ตลอดเวลากว่าสองปีที่ผ่านมา ยุโรปต้องฝ่าฟันช่วงนาทีวิกฤตจากมรสุมหนี้สาธารณะมามากมายหลายครั้ง ว่ากันว่าเดือนกันยายนที่จะถึงนี้จะเป็น “เดือนชี้ชะตา”อีกคำรบหนึ่ง เนื่องจากบรรดาผู้วางนโยบายต้องตัดสินใจหลายประเด็นสำคัญเพื่อปกป้องความอยู่รอดของยูโรโซน
นับจากวิกฤตหนี้สาธารณะของยูโรโซนระเบิดขึ้นในเดือนมกราคม 2010 เหล่าประเทศยุโรปรวมทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต้องเข้าช่วยเหลือกรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ซึ่งไม่สามารถระดมเงินกู้ด้วยตนเอง มาอุดหนุนงบประมาณที่ขาดดุล และหนี้สาธารณะที่ถึงกำหนดชำระได้ เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมจากตลาดอยู่ในระดับที่สูงจนรับไม่ไหว
มาถึงวันนี้ ยังมีอีกสองประเทศ นั่นคือ สเปน และ อิตาลี ที่กำลังอยู่ในอาการลูกผีลูกคน ว่ากันว่าหากสเปน ประเทศเศรษฐกิจอันดับ 4 ของยูโรโซนและอันดับ 12 ของโลก ไม่สามารถระดมทุนในตลาดได้ โดมิโนตัวถัดไปที่จะล้มตามคืออิตาลี ประเทศเศรษฐกิจอันดับ 3 ของยูโรโซนแถมเป็นสมาชิกของกลุ่มจี7 หรือ กลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก
ประมาณการกันว่า การอัดฉีดสเปนอาจต้องใช้เงินมากกว่า 2 เท่าตัวของจำนวนที่เคยให้กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกสรวมกัน ขณะที่เศรษฐกิจอิตาลีก็ใหญ่เป็น 2 เท่ากว่าของสเปน
สหภาพยุโรป (อียู) ตกลงปล่อยกู้สูงสุด 100,000 ล้านยูโร เพื่อให้สเปนนำไปใช้เพิ่มทุนพวกแบงก์ที่มีปัญหาของตน แต่เจ้าหน้าที่ยูโรโซนคนหนึ่งแย้มว่า มาดริดสารภาพว่าอาจต้องให้อียูและ ไอเอ็มเอฟ เข้าอุ้มเศรษฐกิจทั้งระบบด้วยวงเงิน 300,000 ล้านยูโร หากตลาดยังคงหวนกลับมาเรียกร้องอัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลแดนกระทิงดุ ชนิดที่จ่ายให้ไม่ไหว อยู่เป็นระยะๆ เช่นนี้
หลายวันมานี้ พวกเจ้าหน้าที่ยุโรปผลัดเปลี่ยนกันออกคำแถลง ยืนยันว่าจะดำเนินมาตรการสกัดกั้นวิกฤต อาทิ มาริโอ มอนติ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า พร้อมเข้าแทรกแซงในตลาดเงิน ซึ่งทำให้มีการตีความกันว่า อีซีบีอาจทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อดึงต้นทุนการกู้ยืมของสเปนและอิตาลีให้ลดลง
กระนั้น ดูเหมือนยูโรโซนจะมีเงินสดไม่พอรับมือ หากสเปนและอิตาลีต้องการความช่วยเหลือ ซ้ำร้ายแผนปฏิรูปของกรีซก็ยังไปไม่ถึงไหน หมายความว่า เอเธนส์อาจต้องการเวลา เงิน และการลดหนี้เพิ่มเติมจากอียู เพื่อไม่ให้หลุดออกจากยูโรโซนที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและเศรษฐกิจยุโรป
12 กันยายนจะเป็นวันสำคัญของยุโรป เพราะศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีมีกำหนดวินิจฉัยว่า สนธิสัญญาการตั้งกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (อีเอสเอ็ม) สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของเยอรมนีหรือไม่
นับจากวิกฤตหนี้สาธารณะของยูโรโซนระเบิดขึ้นในเดือนมกราคม 2010 เหล่าประเทศยุโรปรวมทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต้องเข้าช่วยเหลือกรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ซึ่งไม่สามารถระดมเงินกู้ด้วยตนเอง มาอุดหนุนงบประมาณที่ขาดดุล และหนี้สาธารณะที่ถึงกำหนดชำระได้ เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมจากตลาดอยู่ในระดับที่สูงจนรับไม่ไหว
มาถึงวันนี้ ยังมีอีกสองประเทศ นั่นคือ สเปน และ อิตาลี ที่กำลังอยู่ในอาการลูกผีลูกคน ว่ากันว่าหากสเปน ประเทศเศรษฐกิจอันดับ 4 ของยูโรโซนและอันดับ 12 ของโลก ไม่สามารถระดมทุนในตลาดได้ โดมิโนตัวถัดไปที่จะล้มตามคืออิตาลี ประเทศเศรษฐกิจอันดับ 3 ของยูโรโซนแถมเป็นสมาชิกของกลุ่มจี7 หรือ กลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก
ประมาณการกันว่า การอัดฉีดสเปนอาจต้องใช้เงินมากกว่า 2 เท่าตัวของจำนวนที่เคยให้กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกสรวมกัน ขณะที่เศรษฐกิจอิตาลีก็ใหญ่เป็น 2 เท่ากว่าของสเปน
สหภาพยุโรป (อียู) ตกลงปล่อยกู้สูงสุด 100,000 ล้านยูโร เพื่อให้สเปนนำไปใช้เพิ่มทุนพวกแบงก์ที่มีปัญหาของตน แต่เจ้าหน้าที่ยูโรโซนคนหนึ่งแย้มว่า มาดริดสารภาพว่าอาจต้องให้อียูและ ไอเอ็มเอฟ เข้าอุ้มเศรษฐกิจทั้งระบบด้วยวงเงิน 300,000 ล้านยูโร หากตลาดยังคงหวนกลับมาเรียกร้องอัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลแดนกระทิงดุ ชนิดที่จ่ายให้ไม่ไหว อยู่เป็นระยะๆ เช่นนี้
หลายวันมานี้ พวกเจ้าหน้าที่ยุโรปผลัดเปลี่ยนกันออกคำแถลง ยืนยันว่าจะดำเนินมาตรการสกัดกั้นวิกฤต อาทิ มาริโอ มอนติ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า พร้อมเข้าแทรกแซงในตลาดเงิน ซึ่งทำให้มีการตีความกันว่า อีซีบีอาจทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อดึงต้นทุนการกู้ยืมของสเปนและอิตาลีให้ลดลง
กระนั้น ดูเหมือนยูโรโซนจะมีเงินสดไม่พอรับมือ หากสเปนและอิตาลีต้องการความช่วยเหลือ ซ้ำร้ายแผนปฏิรูปของกรีซก็ยังไปไม่ถึงไหน หมายความว่า เอเธนส์อาจต้องการเวลา เงิน และการลดหนี้เพิ่มเติมจากอียู เพื่อไม่ให้หลุดออกจากยูโรโซนที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและเศรษฐกิจยุโรป
12 กันยายนจะเป็นวันสำคัญของยุโรป เพราะศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีมีกำหนดวินิจฉัยว่า สนธิสัญญาการตั้งกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (อีเอสเอ็ม) สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของเยอรมนีหรือไม่