นายพิชัย ถิ่นสันติสุข ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ภาคเอกชนต้องการให้รัฐเร่งหาข้อยุติมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนว่าจะใช้แบบการให้เงินส่วนเพิ่มในการรับซื้อไฟฟ้า (ADDER)หรือปรับเปลี่ยนมาเป็นระบบการจ่ายจริงตามต้นทุนการผลิต (Feet in Traiff) เพื่อให้บรรลุนโยบายรัฐที่กำหนดแผนพลังงานทดแทนให้มีสัดส่วน 25% ของพลังงานรวมในปี 2564 จากปัจจุบันที่อยู่ระดับ 7-10%
ทั้งนี้ ทาง ส.อ.ท.ได้แจกแบบสำรวจไปยังผู้ประกอบการว่าต้องการให้รัฐเลือกส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนอย่างไร พบว่าส่วนใหญ่ถึง 90% ต้องการให้รัฐคงการส่งเสริมแบบADDER ซึ่งสอดคล้องกับสถาบันการเงินในฐานะผู้ปล่อยสินเชื่อ โดยสถาบันการเงินเห็นว่าการเปลี่ยนมาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมาเป็น Feet in Traiff จะคืนทุนช้าและมีความเสี่ยงสูงขึ้น อันจะส่งผลให้ไม่บรรลุเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนมีสัดส่วน 25% ของพลังงานรวมในอีก 10 ปีข้างหน้าได้
นายพิชัยกล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน โดยรัฐจำกัดการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ที่ 2 พันเมกะวัตต์ ซึ่ง ส.อ.ท.เห็นด้วย เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของไทยส่วนใหญ่ 90% นำเข้าอุปกรณ์เทคโนลยีจากต่างประเทศ และ 70% นำเข้านักลงทุน ทำให้ไทยไม่ได้ประโยชน์มากนัก ขณะที่พลังงานลมก็มีข้อจำกัดเรื่องความเร็วลมที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้ขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นภาครัฐควรส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ก๊าซชีวภาพและขยะ เพราะมีประสิทธิภาพการผลิตสูงกว่าโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ แต่ปัจจุบันยังขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ ทำให้โรงไฟฟ้าแกลบหลายโรงต้องปิดตัวไปหรือปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิง เนื่องจากต้นทุนค่าแกลบปรับตัวสูงขึ้นจากตันละไม่กี่ร้อยบาทเพิ่มเป็น 1,400 บาท ทำให้ไม่คุ้มการลงทุน
นอกจากนี้ ควรมีมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลและขยะจากชุมชนที่มีขนาดกำลังผลิตไม่ถึงเมกะวัตต์ให้ได้รับ ADDER มากกว่าโรงไฟฟ้าขยะที่มีกำลังการผลิตหลายเมกะวัตต์ เพื่อให้ชุมชนได้ประโยชน์ และเป็นการลดการนำเข้าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า
ในปี 2554 ทั่วโลกลงทุนในพลังงานทดแทนสูงขึ้น 17% คิดเป็น 2.57 แสนล้านเหรียญสหรัฐ สูงขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบจากปี 2550 โดยประเทศในแถบเอเชียที่มีเศรษฐกิจเจริญเติบโตเร็ว รัฐบาลก็ตระหนักเรื่องพลังงานทดแทนโดยบรรจุไว้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงจากฟอสซิล และส่งเสริมพัฒนาแหล่งพลังงานสะอาด
ดังนั้น งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีพลังงานสะอาดแห่งเอเชีย (Clean Energy Expo Asia 2012) จะจัดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-14 ก.ย. 2555 ในงานจะมีบริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนทั้งในและต่างประเทศมาแสดงนวัตกรรมกว่า 170 บูท เพื่อแสดงถึงความพร้อมของไทยในการเป็นศูนย์กลางพลังงานทดแทนในภูมิภาคนี้
ทั้งนี้ ทาง ส.อ.ท.ได้แจกแบบสำรวจไปยังผู้ประกอบการว่าต้องการให้รัฐเลือกส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนอย่างไร พบว่าส่วนใหญ่ถึง 90% ต้องการให้รัฐคงการส่งเสริมแบบADDER ซึ่งสอดคล้องกับสถาบันการเงินในฐานะผู้ปล่อยสินเชื่อ โดยสถาบันการเงินเห็นว่าการเปลี่ยนมาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมาเป็น Feet in Traiff จะคืนทุนช้าและมีความเสี่ยงสูงขึ้น อันจะส่งผลให้ไม่บรรลุเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนมีสัดส่วน 25% ของพลังงานรวมในอีก 10 ปีข้างหน้าได้
นายพิชัยกล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน โดยรัฐจำกัดการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ที่ 2 พันเมกะวัตต์ ซึ่ง ส.อ.ท.เห็นด้วย เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของไทยส่วนใหญ่ 90% นำเข้าอุปกรณ์เทคโนลยีจากต่างประเทศ และ 70% นำเข้านักลงทุน ทำให้ไทยไม่ได้ประโยชน์มากนัก ขณะที่พลังงานลมก็มีข้อจำกัดเรื่องความเร็วลมที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้ขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นภาครัฐควรส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ก๊าซชีวภาพและขยะ เพราะมีประสิทธิภาพการผลิตสูงกว่าโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ แต่ปัจจุบันยังขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ ทำให้โรงไฟฟ้าแกลบหลายโรงต้องปิดตัวไปหรือปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิง เนื่องจากต้นทุนค่าแกลบปรับตัวสูงขึ้นจากตันละไม่กี่ร้อยบาทเพิ่มเป็น 1,400 บาท ทำให้ไม่คุ้มการลงทุน
นอกจากนี้ ควรมีมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลและขยะจากชุมชนที่มีขนาดกำลังผลิตไม่ถึงเมกะวัตต์ให้ได้รับ ADDER มากกว่าโรงไฟฟ้าขยะที่มีกำลังการผลิตหลายเมกะวัตต์ เพื่อให้ชุมชนได้ประโยชน์ และเป็นการลดการนำเข้าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า
ในปี 2554 ทั่วโลกลงทุนในพลังงานทดแทนสูงขึ้น 17% คิดเป็น 2.57 แสนล้านเหรียญสหรัฐ สูงขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบจากปี 2550 โดยประเทศในแถบเอเชียที่มีเศรษฐกิจเจริญเติบโตเร็ว รัฐบาลก็ตระหนักเรื่องพลังงานทดแทนโดยบรรจุไว้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงจากฟอสซิล และส่งเสริมพัฒนาแหล่งพลังงานสะอาด
ดังนั้น งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีพลังงานสะอาดแห่งเอเชีย (Clean Energy Expo Asia 2012) จะจัดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-14 ก.ย. 2555 ในงานจะมีบริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนทั้งในและต่างประเทศมาแสดงนวัตกรรมกว่า 170 บูท เพื่อแสดงถึงความพร้อมของไทยในการเป็นศูนย์กลางพลังงานทดแทนในภูมิภาคนี้