“ชิลี” โปรยยาหอมสนใจลงทุนในไทยเพิ่ม ประเดิมขยายลงทุนผลิตลูกเหล็ก เปิดสำนักงานขายปุ๋ย และย้ายหน่วยงานส่งเสริมการส่งออกมาไทย “พิรมล” ดันสินค้าไทยใช้ FTA เจาะตลาดชิลี เผยข้าวมีโอกาสดี เหตุได้ลดภาษีดีกว่าคู่แข่งอย่างจีนและเวียดนาม
บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้หารือกับ Mr.Javier Becker เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐชิลีประจำประเทศไทย เพื่อขยายความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยทางชิลีมีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น เพราะเห็นว่าไทยมีศักยภาพและเป็นศูนย์กลางของอาเซียน และยังขอให้ไทยช่วยสนับสนุนนักลงทุนไทยไปลงทุนในชิลีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสาขาที่มีศักยภาพ เช่น เหมืองทองแดง ปลาแซลมอน และการผลิตไวน์ เป็นต้น
“มีบริษัทชิลีหลายแห่งสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ล่าสุด บริษัท Magotteaux จำกัด ผู้ผลิตลูกเหล็กได้เข้ามาลงทุนและพร้อมจะขยายการลงทุนเพิ่ม นอกจากนี้ บริษัทผู้ผลิตยารายใหญ่ที่สุดของชิลีและอเมริกาใต้ยังต้องการจะจัดตั้งธุรกิจในไทย รวมทั้งบริษัท Soquimich ผู้ผลิตปุ๋ยยังมีแผนจะเปิดสำนักงานที่กรุงเทพฯ และที่สำคัญชิลียังได้ย้ายสำนักงานใหญ่ของ ProChile ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการของชิลีจากเวียดนามมายังไทย” นายบุญทรงกล่าว
นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า แนวโน้มการค้าการลงทุนไทย-ชิลี มีโอกาสขยายตัวได้เพิ่มขึ้น หากความตกลงการค้าเสรี ไทย-ชิลี มีผลบังคับใช้ โดยเฉพาะในด้านการค้าสินค้า สินค้าชิลีและไทยอย่างน้อยร้อยละ 90 จะลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ทันทีที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ สำหรับสินค้าที่เหลืออีกร้อยละ 10 ของรายการสินค้าทั้งหมด ทั้งสองฝ่ายจะลดภาษีลงเป็นลำดับ โดยสินค้าที่คาดว่าไทยที่จะได้รับประโยชน์จากความตกลงฯ เช่น ยานยนต์ ปลาแปรรูป (ปลากระป๋อง) โพลิเมอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะปูนซีเมนต์ เม็ดพลาสติก ยางและผลิตภัณฑ์จากยาง และอัญมณี เป็นต้น ในขณะที่ชิลีจะได้ประโยชน์จากสินค้าที่ไทยมีความต้องการนำเข้า อาทิ ทองแดง และสินแร่เหล็ก เป็นต้น
นอกจากนี้ ไทยยังจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีสินค้าข้าว โดยชิลีจะทยอยยกเลิกภาษีนำเข้าภายใน 5 ปี ซึ่งเป็นการเปิดตลาดข้าวที่ดีกว่าที่ชิลีเปิดตลาดให้แก่ข้าวจากเวียดนามและจีน ส่วนด้านการค้าบริการ ชิลีได้เปิดตลาดให้ไทยเข้าไปจัดตั้งกิจการร้านอาหารไทย สปา นวดแผนไทย การค้าส่ง ค้าปลีก วิศวกรรม สถาปัตยกรรม ก่อสร้าง ท่องเที่ยว กิจการโรงแรม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในด้านการลงทุนจะมีการเจรจาภายใน 2 ปี นับจากความตกลงมีผลบังคับใช้
บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้หารือกับ Mr.Javier Becker เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐชิลีประจำประเทศไทย เพื่อขยายความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยทางชิลีมีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น เพราะเห็นว่าไทยมีศักยภาพและเป็นศูนย์กลางของอาเซียน และยังขอให้ไทยช่วยสนับสนุนนักลงทุนไทยไปลงทุนในชิลีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสาขาที่มีศักยภาพ เช่น เหมืองทองแดง ปลาแซลมอน และการผลิตไวน์ เป็นต้น
“มีบริษัทชิลีหลายแห่งสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ล่าสุด บริษัท Magotteaux จำกัด ผู้ผลิตลูกเหล็กได้เข้ามาลงทุนและพร้อมจะขยายการลงทุนเพิ่ม นอกจากนี้ บริษัทผู้ผลิตยารายใหญ่ที่สุดของชิลีและอเมริกาใต้ยังต้องการจะจัดตั้งธุรกิจในไทย รวมทั้งบริษัท Soquimich ผู้ผลิตปุ๋ยยังมีแผนจะเปิดสำนักงานที่กรุงเทพฯ และที่สำคัญชิลียังได้ย้ายสำนักงานใหญ่ของ ProChile ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการของชิลีจากเวียดนามมายังไทย” นายบุญทรงกล่าว
นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า แนวโน้มการค้าการลงทุนไทย-ชิลี มีโอกาสขยายตัวได้เพิ่มขึ้น หากความตกลงการค้าเสรี ไทย-ชิลี มีผลบังคับใช้ โดยเฉพาะในด้านการค้าสินค้า สินค้าชิลีและไทยอย่างน้อยร้อยละ 90 จะลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ทันทีที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ สำหรับสินค้าที่เหลืออีกร้อยละ 10 ของรายการสินค้าทั้งหมด ทั้งสองฝ่ายจะลดภาษีลงเป็นลำดับ โดยสินค้าที่คาดว่าไทยที่จะได้รับประโยชน์จากความตกลงฯ เช่น ยานยนต์ ปลาแปรรูป (ปลากระป๋อง) โพลิเมอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะปูนซีเมนต์ เม็ดพลาสติก ยางและผลิตภัณฑ์จากยาง และอัญมณี เป็นต้น ในขณะที่ชิลีจะได้ประโยชน์จากสินค้าที่ไทยมีความต้องการนำเข้า อาทิ ทองแดง และสินแร่เหล็ก เป็นต้น
นอกจากนี้ ไทยยังจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีสินค้าข้าว โดยชิลีจะทยอยยกเลิกภาษีนำเข้าภายใน 5 ปี ซึ่งเป็นการเปิดตลาดข้าวที่ดีกว่าที่ชิลีเปิดตลาดให้แก่ข้าวจากเวียดนามและจีน ส่วนด้านการค้าบริการ ชิลีได้เปิดตลาดให้ไทยเข้าไปจัดตั้งกิจการร้านอาหารไทย สปา นวดแผนไทย การค้าส่ง ค้าปลีก วิศวกรรม สถาปัตยกรรม ก่อสร้าง ท่องเที่ยว กิจการโรงแรม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในด้านการลงทุนจะมีการเจรจาภายใน 2 ปี นับจากความตกลงมีผลบังคับใช้