xs
xsm
sm
md
lg

“พลังงาน” เร่งแผนนำก๊าซชีวภาพมาทดแทนการผลิตกระแสไฟฟ้า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


“พลังงาน” เดินหน้าผลักดันนโยบายพลังงานทดแทน เร่งแผนนำก๊าซชีวภาพมาทดแทนการผลิตกระแสไฟฟ้า ยอมรับ สิ่งที่น่ากังวล 10 ปีข้างหน้า ก๊าซในอ่าวไทยจะหมดลง ประเทศไทยต้องนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศ ไทยจะไม่มีก๊าซสำหรับการผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งระบบ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย

นายสิทธิโชติ วันทวิน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ( สนพ.) กล่าวในงานสัมมนา “ก๊าซชีวภาพสู่คำตอบและทางออกกู้วิฤตพลังงานไทย” โดยระบุว่า กระทรวงพลังงานผลักดันนโยบายด้าพลังงานทดแทนโดยเน้นการใช้วัตถุดิบที่มีในประเทศ เช่น น้ำเสีย ขยะ หรือวัสดุเหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมมาผลิตก๊าซชีวภาพ หรือไบโอแก๊ส

ทั้งนี้ ในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา พบว่า การดำเนินการประสบความสำเร็จทั้งภาคเกษตรกร ปศุสัตว์ อุตสาหกรรม ได้มีการก่อสร้างและใช้งานระบบไบโอแก๊สจนมีการผลิตรวมไม่น้อยกว่า 162 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี โดยมีการนำไปทดแทนก๊าซหุงต้ม น้ำมัน และผลิตไฟฟ้า คาดว่า ปี 2557 จะมีการผลิตก๊าซชีวภาพได้รวม 185 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี เทียบเท่าพลังงานไฟฟ้า มูลค่าไม่ต่ำวก่า 880 ล้านบาทต่อปี หรือเทียบเท่า แอลพีจี ไม่ต่ำกว่า 1,543 ล้านบาทต่อปี รวมถึงผลประโยชน์ด้านการรักษาสภาพแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่าก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ ไม่ต่ำกว่า 1.52 ล้านตันคาร์บอนต่อปี และทางกระทรวงพลังงานยังส่งเสริมพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่องตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกจะก่อให้เกิดพลังงานทดแทนในสัดส่วนร้อยละ 25 ภายใน 10 ปี (2555-2564) กำหนดเป้าหมายผลิตก๊าซชีวภาพทดแทนไฟฟ้า 600 เมกะวัตต์

นายประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ตามแผนพลังงานทดแทนดังกล่าว 10 ปี ให้ความสำคัญด้านก๊าซชีวภาพน้อยเกินไป โดยกระทรวงพลังงานไปให้ความสำคัญด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมและแสงแดดกว่า 2,000 เมกะวัตต์ ซึ่งทั้งลมและแสงแดดนายทุนจะเป็นผู้ได้ประโยชน์มากกว่า เพราะเป็นการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ที่สำคัญ ไม่สามารถผลิตพลังงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง รัฐบาลน่าจะเข้ามาส่งเสริมก๊าซชีวภาพให้มากกว่านี้ เพราะก๊าซชีวภาพสามารถทดแทนได้ทั้งเชื้อเพลิงในยานยนต์ในรูปแบบ CBG และนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าทดแทนแอลพีจี

สำหรับสิ่งที่น่ากังวล 10 ปีข้างหน้า ก๊าซในอ่าวไทยจะหมดลงประเทศไทยต้องนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศ สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ จะไม่มีก๊าซสำหรับการผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งระบบ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ดังนั้น จึงควรจะเร่งนำก๊าซชีวภาพมาทดแทนการผลิตกระแสไฟฟ้าและเป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ ซึ่งพบว่าศักยภาพการผลิตยังสามารถทำได้อีกจำนวนมากโดยควรส่งเสริมเรื่องการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชการเกษตร เช่น หญ้าเลี้ยงสัตว์ และส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มเลี้ยงไก่ เพราะปัจจุบันประเทศไทยมีไก่ถึง 300 ล้านตัว สามารถนำมาผลิตก๊าซชีวภาพแทนไฟฟ้าได้อย่างต่ำ 400 เมกะวัตต์ ขณะเดียวกัน ในส่วนของหญ้าปศุสัตว์ ปัจจุบันพบว่ายังมีต้นทุนสูงก กก.ละ 1 บาท ทำให้เป็นต้นทุนสำหรับกาผลิตเอ็นจีวรวมแล้ว 34 บาทต่อ กก.ซึ่งรัฐบาลต้องปรับเรื่อวงเงินทุนอุดหุนน แม้จะสูงแต่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ หากไม่มีก๊าซสำหรับอุตฯ ปิโตรเคมี โดยในต่างประเทศ เช่น เยอรมนี ขณะนี้สามารถผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชและผลิตไฟฟ้าถึง 2,000 เมกะวัตต์ และเป็นหนึ่งในแผนที่จะนำไปทดแทนพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคต


กำลังโหลดความคิดเห็น