คกก.อาชีวะ ประชุมหารือแนวทางจัดหลักสูตร พลังงานทางเลือก ในสถานศึกษานำร่อง ด้าน “ศักดา” ออกตัวหนุนเต็มที่
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดประชุมเพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาสาขาด้านพลังงานทางเลือก (แสงอาทิตย์) ในสถานศึกษาอาชีวะนำร่อง โดยมี นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน และ ดร.อกนิษฐ์ คลังแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้แทนจากภาคเอกชนนำร่องที่จะร่วมดำเนินการ ได้แก่ บริษัท ฮอร์ซอน เมโทรโพลิส จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท นิลเพาเวอร์ จำกัด เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ
นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันเรื่องพลังงานเป็นปัญหาใหญ่ของโลก และนับวันจะมีผลกระทบรุนแรงมากขึ้นทุกที เชื้อเพลิงต่างๆ ที่นำมาใช้ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน นับวันจะมีปริมาณน้อยลง และคงจะต้องหมดไปในอนาคต นอกจากนี้ ราคาของเชื้อเพลิงดังกล่าว ยังมีความผันผวนไปในแนวทางที่สูงขึ้นตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของโลก รัฐบาลจึงได้มีนโยบายให้หาพลังงานทดแทนอื่นๆ ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล เป็นต้น และเนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ในเกณฑ์สูง ตนจึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาหาแนวทางความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาด้านพลังงานทางเลือก (แสงอาทิตย์) เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีทักษะด้านการสร้างและบริหารจัดการพลังงานทางเลือก (แสงอาทิตย์) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และรองรับปัญหาวิกฤตพลังงาน
ดร.อกนิษฐ์ คลังแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า หลังจากได้รับนโยบายดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ดำเนินการหาความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อจัดการเรียนการสอนด้านพลังงานทางเลือก โดยจะดำเนินการในรูปแบบโรงงานในโรงเรียน ผลิตกระแสไฟฟ้า ประกอบติดตั้ง และบำรุงรักษาผลิตภัณฑ์ด้านพลังงานทางเลือก ตลอดจนการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับพลังงานทางเลือก โดยได้สำรวจหาสถานศึกษานำร่องที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซล่าฟาร์มและร่วมมือพัฒนาการเรียนการสอนด้านพลังงานทางเลือก ในเบื้องต้นได้เลือกสถานศึกษานำร่อง 2แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา และวิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อพร้อมดำเนินการตามนโยบายได้ทันที และในอนาคตมีสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่ประสงค์จะจัดการเรียนการสอนด้านพลังงานทางเลือกอีกจำนวน 48 แห่ง เพื่อกระจายให้ครอบคลุมพื้นที่บริการทั่วประเทศด้วย
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดประชุมเพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาสาขาด้านพลังงานทางเลือก (แสงอาทิตย์) ในสถานศึกษาอาชีวะนำร่อง โดยมี นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน และ ดร.อกนิษฐ์ คลังแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้แทนจากภาคเอกชนนำร่องที่จะร่วมดำเนินการ ได้แก่ บริษัท ฮอร์ซอน เมโทรโพลิส จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท นิลเพาเวอร์ จำกัด เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ
นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันเรื่องพลังงานเป็นปัญหาใหญ่ของโลก และนับวันจะมีผลกระทบรุนแรงมากขึ้นทุกที เชื้อเพลิงต่างๆ ที่นำมาใช้ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน นับวันจะมีปริมาณน้อยลง และคงจะต้องหมดไปในอนาคต นอกจากนี้ ราคาของเชื้อเพลิงดังกล่าว ยังมีความผันผวนไปในแนวทางที่สูงขึ้นตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของโลก รัฐบาลจึงได้มีนโยบายให้หาพลังงานทดแทนอื่นๆ ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล เป็นต้น และเนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ในเกณฑ์สูง ตนจึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาหาแนวทางความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาด้านพลังงานทางเลือก (แสงอาทิตย์) เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีทักษะด้านการสร้างและบริหารจัดการพลังงานทางเลือก (แสงอาทิตย์) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และรองรับปัญหาวิกฤตพลังงาน
ดร.อกนิษฐ์ คลังแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า หลังจากได้รับนโยบายดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ดำเนินการหาความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อจัดการเรียนการสอนด้านพลังงานทางเลือก โดยจะดำเนินการในรูปแบบโรงงานในโรงเรียน ผลิตกระแสไฟฟ้า ประกอบติดตั้ง และบำรุงรักษาผลิตภัณฑ์ด้านพลังงานทางเลือก ตลอดจนการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับพลังงานทางเลือก โดยได้สำรวจหาสถานศึกษานำร่องที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซล่าฟาร์มและร่วมมือพัฒนาการเรียนการสอนด้านพลังงานทางเลือก ในเบื้องต้นได้เลือกสถานศึกษานำร่อง 2แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา และวิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อพร้อมดำเนินการตามนโยบายได้ทันที และในอนาคตมีสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่ประสงค์จะจัดการเรียนการสอนด้านพลังงานทางเลือกอีกจำนวน 48 แห่ง เพื่อกระจายให้ครอบคลุมพื้นที่บริการทั่วประเทศด้วย