สยามแก๊สฯ ฟุ้งปีนี้กำไรสุทธิใกล้เคียงปีก่อน 994 ล้านบาท แม้ว่าไตรมาส 2 ขาดทุนสุทธิ 454 ล้านบาทก็ตาม เนื่องจากครึ่งปีหลังราคาก๊าซแอลพีจีดีดตัวขึ้น คาดไตรมาส 4 เห็นราคาทะลุ 1 พันเหรียญสหรัฐอีกครั้ง ดันรายได้และกำไรเป็นไปตามเป้าหมาย แย้มไตรมาส 3 นี้บันทึกค่าเผื่อสินค้าด้อยค่า 200 ล้านบาทกลับมาเป็นกำไร
นางจินตณา กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) (SGP) เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทฯ ยังคงเป้าหมายรายได้ไว้ที่ 5 หมื่นล้านบาท เติบโตขึ้นจากปีก่อน 30% และมีกำไรสุทธิใกล้เคียงปีก่อนที่มีกำไรอยู่ที่ 994 ล้านบาท แม้ว่าครึ่งปีแรกจะมีกำไรเพียง 293 ล้านบาทก็ตาม เนื่องจากแนวโน้มผลการดำเนินงานในครึ่งปีหลังนี้ดีขึ้นตามราคาก๊าซแอลพีจีในตลาดโลกที่ปรับขยับตัวสูงขึ้น โดยราคาตลาดโลกช่วงเดือน ก.ย.นี้อยู่ที่ตันละ 950 เหรียญสหรัฐ เทียบกับไตรมาส 2 มีราคาเฉลี่ย 856 เหรียญสหรัฐ และคาดว่าไตรมาส 4 อาจเห็นราคาทะลุ 1,000 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาวทำให้มีการใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นจำนวนมาก
สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/2555 บริษัทฯ มั่นใจว่าจะกลับมามีกำไรสุทธิอีกครั้งหลังจากไตรมาสก่อนขาดทุน โดยจะมีการบันทึกค่าเผื่อสินค้าด้อยค่าในไตรมาส 2/2555 จำนวน 200 ล้านบาทกลับมาเป็นกำไรในไตรมาสนี้ และไตรมาส 4 จะมีกำไรจากสต๊อกสินค้าหากราคาแอลพีจีในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายปริมาณการขายก๊าซแอลพีจีอยู่ที่ 2.37 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 31%จากปีก่อน โดยครึ่งปีแรกนี้ขายไปแล้ว 9.77 แสนตัน มั่นใจว่าครึ่งปีหลังจะขายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการใช้ก๊าซที่สูงขึ้นกว่าครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับราคาก๊าซแอลพีจีที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผิดฤดูกาล ทำให้บริษัทฯ เน้นการบริหารสต๊อกสินค้าให้เหมาะสมเพียงพอต่อการขายมากกว่าการเพิ่มปริมาณก๊าซในคลังเพื่อป้องกันผลกระทบจากราคาที่ผันผวนได้ ขณะเดียวกันก็ศึกษาร่วมกับสถาบันการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยง (เฮดจิ้ง) โดยยอมรับว่าค่อนข้างยากเมื่อเทียบกับการทำเฮดจิ้งน้ำมัน
“ในปีนี้เป็นปีแรกที่ราคาก๊าซแอลพีจีเหวี่ยงรุนแรงมากตันละ 300-400 เหรียญสหรัฐต่อไตรมาส โดยไตรมาสแรกราคาก๊าซหุงต้มขึ้นไปถึง 1,200 เหรียญสหรัฐ/ตัน หลังจากนั้นในไตรมาส 2 ราคาอ่อนตัวลงมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกและยุโรป ก่อนที่ราคาขยับเข้าสู่ภาวะปกติที่ 950 เหรียญสหรัฐในเดือน ก.ย.”
นางจินตณากล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาบริษัทฯ รุกทำตลาดในภูมิภาคเอเชียเพื่อสนองความต้องการใช้ในภูมิภาคนี้ โดยการเข้าไปซื้อคลังก๊าซแอลพีจีขนาดใหญ่ในจีน 2 คลัง รวมทั้งซื้อธุรกิจก๊าซแอลพีจีในสิงคโปร์และเวียดนาม และบริษัทฯ ยังมีความพร้อมด้านการจัดส่งก๊าซที่มีเรือขนส่งขนาดใหญ่ หรือ VLGC ซึ่งเป็นคลังก๊าซลอยน้ำ เพื่อป้อนความต้องการให้ลูกค้าในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย ทำให้บริษัทฯ มีความได้เปรียบด้านการขนส่ง จึงมั่นใจว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณส่งออกก๊าซเป็น 7.5 แสนตันต่อปี หรือเฉลี่ย 6.25 ตันต่อเดือน
นอกจากนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการเจรจาซื้อธุรกิจก๊าซแอลพีจีในมาเลเซีย ซึ่งบริษัทดังกล่าวมียอดขายก๊าซเฉลี่ยเดือนละ 1 หมื่นตัน ทำให้บริษัทฯ พร้อมที่จะแข่งขันหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 เนื่องจากบริษัทฯ ได้เข้าไปทำธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้านแล้ว
ส่วนตลาดภายในประเทศนั้น บริษัทฯ ประเมินความต้องการใช้ก๊าซแอลพีจียังเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่ารัฐจะทยอยลอยตัวราคาก๊าซภายในประเทศเพิ่มขึ้น มีผลให้ราคาขายก๊าซแอลพีจีในเดือนกันยายนภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 29 บาทต่อกิโลกรัม ภาคขนส่ง 13 บาทต่อลิตร ขณะที่ภาคครัวเรือนยังคงตรึงราคาอยู่ที่ 18 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้รายได้จากการจำหน่ายก๊าซในตลาดต่างประเทศใกล้เคียงกับรายได้ที่ได้จากการจำหน่ายในประเทศมากขึ้น แต่ในอนาคตรายได้จากธุรกิจก๊าซในต่างประเทศจะสูงกว่า
นางจินตณา กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) (SGP) เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทฯ ยังคงเป้าหมายรายได้ไว้ที่ 5 หมื่นล้านบาท เติบโตขึ้นจากปีก่อน 30% และมีกำไรสุทธิใกล้เคียงปีก่อนที่มีกำไรอยู่ที่ 994 ล้านบาท แม้ว่าครึ่งปีแรกจะมีกำไรเพียง 293 ล้านบาทก็ตาม เนื่องจากแนวโน้มผลการดำเนินงานในครึ่งปีหลังนี้ดีขึ้นตามราคาก๊าซแอลพีจีในตลาดโลกที่ปรับขยับตัวสูงขึ้น โดยราคาตลาดโลกช่วงเดือน ก.ย.นี้อยู่ที่ตันละ 950 เหรียญสหรัฐ เทียบกับไตรมาส 2 มีราคาเฉลี่ย 856 เหรียญสหรัฐ และคาดว่าไตรมาส 4 อาจเห็นราคาทะลุ 1,000 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาวทำให้มีการใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นจำนวนมาก
สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/2555 บริษัทฯ มั่นใจว่าจะกลับมามีกำไรสุทธิอีกครั้งหลังจากไตรมาสก่อนขาดทุน โดยจะมีการบันทึกค่าเผื่อสินค้าด้อยค่าในไตรมาส 2/2555 จำนวน 200 ล้านบาทกลับมาเป็นกำไรในไตรมาสนี้ และไตรมาส 4 จะมีกำไรจากสต๊อกสินค้าหากราคาแอลพีจีในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายปริมาณการขายก๊าซแอลพีจีอยู่ที่ 2.37 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 31%จากปีก่อน โดยครึ่งปีแรกนี้ขายไปแล้ว 9.77 แสนตัน มั่นใจว่าครึ่งปีหลังจะขายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการใช้ก๊าซที่สูงขึ้นกว่าครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับราคาก๊าซแอลพีจีที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผิดฤดูกาล ทำให้บริษัทฯ เน้นการบริหารสต๊อกสินค้าให้เหมาะสมเพียงพอต่อการขายมากกว่าการเพิ่มปริมาณก๊าซในคลังเพื่อป้องกันผลกระทบจากราคาที่ผันผวนได้ ขณะเดียวกันก็ศึกษาร่วมกับสถาบันการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยง (เฮดจิ้ง) โดยยอมรับว่าค่อนข้างยากเมื่อเทียบกับการทำเฮดจิ้งน้ำมัน
“ในปีนี้เป็นปีแรกที่ราคาก๊าซแอลพีจีเหวี่ยงรุนแรงมากตันละ 300-400 เหรียญสหรัฐต่อไตรมาส โดยไตรมาสแรกราคาก๊าซหุงต้มขึ้นไปถึง 1,200 เหรียญสหรัฐ/ตัน หลังจากนั้นในไตรมาส 2 ราคาอ่อนตัวลงมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกและยุโรป ก่อนที่ราคาขยับเข้าสู่ภาวะปกติที่ 950 เหรียญสหรัฐในเดือน ก.ย.”
นางจินตณากล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาบริษัทฯ รุกทำตลาดในภูมิภาคเอเชียเพื่อสนองความต้องการใช้ในภูมิภาคนี้ โดยการเข้าไปซื้อคลังก๊าซแอลพีจีขนาดใหญ่ในจีน 2 คลัง รวมทั้งซื้อธุรกิจก๊าซแอลพีจีในสิงคโปร์และเวียดนาม และบริษัทฯ ยังมีความพร้อมด้านการจัดส่งก๊าซที่มีเรือขนส่งขนาดใหญ่ หรือ VLGC ซึ่งเป็นคลังก๊าซลอยน้ำ เพื่อป้อนความต้องการให้ลูกค้าในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย ทำให้บริษัทฯ มีความได้เปรียบด้านการขนส่ง จึงมั่นใจว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณส่งออกก๊าซเป็น 7.5 แสนตันต่อปี หรือเฉลี่ย 6.25 ตันต่อเดือน
นอกจากนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการเจรจาซื้อธุรกิจก๊าซแอลพีจีในมาเลเซีย ซึ่งบริษัทดังกล่าวมียอดขายก๊าซเฉลี่ยเดือนละ 1 หมื่นตัน ทำให้บริษัทฯ พร้อมที่จะแข่งขันหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 เนื่องจากบริษัทฯ ได้เข้าไปทำธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้านแล้ว
ส่วนตลาดภายในประเทศนั้น บริษัทฯ ประเมินความต้องการใช้ก๊าซแอลพีจียังเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่ารัฐจะทยอยลอยตัวราคาก๊าซภายในประเทศเพิ่มขึ้น มีผลให้ราคาขายก๊าซแอลพีจีในเดือนกันยายนภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 29 บาทต่อกิโลกรัม ภาคขนส่ง 13 บาทต่อลิตร ขณะที่ภาคครัวเรือนยังคงตรึงราคาอยู่ที่ 18 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้รายได้จากการจำหน่ายก๊าซในตลาดต่างประเทศใกล้เคียงกับรายได้ที่ได้จากการจำหน่ายในประเทศมากขึ้น แต่ในอนาคตรายได้จากธุรกิจก๊าซในต่างประเทศจะสูงกว่า