BMCL คาดปีนี้ผู้โดยสารและรายได้โต 15% แตะ 2,000 ล. อานิสงส์ศูนย์การค้า-คอนโดฯ ผุดตลอดแนวเส้นทาง เตรียมเปิดรุกพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้ครบ 11 สถานี นำร่องที่พระราม 9 เต็มรูปแบบต้นปี 56 ก่อน และปลายปีจะเพิ่มให้ได้ 5 สถานี ตั้งเป้าดึงการเดินทางเพิ่มจำนวนผู้โดยสารนอกชั่วโมงเร่งด่วน “ชัยวัฒน์” ชี้พื้นที่รอบสถานีมีศักยภาพมากขึ้น และมั่นใจทีมการตลาดมืออาชีพชูแนวคิดเป็นศูนย์ความงาม ศูนย์กวดวิชาใช้รถไฟฟ้าเดินทางสะดวกที่สุด เผยมียักษ์ใหญ่ศูนย์การค้าสนใจแล้ว 2-3 ราย ยอมรับชะลอซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มรอชัดเจนเรื่อง 20 บาทตลอดสาย
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BMCL) เปิดเผยว่า หลังจากนี้ BMCL จะพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้ครบ 11 สถานี จากที่เปิดให้บริการรถไฟฟ้า MRT มีการพัฒนาไปเพียง 4 สถานีเท่านั้น คือ สถานีกำแพงเพชร, จตุจักร, พหลโยธิน, สุขุมวิท โดยในปี 56 จะเปิดพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้ได้ 5 สถานี โดยต้นปีจะเป็นการพัฒนาที่สถานีพระราม 9 ซึ่งถือว่ามีศักยภาพเนื่องจากมีทั้งศูนย์การค้าเซ็นทรัล, ฟอร์จูน และสำนักงานเกิดขึ้นรอบๆ จำนวนมาก และขณะนี้มีกลุ่มผู้ประกอบการด้านศูนย์การค้ารายใหญ่ 2-3 แสดงความสนใจเช่าพื้นที่ กลางปี 56 จะเปิดอีก 2 สถานี และช่วงปลายปีอีก 2 สถานี โดยสถานีที่มีศักยภาพ เช่น เพชรบุรี, ศูนย์วัฒนธรรมฯ โดยแต่ละสถานีมีพื้นที่ประมาณ 2,000 ตารางเมตร
ทั้งนี้ รายได้จาก 4 สถานีที่พัฒนาแล้วมีเกือบ 20 ล้านบาทต่อปี ขณะที่เป้าหมายหลักของการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์คือการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารในช่วงนอกเวลาเร่งด่วนหลัง 09.00 น.ไปจนถึงก่อน 17.00 น. ซึ่งมีผู้โดยสารประมาณ 50% ของช่วงเร่งด่วนเท่านั้น ดังนั้น แนวทางการพัฒนาพื้นที่จะต้องกำหนดแนวคิดการพัฒนาในแต่ละสถานีให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่รอบข้าง เช่น ศูนย์รวมด้านความงาม มีร้านทำเล็บ ทำผม ศูนย์รวมอาจารย์กวดวิชา ศูนย์จัดประชุม เป็นต้น โดยจุดเด่นคือใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางไม่ต้องกังวลเรื่องที่จอดรถ สะดวก ตรงเวลา
“สถานีพระราม 9 จะเป็นต้นแบบการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ประกอบกับขณะนี้มีทีมการตลาดมืออาชีพเข้ามาเสริมจึงค่อนข้างมั่นใจ โดยปัจจุบันมีผู้โดยสารเฉลี่ย 2.5 แสนคน/วัน โดยวันที่ 30 กันยายนที่จะเปิดนิทรรศการรถไฟฟ้า 20 ปีนั้นคาดว่าจะมีผู้โดยสารถึง 2.83 แสนคน อย่างไรก็ตาม คาดว่าปีนี้การเติบโตของผู้โดยสารสูงถึง15% ส่วนรายได้ทั้งปีคาดว่าจะอยู่ที่ 2,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีรายได้ 1,800 ล้านบาท” นายชัยวัฒน์กล่าว
ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) นั้น หลังลงนามสัญญากับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 40 เดือนจะเปิดเดินรถได้ และหลังจากนั้นอีก 9-12 เดือนจะมีการเปิดเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) ซึ่งภายใน 3-5 ปีโครงข่ายรถไฟฟ้าจะมีความสมบูรณ์และวิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ จะเกิดการเปลี่ยนแปลง
โดยขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาประเมินจำนวนผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตภายใต้ปัจจัยต่างๆ เช่น ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย, ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น, การเติบโตด้านอสังหาริมทรัพย์ตลอดแนวเส้นทาง เป็นต้น ส่วนนโยบายรถคันแรกนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้โดยสารรถไฟฟ้าเพิ่มเนื่องจากทำให้รถติดมากขึ้น
นายวิทูรย์ หทัยรัตนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานปฎิบัติการ BMCL กล่าวว่า เดิมรถไฟฟ้าใต้ดินจะต้องมีการซื้อรถเพิ่มจำนวน 5 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ ซึ่งจะสั่งซื้อพร้อมกับสายสีม่วงที่ต้องการ 21 ขบวน แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเนื่องจากจะต้องรอความชัดเจนของภาครัฐเรื่องค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายว่าจะทำทีละสายหรือพร้อมกันหมด เพราะจะส่งผลต่อจำนวนผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นต่างกัน ซึ่งยังมีเวลาพิจารณาและตัดสินใจอีก 3-4 ปี
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BMCL) เปิดเผยว่า หลังจากนี้ BMCL จะพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้ครบ 11 สถานี จากที่เปิดให้บริการรถไฟฟ้า MRT มีการพัฒนาไปเพียง 4 สถานีเท่านั้น คือ สถานีกำแพงเพชร, จตุจักร, พหลโยธิน, สุขุมวิท โดยในปี 56 จะเปิดพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้ได้ 5 สถานี โดยต้นปีจะเป็นการพัฒนาที่สถานีพระราม 9 ซึ่งถือว่ามีศักยภาพเนื่องจากมีทั้งศูนย์การค้าเซ็นทรัล, ฟอร์จูน และสำนักงานเกิดขึ้นรอบๆ จำนวนมาก และขณะนี้มีกลุ่มผู้ประกอบการด้านศูนย์การค้ารายใหญ่ 2-3 แสดงความสนใจเช่าพื้นที่ กลางปี 56 จะเปิดอีก 2 สถานี และช่วงปลายปีอีก 2 สถานี โดยสถานีที่มีศักยภาพ เช่น เพชรบุรี, ศูนย์วัฒนธรรมฯ โดยแต่ละสถานีมีพื้นที่ประมาณ 2,000 ตารางเมตร
ทั้งนี้ รายได้จาก 4 สถานีที่พัฒนาแล้วมีเกือบ 20 ล้านบาทต่อปี ขณะที่เป้าหมายหลักของการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์คือการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารในช่วงนอกเวลาเร่งด่วนหลัง 09.00 น.ไปจนถึงก่อน 17.00 น. ซึ่งมีผู้โดยสารประมาณ 50% ของช่วงเร่งด่วนเท่านั้น ดังนั้น แนวทางการพัฒนาพื้นที่จะต้องกำหนดแนวคิดการพัฒนาในแต่ละสถานีให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่รอบข้าง เช่น ศูนย์รวมด้านความงาม มีร้านทำเล็บ ทำผม ศูนย์รวมอาจารย์กวดวิชา ศูนย์จัดประชุม เป็นต้น โดยจุดเด่นคือใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางไม่ต้องกังวลเรื่องที่จอดรถ สะดวก ตรงเวลา
“สถานีพระราม 9 จะเป็นต้นแบบการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ประกอบกับขณะนี้มีทีมการตลาดมืออาชีพเข้ามาเสริมจึงค่อนข้างมั่นใจ โดยปัจจุบันมีผู้โดยสารเฉลี่ย 2.5 แสนคน/วัน โดยวันที่ 30 กันยายนที่จะเปิดนิทรรศการรถไฟฟ้า 20 ปีนั้นคาดว่าจะมีผู้โดยสารถึง 2.83 แสนคน อย่างไรก็ตาม คาดว่าปีนี้การเติบโตของผู้โดยสารสูงถึง15% ส่วนรายได้ทั้งปีคาดว่าจะอยู่ที่ 2,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีรายได้ 1,800 ล้านบาท” นายชัยวัฒน์กล่าว
ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) นั้น หลังลงนามสัญญากับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 40 เดือนจะเปิดเดินรถได้ และหลังจากนั้นอีก 9-12 เดือนจะมีการเปิดเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) ซึ่งภายใน 3-5 ปีโครงข่ายรถไฟฟ้าจะมีความสมบูรณ์และวิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ จะเกิดการเปลี่ยนแปลง
โดยขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาประเมินจำนวนผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตภายใต้ปัจจัยต่างๆ เช่น ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย, ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น, การเติบโตด้านอสังหาริมทรัพย์ตลอดแนวเส้นทาง เป็นต้น ส่วนนโยบายรถคันแรกนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้โดยสารรถไฟฟ้าเพิ่มเนื่องจากทำให้รถติดมากขึ้น
นายวิทูรย์ หทัยรัตนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานปฎิบัติการ BMCL กล่าวว่า เดิมรถไฟฟ้าใต้ดินจะต้องมีการซื้อรถเพิ่มจำนวน 5 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ ซึ่งจะสั่งซื้อพร้อมกับสายสีม่วงที่ต้องการ 21 ขบวน แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเนื่องจากจะต้องรอความชัดเจนของภาครัฐเรื่องค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายว่าจะทำทีละสายหรือพร้อมกันหมด เพราะจะส่งผลต่อจำนวนผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นต่างกัน ซึ่งยังมีเวลาพิจารณาและตัดสินใจอีก 3-4 ปี