อังค์ถัดเผยจะนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก ขณะที่ภูฏานหนุนแนวคิดนี้ เชื่อเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ดร.ซุป เตือนรัฐบาลอย่าเร่งรีบเจรจาทีพีพี ชี้ควรเร่งทำอาเซียนบวก 6 ก่อนดีกว่า ห่วงได้ไม่คุ้มเสีย ขณะที่เอกชนหนุนเดินหน้า เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสส่งออก
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) เปิดเผยในการปาฐกถาหัวข้อ “ทิศทางการพัฒนาให้มีการเจริญเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ทางออกของสังคมโลก ในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 30 เมื่อวันที่ 17 พ.ย.2555 ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ว่า มีความเป็นห่วงต่อระบบเศรษฐกิจโลก เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง และใช้จ่ายเกินตัว จนทำให้เกิดวิกฤติการทางการเงิน และเกิดการขาดแคลนอาหาร และทรัพยากรธรรมชาติได้อนาคต ส่วนการที่สหรัฐฯ พยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการออกมาตรการคิวอี 3 ไม่ใช่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ถูกต้อง และทำให้เกิดการเก็งกำไรมากขึ้น มีเงินไหลเข้าภูมิภาคต่างๆ จนต้องมีการปกป้องค่าเงินภายในกันเอง ซึ่งเป็นภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ยั่งยืน
สำหรับทางออกในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ อังค์ถัดจะใช้ระบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแก้ปัญหา ได้แก่ การจำกัดการก่อหนี้ การคำนวณความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติในกระบวนการผลิต เพื่อนำไปสู่การรักษาสมดุลทางการค้า การให้ผลตอบแทนจากการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติระหว่างกัน การผลิตที่ยั่งยืนโดยใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติและต้องดูแล การพัฒนาระดับหมู่บ้านลดความเหลื่อมล้ำ และการคุ้มครองทางสังคม ควรมีสวัสดิการด้านการค้า และแรงงาน ซึ่งอยู่ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อังค์ถัดจะนำไปใช้
ขณะที่นายเลนเชน จิกมี วาย ทินเลย์ นายกรัฐมนตรีภูฏาน กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง ภูฏาน : การพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นความสุขมวลรวมประชาชาติ (จีเอ็นเอช) ว่า เห็นด้วยกับแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เศรษฐกิจโตอย่างยั่งยืนและลดผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก คล้ายกับแนวทางของภูฏานมุ่งเน้นสร้างความสุขอย่างแท้จริง โดยการสร้างความเท่าเทียม รักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณค่ามนุษย์ และยึดหลักธรรมาธิบาล แต่ก็ไม่ใช่จะไม่สนใจการลงทุน แต่ควรลงทุนที่เน้นการพัฒนาประเทศ และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ที่ภูฏานสนใจ อาทิ การท่องเที่ยว ธุรกิจสุขภาพ การศึกษา อุตสาหกรรมนวัตกรรมใหม่
ทั้งนี้ หลังจากบรรยายเสร็จ นายศุภชัยได้ให้สัมภาษณ์ว่า การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย และช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น แต่กรณีที่ไทยจะประกาศความสนใจร่วมเจรจาหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (ทีพีพี) ถือว่าไม่มีความจำเป็นที่ไทยต้องเร่งรีบเจรจา และเห็นด้วยที่กระทรวงพาณิชย์จะศึกษาอย่างรอบคอบ เพราะมีผลกระทบจากการเปิดเสรีหลายด้าน ทั้งแรงงาน ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตรยา ภาคการเงินที่จะมีเงินทุนไหลเข้าออกอย่างรวดเร็ว โดยมีตลาดการค้าขนาดใหญ่ในสหรัฐเป็นแรงจูงใจ
การที่ทีพีพี ไม่มีจีนรวมอยู่ด้วย จึงวิตกว่าอาจกลายเป็นเรื่องการเมืองได้ ไทยไม่ควรรีบเจรจาทีพีพี แต่ต้องศึกษาผลดีและผลเสียให้มีความชัดเจนก่อน และเห็นว่ากรอบความร่วมมือภายใต้อาเซียนบวก 3 และบวก6 หรือการเจรจาความตกลงภูมิภาคหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (RCEP) ที่ดำเนินการอยู่ จะได้ประโยชน์มากกว่าทีพีพี ขณะเดียวกัน ไทยควรหารือแก้ปัญหาการลงทุนธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจด้านประกันภัย ที่ปัจจุบันสหรัฐฯ สามารถเข้ามาลงทุนในธุรกิจประกันภัยในไทยได้ แต่ไทยไม่สามารถเข้าไปลงทุนธุรกิจประกันในสหรัฐฯ ได้ รวมถึงแก้ปัญหาการใช้การกีดกันสินค้าเกษตรของไทย
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การมาเยือนไทยของโอบามา แสดงให้เห็นต่างชาติยังให้ความสนใจประเทศไทย และต่างชาติยังมีความเชื่อมั่นอยู่ ส่วนการเจรจาทีพีพีเชื่อว่ายังต้องใช้เวลาอีกระยะกว่าจะเป็นรูปธรรม และขอให้ทุกฝ่ายมองว่าการรวมกลุ่มทีพีพี ไทยจะได้ประโยชน์ เพราะหากไทยไม่ร่วมเจรจากลุ่มทีพีพี อาจทำให้ไทยเสียโอกาสทางธุรกิจได้ แต่ถ้าการเจรจารวมกลุ่มทีพีพีเกิดขึ้นช้าหรือไม่เกิดขึ้น ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความร่วมมืออาเซียนบวก3 และอาเซียนบวก6ได้ เพราะถือเป็นตลาดใหญ่กว่าครึ่งโลก
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การเจรจาทีพีพีจะต้องเดินหน้าต่อไป เพราะในอนาคตสหรัฐจะรวมตัวกันเป็นสนธิสัญญาในการรวมตัวของสหรัฐฯ และกลุ่มลาตินอเมริการวม 21 ประเทศ ซึ่งจะทำให้ไทยได้ประโยชน์จากตลาดการค้าที่ใหญ่ขึ้น แต่กรณีหลายฝ่ายห่วงว่าทีพีพี จะทำให้คนไทยต้องซื้อยาราคาแพงขึ้นนั้นไม่น่าวิตก เพราะเชื่อว่าสหรัฐพร้อมเจรจาเรื่องยากับไทยอยู่แล้ว รวมถึงไทยมีโอกาสได้รับสิทธิจีเอสพี ทำให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) เปิดเผยในการปาฐกถาหัวข้อ “ทิศทางการพัฒนาให้มีการเจริญเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ทางออกของสังคมโลก ในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 30 เมื่อวันที่ 17 พ.ย.2555 ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ว่า มีความเป็นห่วงต่อระบบเศรษฐกิจโลก เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง และใช้จ่ายเกินตัว จนทำให้เกิดวิกฤติการทางการเงิน และเกิดการขาดแคลนอาหาร และทรัพยากรธรรมชาติได้อนาคต ส่วนการที่สหรัฐฯ พยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการออกมาตรการคิวอี 3 ไม่ใช่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ถูกต้อง และทำให้เกิดการเก็งกำไรมากขึ้น มีเงินไหลเข้าภูมิภาคต่างๆ จนต้องมีการปกป้องค่าเงินภายในกันเอง ซึ่งเป็นภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ยั่งยืน
สำหรับทางออกในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ อังค์ถัดจะใช้ระบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแก้ปัญหา ได้แก่ การจำกัดการก่อหนี้ การคำนวณความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติในกระบวนการผลิต เพื่อนำไปสู่การรักษาสมดุลทางการค้า การให้ผลตอบแทนจากการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติระหว่างกัน การผลิตที่ยั่งยืนโดยใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติและต้องดูแล การพัฒนาระดับหมู่บ้านลดความเหลื่อมล้ำ และการคุ้มครองทางสังคม ควรมีสวัสดิการด้านการค้า และแรงงาน ซึ่งอยู่ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อังค์ถัดจะนำไปใช้
ขณะที่นายเลนเชน จิกมี วาย ทินเลย์ นายกรัฐมนตรีภูฏาน กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง ภูฏาน : การพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นความสุขมวลรวมประชาชาติ (จีเอ็นเอช) ว่า เห็นด้วยกับแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เศรษฐกิจโตอย่างยั่งยืนและลดผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก คล้ายกับแนวทางของภูฏานมุ่งเน้นสร้างความสุขอย่างแท้จริง โดยการสร้างความเท่าเทียม รักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณค่ามนุษย์ และยึดหลักธรรมาธิบาล แต่ก็ไม่ใช่จะไม่สนใจการลงทุน แต่ควรลงทุนที่เน้นการพัฒนาประเทศ และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ที่ภูฏานสนใจ อาทิ การท่องเที่ยว ธุรกิจสุขภาพ การศึกษา อุตสาหกรรมนวัตกรรมใหม่
ทั้งนี้ หลังจากบรรยายเสร็จ นายศุภชัยได้ให้สัมภาษณ์ว่า การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย และช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น แต่กรณีที่ไทยจะประกาศความสนใจร่วมเจรจาหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (ทีพีพี) ถือว่าไม่มีความจำเป็นที่ไทยต้องเร่งรีบเจรจา และเห็นด้วยที่กระทรวงพาณิชย์จะศึกษาอย่างรอบคอบ เพราะมีผลกระทบจากการเปิดเสรีหลายด้าน ทั้งแรงงาน ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตรยา ภาคการเงินที่จะมีเงินทุนไหลเข้าออกอย่างรวดเร็ว โดยมีตลาดการค้าขนาดใหญ่ในสหรัฐเป็นแรงจูงใจ
การที่ทีพีพี ไม่มีจีนรวมอยู่ด้วย จึงวิตกว่าอาจกลายเป็นเรื่องการเมืองได้ ไทยไม่ควรรีบเจรจาทีพีพี แต่ต้องศึกษาผลดีและผลเสียให้มีความชัดเจนก่อน และเห็นว่ากรอบความร่วมมือภายใต้อาเซียนบวก 3 และบวก6 หรือการเจรจาความตกลงภูมิภาคหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (RCEP) ที่ดำเนินการอยู่ จะได้ประโยชน์มากกว่าทีพีพี ขณะเดียวกัน ไทยควรหารือแก้ปัญหาการลงทุนธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจด้านประกันภัย ที่ปัจจุบันสหรัฐฯ สามารถเข้ามาลงทุนในธุรกิจประกันภัยในไทยได้ แต่ไทยไม่สามารถเข้าไปลงทุนธุรกิจประกันในสหรัฐฯ ได้ รวมถึงแก้ปัญหาการใช้การกีดกันสินค้าเกษตรของไทย
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การมาเยือนไทยของโอบามา แสดงให้เห็นต่างชาติยังให้ความสนใจประเทศไทย และต่างชาติยังมีความเชื่อมั่นอยู่ ส่วนการเจรจาทีพีพีเชื่อว่ายังต้องใช้เวลาอีกระยะกว่าจะเป็นรูปธรรม และขอให้ทุกฝ่ายมองว่าการรวมกลุ่มทีพีพี ไทยจะได้ประโยชน์ เพราะหากไทยไม่ร่วมเจรจากลุ่มทีพีพี อาจทำให้ไทยเสียโอกาสทางธุรกิจได้ แต่ถ้าการเจรจารวมกลุ่มทีพีพีเกิดขึ้นช้าหรือไม่เกิดขึ้น ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความร่วมมืออาเซียนบวก3 และอาเซียนบวก6ได้ เพราะถือเป็นตลาดใหญ่กว่าครึ่งโลก
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การเจรจาทีพีพีจะต้องเดินหน้าต่อไป เพราะในอนาคตสหรัฐจะรวมตัวกันเป็นสนธิสัญญาในการรวมตัวของสหรัฐฯ และกลุ่มลาตินอเมริการวม 21 ประเทศ ซึ่งจะทำให้ไทยได้ประโยชน์จากตลาดการค้าที่ใหญ่ขึ้น แต่กรณีหลายฝ่ายห่วงว่าทีพีพี จะทำให้คนไทยต้องซื้อยาราคาแพงขึ้นนั้นไม่น่าวิตก เพราะเชื่อว่าสหรัฐพร้อมเจรจาเรื่องยากับไทยอยู่แล้ว รวมถึงไทยมีโอกาสได้รับสิทธิจีเอสพี ทำให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน