หอการค้าไทยคาดเศรษฐกิจไทยปีหน้ายังน่าเป็นห่วง ประเมินจีดีพีไทยปี 56 โต 4-5% ห่วงปัจจัยค่าแรง 300 เพิ่มต้นทุน เร่งลุยเพิ่มมูลค่าค้าชายแดน พร้อมนำบริษัทขนาดใหญ่บุกพม่า
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์เศรษฐกิจปี 2555 ที่กำลังจะผ่านไป หลายฝ่ายได้ใช้ความพยายามอย่างหนักที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจและธุรกิจให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี จะเห็นได้ว่าภาครัฐได้ตั้งเป้า GDP ทั้งปีไว้ที่ 7% กลางปีได้ปรับลดลงเหลือ 5% และปลายปีสภาพัฒน์เพิ่งเผยตัวเลขออกมาไตรมาสที่ 3 เหลือเพียง 3% และคาดว่าสิ้นปีน่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.5% ซึ่งคาดว่าน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว สาเหตุหลักที่สำคัญก็เป็นที่ทราบกันดีว่าเกิดจากวิกฤตยุโรป วิกฤตเศรษฐกิจอเมริกา และปัญหาอุทกภัยที่ผ่านมา ทำให้การส่งออกไม่ขยายตัว
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2556 นั้นต้องยอมรับว่ายังน่าเป็นห่วง โดยคาดว่าตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) จะขยายตัวประมาณ 4-5% ซึ่งปัจจัยที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวได้เพิ่มขึ้น มาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศจากความต้องการภายในที่สูงขึ้น เช่น ธุรกิจ ICT ซึ่งหากการออกใบอนุญาต 3G เรียบร้อย ก็จะทำให้เติบโตไม่ต่ำกว่า 30% ธุรกิจก่อสร้าง คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากแรงส่งภายหลังสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งมีการซ่อมแซมและการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น ธุรกิจการประกันภัย-ธุรกิจประกันชีวิตจะมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น 12-15% โดยเฉพาะธุรกิจประกันวินาศภัยจะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น 20% เนื่องจากคนไทยเริ่มตระหนักถึงปัญหาภัยน้ำท่วม และเน้นการออมเงินสูงขึ้น และธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ คาดว่าจะขยายตัว 10% อันเกิดจากนโยบายรถคันแรก
ส่วนปัจจัยด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกจะยังคงขยายตัวได้ แต่คงจะไม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 0-5% โดยสินค้าที่จะขยายตัวได้ดี เช่น ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ธุรกิจเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ขณะที่มันสำปะหลังคาดว่าจะขยายตัว 5-10% ส่วนกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะมีตัวเลขการส่งออกชะลอตัวและหดตัวลง ได้แก่ ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ อาหารทะเลแช่แข็ง สินค้าเฟอร์นิเจอร์ และยางพารา เป็นต้น อันเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นตลาดหลักสำคัญ ได้แก่ อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ประกอบกับปัญหาการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีภาระต้นทุนสูงขึ้น และในบางธุรกิจประสบปัญหาเงื่อนไขทางการค้าที่เข้มงวดมากขึ้น
นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า เพื่อเป็นการผลักดันให้การส่งออกในปี 2556 มีอัตราการขยายตัวได้ต่อเนื่อง หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จะเร่งผลักดันการให้มีการขยายมูลค่าการค้าชายแดนให้เพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2555 (ม.ค.-ต.ค.) การค้าชายแดนมีมูลค่า 759,140 ล้านบาท ขยายตัว 1.73% และคาดว่าทั้งปี 2555 จะมีปริมาณการค้า 9 แสนล้านบาท โดยเฉพาะพม่า ซึ่งมีมูลค่าการค้ากับประเทศไทยสูงเป็นอันดับสองรองจากมาเลเซีย โดยมีปริมาณการค้า (ม.ค.-ต.ค.) 145,885 ล้านบาท ขยายตัว 10.99%
ทั้งนี้ หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้จัดคณะผู้นำทางธุรกิจ จำนวน 20 ท่าน เช่น ธุรกิจอาหาร (ข้าว ประมง และอาหารสำเร็จรูป) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สินค้าอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ ก่อสร้าง เครื่องจักรกล ธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล การธนาคาร เทคโนโลยี IT และการขนส่ง เป็นต้น เดินทางไปเยือนพม่าในระหว่างวันที่ 16-18 ธันวาคม 2555 เพื่อศึกษาศักยภาพด้านการค้าการลงทุน โดยในวันที่ 17 มีกำหนดเข้าพบปะกับประธานและผู้แทนระดับสูงของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมาร์ เพื่อหารือความร่วมมือทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งนักธุรกิจเอกชนจะได้มีการพิจารณาย้ายฐานการลงทุนไปยังประเทศพม่า เนื่องจากเป็นประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียนในขณะนี้ เพราะด้วยพื้นที่ของประเทศที่ยังมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมาก และมีค่าแรงที่ยังถือว่าถูกมาก โดยมีค่าแรงขั้นต่ำเพียง 75 บาท ถึง 120 บาท/วัน ส่วนอัตราค่าจ้างในระดับปริญญาตรี เพียง 3,000 บาท ถึง 6,000 บาท/เดือน ซึ่งการเดินทางไปในครั้งนี้จะเป็นการเดินทางเพื่อแสวงหาลู่ทางในการลดผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ที่ภาคเอกชนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งอาจจะสามารถช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์เศรษฐกิจปี 