คงไม่มีใครปฏิเสธข้อเท็จจริงว่า บนเส้นทางการของการลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่ง และการเดินไปสู่เป้าหมายในการมีอิสรภาพทางการเงิน เรามีทางเลือกมากมายในการให้เงินทำงานแทนเรา แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ลงทุนต้องตระหนักก็คือ การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง หากหวังผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงก็ย่อมจะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
เพราะเหตุนี้ เราจึงต้องมีการกระจายความเสี่ยงในการวางน้ำหนักของการลงทุนไปยังสินทรัพย์ หรือ ตราสารประเภทต่างๆให้เหมาะสมตาม อายุ ช่วงเวลา ปริมาณเม็ดเงิน และ ที่สำคัญตามขนาดของ “หัวใจ”ของแต่ละคน แทนที่จะทุ่มเงินบน “หน้าตัก” ที่เรามีทั้งหมดไปในตราสารประเภทใดประเภทหนึ่ง
นอกเหนือจากการลงทุนใน หุ้น กองทุนรวม และ พันธบัตรแล้ว หุ้นกู้ภาคเอกชน ก็เป็นตราสารหนี้ประเภทหนึ่ง เช่นเดียวกับพันธบัตรรัฐบาล ที่เป็นทางเลือกหนึ่งของการลงทุน ที่สามารถจะให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยที่แน่นอนและน่าสนใจ
ตามปกติในการทำธุรกิจ จุดเริ่มต้นจะมาจาก เจ้าของธุรกิจที่ต้องการจะประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยนอกเหนือจากจะต้องมีเงินลงทุนของตัวเองแล้ว อาจจะมีการชักชวนเพื่อนฝูงหรือคนรู้จักให้มาร่วมกันลงขัน เมื่อทำมาหากินจนมีกำไรแล้วก็นำมาแบ่งปันกันในกลุ่ม
ในระยะแรกๆ หากผู้ประกอบการมีเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอกับขนาดของธุรกิจ ก็อาจจะกู้หนี้ยืมสินผ่านตลาดเงินจากสถาบันการเงินเพื่อใช้ดำเนินงาน ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องยอมเสียดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินสถาบันการเงินมาใช้
อย่างไรก็ตาม กลวิธีอีกอย่างหนึ่งในการระดมทุน โดยมีต้นทุนการเงินที่ต่ำลง สำหรับเจ้าของธุรกิจ คือการออกตาราสารทุน หรือ ขายหุ้น เพื่อระดมทุนผ่านตลาดรอง หรือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการเพิ่มทุนเพื่อแปลงสภาพให้เป็นบริษัทมหาชน และกระจายหุ้นให้กับนักลงทุนที่สนใจ
ผู้ที่ลงทุนเข้ามาถือหุ้นในบริษัทนั้นๆ จะมีสถานะเป็น “เจ้าของ” ที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลจากกำไรของบริษัทนั้นๆ และ สามารถจะเข้าประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อติดตามสถานภาพและผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ แต่หากต้องการจะขายหุ้นที่ถือครองออก ก็สามารถจะขายผ่านตลาดรอง หรือ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามราคาที่มีการเคลื่อนไหวในแต่ละวัน
แต่ในบางครั้งหากเจ้าของบริษัทที่อาจจะแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนแล้ว และมีความต้องการที่จะระดมทุนเพิ่มเติม หรือ ต้องการเงินทุนหมุนเวียน โดยยังไม่ต้องการจะเพิ่มหุ้นทุน ที่จะทำให้สูญเสียสิทธิ์ของผู้ถือหุ้นเดิม ก็สามารถจะกู้ยืมเงินจากประชาชนทั่วไป โดยการเสนอขายตราสารหนี้ ที่เรียกว่า “หุ้นกู้” ซึ่งผู้ซื้อจะมีฐานะเป็น “เจ้าหนี้”
ในการออกหุ้นกู้ เนื่องจากต้องแข่งขันกับตราสารหนี้ของภาครัฐ คือ พันธบัตรรัฐบาล บริษัทที่ต้องการระดมทุนด้วยวิธีนี้จึงต้องมีการเสนอผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าพันธบัตรเพื่อสร้างแรงจูงใจ
