ไทย-สหรัฐฯ หารือ TIFA JC ครั้งที่ 2 เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ไทยได้ทีโต้สหรัฐฯ กรณีกล่าวหาไทยใช้แรงงานเด็กและค้ามนุษย์ใน 5 อุตสาหกรรมหลัก ยืนยันไทยไม่เคยมีปัญหาในเรื่องนี้
นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15-16 มกราคม 2556 ที่ผ่านมาได้นำคณะผู้แทนไทย ซึ่งประกอบด้วย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้แทนกรมประมง กรมปศุสัตว์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมทรัพย์สินทางปัญญา และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เข้าร่วมประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสหรัฐฯ (Trade and Investment Framework Agreement : TIFA JC) ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 2 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยมีนาง Babara Weisel ผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายสหรัฐฯ
ในการประชุมทวิภาคีกับสหรัฐฯ ครั้งนี้ ฝ่ายไทยได้หยิบยกประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการค้าของไทย เช่น รายงานของสหรัฐฯ เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับในไทย สืบเนื่องจากการที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ จัดทำ เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons Report : TIP Report) และกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เผยแพร่รายงานและบัญชีรายชื่อสินค้าที่มีการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับเอกสารรายงานเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ซึ่งสินค้าไทยที่อยู่ในบัญชีดังกล่าวมีจำนวน 5 รายการ ได้แก่ สิ่งทอ กุ้ง สื่อลามก อ้อย และปลา ฝ่ายไทยได้ชี้แจงให้ผู้แทนหน่วยงานของสหรัฐฯ ได้ทราบถึงการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ประจำปี 2555-2556 ของประเทศไทย รวมทั้งการแก้ไขปัญหา และส่งเสริมสภาพการทำงานที่ดีในอุตสาหกรรมประมง โดยขอให้สหรัฐฯ ใช้ข้อมูลจากภาครัฐไปประกอบการจัดทำรายงานด้วย ซึ่งผู้แทนกระทรวงแรงงาน และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แจ้งว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง และเข้าใจต่อการให้ความสำคัญในเรื่องนี้ของประเทศไทย โดยจะนำข้อมูลดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาต่อไป
ส่วนประเด็นสำคัญอื่นที่ไทยหยิบยกขึ้นหารือ ได้แก่ การประกาศใช้กฎหมายป้องกันการแข่งขันธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม (Unfair Competition Act : UCA) ในระดับมลรัฐของสหรัฐฯ การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (AD/CVD) ของสหรัฐฯ กับสินค้าไทย และการใช้มาตรการห้ามนำเข้าหนังจระเข้และผลิตภัณฑ์จากไทย พร้อมกันนี้ได้ชี้แจงประเด็นที่สหรัฐฯ มีข้อกังวล ได้แก่ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทย การกำหนดให้การส่งผ่านข้อมูลธุรกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่เกิดขึ้นในประเทศ ต้องผ่านศูนย์กลางรับส่งข้อมูลรายการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดตั้งและดำเนินการภายในประเทศ มาตรการห้ามนำเข้าเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์ที่ตรวจพบสาร Ractopamine นโยบายการค้าข้าว การขยายขอบเขตความตกลง ITA และการกำหนดข้อห้ามการครอบงำกิจการโทรคมนาคมโดยคนต่างด้าว (Foreign Dominance Regulations) ของไทย เป็นต้น
โดยที่สินค้าประมง และสิ่งทอ เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยในตลาดสหรัฐฯ คณะผู้แทนไทยได้ใช้โอกาสนี้ชี้แจงข้อเท็จจริงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การใช้แรงงานในอุตสาหกรรมดังกล่าว รวมทั้งการดำเนินงานในการยกระดับมาตรฐานแรงงานของไทย เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้แทนสถาบันประมงแห่งชาติสหรัฐฯ (National Fisheries Institute : NFI) บริษัทที่ปรึกษาเรื่องสิ่งทอสหรัฐฯ (International Development System Inc : IDS) และผู้บริหารของบริษัทนำเข้ารายสำคัญในสหรัฐฯ เช่น Chicken of the Sea Frozen Foods, H & N Group, C.P. Food Products, Inc., ACE Group, King & Prince Seafood Corporation, Eastern Fish Company, Dacon Trading และ Costco เป็นต้น
ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นคู่ค้าลำดับที่ 5 ของไทย โดยการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในช่วง 11 เดือนแรก (ม.ค.ขพ.ย.) ของปี 2555 มีมูลค่า 32,914 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกไปสหรัฐฯ มูลค่า 21,019 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่นำเข้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 11,895 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้าสหรัฐฯ มูลค่า 9,124 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐฯ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เป็นต้น ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากสหรัฐฯ ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15-16 มกราคม 2556 ที่ผ่านมาได้นำคณะผู้แทนไทย ซึ่งประกอบด้วย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้แทนกรมประมง กรมปศุสัตว์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมทรัพย์สินทางปัญญา และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เข้าร่วมประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสหรัฐฯ (Trade and Investment Framework Agreement : TIFA JC) ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 2 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยมีนาง Babara Weisel ผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายสหรัฐฯ
ในการประชุมทวิภาคีกับสหรัฐฯ ครั้งนี้ ฝ่ายไทยได้หยิบยกประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการค้าของไทย เช่น รายงานของสหรัฐฯ เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับในไทย สืบเนื่องจากการที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ จัดทำ เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons Report : TIP Report) และกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เผยแพร่รายงานและบัญชีรายชื่อสินค้าที่มีการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับเอกสารรายงานเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ซึ่งสินค้าไทยที่อยู่ในบัญชีดังกล่าวมีจำนวน 5 รายการ ได้แก่ สิ่งทอ กุ้ง สื่อลามก อ้อย และปลา ฝ่ายไทยได้ชี้แจงให้ผู้แทนหน่วยงานของสหรัฐฯ ได้ทราบถึงการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ประจำปี 2555-2556 ของประเทศไทย รวมทั้งการแก้ไขปัญหา และส่งเสริมสภาพการทำงานที่ดีในอุตสาหกรรมประมง โดยขอให้สหรัฐฯ ใช้ข้อมูลจากภาครัฐไปประกอบการจัดทำรายงานด้วย ซึ่งผู้แทนกระทรวงแรงงาน และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แจ้งว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง และเข้าใจต่อการให้ความสำคัญในเรื่องนี้ของประเทศไทย โดยจะนำข้อมูลดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาต่อไป
ส่วนประเด็นสำคัญอื่นที่ไทยหยิบยกขึ้นหารือ ได้แก่ การประกาศใช้กฎหมายป้องกันการแข่งขันธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม (Unfair Competition Act : UCA) ในระดับมลรัฐของสหรัฐฯ การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (AD/CVD) ของสหรัฐฯ กับสินค้าไทย และการใช้มาตรการห้ามนำเข้าหนังจระเข้และผลิตภัณฑ์จากไทย พร้อมกันนี้ได้ชี้แจงประเด็นที่สหรัฐฯ มีข้อกังวล ได้แก่ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทย การกำหนดให้การส่งผ่านข้อมูลธุรกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่เกิดขึ้นในประเทศ ต้องผ่านศูนย์กลางรับส่งข้อมูลรายการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดตั้งและดำเนินการภายในประเทศ มาตรการห้ามนำเข้าเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์ที่ตรวจพบสาร Ractopamine นโยบายการค้าข้าว การขยายขอบเขตความตกลง ITA และการกำหนดข้อห้ามการครอบงำกิจการโทรคมนาคมโดยคนต่างด้าว (Foreign Dominance Regulations) ของไทย เป็นต้น
โดยที่สินค้าประมง และสิ่งทอ เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยในตลาดสหรัฐฯ คณะผู้แทนไทยได้ใช้โอกาสนี้ชี้แจงข้อเท็จจริงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การใช้แรงงานในอุตสาหกรรมดังกล่าว รวมทั้งการดำเนินงานในการยกระดับมาตรฐานแรงงานของไทย เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้แทนสถาบันประมงแห่งชาติสหรัฐฯ (National Fisheries Institute : NFI) บริษัทที่ปรึกษาเรื่องสิ่งทอสหรัฐฯ (International Development System Inc : IDS) และผู้บริหารของบริษัทนำเข้ารายสำคัญในสหรัฐฯ เช่น Chicken of the Sea Frozen Foods, H & N Group, C.P. Food Products, Inc., ACE Group, King & Prince Seafood Corporation, Eastern Fish Company, Dacon Trading และ Costco เป็นต้น
ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นคู่ค้าลำดับที่ 5 ของไทย โดยการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในช่วง 11 เดือนแรก (ม.ค.ขพ.ย.) ของปี 2555 มีมูลค่า 32,914 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกไปสหรัฐฯ มูลค่า 21,019 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่นำเข้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 11,895 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้าสหรัฐฯ มูลค่า 9,124 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐฯ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เป็นต้น ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากสหรัฐฯ ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น