เคเบิลภูธรจัดหนัก ยื่นคำขาดให้ “ซีทีเอช” วางตัวเองเป็นคอนเทนต์โพไวเดอร์มากกว่าการมาเป็นคู่แข่งกันเอง เชื่อ MOU จะกลืนธุรกิจที่สร้างมา ไม่ง้อพรีเมียร์ลีกเหตุไม่ใช่คอนเทนต์หลักในการดึงฐานสมาชิกภูธร ฟากซีทีเอชหวั่นเรือล่มยอมอ่อนข้อให้ พร้อมคุยแบบเคสบายเคสหวังดึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเข้าสู่แพลตฟอร์มซีทีเอชต่อไป
ความฝันที่ บริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้ถือครอสิทธิ์ฟุตบอลอังกฤษพรีเมียร์ต้องการนำเคเบิลภูธรก้าวขึ้นสู่เวทีการแข่งขันระดับประเทศอาจจะต้องสะดุดลงเสียแล้ว เหตุเพราะเจตนาของการดำเนินธุรกิจกำลังเปลี่ยนไปจากเดิมที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพราะต้องการเป็นคอนเทนต์โพรไวเดอร์ ทำหน้าที่เพื่อสรรหาคอนเทนต์ดีๆ มาสู่สมาชิกผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศ
แต่ถึงวันนี้ ซีทีเอช กำลังจะก้าวเข้าสู่บทบาทของการเป็นเคเบิลโอเปอเรเตอร์ ทำให้เสียงของสมาชิกของสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยกว่าครึ่งไม่พอใจ และเตรียมขอถอนตัวออกจากแพลตฟอร์มที่ซีทีเอชวาดฝันเอาไว้
เหตุการณ์ต่างๆ เริ่มส่อแววมีปัญหาขึ้น หลังจากที่ทางซีทีได้ทำ MOU ระหว่างบริษัทกับสมาชิกในสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยเมื่องช่วง 3 เดือนก่อน หรือหลังจากที่ได้นายวิชัย ทองแตง เข้ามาถือหุ้นในซีทีเอช และนั่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท ซีทีเอช โดยสาระสำคัญที่ต้องการให้มีการทำ MOU ในครั้งนี้ เพื่อต้องการรวมตัวกับสมาชิกเคเบิลทีวีทั่วประเทศ สู่แพลตฟอร์มเดียว คือ ซีทีเอช ภายใต้นโนบาย 3 ข้อ คือ 1. วัน บิลลิ่ง 2. วัน แพลตฟอร์ม และ 3. วัน เน็ตเวิร์ก แต่เนื่องจากหัวข้อใน MOU ค่อนข้างหละหลวม มีช่องว่างทำให้สมาชิกบางส่วนไม่สบายใจ จนนำมาสู่การรวมตัวกัน ในนามสมัชชาเครือข่ายผู้ประกอบการเคเบิลยั่งยืน (TheAssembly of Cable TV Operators) หรือ A.C.O.-เอคโค่
เซ็น MOU ทำธุรกิจไม่ยั่งยืน
วานนี้ (19 ก.พ.) นายณัฎฐชัย อักษรดิษฐ ประธานกรรมการ บริษัท เอ็ม.เอส.เอส. เคเบิลทีวี จำกัด, นายภิญโญ แก่นยะกูล ผู้บริหาร หาดใหญ่เคเบิล 93, นายกัมปนาท ตันติวิท ผู้บริหาร บริษัท พี เอ บิสสิเนส ภูเก็ต จำกัด และนายคำรณ ดวงปัญญาสว่าง กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด คำรณสื่อสาร ที่เป็น 4 โต้โผใหญ่ในการรวมตัวผนึกกำลังผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศรวมกว่า 150 ราย จากปัจจุบันที่มีผู้ประกอบการเคเบิลทีวีทั่วประเทศราว 300 ราย จัดตั้งเป็น สมัชชาเครือข่ายผู้ประกอบการ “เคเบิลยั่งยืน” - TheAssembly of Cable TV Operators (A.C.O.-เอคโค่) พร้อมจัดงานสัมนนาขึ้น ภายใต้ชื่อหัวข้อ “ติดอาวุธทางปัญญา ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่น - Digital TV ไม่ยากและไม่แพง อย่างที่คิด” ครั้งที่ 2 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ (วิภาวดี)
ทั้งนี้ บรรยากาศภายในงานมีผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 150 ราย ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการที่เซ็น MOU กับทางซีทีเอชไปแล้ว และที่ยังไม่ได้เซ็น แต่ทั้งหมดต้องการทราบความชัดเจนถึงผลของการเซ็น MOU ในครั้งนี้ว่าจะเกิดผลดีหรือผลเสียอย่างไร โดยภายในงานได้เชิญนักกฎหมายเข้ามาร่วมพูดคุยชี้แจงข้อสงสัยเบื้องต้นด้วย สรุปได้ว่า ผลของการเซ็น MOU ครั้งนี้ เชื่อว่าจะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวีแบบยั่งยืนอย่างที่ผู้ประกอบการต้องการ มาเป็นแบบไม่ยั่งยืนโดยอัตโนมัติ เนื่องจากเป็น MOU ที่มีลักษณะของคำมั่นสัญญาที่จะมีผลข้อผูกมัดในอนาคตตามมา
นายณัฎฐชัย อักษรดิษฐ ประธานกรรมการ บริษัท เอ็ม.เอส.เอส.เคเบิลทีวี จำกัด เปิดเผยว่า จากผลของงานสัมมนาเชื่อว่าหลังจากที่ผู้ประกอบการได้รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเซ็น MOU กับทางซีทีเอชแล้วนั้นจะต้องมีการขอยกเลิกสัญญาตามมาค่อนข้างมาก เนื่องจากส่วนใหญ่ยังต้องการรักษาธุรกิจที่สร้างขึ้นมานี้เอาไว้ ขณะที่ MOU ฉบับนี้ในความเป็นจริงจะทำให้ผู้ประกอบการกลายมาเป็นดีลเลอร์ หรือรอรับปันผลเท่านั้น
ชี้แพลตฟอร์มซีทีเอช เตรียมกลืนเคเบิลภูธร
อย่างไรก็ตาม พบว่านโยบายของแพลตฟอร์มซีทีเอชมีความไม่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนและพูดคุยกับสมาชิกผู้ประกอบการแตกต่างกันออกไป จากเดิมที่เริ่มจากการเข้ามาเพื่อทำหน้าที่เป็นคอนเทนต์โพไวเดอร์ นำเสนอคอนเทนต์ให้และแบ่งรายได้กัน คิดที่ราคา 15% ของราคาค่าสมาชิกแต่ละรายต่อเดือน
หลังจากนั้นก็เริ่มเข้ามาซัปพอร์ตเรื่องของเทคนิคอุปกรณ์ และเข้ามาซื้อหุ้น จนล่าสุดขอเข้ามาซื้อกิจการของบริษัทผู้ประกอบการในอัตราส่วนถึง 60% ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการเข้าถึงฐานผู้ชมให้มากที่สุด ในสถานการณ์ที่สมาชิกกว่าครึ่งไม่ตัดสินใจเซ็น MOU