รายละเอียดที่ต้องมีการระบุในการออกหุ้นกู้ คือ ต้องมีการกำหนดวงเงินกู้ และวัตถุประสงค์ในการระดมทุนในครั้งนั้นๆ มูลค่าของหุ้นกู้ต่อหน่วย ระยะเวลาการไถ่ถอน และ ผลตอบแทนหรือ ดอกเบี้ยที่จะจ่ายในแต่ละปี รวมถึงกำหนดการจ่ายดอกเบี้ยปีละกี่งวด
ในปัจจุบัน ยังมีการผสมผสานรูปแบบของ ตราสารหุ้น และ หุ้นกู้ ออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น สิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญ หรือ “วอแรนท์” หรือ หุ้นกู้แปลงสภาพ (สิทธิในการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ) หุ้นกู้ควบหุ้นบุริมสิทธิ และอื่นๆอีกมากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการของทั้งฝั่ง เจ้าของกิจการ และผู้ลงทุน
สิ่งที่ต้องตระหนักในการซื้อ หุ้นกู้ นอกเหนือจากการดูอัตราผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย และ ระยะเวลาไถ่ถอนแล้ว สิ่งที่ต้องให้ความสนใจอย่างมากเช่นเดียวกับ การลงทุนใน “หุ้น” ก็คือ ผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงินของบริษัท โครงสร้างผู้ถือหุ้น และผู้บริหาร
คนที่คิดว่า หุ้นกู้ เป็นตราสารที่ไม่มีความเสี่ยง และให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอในรูปของดอกเบี้ย อาจเป็นความเข้าใจที่ถูกเพียงครึ่งเดียว เนื่องจาก หุ้นกู้ ก็มีความเสี่ยงในหลายๆประการ
ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด คือ ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ หากผลการดำเนินงานของบริษัทไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดจากหลายๆสาเหตุ เพราะบริษัทที่ออกหุ้นกู้ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องหนี้สิน จึงต้องการระดมทุนไปปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อลดต้นทุนทางการเงินทั้งระยะสั้นและระยะกลางเป็นหลัก
บางครั้งหากภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นไม่เอื้ออำนวย และบริษัทอยู่ในอุตสาหกรรม หรือสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่มีปัญหา ก็อาจส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินอย่างรุนแรง ซึ่งบางครั้งหากถึงขั้น “ล้ม” ก็อาจทำให้เราต้องสูญเสียเงินต้นทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ เราจึงต้องศึกษาเกี่ยวกับแผนทางการเงินของบริษัทอย่างละเอียด
รายละเอียดเหล่านี้จะอยู่ในหนังสือชี้ชวน (Prospectus) ซึ่งจะต้องมีการเปิดเผยอย่างละเอียด โดยเฉพาะในเรื่องของ “ความเสี่ยง” ในการดำเนินธุรกิจในด้านต่างๆของบริษัท และที่สำคัญคือ รายงานการจัดอันดับเครดิตเรทติ้งของสถาบันจัดอันดับ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ของบริษัทนั้นๆ
ปัจจุบันหุ้นกู้ภาคเอกชนที่มีการเสนอขายในเมืองไทย จะมี สถาบันจัดอันดับเครดิต ทริสเรทติ้ง “TRIS Rating” เป็นผู้ประเมิน
ในการประเมินและจัดอันดับ ทริสเรทติ้ง จะแสดงผลการจัดอันดับเครดิตตราสารหนี้ระยะกลาง และระยะยาว จำนวน 8 อันดับ เริ่มจาก AAA ซึ่งเป็นอันดับเครดิตสูงสุด ไปจนถึง D ที่ต่ำสุด โดบเน้นการวิเคราะห์โอกาสที่จะเกิด “การผิดนัดชำระหนี้” (Default Probability) แต่ไม่ได้คำนึงถึงระดับของการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดชำระหนี้ โดยอาจจะมีเครื่องหมายบวก (+)หรือ ลบ (-) เพื่อให้เห็นความแตกต่างของคุณภาพของอันดับเครดิตในระดับเดียวกัน
นอกจากนี้ยังมีการกำหนด “แนวโน้มอันดับเครดิต” Rating Outlook โดยพิจารณาถึงโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในภาวะอุตสาหกรรมและสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ ที่อาจจะกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ Positive (อาจปรับขึ้น) Stable (ไม่เปลี่ยนแปลง) Negative (อาจปรับลดลง) และ Developing (ยังไม่แน่นอน)
ความเสี่ยงในการซื้อหุ้นกู้ยังต้องพิจารณาในเรื่องของแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย เพราะการ “ล็อค”เงินของเราไว้นานๆ ก็อาจทำให้เราเสียโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า หากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกเรื่องคือ หุ้นกู้ มักจะมีปัญหาเรื่อง “สภาพคล่อง” ทั้งหาซื้อยาก และ ขายออกยาก คือ เมื่อต้องการจะขายออก อาจจะไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เลวร้าย หาก หุ้นกู้ ที่เราถืออยู่ถูกปรับลดอันดับเครดิตลงมา
ถึงตรงนี้คงพอจะบอกได้ว่า หุ้นกู้ อาจจะเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ดี หากเราต้องการผลตอบแทนที่แน่นอน สม่ำเสมอในระยะยาว และช่วยในการลดความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนของเรา แต่การลงทุนก็ต้องศึกษาในรายละเอียดพอสมควร ไม่ควรตัดสินใจโดยดูเฉพาะ อัตราผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยสูงๆเพียงอย่างเดียว
บทเรียนที่เคยเกิดขึ้น ในยุคฟองสบู่ จนนำไปสู่ วิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” ส่วนหนึ่งก็มาจาก การระดมออก “หุ้นกู้” กันอย่างมโหฬารของบรรดาธุรกิจในด้านอสังหาริมทรัพย์ และ สุดท้ายก็ถึงคราวอวสาน เมื่อเกิดภาวะ “ฟองสบู่แตก”
เพราะอย่างนั้น อย่าลืมศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนที่จะผลีผลามแห่เข้าไปซื้อเพียงเพราะไม่อยากตกขบวนรถไฟ หรือ ถ้าอยากให้ “ชัวร์” ไม่ต้องเสี่ยงมากจนเกินไป ก็ลองลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้แทนก็น่าจะช่วยให้มั่นใจได้มากขึ้น ถึงแม้ผลตอบแทนอาจจะลดลง แต่ขืนบุ่มบ่าม ตัดสินใจซื้อ “หุ้นกู้” โดยดูเพียง อัตราดอกเบี้ย เป็นตัวหลัก กว่าจะรู้ว่า “คิดผิด” ก็อาจจะสายเกินไปเสียแล้วก็เป็นได้
เพราะเหตุนี้ เราจึงต้องมีการกระจายความเสี่ยงในการวางน้ำหนักของการลงทุนไปยังสินทรัพย์ หรือ ตราสารประเภทต่างๆให้เหมาะสมตาม อายุ ช่วงเวลา ปริมาณเม็ดเงิน และ ที่สำคัญตามขนาดของ “หัวใจ”ของแต่ละคน แทนที่จะทุ่มเงินบน “หน้าตัก” ที่เรามีทั้งหมดไปในตราสารประเภทใดประเภทหนึ่ง
นอกเหนือจากการลงทุนใน หุ้น กองทุนรวม และ พันธบัตรแล้ว หุ้นกู้ภาคเอกชน ก็เป็นตราสารหนี้ประเภทหนึ่ง เช่นเดียวกับพันธบัตรรัฐบาล ที่เป็นทางเลือกหนึ่งของการลงทุน ที่สามารถจะให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยที่แน่นอนและน่าสนใจ
ตามปกติในการทำธุรกิจ จุดเริ่มต้นจะมาจาก เจ้าของธุรกิจที่ต้องการจะประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยนอกเหนือจากจะต้องมีเงินลงทุนของตัวเองแล้ว อาจจะมีการชักชวนเพื่อนฝูงหรือคนรู้จักให้มาร่วมกันลงขัน เมื่อทำมาหากินจนมีกำไรแล้วก็นำมาแบ่งปันกันในกลุ่ม
ในระยะแรกๆ หากผู้ประกอบการมีเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอกับขนาดของธุรกิจ ก็อาจจะกู้หนี้ยืมสินผ่านตลาดเงินจากสถาบันการเงินเพื่อใช้ดำเนินงาน ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องยอมเสียดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินสถาบันการเงินมาใช้
อย่างไรก็ตาม กลวิธีอีกอย่างหนึ่งในการระดมทุน โดยมีต้นทุนการเงินที่ต่ำลง สำหรับเจ้าของธุรกิจ คือการออกตาราสารทุน หรือ ขายหุ้น เพื่อระดมทุนผ่านตลาดรอง หรือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการเพิ่มทุนเพื่อแปลงสภาพให้เป็นบริษัทมหาชน และกระจายหุ้นให้กับนักลงทุนที่สนใจ
ผู้ที่ลงทุนเข้ามาถือหุ้นในบริษัทนั้นๆ จะมีสถานะเป็น “เจ้าของ” ที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลจากกำไรของบริษัทนั้นๆ และ สามารถจะเข้าประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อติดตามสถานภาพและผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ แต่หากต้องการจะขายหุ้นที่ถือครองออก ก็สามารถจะขายผ่านตลาดรอง หรือ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามราคาที่มีการเคลื่อนไหวในแต่ละวัน
แต่ในบางครั้งหากเจ้าของบริษัทที่อาจจะแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนแล้ว และมีความต้องการที่จะระดมทุนเพิ่มเติม หรือ ต้องการเงินทุนหมุนเวียน โดยยังไม่ต้องการจะเพิ่มหุ้นทุน ที่จะทำให้สูญเสียสิทธิ์ของผู้ถือหุ้นเดิม ก็สามารถจะกู้ยืมเงินจากประชาชนทั่วไป โดยการเสนอขายตราสารหนี้ ที่เรียกว่า “หุ้นกู้” ซึ่งผู้ซื้อจะมีฐานะเป็น “เจ้าหนี้”
ในการออกหุ้นกู้ เนื่องจากต้องแข่งขันกับตราสารหนี้ของภาครัฐ คือ พันธบัตรรัฐบาล บริษัทที่ต้องการระดมทุนด้วยวิธีนี้จึงต้องมีการเสนอผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าพันธบัตรเพื่อสร้างแรงจูงใจ
รายละเอียดที่ต้องมีการระบุในการออกหุ้นกู้ คือ ต้องมีการกำหนดวงเงินกู้ และวัตถุประสงค์ในการระดมทุนในครั้งนั้นๆ มูลค่าของหุ้นกู้ต่อหน่วย ระยะเวลาการไถ่ถอน และ ผลตอบแทนหรือ ดอกเบี้ยที่จะจ่ายในแต่ละปี รวมถึงกำหนดการจ่ายดอกเบี้ยปีละกี่งวด
ในปัจจุบัน ยังมีการผสมผสานรูปแบบของ ตราสารหุ้น และ หุ้นกู้ ออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น สิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญ หรือ “วอแรนท์” หรือ หุ้นกู้แปลงสภาพ (สิทธิในการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ) หุ้นกู้ควบหุ้นบุริมสิทธิ และอื่นๆอีกมากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการของทั้งฝั่ง เจ้าของกิจการ และผู้ลงทุน
สิ่งที่ต้องตระหนักในการซื้อ หุ้นกู้ นอกเหนือจากการดูอัตราผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย และ ระยะเวลาไถ่ถอนแล้ว สิ่งที่ต้องให้ความสนใจอย่างมากเช่นเดียวกับ การลงทุนใน “หุ้น” ก็คือ ผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงินของบริษัท โครงสร้างผู้ถือหุ้น และผู้บริหาร
คนที่คิดว่า หุ้นกู้ เป็นตราสารที่ไม่มีความเสี่ยง และให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอในรูปของดอกเบี้ย อาจเป็นความเข้าใจที่ถูกเพียงครึ่งเดียว เนื่องจาก หุ้นกู้ ก็มีความเสี่ยงในหลายๆประการ
ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด คือ ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ หากผลการดำเนินงานของบริษัทไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดจากหลายๆสาเหตุ เพราะบริษัทที่ออกหุ้นกู้ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องหนี้สิน จึงต้องการระดมทุนไปปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อลดต้นทุนทางการเงินทั้งระยะสั้นและระยะกลางเป็นหลัก
บางครั้งหากภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นไม่เอื้ออำนวย และบริษัทอยู่ในอุตสาหกรรม หรือสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่มีปัญหา ก็อาจส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินอย่างรุนแรง ซึ่งบางครั้งหากถึงขั้น “ล้ม” ก็อาจทำให้เราต้องสูญเสียเงินต้นทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ เราจึงต้องศึกษาเกี่ยวกับแผนทางการเงินของบริษัทอย่างละเอียด
