ครม.ไฟเขียวแก้ไขร่างสัญญา BECL ร่วมทุนด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอก วงเงินลงทุน 3.2 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี ให้กทพ.ลงนามในสัญญากับผู้ร่วมทุนได้ทันที หลังเจรจาแก้ไขข้อสังเกต 9 ข้อ เผยค่าก่อสร้างและค่าบริหารจัดการเพิ่ม เหตุเจอความเสี่ยงเรื่องเวนคืนที่ดิน ส่วนค่าผ่านทางรถสี่ล้อ 50 บาท และปรับขึ้นทุก 5 ปี
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2555 ได้เห็นชอบโครงการก่อสร้างทางพิเศษศรีรัช-ถนนวงแหวนรอบนอก ระยะทาง 16.5 กิโลเมตร ตามที่คณะกรรมการมาตรา 13 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 เสนอ โดยบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL เป็นผู้รับสัมปทานก่อสร้างโครงการรูปแบบการลงทุน แบบ PPP ซึ่งจากที่มีการตั้งข้อสังเกต 9 ข้อในการดำเนินโครงการและทาง BECL ตอบยอมรับข้อสังเกตทั้งหมด และทางอัยการได้ตรวจสอบร่างสัญญาแล้ว หลังจากนี้ กทพ.จะเร่งทำสัญญาต่อไป โดยมูลค่าโครงการรวมประมาณ 3.2 หมื่น ล.
นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 4 ก.ย. ได้เห็นชอบให้นำผลการตรวจพิจารณาร่างสัญญาสัมปทานการลงทุนออกแบบก่อสร้าง บริหารจัดการ ให้บริการและบำรุงรักษาโครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดที่ได้ตรวจร่างสัญญา และพิมพ์ยกร่างขึ้นมาใหม่ โดยมีข้อสังเกต 9 เรื่องที่ กทพ.ควรไปแก้ไข มาประกอบการพิจารณาในการคัดเลือกเอกชนเพื่อดำเนินโครงการตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
สำหรับการแก้ไข 9 เรื่อง คือ ก่อนการลงนามสัญญา กทพ.ควรตรวจสอบเอกสารให้ไม่ขัดแย้งกับถ้อยคำหรือข้อความในร่างสัญญาด้วย เพราะร่างดังกล่าวมีบางส่วนเป็นเอกสารทางเทคนิคไม่ใช่เอกสารที่มีประเด็นข้อกฎหมาย, ควรตัดข้อความที่ให้ กทพ.ให้ความยินยอมการโอนสิทธิในรายได้ค่าผ่านทางให้แก่ผู้กู้ เพราะจะทำให้ กทพ.เสียเปรียบไม่อาจยกข้อต่อสู้ที่มีกับบีอีซีแอล ขึ้นต่อสู้ต่อผู้ให้กู้ได้ และตามกฎหมายบีอีซีแอลสามารถโอนสิทธิในรายได้ค่าผ่านทางให้แก่ผู้กู้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจาก กทพ.
