคล เริ่มได้รับความนิยม และสถาบันการเงินเริ่มหันมาจับฐานลูกค้ากลุ่มนี้กันมากขึ้น จึงมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง แต่ตัวเลขขั้นต่ำของสินทรัพย์ที่คุณต้องมีเงินเย็นๆอย่างน้อยๆก็ต้องเป็นตัวเลข 8 หลัก คือ 10 ล้านบาทขึ้นไป โดยจะต้องเสีย ค่าธรรมเนียมบริหารรายปี Management Fee ซึ่งจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ตามมูลค่าของสินทรัพย์ และ ความยากง่ายของนโยบายการลงทุนของแต่ละคน รวมทั้งยังต้องมีค่าฝากทรัพย์สิน Custodian Fee อีกจำนวนหนึ่ง
มาถึงตรงนี้ คำถามสำคัญก็คือ จะใช้หลักการอะไรในการเลือกให้ใครมาบริหารกองทุนส่วนบุคคลให้กับเรา คงต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องยากมากพอสมควร เนื่องจากเราไม่สามารถจะไปวัดผลการดำเนินงานของผู้บริหารกองทุนแต่ละรายได้ เนื่องจากลูกค้าแต่ละรายก็มีพอร์ตการลงทุนที่แตกต่างกัน และบริษัทจัดการกองทุนฯเองก็มีสไตล์การลงทุนแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน
วิธีที่ดีที่สุดคือ ต้องยอมเดิน Walk-in เข้าไปลองคุยกับหลายๆราย หาคนที่เหมาะสมที่สุดที่จะร่วมเดินไปกับเรา เพราะหากเราจะยอมปล่อยให้เขาเป็นผู้กำหนดชะตากรรมในการลงทุนทั้งหมดของเรา ก็คงต้องมั่นใจสุดๆใช่ไหมครับว่าเป็น“ตัวช่วย”ตัวจริง