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จากฐานสมาชิกของสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยที่มีอยู่กว่า 300 รายทั่วประเทศ สามารถแบ่งกลุ่มผู้ประกอบการออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่มที่พร้อมเซ็นสัญญา MOU กับทางซีทีเอชแบบไม่มีข้อสงสัยหรือข้อแม้ใดๆ และพร้อมดำเนินงานตามทุกทาง 25% 2.กลุ่มที่เซ็นสัญญา MOU กับซีทีเอชไปแล้ว และคิดว่าน่าจะบริหารเองได้ด้วย 25% และ 3. กลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่ต้องการเซ็นสัญญา MOU กับทางซีทีเอช และพร้อมดำเนินธุรกิจเอง
เรียกร้องซีทีเอชสู่บทบาทเดิมที่เป็นคอนเทนต์โพไวเดอร์
ด้านนายกัมปนาท ตันติวิท ผู้บริหาร บริษัท พี เอ บิสสิเนส ภูเก็ต จำกัด และนายคำรณ ดวงปัญญาสว่าง กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด คำรณสื่อสาร ร่วมกันกล่าวว่า ทางกลุ่ม A.C.O.ต้องการเรียกร้องให้ทางซีทีเอชกลับมาทำหน้าที่เป็นคอนเทนต์โพรไวเดอร์อย่างที่ผ่านมา มากกว่าที่จะกลายมาเป็นคู่แข่งในการเป็นเคเบิล โอเปอเรเตอร์อีกราย
เชื่อว่าแนวทางนี้จะทำให้สมาชิกผู้ประกอบการฯ ทั้งหมดพึงพอใจ และทางซีทีเอชเองก็จะสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมั่นคง ในสถานการณ์ที่ปัจจุบันซีทีเอชมีคอนเทนต์พรีเมียร์ลีกอย่างเดียวที่มีคุณภาพและสามารถดึงดูดฐานลูกค้าได้ราว 3 ปี และหลังจากนั้นก็ต้องมาสร้างตลาดและฐานสมาชิกกันใหม่หากไม่มีพรีเมียร์ลีก
“สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นต้องการ คือ คอนเทนต์ ซึ่งไม่ต้องการผูกขาดกับทางซีทีเอชเพียงรายเดียว แต่ต้องการเป็นผู้บริหารจัดการและคัดเลือกคอนเทนต์เข้ามาสู่แพลตฟอร์มของตนเองได้ ที่สำคัญพรีเมียร์ลีกไม่ใช่คอนเทนต์หลักที่สมาชิกเคเบิลท้องถิ่นต้องการมากไปกว่าโลคอลคอนเทนต์ ดังนั้นหากวันนี้จะไม่เซ็น MOU กับซีทีเอชก็ไม่ได้มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ และหากซีทีเอชจะเข้ามาเป็นคู่แข่งอีกรายก็ไม่ได้กังวล เพราะปัจจุบันแต่ละพื้นที่ที่ให้บริการเคเบิลทีวีอยู่นั้นก็มีผู้เล่นในพื้นที่ดังกล่าวอยู่แล้วหลายราย จะมีเพิ่มอีกรายก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ"
สร้างพันธมิตรคอนเทนต์-แพลตฟอร์มเอง
อย่างไรก็ตาม แนวทางสำคัญของกลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่เห็นด้วยกับการเซ็น MOU ในครั้งนี้ นำมาสู่การสร้างพันธมิตรคอนเทนต์ด้วย โดยภายในงานมีคอนเทนต์โพไวเดอร์เข้ามานำเสนอช่องรายการคอนเทนต์ต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 25-30 ช่อง เช่น แกรมมี่นำเสนอ 30 ช่อง, อาร์เอส นำเสนอ 5 ช่อง, ทรูวิชั่นส์ นำเสนอ 30 ช่อง, ทริปเปิ้ลที เน็ตเวิร์ค นำเสนอ 13 ช่อง, เน็กซ์สเต็ป เนอ 6 ช่อง, ดีทีวี นำเสนอ 3 ช่อง, แสนสุข เน็ตเวิร์ค นำเสนอ 4 ช่อง และโรสมีเดียนำเสนอ 2 ช่องเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการแนะนำการลงทุนด้านการทำห้องส่งดิจิตอลด้วย ซึ่งลงทุนเพียงรายละ 800,000 บาท ก็สามารถสร้างแพลทฟอร์มเคเบิลดิจิตอลได้แล้ว ทั้งนี้เมื่อนับเม็ดเงินการลงทุนจากผู้ประกอบการทั้งหมดที่เข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ คาดว่าน่าจะใช้งบลงทุนราว 5,000 กว่าล้านบาทสำหรับการทำแพลตฟอร์มใหม่ขึ้นมาเอง
