เศรษฐกิจโลกตกต่ำ ส่งออกวูบ น้ำมันขึ้น การเมืองไม่นิ่ง ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นเดือน ก.ค.ร่วงหนัก คาดเดือนหน้าลงต่อเนื่อง เหตุคงเริ่มกังวลน้ำท่วม แก้รัฐธรรมนูญ และค่าครองชีพพุ่ง คาดเศรษฐกิจปีนี้โตต่ำกว่าที่คาดเหลือ 5-5.5%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค.2555 ที่สำรวจจากประชาชนทั่วประเทศ 2,248คน ว่า ดัชนีส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค อยู่ที่ระดับ 78.1 ลดลงจากเดือนมิ.ย.2555 ที่ 78.6 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 58.5 เพิ่มขึ้นจาก 57.9 และดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตอยู่ที่ 85 ลดลงจาก 86.0 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเดือนก.ค.2555อยู่ที่ 68.2 ลดจาก 68.5 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำอยู่ที่ 69.3 ลดจาก 69.6 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 96.8 ลดจาก 97.8
สาเหตุที่ดัชนีลดลง มาจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่มีความรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ จนทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับประมาณการณ์เติบโตเศรษฐกิจลดลงจาก 6%เหลือ 5.7% และตัวเลขการส่งออกลดจากโต 8% เหลือ 7% ประกอบกับมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินในประเทศ ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองไม่แน่นอน การส่งออกที่ลดลง และความวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพ
ส่วนปัจจัยบวกมาจากคณะกรรมการนโยบายการเงินคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3% และ ครม.ขยายเวลาลดการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลถึงวันที่ 31 ส.ค.2555
“ความเชื่อมั่นที่ลดลง เพราะประชาชนกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตที่อาจชะลอตัว แม้เศรษฐกิจในปัจจุบันยังดีอยู่ก็ตาม หลังจากเริ่มมีสัญญาณลบรุนแรงจากปัญหาเศรษฐกิจโลก ทั้งหนี้สาธารณะที่กำลังลุกลามไปอิตาลีและสเปน รวมถึงสหรัฐฯ จะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 3 ที่สำคัญสิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี รวมถึงจีน ได้รับผลกระทบในการส่งออกไปยุโรปอย่างมีนัยยะ และยังมีปัจจัยในประเทศกดดัน ทั้งความหวาดกลัวจะเกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้ง การเมืองในประเทศที่ยังไม่แน่นอนจากการแก้รัฐธรรมนูญ รวมถึงค่าครองชีพน้ำมัน สินค้าที่ทรงตัวในระดับสูง ส่งผลให้ประชาชนมีความกังวลต่อการใช้จ่าย”นายธนวรรธน์กล่าว
ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นที่ลดลงยังมีผลต่อความเหมาะสมในการซื้อบ้านหลังใหม่ รถยนต์คันใหม่ การท่องเที่ยว และการลงทุนประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีในเดือนก.ค.2555 ปรับตัวลดลงด้วย
ขณะที่แนวโน้มความเชื่อมั่นในเดือนถัดไปมีโอกาสปรับลดลงได้อีก เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและในประเทศยังไม่ดีจนอาจกระทบต่อการส่งออกและการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันยังกระทบให้ราคาสินค้าเกษตรกรทรงตัวในระดับต่ำและเกษตรกรมีกำลังซื้อน้อย ตลอดจนปัญหาการเมืองในอนาคตที่ดัชนีปรับลดลงเหลือ 73.7 ต่ำสุดในรอบ 15 เดือน
นายธนวรรธน์กล่าวว่า การเติบโตเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มเติบโตได้น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยคาดว่าโอกาสที่จีดีพีทั้งปี 2555 จะเติบโตระดับ 5-5.5% มีโอกาสสูงขึ้น จากเดิมที่คาดว่าจะโต 5.5-6% ขณะที่เศรษฐกิจไตรมาส 2 จะขยายตัวเหลือ 2.5-3% ต่ำกว่าเดิมที่คาดไว้ 3-4% เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลก และการส่งออกชะลอตัวรวมทั้งภาคการเงินได้ส่งสัญญาณเสี่ยงมากขึ้น หลังจากแนวโน้มการเติบโตของสินเชื่อ น้อยกว่าเงินฝาก สะท้อนว่ากำลังการใช้จ่ายและการลงทุนมีโอกาสชะลอตัว
