ประชาชนคนไทยย้ำสินค้าปีนี้แพงกว่าปีก่อนมาก แถมส่วนใหญ่ไม่รู้พาณิชย์มีมาตรการดูแลราคาสินค้า เหตุอ่อนประชาสัมพันธ์ ยิ่งโครงการธงฟ้า ร้านถูกใจ ไม่รู้ไปจัดหรือตั้งอยู่ตรงไหน “ธนวรรธน์”แนะต้องดูแลสินค้าต่อเนื่อง แต่ต้องปล่อยให้ขึ้นบ้าง
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจการประเมินผลมาตรการดูแลราคาสินค้าของรัฐบาล ที่สำรวจจากประชาชนตัวอย่าง ทั่วประเทศ 1,205 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 25 มิ.ย.-1ก.ค.2555 ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ถึง 54.4% ระบุราคาสินค้าในปัจจุบันสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วน 37.5% ระบุเท่าเดิม และอีก 8.2% ระบุลดลง ส่งผลให้ผู้ตอบสูงถึง 61.6% มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย จึงจำเป็นต้องกู้เงินทั้งในระบบและนอกระบบ นำเงินออมมาใช้และซื้อสินค้าเฉพาะที่จำเป็น
สาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น 37.3% เห็นว่าเป็นเพราะค่าจ่างที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนอีก 37.1% เห็นว่าต้นทุนการผลิตสูงขึ้น 19.3% เห็นว่าต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น และอีก 6.3% เห็นว่าเป็นเพราะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
ส่วนการมาตรการตรึงราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ 4 เดือน ส่วนใหญ่เห็นด้วย เพราะราคาสินค้าแพงเกินไป ขณะที่กลุ่มที่ไม่เห็นด้วย มองว่า ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด และเมื่อครบเวลา 4 เดือนแล้ว ส่วนใหญ่เห็นว่าควรจะตรึงราคาต่อไป แต่หากจะมีการปรับขึ้นราคาสินค้า ได้มีความเห็นหลากหลาย ส่วนใหญ่ยอมรับที่จะให้ขึ้นได้ แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป
และเมื่อสถานการณ์ปกติ ต้องลดลง ขณะที่บางส่วนไม่อยากให้ขึ้น เพราะประชาชนเดือดร้อน
เมื่อถามว่ารู้จักนโยบายเหล่านี้หรือไม่ ทั้งร้านอาหารธงฟ้า มหกรรมธงฟ้าลดค่าครองชีพ มาตรการออกราคาแนะนำ ร้านถูกใจ การคุมราคาสินค้า และการคุมราคาข้าวแกง ผู้ตอบส่วนใหญ่ระบุว่ารู้ และเคยใช้บริการน้อยถึงไม่เคยใช้เลย เหตุผลเพราะไม่มีการประชาสัมพันธ์ และเห็นว่ามาตรการต่างๆ ที่ออกมา มีความสำเร็จน้อยถึงปานกลางเท่านั้น
”ที่ประชาชนส่วนใหญ่ พอใจกับมาตรการดูแลราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์น้อยถึงปานกลาง เพราะไม่รู้ว่า มาตรการเหล่านี้อยู่ที่ไหน จากการขาดประชาสัมพันธ์ ทำให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มมีรายได้น้อยเข้าไม่ถึง เช่น งานธงฟ้า ร้านถูกใจ รัฐบาลจึงต้องประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น และจัดงานธงฟ้าลงถึงระดับตำบลให้มากขึ้นด้วย”นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า จากนี้ไปจนถึงสิ้นปี เศรษฐกิจไทยยังต้องการการกระตุ้นการบริโภคภายใน จากกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลง รวมถึงผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก และภาวะน้ำท่วมเมื่อปลายปีก่อน ส่วนการตรึงราคาสินค้า เห็นว่า หากพ้น 4 เดือนไปแล้ว น่าจะตรึงต่อในสินค้าที่จำเป็น โดยรายการที่ผู้ผลิตไม่ไหวก็ปล่อยให้ขึ้นตามสมควร หากทำได้ตามนี้
เงินเฟ้อทั้งปีน่าจะอยู่ในกรอบ 3.3-3.8% ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สามารถลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ลงได้อีก 0.5% เพื่อเอื้อต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้
ทั้งนี้ หากต้องใช้คะแนน คิดจากคะแนนเต็ม 10 จะให้คะแนนกระทรวงพาณิชย์ 7 คะแนน โดยถือว่าเป็นมาตรการที่ออกมาใช้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะไม่ใช้วิธีการแทรกแซงจนเอกชนเดือดร้อน และผู้บริโภคยังได้รับประโยชน์
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจการประเมินผลมาตรการดูแลราคาสินค้าของรัฐบาล ที่สำรวจจากประชาชนตัวอย่าง ทั่วประเทศ 1,205 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 25 มิ.ย.-1ก.ค.2555 ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ถึง 54.4% ระบุราคาสินค้าในปัจจุบันสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วน 37.5% ระบุเท่าเดิม และอีก 8.2% ระบุลดลง ส่งผลให้ผู้ตอบสูงถึง 61.6% มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย จึงจำเป็นต้องกู้เงินทั้งในระบบและนอกระบบ นำเงินออมมาใช้และซื้อสินค้าเฉพาะที่จำเป็น
สาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น 37.3% เห็นว่าเป็นเพราะค่าจ่างที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนอีก 37.1% เห็นว่าต้นทุนการผลิตสูงขึ้น 19.3% เห็นว่าต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น และอีก 6.3% เห็นว่าเป็นเพราะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
ส่วนการมาตรการตรึงราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ 4 เดือน ส่วนใหญ่เห็นด้วย เพราะราคาสินค้าแพงเกินไป ขณะที่กลุ่มที่ไม่เห็นด้วย มองว่า ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด และเมื่อครบเวลา 4 เดือนแล้ว ส่วนใหญ่เห็นว่าควรจะตรึงราคาต่อไป แต่หากจะมีการปรับขึ้นราคาสินค้า ได้มีความเห็นหลากหลาย ส่วนใหญ่ยอมรับที่จะให้ขึ้นได้ แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป
และเมื่อสถานการณ์ปกติ ต้องลดลง ขณะที่บางส่วนไม่อยากให้ขึ้น เพราะประชาชนเดือดร้อน
เมื่อถามว่ารู้จักนโยบายเหล่านี้หรือไม่ ทั้งร้านอาหารธงฟ้า มหกรรมธงฟ้าลดค่าครองชีพ มาตรการออกราคาแนะนำ ร้านถูกใจ การคุมราคาสินค้า และการคุมราคาข้าวแกง ผู้ตอบส่วนใหญ่ระบุว่ารู้ และเคยใช้บริการน้อยถึงไม่เคยใช้เลย เหตุผลเพราะไม่มีการประชาสัมพันธ์ และเห็นว่ามาตรการต่างๆ ที่ออกมา มีความสำเร็จน้อยถึงปานกลางเท่านั้น
”ที่ประชาชนส่วนใหญ่ พอใจกับมาตรการดูแลราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์น้อยถึงปานกลาง เพราะไม่รู้ว่า มาตรการเหล่านี้อยู่ที่ไหน จากการขาดประชาสัมพันธ์ ทำให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มมีรายได้น้อยเข้าไม่ถึง เช่น งานธงฟ้า ร้านถูกใจ รัฐบาลจึงต้องประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น และจัดงานธงฟ้าลงถึงระดับตำบลให้มากขึ้นด้วย”นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า จากนี้ไปจนถึงสิ้นปี เศรษฐกิจไทยยังต้องการการกระตุ้นการบริโภคภายใน จากกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลง รวมถึงผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก และภาวะน้ำท่วมเมื่อปลายปีก่อน ส่วนการตรึงราคาสินค้า เห็นว่า หากพ้น 4 เดือนไปแล้ว น่าจะตรึงต่อในสินค้าที่จำเป็น โดยรายการที่ผู้ผลิตไม่ไหวก็ปล่อยให้ขึ้นตามสมควร หากทำได้ตามนี้
เงินเฟ้อทั้งปีน่าจะอยู่ในกรอบ 3.3-3.8% ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สามารถลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ลงได้อีก 0.5% เพื่อเอื้อต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้
ทั้งนี้ หากต้องใช้คะแนน คิดจากคะแนนเต็ม 10 จะให้คะแนนกระทรวงพาณิชย์ 7 คะแนน โดยถือว่าเป็นมาตรการที่ออกมาใช้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะไม่ใช้วิธีการแทรกแซงจนเอกชนเดือดร้อน และผู้บริโภคยังได้รับประโยชน์