กทพ.เจรจาเซเว่น อีเลฟเว่น ขายบัตรผ่าน 7-Catalog มั่นใจสะดวกทั้งซื้อและเติมเงินแบบใกล้บ้าน 24 ชม. คาดได้ข้อสรุปกลางปีนี้ เชื่อช่วยเพิ่มสมาชิกเป็น 7 แสนใบในปี 56 ตั้งเป้าปี 57 โตแบบก้าวกระโดดแตะ 1 ล้านใบ เผยนโยบายคมนาคมตั้งเป้ายอดใช้บัตร 1.5 ล้านใบ แต่หวั่นมีปัญหางบซื้อบัตร ชี้ต้องใช้อีกเกือบ 1,000 ล้านบาท
รายงานข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กทพ.อยู่ระหว่างการเจรจากับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น เพื่อให้จัดจำหน่ายบัตรค่าผ่านทางอัตโนมัติ (EASY PASS) ผ่านทางหนังสือเซเว่น แค็ตตาล็อก (7-Catalog) จากปัจจุบันที่สามารถให้บริการเติมเงินในบัตรได้ทางเคาน์เตอร์เซอร์วิสของเซเว่นฯ แล้ว โดยคาดว่าจะสรุปภายในกลางปี 2556 นี้ ซึ่งการจำหน่ายบัตร EASY PASS ผ่านเซเว่นฯ จะทำให้ผู้ใช้บริการมีความสะดวกมากขึ้นและจะทำให้จำนวนสมาชิก EASY PASS ในปี 2556 เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 2 แสนใบรวมเป็น 7 แสนใบ จากปัจจุบันที่มีประมาณ 5.4 แสนใบ
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมมีนโยบายต้องการให้มีผู้ใช้บัตร EASY PASS ประมาณ 60-70% ของปริมาณรถในระบบทางด่วนทั้งหมด หรือเท่ากับต้องมีสมาชิกประมาณ 1.5 ล้านใบ ดังนั้นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายที่มีความสะดวกและเข้าถึงได้ง่ายตลอด 24 ชม.เชื่อว่าจะทำให้สมาชิกเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด จากปัจจุบันมีการจำหน่ายบัตรที่ด่านเก็บค่าผ่านทาง ซึ่งมีข้อจำกัดหลายอย่าง
โดยปัญหาที่ต้องพิจารณาหลังจากนี้คือ เมื่อส่งเสริมให้ซื้อและเติมเงินในบัตรมีความสะดวกมากขึ้นแล้ว กทพ.จะต้องจัดเตรียมบัตรสำหรับจำหน่ายให้เพียงพอด้วย โดยมีต้นทุนประมาณ 1,000 บาทต่อใบ เมื่อต้องการอีก 1 ล้านใบจะต้องมีงบประมาณ 1,000 ล้านบาทสำหรับจัดซื้อบัตรล่วงหน้า ซึ่งจะต้องพิจารณาว่า กทพ.จะสามารถจัดตั้งงบประมาณในการจัดซื้อบัตรแต่ละปีได้เท่าไร และสอดคล้องกับนโยบายที่ต้องเพิ่มจำนวนผู้ใช้บัตรหรือไม่
“ตอนนี้ผู้ที่ใช้ทางด่วนเป็นประจำและเป็นลูกค้ากลุ่มหลักซื้อไปหมดแล้ว ที่เหลือจะเป็นผู้ใช้ทางแบบครั้งคราวตามความจำเป็น ซึ่งหลังจากนี้จะเป็นการสร้างแรงจูงใจในการซื้อซึ่งจะต้องหาพันธมิตรมาร่วมทำโปรโมชันเพื่อให้มีความหลากหลายมากขึ้นนอกเหนือจากความสะดวกในการซื้อและเติมเงิน”
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาสามารถจำหน่ายบัตร Easy Pass ทางด่านเก็บค่าผ่านทาง 4 ด่านหลัก คือ ประชาชื่น ศรีนครินทร์ อโศก3, 4 เฉลี่ยประมาณ 700 ใบต่อวัน ในขณะที่การตั้งบูทเฉพาะกิจตามสถานีต่างๆ ยอดการจำหน่ายถือว่าไม่มากเมื่อเทียบกับการจำหน่ายที่ด่านปกติ เช่น งานมอเตอร์โชว์ 10 วันจำหน่ายได้ 900 ใบ หรือเฉลี่ยวันละไม่ถึง 100 ใบ ในขณะที่ต้องจัดเจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ไปประจำจุดขายเฉพาะกิจ ซึ่งทำให้กระทบต่องานหลักที่ต้องเร่งหาพันธมิตรมาร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขาย
รายงานข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กทพ.อยู่ระหว่างการเจรจากับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น เพื่อให้จัดจำหน่ายบัตรค่าผ่านทางอัตโนมัติ (EASY PASS) ผ่านทางหนังสือเซเว่น แค็ตตาล็อก (7-Catalog) จากปัจจุบันที่สามารถให้บริการเติมเงินในบัตรได้ทางเคาน์เตอร์เซอร์วิสของเซเว่นฯ แล้ว โดยคาดว่าจะสรุปภายในกลางปี 2556 นี้ ซึ่งการจำหน่ายบัตร EASY PASS ผ่านเซเว่นฯ จะทำให้ผู้ใช้บริการมีความสะดวกมากขึ้นและจะทำให้จำนวนสมาชิก EASY PASS ในปี 2556 เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 2 แสนใบรวมเป็น 7 แสนใบ จากปัจจุบันที่มีประมาณ 5.4 แสนใบ
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมมีนโยบายต้องการให้มีผู้ใช้บัตร EASY PASS ประมาณ 60-70% ของปริมาณรถในระบบทางด่วนทั้งหมด หรือเท่ากับต้องมีสมาชิกประมาณ 1.5 ล้านใบ ดังนั้นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายที่มีความสะดวกและเข้าถึงได้ง่ายตลอด 24 ชม.เชื่อว่าจะทำให้สมาชิกเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด จากปัจจุบันมีการจำหน่ายบัตรที่ด่านเก็บค่าผ่านทาง ซึ่งมีข้อจำกัดหลายอย่าง
โดยปัญหาที่ต้องพิจารณาหลังจากนี้คือ เมื่อส่งเสริมให้ซื้อและเติมเงินในบัตรมีความสะดวกมากขึ้นแล้ว กทพ.จะต้องจัดเตรียมบัตรสำหรับจำหน่ายให้เพียงพอด้วย โดยมีต้นทุนประมาณ 1,000 บาทต่อใบ เมื่อต้องการอีก 1 ล้านใบจะต้องมีงบประมาณ 1,000 ล้านบาทสำหรับจัดซื้อบัตรล่วงหน้า ซึ่งจะต้องพิจารณาว่า กทพ.จะสามารถจัดตั้งงบประมาณในการจัดซื้อบัตรแต่ละปีได้เท่าไร และสอดคล้องกับนโยบายที่ต้องเพิ่มจำนวนผู้ใช้บัตรหรือไม่
“ตอนนี้ผู้ที่ใช้ทางด่วนเป็นประจำและเป็นลูกค้ากลุ่มหลักซื้อไปหมดแล้ว ที่เหลือจะเป็นผู้ใช้ทางแบบครั้งคราวตามความจำเป็น ซึ่งหลังจากนี้จะเป็นการสร้างแรงจูงใจในการซื้อซึ่งจะต้องหาพันธมิตรมาร่วมทำโปรโมชันเพื่อให้มีความหลากหลายมากขึ้นนอกเหนือจากความสะดวกในการซื้อและเติมเงิน”
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาสามารถจำหน่ายบัตร Easy Pass ทางด่านเก็บค่าผ่านทาง 4 ด่านหลัก คือ ประชาชื่น ศรีนครินทร์ อโศก3, 4 เฉลี่ยประมาณ 700 ใบต่อวัน ในขณะที่การตั้งบูทเฉพาะกิจตามสถานีต่างๆ ยอดการจำหน่ายถือว่าไม่มากเมื่อเทียบกับการจำหน่ายที่ด่านปกติ เช่น งานมอเตอร์โชว์ 10 วันจำหน่ายได้ 900 ใบ หรือเฉลี่ยวันละไม่ถึง 100 ใบ ในขณะที่ต้องจัดเจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ไปประจำจุดขายเฉพาะกิจ ซึ่งทำให้กระทบต่องานหลักที่ต้องเร่งหาพันธมิตรมาร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขาย