สนข.เตรียมเสนอคมนาคม ผุดแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย (พญาไท-ดอนเมือง) 2.7 หมื่นล้านใน ต.ค.นี้ คาดชง ครม.อนุมัติดันเปิดประมูลได้ต้นปี 56 โดยให้ ร.ฟ.ท.ดูแลก่อสร้างก่อนโอนให้ บ.รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.บริหารเดินรถในปี 59 เชื่อม 2 สนามบิน ช่วยเพิ่มผู้โดยสาร ด้าน ร.ฟ.ท.ลงนาม SU เริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้าสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) 26 ก.ย.
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง-พญาไท-สุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตลิงก์) วงเงินลงทุน 27,070 ล้านบาท ว่าขณะนี้ สนข.อยู่ระหว่างจัดเตรียมรายละเอียดโครงการโดยจะเสนอกระทรวงคมนาคมได้ภายในเดือนตุลาคมนี้ จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติโครงการต่อไป โดยตามขั้นตอนคาดว่าจะสามารถประกวดราคาก่อสร้างได้ในต้นปี 2556
ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการก่อสร้างส่วนการเดินรถนั้นเป็นหน้าที่ของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ในปัจจุบัน ส่วนการกำหนดอัตราค่าโดยสารนั้น คาดว่า ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้กำหนดอัตราการให้บริการเหมือนกับการดูแลระบบของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์อยู่ในขณะนี้
“โครงการส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ช่วงพญาไท-ท่าอากาศยานดอนเมืองผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง สนข.คาดว่าจะนำเสนอโครงการต่อกระทรวงคมนาคมได้ภายในเดือนตุลาคมนี้” นายจุฬากล่าว
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ส่วนต่อขยายพญาไท-ท่าอากาศยานดอนเมือง มีระยะทางประมาณ 21.8 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างใต้ดินประมาณ 3.5 กิโลเมตร และเป็นโครงสร้างยกระดับประมาณ 18.3 กิโลเมตร ลงทุนประมาณ 27,070 ล้านบาท ใข้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2559 โดยหากรวมระยะทางตั้งแต่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พญาไท-ท่าอากาศยานดอนเมือง จะมีระยะทางทั้งหมด 50 กิโลเมตรเชื่อมต่อระบบการให้บริการทั้ง 2 ท่าอากาศยานได้ตามนโยบายรัฐบาล และคาดว่าปริมาณผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์จะเพิ่มขึ้นจากเดิมแน่นอน
ร.ฟ.ท.เซ็นสัญญา SU 26 ก.ย.เริ่มก่อสร้างรถไฟสีแดง
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม และประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) ร.ฟ.ท. กล่าวว่าในวันที่ 26 กันยายนนี้ ร.ฟ.ท.จะลงนามในสัญญาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญา 1 (การก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง) กับกิจการร่วมค้า SU ประกอบด้วยบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) วงเงิน 29,826 ล้านบาท จากนั้นผู้รับเหมาจะทำการสำรวจพื้นที่ทันที
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง-พญาไท-สุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตลิงก์) วงเงินลงทุน 27,070 ล้านบาท ว่าขณะนี้ สนข.อยู่ระหว่างจัดเตรียมรายละเอียดโครงการโดยจะเสนอกระทรวงคมนาคมได้ภายในเดือนตุลาคมนี้ จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติโครงการต่อไป โดยตามขั้นตอนคาดว่าจะสามารถประกวดราคาก่อสร้างได้ในต้นปี 2556
ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการก่อสร้างส่วนการเดินรถนั้นเป็นหน้าที่ของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ในปัจจุบัน ส่วนการกำหนดอัตราค่าโดยสารนั้น คาดว่า ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้กำหนดอัตราการให้บริการเหมือนกับการดูแลระบบของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์อยู่ในขณะนี้
“โครงการส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ช่วงพญาไท-ท่าอากาศยานดอนเมืองผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง สนข.คาดว่าจะนำเสนอโครงการต่อกระทรวงคมนาคมได้ภายในเดือนตุลาคมนี้” นายจุฬากล่าว
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ส่วนต่อขยายพญาไท-ท่าอากาศยานดอนเมือง มีระยะทางประมาณ 21.8 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างใต้ดินประมาณ 3.5 กิโลเมตร และเป็นโครงสร้างยกระดับประมาณ 18.3 กิโลเมตร ลงทุนประมาณ 27,070 ล้านบาท ใข้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2559 โดยหากรวมระยะทางตั้งแต่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พญาไท-ท่าอากาศยานดอนเมือง จะมีระยะทางทั้งหมด 50 กิโลเมตรเชื่อมต่อระบบการให้บริการทั้ง 2 ท่าอากาศยานได้ตามนโยบายรัฐบาล และคาดว่าปริมาณผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์จะเพิ่มขึ้นจากเดิมแน่นอน
ร.ฟ.ท.เซ็นสัญญา SU 26 ก.ย.เริ่มก่อสร้างรถไฟสีแดง
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม และประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) ร.ฟ.ท. กล่าวว่าในวันที่ 26 กันยายนนี้ ร.ฟ.ท.จะลงนามในสัญญาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญา 1 (การก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง) กับกิจการร่วมค้า SU ประกอบด้วยบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) วงเงิน 29,826 ล้านบาท จากนั้นผู้รับเหมาจะทำการสำรวจพื้นที่ทันที