ผอ.กทท.เผยวิกฤตหนี้ยุโรปกระทบส่งออกไทยหดตัว คาดการใช้จ่ายภายในประเทศช่วยหนุนเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่อเนื่องได้ ขณะที่รายได้รอบ 9 เดือนปี 55 ลดลงจากปีก่อนกว่า 19% ปริมาณตู้สินค้าท่าเรือกรุงเทพลดลงจากเหตุน้ำท่วมปี 54
เรือตรี วิโรจน์ จงชาณสิทโธ ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า จากวิกฤตอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ กทท.ในช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 2555 (ตุลาคม 2554-มิถุนายน 2555) โดยเปรียบเทียบกับปีก่อน กทท.มีรายได้สุทธิ 2,357.81 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.91 ปริมาณและอัตราการขยายตัวของตู้สินค้าลดลงโดยเฉพาะที่ท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) ลดลงร้อยละ 19.18 ขณะที่ปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าของท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย คือร้อยละ 3.68 ซึ่งทำให้รายได้สุทธิลดลงร้อยละ 16.91
โดยจากดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวจากผลกระทบของปัญหาวิกฤตอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 และสามารถขยายตัวได้ตามลำดับ โดยเฉพาะการใช้จ่ายภายในประเทศและการลงทุนภาคเอกชนที่มีการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 ถึงแม้ว่าอาจเผชิญปัจจัยเสี่ยงบางประการจากภาคการส่งออกที่หดตัวในเดือนมิถุนายน 2555 โดยเฉพาะการส่งออกไปยังกลุ่มสหภาพยุโรปที่หดตัวในระดับสูงกว่าร้อยละ 17.6 อันเนื่องมาจากผลกระทบจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปส่งผลกระทบไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก
ทั้งนี้ คาดว่าผลกระทบจากยุโรปต่อประเทศไทยจะมีมากขึ้น อันเนื่องมาจากผลกระทบทางอ้อมของเศรษฐกิจยุโรปที่ส่งผลกระทบต่อประเทศจีน ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลักของประเทศไทยด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศของไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องหลังจากวิกฤตอุทกภัย จึงสามารถสรุปได้ว่าเศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวได้จากการใช้จ่ายภายในประเทศ ทั้งจากการบริโภคและการลงทุน ซึ่งเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งสามารถรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
เรือตรี วิโรจน์กล่าวว่า หากมองภาพรวมปีงบประมาณ 2555 มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีจากตัวเลขดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยคาดว่าปริมาณตู้สินค้าผ่านท่ารวมของ ทกท.จะอยู่ที่ 1.265 ล้านทีอียู ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 13 จากเดิมที่ประมาณการทั้งปีจะลดลงถึงร้อยละ 30 สำหรับปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าของ ทลฉ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 อยู่ที่ 5.993 ล้านทีอียู ทั้งนี้ ภายใต้สมมติฐานเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 ต่อปี และอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอยู่ที่ 30.5-31.5 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐ
สำหรับผลการดำเนินงานให้บริการเรือสินค้าและตู้สินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ท่าเรือเชียงของ (ทชข.) และท่าเรือระนอง (ทรน.) ในรอบ 9 เดือนของปีงบประมาณ 2555 (ตุลาคม 2554-มิถุนายน 2555) โดยเปรียบเทียบกับปีก่อน ปรากฏว่าท่าเรือกรุงเทพมีเรือเทียบท่า 2,270 เที่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.70 สินค้าผ่านท่า 12.88 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 10.79 และตู้สินค้าผ่านท่า (รวมตู้เปล่า) 914,588 ทีอียู ลดลงร้อยละ 19.18
ท่าเรือแหลมฉบังมีเรือเทียบท่า 6,144 เที่ยว ลดลงร้อยละ 3.35 สินค้าผ่านท่า 48.15 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.20 และตู้สินค้าผ่านท่า 4.28 ล้านทีอียู เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.68 ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนและท่าเรือเชียงของมีเรือเทียบท่ารวม 1,287 เที่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.13 สินค้าผ่านท่ารวม 99,855 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 29.09
ท่าเรือระนองมีเรือเทียบท่า 181 เที่ยว ลดลงร้อยละ 13.40% สินค้าผ่านท่า 62,911 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.85 และตู้สินค้าผ่านท่า 36 ทีอียู ลดลงร้อยละ 96.18 (หมายเหตุ : ตู้สินค้าผ่านท่าเรือระนองรายงานเฉพาะตู้สินค้าที่มีขนาด 20 ฟุตขึ้นไป)