รายละเอียดเหล่านี้จะอยู่ในหนังสือชี้ชวน (Prospectus) ซึ่งจะต้องมีการเปิดเผยอย่างละเอียด โดยเฉพาะในเรื่องของ “ความเสี่ยง” ในการดำเนินธุรกิจในด้านต่างๆของบริษัท และที่สำคัญคือ รายงานการจัดอันดับเครดิตเรทติ้งของสถาบันจัดอันดับ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ของบริษัทนั้นๆ
ปัจจุบันหุ้นกู้ภาคเอกชนที่มีการเสนอขายในเมืองไทย จะมี สถาบันจัดอันดับเครดิต ทริสเรทติ้ง “TRIS Rating” เป็นผู้ประเมิน
ในการประเมินและจัดอันดับ ทริสเรทติ้ง จะแสดงผลการจัดอันดับเครดิตตราสารหนี้ระยะกลาง และระยะยาว จำนวน 8 อันดับ เริ่มจาก AAA ซึ่งเป็นอันดับเครดิตสูงสุด ไปจนถึง D ที่ต่ำสุด โดบเน้นการวิเคราะห์โอกาสที่จะเกิด “การผิดนัดชำระหนี้” (Default Probability) แต่ไม่ได้คำนึงถึงระดับของการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดชำระหนี้ โดยอาจจะมีเครื่องหมายบวก (+)หรือ ลบ (-) เพื่อให้เห็นความแตกต่างของคุณภาพของอันดับเครดิตในระดับเดียวกัน
นอกจากนี้ยังมีการกำหนด “แนวโน้มอันดับเครดิต” Rating Outlook โดยพิจารณาถึงโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในภาวะอุตสาหกรรมและสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ ที่อาจจะกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ Positive (อาจปรับขึ้น) Stable (ไม่เปลี่ยนแปลง) Negative (อาจปรับลดลง) และ Developing (ยังไม่แน่นอน)
ความเสี่ยงในการซื้อหุ้นกู้ยังต้องพิจารณาในเรื่องของแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย เพราะการ “ล็อค”เงินของเราไว้นานๆ ก็อาจทำให้เราเสียโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า หากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกเรื่องคือ หุ้นกู้ มักจะมีปัญหาเรื่อง “สภาพคล่อง” ทั้งหาซื้อยาก และ ขายออกยาก คือ เมื่อต้องการจะขายออก อาจจะไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เลวร้าย หาก หุ้นกู้ ที่เราถืออยู่ถูกปรับลดอันดับเครดิตลงมา
ถึงตรงนี้คงพอจะบอกได้ว่า หุ้นกู้ อาจจะเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ดี หากเราต้องการผลตอบแทนที่แน่นอน สม่ำเสมอในระยะยาว และช่วยในการลดความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนของเรา แต่การลงทุนก็ต้องศึกษาในรายละเอียดพอสมควร ไม่ควรตัดสินใจโดยดูเฉพาะ อัตราผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยสูงๆเพียงอย่างเดียว
บทเรียนที่เคยเกิดขึ้น ในยุคฟองสบู่ จนนำไปสู่ วิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” ส่วนหนึ่งก็มาจาก การระดมออก “หุ้นกู้” กันอย่างมโหฬารของบรรดาธุรกิจในด้านอสังหาริมทรัพย์ และ สุดท้ายก็ถึงคราวอวสาน เมื่อเกิดภาวะ “ฟองสบู่แตก”
เพราะอย่างนั้น อย่าลืมศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนที่จะผลีผลามแห่เข้าไปซื้อเพียงเพราะไม่อยากตกขบวนรถไฟ หรือ ถ้าอยากให้ “ชัวร์” ไม่ต้องเสี่ยงมากจนเกินไป ก็ลองลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้แทนก็น่าจะช่วยให้มั่นใจได้มากขึ้น ถึงแม้ผลตอบแทนอาจจะลดลง แต่ขืนบุ่มบ่าม ตัดสินใจซื้อ “หุ้นกู้” โดยดูเพียง อัตราดอกเบี้ย เป็นตัวหลัก กว่าจะรู้ว่า “คิดผิด” ก็อาจจะสายเกินไปเสียแล้วก็เป็นได้