การจัดให้ได้มาและส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างนั้น หาก กทพ.ไม่สามารถดำเนินการได้ตามสัญญา อาจส่งผลกระทบเกี่ยวกับระยะเวลาสัมปทาน การบอกเลิกสัญญา และการชดเชยค่าเสียหาย ดังนั้น ก่อนการลงนาม กทพ.จึงควรมีความพร้อมด้วย, ควรแก้ไขให้ กทพ.ต้องชดเชยกรณีส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างล่าช้าเมื่อความล่าช้าเกิดขึ้นโดยบีอีซีแอลไม่ต้องรับผิดชอบ โดยบีอีซีแอลต้องปรับปรุงแผนก่อสร้างต่อไป, ควรเพิ่มเติมเงื่อนไขสัญญาให้ กทพ.สามารถเป็นฝ่ายเริ่มเปิดใช้ทางได้เมื่อการก่อสร้างเสร็จและเหมาะสมใช้เป็นทางสาธารณะแต่บีอีซีแอลไม่ยอม
ควรเพิ่มเติมข้อความให้ชัดเจนว่า การเปิดใช้ทางบางส่วนจะทำได้เมื่อ กทพ.อนุมัติเท่านั้น, การส่งมอบพื้นที่ส่วนที่เหลือ กทพ.และบีอีซีแอลต้องเจรจาค่าก่อสร้าง ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องด้วย, กำหนดให้ตัดเรื่องการตั้งผู้ทรงคุณวุฒิอิสะเพื่อตรวจสอบทางเกี่ยวกับความปลอดภัยออกเพราะเห็นว่ามีความซับซ้อนกับหน้าที่ของวิศวกรอิสระ และมีลักษณะคล้ายกับอนุญาโตตุลาการ และสุดท้ายให้ตัดกรณีการให้สิทธิคู่สัญญาเรียกร้องค่าใช้จ่ายค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเอาจากคู่สัญญาอีกฝ่ายอันเนื่องจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายออกไป
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเอกชนร่วมงานตามมาตรา 13 ได้เสนอให้บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ หรือบีอีซีแอล เป็นบริษัทเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว มีกรอบวงเงินการลงทุนรวม 32,816 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินการลงทุนก่อสร้างโครงการจำนวน 24,417 ล้านบาท และวงเงินลงทุนสำหรับการบริหารจัดการ การให้บริการและการบำรุงรักษาจำนวน 8,399 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี มีระยะเวลาออกแบบก่อสร้าง 48 เดือน
โดยกำหนดอัตราค่าผ่านทาง โดยจะปรับเพิ่มอัตราค่าผ่านทางทุก 5 ปี คือ รถยนต์สี่ล้อ คิด 50 บาท ปรับขึ้นครั้งละ 15 บาท, รถยนต์หกล้อ ถึงสิบล้อ คิด 80 บาท ปรับขึ้นครั้งละ 25 บาท และรถยนต์ตั้งแต่สิบล้อขึ้นไป คิด 115 บาท ปรับขึ้นครั้งละ 35 บาท โดยต่อจากนี้ให้ กทพ.ลงนามในสัญญากับผู้ร่วมทุนได้ทันที
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2555 ได้เห็นชอบโครงการก่อสร้างทางพิเศษศรีรัช-ถนนวงแหวนรอบนอก ระยะทาง 16.5 กิโลเมตร ตามที่คณะกรรมการมาตรา 13 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 เสนอ โดยบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL เป็นผู้รับสัมปทานก่อสร้างโครงการรูปแบบการลงทุน แบบ PPP ซึ่งจากที่มีการตั้งข้อสังเกต 9 ข้อในการดำเนินโครงการและทาง BECL ตอบยอมรับข้อสังเกตทั้งหมด และทางอัยการได้ตรวจสอบร่างสัญญาแล้ว หลังจากนี้ กทพ.จะเร่งทำสัญญาต่อไป โดยมูลค่าโครงการรวมประมาณ 3.2 หมื่น ล.
นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 4 ก.ย. ได้เห็นชอบให้นำผลการตรวจพิจารณาร่างสัญญาสัมปทานการลงทุนออกแบบก่อสร้าง บริหารจัดการ ให้บริการและบำรุงรักษาโครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดที่ได้ตรวจร่างสัญญา และพิมพ์ยกร่างขึ้นมาใหม่ โดยมีข้อสังเกต 9 เรื่องที่ กทพ.ควรไปแก้ไข มาประกอบการพิจารณาในการคัดเลือกเอกชนเพื่อดำเนินโครงการตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
สำหรับการแก้ไข 9 เรื่อง คือ ก่อนการลงนามสัญญา กทพ.ควรตรวจสอบเอกสารให้ไม่ขัดแย้งกับถ้อยคำหรือข้อความในร่างสัญญาด้วย เพราะร่างดังกล่าวมีบางส่วนเป็นเอกสารทางเทคนิคไม่ใช่เอกสารที่มีประเด็นข้อกฎหมาย, ควรตัดข้อความที่ให้ กทพ.ให้ความยินยอมการโอนสิทธิในรายได้ค่าผ่านทางให้แก่ผู้กู้ เพราะจะทำให้ กทพ.เสียเปรียบไม่อาจยกข้อต่อสู้ที่มีกับบีอีซีแอล ขึ้นต่อสู้ต่อผู้ให้กู้ได้ และตามกฎหมายบีอีซีแอลสามารถโอนสิทธิในรายได้ค่าผ่านทางให้แก่ผู้กู้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจาก กทพ.