“ซีทีเอช” ยอมกลืนน้ำลาย พร้อมรับข้อเสนอ
ด้านนายวิชิต เอื้ออารีกุล ที่ปรึกษาสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ล่าสุดทางซีทีเอชพร้อมเปิดรับข้อเสนอของสมาชิกที่ยังไม่เซ็น MOU แบบเคสบายเคส ว่ามีความต้องการหรือสงสัยเรื่องใด และพร้อมจะดำเนินตามข้อตกลง ภายใต้เงื่อไขและผลประโยชน์ที่จะได้รับแตกต่างจากสมาชิกที่ได้เซ็นสัญญา MOU กับทางซีทีเอชไปก่อนหน้านี้แล้ว
“ปัญหาที่เกิดขึ้นในวันนี้ หัวใจสำคัญ คือ เรื่องของความไว้วางใจ ที่ทั้งสองฝ่ายยังมีไม่เพียงพอ ซึ่งอาจจะเกิดจากการสื่อสารที่เข้าใจกันไปคนละแนวทาง บวกกับการทำงานของซีทีเอชที่ก่อตั้งขึ้นมาได้เพียงไม่ถึงปี ทำให้ทุกอย่างดูรวดเร็วและไม่แข็งแกร่งพอ ขณะที่กรรมการในสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย กว่าครึ่งก็เอนเอียงไปกับทางซีทีเอชค่อนข้างมาก จึงทำให้เกิดช่องว่างและปัญหาตามมา แต่ทั้งนี้มองว่าหากได้มีการพูดคุยกันมากขึ้น มีการชี้แจงรายละเอียดและเจตนารมณ์ของผู้บริหารของนายวิชัย ทองแตงแล้ว เชื่อว่าทุกคนจะเข้าใจและนำไปสู่เคเบิลทีวีบนแพลตฟอร์มเดียวกันแบบไม่มีข้อกังขาได้” นายวิชิตกล่าวในที่สุด
ความฝันที่ บริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้ถือครอสิทธิ์ฟุตบอลอังกฤษพรีเมียร์ต้องการนำเคเบิลภูธรก้าวขึ้นสู่เวทีการแข่งขันระดับประเทศอาจจะต้องสะดุดลงเสียแล้ว เหตุเพราะเจตนาของการดำเนินธุรกิจกำลังเปลี่ยนไปจากเดิมที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพราะต้องการเป็นคอนเทนต์โพรไวเดอร์ ทำหน้าที่เพื่อสรรหาคอนเทนต์ดีๆ มาสู่สมาชิกผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศ
แต่ถึงวันนี้ ซีทีเอช กำลังจะก้าวเข้าสู่บทบาทของการเป็นเคเบิลโอเปอเรเตอร์ ทำให้เสียงของสมาชิกของสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยกว่าครึ่งไม่พอใจ และเตรียมขอถอนตัวออกจากแพลตฟอร์มที่ซีทีเอชวาดฝันเอาไว้