เรือตรี วิโรจน์ จงชาณสิทโธ ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า จากวิกฤตอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ กทท.ในช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 2555 (ตุลาคม 2554-มิถุนายน 2555) โดยเปรียบเทียบกับปีก่อน กทท.มีรายได้สุทธิ 2,357.81 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.91 ปริมาณและอัตราการขยายตัวของตู้สินค้าลดลงโดยเฉพาะที่ท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) ลดลงร้อยละ 19.18 ขณะที่ปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าของท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย คือร้อยละ 3.68 ซึ่งทำให้รายได้สุทธิลดลงร้อยละ 16.91
โดยจากดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวจากผลกระทบของปัญหาวิกฤตอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 และสามารถขยายตัวได้ตามลำดับ โดยเฉพาะการใช้จ่ายภายในประเทศและการลงทุนภาคเอกชนที่มีการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 ถึงแม้ว่าอาจเผชิญปัจจัยเสี่ยงบางประการจากภาคการส่งออกที่หดตัวในเดือนมิถุนายน 2555 โดยเฉพาะการส่งออกไปยังกลุ่มสหภาพยุโรปที่หดตัวในระดับสูงกว่าร้อยละ 17.6 อันเนื่องมาจากผลกระทบจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปส่งผลกระทบไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก
ทั้งนี้ คาดว่าผลกระทบจากยุโรปต่อประเทศไทยจะมีมากขึ้น อันเนื่องมาจากผลกระทบทางอ้อมของเศรษฐกิจยุโรปที่ส่งผลกระทบต่อประเทศจีน ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลักของประเทศไทยด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศของไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องหลังจากวิกฤตอุทกภัย จึงสามารถสรุปได้ว่าเศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวได้จากการใช้จ่ายภายในประเทศ ทั้งจากการบริโภคและการลงทุน ซึ่งเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งสามารถรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
เรือตรี วิโรจน์กล่าวว่า หากมองภาพรวมปีงบประมาณ 2555 มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีจากตัวเลขดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยคาดว่าปริมาณตู้สินค้าผ่านท่ารวมของ ทกท.จะอยู่ที่ 1.265 ล้านทีอียู ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 13 จากเดิมที่ประมาณการทั้งปีจะลดลงถึงร้อยละ 30 สำหรับปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าของ ทลฉ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 อยู่ที่ 5.993 ล้านทีอียู ทั้งนี้ ภายใต้สมมติฐานเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 ต่อปี และอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอยู่ที่ 30.5-31.5 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐ
สำหรับผลการดำเนินงานให้บริการเรือสินค้าและตู้สินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ท่าเรือเชียงของ (ทชข.) และท่าเรือระนอง (ทรน.) ในรอบ 9 เดือนของปีงบประมาณ 2555 (ตุลาคม 2554-มิถุนายน 2555) โดยเปรียบเทียบกับปีก่อน ปรากฏว่าท่าเรือกรุงเทพมีเรือเทียบท่า 2,270 เที่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.70 สินค้าผ่านท่า 12.88 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 10.79 และตู้สินค้าผ่านท่า (รวมตู้เปล่า) 914,588 ทีอียู ลดลงร้อยละ 19.18
ท่าเรือแหลมฉบังมีเรือเทียบท่า 6,144 เที่ยว ลดลงร้อยละ 3.35 สินค้าผ่านท่า 48.15 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.20 และตู้สินค้าผ่านท่า 4.28 ล้านทีอียู เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.68 ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนและท่าเรือเชียงของมีเรือเทียบท่ารวม 1,287 เที่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.13 สินค้าผ่านท่ารวม 99,855 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 29.09
ท่าเรือระนองมีเรือเทียบท่า 181 เที่ยว ลดลงร้อยละ 13.40% สินค้าผ่านท่า 62,911 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.85 และตู้สินค้าผ่านท่า 36 ทีอียู ลดลงร้อยละ 96.18 (หมายเหตุ : ตู้สินค้าผ่านท่าเรือระนองรายงานเฉพาะตู้สินค้าที่มีขนาด 20 ฟุตขึ้นไป)