“สิ่งที่รัฐบาลควรดำเนินการมี 6 ข้อ ได้แก่ การอัดฉีดงบลงทุนหรืองบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและก่อให้เกิดการจ้างงาน การสร้างเสถียรภาพและการปรองดองทางการเมือง การเร่งบริหารจัดการน้ำเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนและภาคธุรกิจ การดูแลราคาสินค้าค่าครองชีพอย่างต่อเนื่อง การควบคุมสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ และการหามาตรการรับมือผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก”นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค.2555 ที่สำรวจจากประชาชนทั่วประเทศ 2,248คน ว่า ดัชนีส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค อยู่ที่ระดับ 78.1 ลดลงจากเดือนมิ.ย.2555 ที่ 78.6 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 58.5 เพิ่มขึ้นจาก 57.9 และดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตอยู่ที่ 85 ลดลงจาก 86.0 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเดือนก.ค.2555อยู่ที่ 68.2 ลดจาก 68.5 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำอยู่ที่ 69.3 ลดจาก 69.6 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 96.8 ลดจาก 97.8
สาเหตุที่ดัชนีลดลง มาจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่มีความรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ จนทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับประมาณการณ์เติบโตเศรษฐกิจลดลงจาก 6%เหลือ 5.7% และตัวเลขการส่งออกลดจากโต 8% เหลือ 7% ประกอบกับมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินในประเทศ ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองไม่แน่นอน การส่งออกที่ลดลง และความวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพ
ส่วนปัจจัยบวกมาจากคณะกรรมการนโยบายการเงินคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3% และ ครม.ขยายเวลาลดการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลถึงวันที่ 31 ส.ค.2555
“ความเชื่อมั่นที่ลดลง เพราะประชาชนกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตที่อาจชะลอตัว แม้เศรษฐกิจในปัจจุบันยังดีอยู่ก็ตาม หลังจากเริ่มมีสัญญาณลบรุนแรงจากปัญหาเศรษฐกิจโลก ทั้งหนี้สาธารณะที่กำลังลุกลามไปอิตาลีและสเปน รวมถึงสหรัฐฯ จะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 3 ที่สำคัญสิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี รวมถึงจีน ได้รับผลกระทบในการส่งออกไปยุโรปอย่างมีนัยยะ และยังมีปัจจัยในประเทศกดดัน ทั้งความหวาดกลัวจะเกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้ง การเมืองในประเทศที่ยังไม่แน่นอนจากการแก้รัฐธรรมนูญ รวมถึงค่าครองชีพน้ำมัน สินค้าที่ทรงตัวในระดับสูง ส่งผลให้ประชาชนมีความกังวลต่อการใช้จ่าย”นายธนวรรธน์กล่าว
ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นที่ลดลงยังมีผลต่อความเหมาะสมในการซื้อบ้านหลังใหม่ รถยนต์คันใหม่ การท่องเที่ยว และการลงทุนประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีในเดือนก.ค.2555 ปรับตัวลดลงด้วย
ขณะที่แนวโน้มความเชื่อมั่นในเดือนถัดไปมีโอกาสปรับลดลงได้อีก เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและในประเทศยังไม่ดีจนอาจกระทบต่อการส่งออกและการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันยังกระทบให้ราคาสินค้าเกษตรกรทรงตัวในระดับต่ำและเกษตรกรมีกำลังซื้อน้อย ตลอดจนปัญหาการเมืองในอนาคตที่ดัชนีปรับลดลงเหลือ 73.7 ต่ำสุดในรอบ 15 เดือน
นายธนวรรธน์กล่าวว่า การเติบโตเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มเติบโตได้น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยคาดว่าโอกาสที่จีดีพีทั้งปี 2555 จะเติบโตระดับ 5-5.5% มีโอกาสสูงขึ้น จากเดิมที่คาดว่าจะโต 5.5-6% ขณะที่เศรษฐกิจไตรมาส 2 จะขยายตัวเหลือ 2.5-3% ต่ำกว่าเดิมที่คาดไว้ 3-4% เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลก และการส่งออกชะลอตัวรวมทั้งภาคการเงินได้ส่งสัญญาณเสี่ยงมากขึ้น หลังจากแนวโน้มการเติบโตของสินเชื่อ น้อยกว่าเงินฝาก สะท้อนว่ากำลังการใช้จ่ายและการลงทุนมีโอกาสชะลอตัว
“สิ่งที่รัฐบาลควรดำเนินการมี 6 ข้อ ได้แก่ การอัดฉีดงบลงทุนหรืองบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและก่อให้เกิดการจ้างงาน การสร้างเสถียรภาพและการปรองดองทางการเมือง การเร่งบริหารจัดการน้ำเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนและภาคธุรกิจ การดูแลราคาสินค้าค่าครองชีพอย่างต่อเนื่อง การควบคุมสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ และการหามาตรการรับมือผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก”นายธนวรรธน์กล่าว