เหตุการณ์ต่างๆ เริ่มส่อแววมีปัญหาขึ้น หลังจากที่ทางซีทีได้ทำ MOU ระหว่างบริษัทกับสมาชิกในสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยเมื่องช่วง 3 เดือนก่อน หรือหลังจากที่ได้นายวิชัย ทองแตง เข้ามาถือหุ้นในซีทีเอช และนั่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท ซีทีเอช โดยสาระสำคัญที่ต้องการให้มีการทำ MOU ในครั้งนี้ เพื่อต้องการรวมตัวกับสมาชิกเคเบิลทีวีทั่วประเทศ สู่แพลตฟอร์มเดียว คือ ซีทีเอช ภายใต้นโนบาย 3 ข้อ คือ 1. วัน บิลลิ่ง 2. วัน แพลตฟอร์ม และ 3. วัน เน็ตเวิร์ก แต่เนื่องจากหัวข้อใน MOU ค่อนข้างหละหลวม มีช่องว่างทำให้สมาชิกบางส่วนไม่สบายใจ จนนำมาสู่การรวมตัวกัน ในนามสมัชชาเครือข่ายผู้ประกอบการเคเบิลยั่งยืน (TheAssembly of Cable TV Operators) หรือ A.C.O.-เอคโค่
เซ็น MOU ทำธุรกิจไม่ยั่งยืน
วานนี้ (19 ก.พ.) นายณัฎฐชัย อักษรดิษฐ ประธานกรรมการ บริษัท เอ็ม.เอส.เอส. เคเบิลทีวี จำกัด, นายภิญโญ แก่นยะกูล ผู้บริหาร หาดใหญ่เคเบิล 93, นายกัมปนาท ตันติวิท ผู้บริหาร บริษัท พี เอ บิสสิเนส ภูเก็ต จำกัด และนายคำรณ ดวงปัญญาสว่าง กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด คำรณสื่อสาร ที่เป็น 4 โต้โผใหญ่ในการรวมตัวผนึกกำลังผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศรวมกว่า 150 ราย จากปัจจุบันที่มีผู้ประกอบการเคเบิลทีวีทั่วประเทศราว 300 ราย จัดตั้งเป็น สมัชชาเครือข่ายผู้ประกอบการ “เคเบิลยั่งยืน” - TheAssembly of Cable TV Operators (A.C.O.-เอคโค่) พร้อมจัดงานสัมนนาขึ้น ภายใต้ชื่อหัวข้อ “ติดอาวุธทางปัญญา ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่น - Digital TV ไม่ยากและไม่แพง อย่างที่คิด” ครั้งที่ 2 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ (วิภาวดี)
ทั้งนี้ บรรยากาศภายในงานมีผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 150 ราย ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการที่เซ็น MOU กับทางซีทีเอชไปแล้ว และที่ยังไม่ได้เซ็น แต่ทั้งหมดต้องการทราบความชัดเจนถึงผลของการเซ็น MOU ในครั้งนี้ว่าจะเกิดผลดีหรือผลเสียอย่างไร โดยภายในงานได้เชิญนักกฎหมายเข้ามาร่วมพูดคุยชี้แจงข้อสงสัยเบื้องต้นด้วย สรุปได้ว่า ผลของการเซ็น MOU ครั้งนี้ เชื่อว่าจะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวีแบบยั่งยืนอย่างที่ผู้ประกอบการต้องการ มาเป็นแบบไม่ยั่งยืนโดยอัตโนมัติ เนื่องจากเป็น MOU ที่มีลักษณะของคำมั่นสัญญาที่จะมีผลข้อผูกมัดในอนาคตตามมา
นายณัฎฐชัย อักษรดิษฐ ประธานกรรมการ บริษัท เอ็ม.เอส.เอส.เคเบิลทีวี จำกัด เปิดเผยว่า จากผลของงานสัมมนาเชื่อว่าหลังจากที่ผู้ประกอบการได้รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเซ็น MOU กับทางซีทีเอชแล้วนั้นจะต้องมีการขอยกเลิกสัญญาตามมาค่อนข้างมาก เนื่องจากส่วนใหญ่ยังต้องการรักษาธุรกิจที่สร้างขึ้นมานี้เอาไว้ ขณะที่ MOU ฉบับนี้ในความเป็นจริงจะทำให้ผู้ประกอบการกลายมาเป็นดีลเลอร์ หรือรอรับปันผลเท่านั้น
ชี้แพลตฟอร์มซีทีเอช เตรียมกลืนเคเบิลภูธร
อย่างไรก็ตาม พบว่านโยบายของแพลตฟอร์มซีทีเอชมีความไม่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนและพูดคุยกับสมาชิกผู้ประกอบการแตกต่างกันออกไป จากเดิมที่เริ่มจากการเข้ามาเพื่อทำหน้าที่เป็นคอนเทนต์โพไวเดอร์ นำเสนอคอนเทนต์ให้และแบ่งรายได้กัน คิดที่ราคา 15% ของราคาค่าสมาชิกแต่ละรายต่อเดือน
หลังจากนั้นก็เริ่มเข้ามาซัปพอร์ตเรื่องของเทคนิคอุปกรณ์ และเข้ามาซื้อหุ้น จนล่าสุดขอเข้ามาซื้อกิจการของบริษัทผู้ประกอบการในอัตราส่วนถึง 60% ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการเข้าถึงฐานผู้ชมให้มากที่สุด ในสถานการณ์ที่สมาชิกกว่าครึ่งไม่ตัดสินใจเซ็น MOU
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จากฐานสมาชิกของสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยที่มีอยู่กว่า 300 รายทั่วประเทศ สามารถแบ่งกลุ่มผู้ประกอบการออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่มที่พร้อมเซ็นสัญญา MOU กับทางซีทีเอชแบบไม่มีข้อสงสัยหรือข้อแม้ใดๆ และพร้อมดำเนินงานตามทุกทาง 25% 2.กลุ่มที่เซ็นสัญญา MOU กับซีทีเอชไปแล้ว และคิดว่าน่าจะบริหารเองได้ด้วย 25% และ 3. กลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่ต้องการเซ็นสัญญา MOU กับทางซีทีเอช และพร้อมดำเนินธุรกิจเอง
เรียกร้องซีทีเอชสู่บทบาทเดิมที่เป็นคอนเทนต์โพไวเดอร์
ด้านนายกัมปนาท ตันติวิท ผู้บริหาร บริษัท พี เอ บิสสิเนส ภูเก็ต จำกัด และนายคำรณ ดวงปัญญาสว่าง กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด คำรณสื่อสาร ร่วมกันกล่าวว่า ทางกลุ่ม A.C.O.ต้องการเรียกร้องให้ทางซีทีเอชกลับมาทำหน้าที่เป็นคอนเทนต์โพรไวเดอร์อย่างที่ผ่านมา มากกว่าที่จะกลายมาเป็นคู่แข่งในการเป็นเคเบิล โอเปอเรเตอร์อีกราย
เชื่อว่าแนวทางนี้จะทำให้สมาชิกผู้ประกอบการฯ ทั้งหมดพึงพอใจ และทางซีทีเอชเองก็จะสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมั่นคง ในสถานการณ์ที่ปัจจุบันซีทีเอชมีคอนเทนต์พรีเมียร์ลีกอย่างเดียวที่มีคุณภาพและสามารถดึงดูดฐานลูกค้าได้ราว 3 ปี และหลังจากนั้นก็ต้องมาสร้างตลาดและฐานสมาชิกกันใหม่หากไม่มีพรีเมียร์ลีก
“สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นต้องการ คือ คอนเทนต์ ซึ่งไม่ต้องการผูกขาดกับทางซีทีเอชเพียงรายเดียว แต่ต้องการเป็นผู้บริหารจัดการและคัดเลือกคอนเทนต์เข้ามาสู่แพลตฟอร์มของตนเองได้ ที่สำคัญพรีเมียร์ลีกไม่ใช่คอนเทนต์หลักที่สมาชิกเคเบิลท้องถิ่นต้องการมากไปกว่าโลคอลคอนเทนต์ ดังนั้นหากวันนี้จะไม่เซ็น MOU กับซีทีเอชก็ไม่ได้มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ และหากซีทีเอชจะเข้ามาเป็นคู่แข่งอีกรายก็ไม่ได้กังวล เพราะปัจจุบันแต่ละพื้นที่ที่ให้บริการเคเบิลทีวีอยู่นั้นก็มีผู้เล่นในพื้นที่ดังกล่าวอยู่แล้วหลายราย จะมีเพิ่มอีกรายก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ"
สร้างพันธมิตรคอนเทนต์-แพลตฟอร์มเอง
อย่างไรก็ตาม แนวทางสำคัญของกลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่เห็นด้วยกับการเซ็น MOU ในครั้งนี้ นำมาสู่การสร้างพันธมิตรคอนเทนต์ด้วย โดยภายในงานมีคอนเทนต์โพไวเดอร์เข้ามานำเสนอช่องรายการคอนเทนต์ต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 25-30 ช่อง เช่น แกรมมี่นำเสนอ 30 ช่อง, อาร์เอส นำเสนอ 5 ช่อง, ทรูวิชั่นส์ นำเสนอ 30 ช่อง, ทริปเปิ้ลที เน็ตเวิร์ค นำเสนอ 13 ช่อง, เน็กซ์สเต็ป เนอ 6 ช่อง, ดีทีวี นำเสนอ 3 ช่อง, แสนสุข เน็ตเวิร์ค นำเสนอ 4 ช่อง และโรสมีเดียนำเสนอ 2 ช่องเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการแนะนำการลงทุนด้านการทำห้องส่งดิจิตอลด้วย ซึ่งลงทุนเพียงรายละ 800,000 บาท ก็สามารถสร้างแพลทฟอร์มเคเบิลดิจิตอลได้แล้ว ทั้งนี้เมื่อนับเม็ดเงินการลงทุนจากผู้ประกอบการทั้งหมดที่เข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ คาดว่าน่าจะใช้งบลงทุนราว 5,000 กว่าล้านบาทสำหรับการทำแพลตฟอร์มใหม่ขึ้นมาเอง
“ซีทีเอช” ยอมกลืนน้ำลาย พร้อมรับข้อเสนอ
ด้านนายวิชิต เอื้ออารีกุล ที่ปรึกษาสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ล่าสุดทางซีทีเอชพร้อมเปิดรับข้อเสนอของสมาชิกที่ยังไม่เซ็น MOU แบบเคสบายเคส ว่ามีความต้องการหรือสงสัยเรื่องใด และพร้อมจะดำเนินตามข้อตกลง ภายใต้เงื่อไขและผลประโยชน์ที่จะได้รับแตกต่างจากสมาชิกที่ได้เซ็นสัญญา MOU กับทางซีทีเอชไปก่อนหน้านี้แล้ว
“ปัญหาที่เกิดขึ้นในวันนี้ หัวใจสำคัญ คือ เรื่องของความไว้วางใจ ที่ทั้งสองฝ่ายยังมีไม่เพียงพอ ซึ่งอาจจะเกิดจากการสื่อสารที่เข้าใจกันไปคนละแนวทาง บวกกับการทำงานของซีทีเอชที่ก่อตั้งขึ้นมาได้เพียงไม่ถึงปี ทำให้ทุกอย่างดูรวดเร็วและไม่แข็งแกร่งพอ ขณะที่กรรมการในสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย กว่าครึ่งก็เอนเอียงไปกับทางซีทีเอชค่อนข้างมาก จึงทำให้เกิดช่องว่างและปัญหาตามมา แต่ทั้งนี้มองว่าหากได้มีการพูดคุยกันมากขึ้น มีการชี้แจงรายละเอียดและเจตนารมณ์ของผู้บริหารของนายวิชัย ทองแตงแล้ว เชื่อว่าทุกคนจะเข้าใจและนำไปสู่เคเบิลทีวีบนแพลตฟอร์มเดียวกันแบบไม่มีข้อกังขาได้” นายวิชิตกล่าวในที่สุด