“ชัชชาติ” เผยจีนสนรถไฟความเร็วสูงเชื่อมออกทะเล เสนอแยกเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคายลัดออกท่าเรือแหลมฉบังเพื่อขนส่งสินค้า โดยสร้างคู่ขนานกับทางคู่ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ขณะที่เร่งศึกษา EIA และออกแบบ 4 เส้นทางในเฟสแรก คาดเปิดประมูลพร้อมกันปลายปี 56
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางเยือนประเทศไทยเมื่อวันที่ 20-21 พ.ย.ที่ผ่านมานั้น ทางจีนให้ความสนใจโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของไทยอย่างมาก โดยพร้อมให้ความร่วมมือด้านเทคนิคก่อสร้าง พร้อมทั้งเสนอว่าควรก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ให้ออกสู่ทะเลได้เพื่อให้การขนส่งสินค้ามีความสะดวก เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงจากจีน-เวียงจันทน์ ซึ่งเบื้องต้นอาจจะพิจารณาเพิ่มเส้นทางรถไฟความเร็วสูงโดยแยกจากสายทางกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยแนวจะคู่ขนานไปกับรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย เพื่อเป็นทางลัดลงสู่ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.)
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบ และศึกษาผลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะแรก 4 เส้นทาง ประกอบด้วย กรุงเทพฯ-นครราชสีมา, กรุงเทพฯ-พิษณุโลก, กรุงเทพฯ-พัทยา และกรุงเทพฯ-หัวหิน พร้อมทั้งศึกษาการประกวดราคา ต้องพิจารณาว่าจะแยกย่อยเป็นกี่สัญญา รวมถึงวิธีการเดินรถ คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ช่วงไตรมาส 3-4 ของปี 2556
ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้น เบื้องต้นรัฐจะเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด ส่วนวิธีร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (PPP) โดยให้เอกชนลงทุนก่อสร้างและรัฐทยอยชำระคืนภายหลังนั้นจะมีต้นทุนทางการเงินสูงกว่ารัฐกู้เงินเอง นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมกำลังพิจารณาว่าจะให้หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะตั้งรัฐวิสาหกิจแห่งใหม่ขึ้นมาดูแล
ส่วนงานเดินรถมีหลายแนวทาง ทั้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หรือบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตลิงก์) เป็นผู้เดินรถ หรืออาจเปิดประกวดราคาให้เอกชนมารับงาน
อย่างไรก็ตาม นายชัชชาติยอมรับว่า การจัดเก็บค่าโดยสารไม่สามารถนำมาชดเชยค่าก่อสร้างได้ จึงอยากให้พิจารณาที่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) มากกว่า เพราะหากมีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจะสร้างความเจริญให้แก่ชุมชนตามแนวเส้นทาง และเป็นการกระจายเมืองออกสูงต่างจังหวัดได้ด้วย
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางเยือนประเทศไทยเมื่อวันที่ 20-21 พ.ย.ที่ผ่านมานั้น ทางจีนให้ความสนใจโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของไทยอย่างมาก โดยพร้อมให้ความร่วมมือด้านเทคนิคก่อสร้าง พร้อมทั้งเสนอว่าควรก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ให้ออกสู่ทะเลได้เพื่อให้การขนส่งสินค้ามีความสะดวก เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงจากจีน-เวียงจันทน์ ซึ่งเบื้องต้นอาจจะพิจารณาเพิ่มเส้นทางรถไฟความเร็วสูงโดยแยกจากสายทางกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยแนวจะคู่ขนานไปกับรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย เพื่อเป็นทางลัดลงสู่ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.)
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบ และศึกษาผลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะแรก 4 เส้นทาง ประกอบด้วย กรุงเทพฯ-นครราชสีมา, กรุงเทพฯ-พิษณุโลก, กรุงเทพฯ-พัทยา และกรุงเทพฯ-หัวหิน พร้อมทั้งศึกษาการประกวดราคา ต้องพิจารณาว่าจะแยกย่อยเป็นกี่สัญญา รวมถึงวิธีการเดินรถ คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ช่วงไตรมาส 3-4 ของปี 2556
ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้น เบื้องต้นรัฐจะเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด ส่วนวิธีร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (PPP) โดยให้เอกชนลงทุนก่อสร้างและรัฐทยอยชำระคืนภายหลังนั้นจะมีต้นทุนทางการเงินสูงกว่ารัฐกู้เงินเอง นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมกำลังพิจารณาว่าจะให้หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะตั้งรัฐวิสาหกิจแห่งใหม่ขึ้นมาดูแล
ส่วนงานเดินรถมีหลายแนวทาง ทั้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หรือบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตลิงก์) เป็นผู้เดินรถ หรืออาจเปิดประกวดราคาให้เอกชนมารับงาน
อย่างไรก็ตาม นายชัชชาติยอมรับว่า การจัดเก็บค่าโดยสารไม่สามารถนำมาชดเชยค่าก่อสร้างได้ จึงอยากให้พิจารณาที่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) มากกว่า เพราะหากมีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจะสร้างความเจริญให้แก่ชุมชนตามแนวเส้นทาง และเป็นการกระจายเมืองออกสูงต่างจังหวัดได้ด้วย