การจัดให้ได้มาและส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างนั้น หาก กทพ.ไม่สามารถดำเนินการได้ตามสัญญา อาจส่งผลกระทบเกี่ยวกับระยะเวลาสัมปทาน การบอกเลิกสัญญา และการชดเชยค่าเสียหาย ดังนั้น ก่อนการลงนาม กทพ.จึงควรมีความพร้อมด้วย, ควรแก้ไขให้ กทพ.ต้องชดเชยกรณีส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างล่าช้าเมื่อความล่าช้าเกิดขึ้นโดยบีอีซีแอลไม่ต้องรับผิดชอบ โดยบีอีซีแอลต้องปรับปรุงแผนก่อสร้างต่อไป, ควรเพิ่มเติมเงื่อนไขสัญญาให้ กทพ.สามารถเป็นฝ่ายเริ่มเปิดใช้ทางได้เมื่อการก่อสร้างเสร็จและเหมาะสมใช้เป็นทางสาธารณะแต่บีอีซีแอลไม่ยอม
ควรเพิ่มเติมข้อความให้ชัดเจนว่า การเปิดใช้ทางบางส่วนจะทำได้เมื่อ กทพ.อนุมัติเท่านั้น, การส่งมอบพื้นที่ส่วนที่เหลือ กทพ.และบีอีซีแอลต้องเจรจาค่าก่อสร้าง ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องด้วย, กำหนดให้ตัดเรื่องการตั้งผู้ทรงคุณวุฒิอิสะเพื่อตรวจสอบทางเกี่ยวกับความปลอดภัยออกเพราะเห็นว่ามีความซับซ้อนกับหน้าที่ของวิศวกรอิสระ และมีลักษณะคล้ายกับอนุญาโตตุลาการ และสุดท้ายให้ตัดกรณีการให้สิทธิคู่สัญญาเรียกร้องค่าใช้จ่ายค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเอาจากคู่สัญญาอีกฝ่ายอันเนื่องจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายออกไป
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเอกชนร่วมงานตามมาตรา 13 ได้เสนอให้บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ หรือบีอีซีแอล เป็นบริษัทเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว มีกรอบวงเงินการลงทุนรวม 32,816 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินการลงทุนก่อสร้างโครงการจำนวน 24,417 ล้านบาท และวงเงินลงทุนสำหรับการบริหารจัดการ การให้บริการและการบำรุงรักษาจำนวน 8,399 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี มีระยะเวลาออกแบบก่อสร้าง 48 เดือน
โดยกำหนดอัตราค่าผ่านทาง โดยจะปรับเพิ่มอัตราค่าผ่านทางทุก 5 ปี คือ รถยนต์สี่ล้อ คิด 50 บาท ปรับขึ้นครั้งละ 15 บาท, รถยนต์หกล้อ ถึงสิบล้อ คิด 80 บาท ปรับขึ้นครั้งละ 25 บาท และรถยนต์ตั้งแต่สิบล้อขึ้นไป คิด 115 บาท ปรับขึ้นครั้งละ 35 บาท โดยต่อจากนี้ให้ กทพ.ลงนามในสัญญากับผู้ร่วมทุนได้ทันที