2555 ที่กำลังจะผ่านไป หลายฝ่ายได้ใช้ความพยายามอย่างหนักที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจและธุรกิจให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี จะเห็นได้ว่าภาครัฐได้ตั้งเป้า GDP ทั้งปีไว้ที่ 7% กลางปีได้ปรับลดลงเหลือ 5% และปลายปีสภาพัฒน์เพิ่งเผยตัวเลขออกมาไตรมาสที่ 3 เหลือเพียง 3% และคาดว่าสิ้นปีน่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.5% ซึ่งคาดว่าน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว สาเหตุหลักที่สำคัญก็เป็นที่ทราบกันดีว่าเกิดจากวิกฤตยุโรป วิกฤตเศรษฐกิจอเมริกา และปัญหาอุทกภัยที่ผ่านมา ทำให้การส่งออกไม่ขยายตัว
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2556 นั้นต้องยอมรับว่ายังน่าเป็นห่วง โดยคาดว่าตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) จะขยายตัวประมาณ 4-5% ซึ่งปัจจัยที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวได้เพิ่มขึ้น มาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศจากความต้องการภายในที่สูงขึ้น เช่น ธุรกิจ ICT ซึ่งหากการออกใบอนุญาต 3G เรียบร้อย ก็จะทำให้เติบโตไม่ต่ำกว่า 30% ธุรกิจก่อสร้าง คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากแรงส่งภายหลังสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งมีการซ่อมแซมและการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น ธุรกิจการประกันภัย-ธุรกิจประกันชีวิตจะมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น 12-15% โดยเฉพาะธุรกิจประกันวินาศภัยจะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น 20% เนื่องจากคนไทยเริ่มตระหนักถึงปัญหาภัยน้ำท่วม และเน้นการออมเงินสูงขึ้น และธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ คาดว่าจะขยายตัว 10% อันเกิดจากนโยบายรถคันแรก
ส่วนปัจจัยด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกจะยังคงขยายตัวได้ แต่คงจะไม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 0-5% โดยสินค้าที่จะขยายตัวได้ดี เช่น ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ธุรกิจเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ขณะที่มันสำปะหลังคาดว่าจะขยายตัว 5-10% ส่วนกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะมีตัวเลขการส่งออกชะลอตัวและหดตัวลง ได้แก่ ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ อาหารทะเลแช่แข็ง สินค้าเฟอร์นิเจอร์ และยางพารา เป็นต้น อันเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นตลาดหลักสำคัญ ได้แก่ อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ประกอบกับปัญหาการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีภาระต้นทุนสูงขึ้น และในบางธุรกิจประสบปัญหาเงื่อนไขทางการค้าที่เข้มงวดมากขึ้น
นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า เพื่อเป็นการผลักดันให้การส่งออกในปี 2556 มีอัตราการขยายตัวได้ต่อเนื่อง หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จะเร่งผลักดันการให้มีการขยายมูลค่าการค้าชายแดนให้เพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2555 (ม.ค.-ต.ค.) การค้าชายแดนมีมูลค่า 759,140 ล้านบาท ขยายตัว 1.73% และคาดว่าทั้งปี 2555 จะมีปริมาณการค้า 9 แสนล้านบาท โดยเฉพาะพม่า ซึ่งมีมูลค่าการค้ากับประเทศไทยสูงเป็นอันดับสองรองจากมาเลเซีย โดยมีปริมาณการค้า (ม.ค.-ต.ค.) 145,885 ล้านบาท ขยายตัว 10.99%
ทั้งนี้ หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้จัดคณะผู้นำทางธุรกิจ จำนวน 20 ท่าน เช่น ธุรกิจอาหาร (ข้าว ประมง และอาหารสำเร็จรูป) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สินค้าอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ ก่อสร้าง เครื่องจักรกล ธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล การธนาคาร เทคโนโลยี IT และการขนส่ง เป็นต้น เดินทางไปเยือนพม่าในระหว่างวันที่ 16-18 ธันวาคม 2555 เพื่อศึกษาศักยภาพด้านการค้าการลงทุน โดยในวันที่ 17 มีกำหนดเข้าพบปะกับประธานและผู้แทนระดับสูงของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมาร์ เพื่อหารือความร่วมมือทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งนักธุรกิจเอกชนจะได้มีการพิจารณาย้ายฐานการลงทุนไปยังประเทศพม่า เนื่องจากเป็นประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียนในขณะนี้ เพราะด้วยพื้นที่ของประเทศที่ยังมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมาก และมีค่าแรงที่ยังถือว่าถูกมาก โดยมีค่าแรงขั้นต่ำเพียง 75 บาท ถึง 120 บาท/วัน ส่วนอัตราค่าจ้างในระดับปริญญาตรี เพียง 3,000 บาท ถึง 6,000 บาท/เดือน ซึ่งการเดินทางไปในครั้งนี้จะเป็นการเดินทางเพื่อแสวงหาลู่ทางในการลดผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ที่ภาคเอกชนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งอาจจะสามารถช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น