กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งอยู่ในความดูแลของพรรคชาติไทยพัฒนามาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ถึงวันนี้ จึงหยั่งรากลึก จนยากที่จะแกะพรรคนี้ออกจากกระทรวงนี้ได้ แม้ที่ผ่านมาจะมีสัญญาณ การปรับให้พรรคการเมืองอื่นเข้ามาดูแลแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ แต่ในทางตรงกันข้าม พรรคชาติไทยพัฒนา กลับเริ่มสยายปีก
ดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว อย่าง อพท. และ สสปน. เข้ามาดูแลอย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งทั้งสองหน่วยงาน ดังกล่าว เป็นองค์การมหาชน ซึ่งตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับจัดสรรงบประมาณ ในแต่ละปี รวมกันเกือบ 2,000 ล้านบาท ไม่นับรวมงบประมาณประจำปี ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กว่า 10,000
ล้านบาทต่อปี
นอกจากนั้นยังมี บริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด หรือ ทีพีซี ผู้ดูแลโครงการบัตรไทยแลนด์ อีลิทการ์ด ที่เตรียมจะพลิกฟื้นโครงการ พร้อมชำระทุนจดทะเบียนที่ค้างไว้ 500 ล้านบาท พร้อมเงินสดใช้จ่ายถึงสิ้นปีนี้อีก 80 ล้านบาท
ขณะเดียวกันยังมีกระแสข่าวว่า มีความเป็นไปได้สูงที่พรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งนำโดย นายชุมพล ศิลปอาชา และมีตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อาจใช้โอกาสนี้ เสนอรูปแบบโครงสร้างงานที่ทับซ้อนกันของสองหน่วยงาน เพื่อดึงเอา อพท. เข้ามาอยู่ในความดูแลของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เช่นเดียวกับที่ ก่อนหน้านี้ได้รุกคืบเข้าคุม
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน. จนเป็นผลให้ นายอรรคพล สรสุชาติ ต้องยื่นลาออกจ่ากตำแหน่งผู้อำนวยการ สสปน.
ในปีงบประมาณ 2556 สสปน. เสนอของบประมาณไปที่ 882 ล้านบาทเศษ ล่าสุด น.ส.เพ็ญสุดา ไพร อร่าม ประธานบอร์ด สสปน. ยังได้ตั้งคณะกรรมการสรรหา ผู้อำนวยการ สสปน. โดยมีนายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯเป็นประธาน
***อพท.ยอมรับเตรียมเข้าสังกัดก.ท่องเที่ยวฯ
พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) กล่าวว่า จาก มติ ครม.เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 55 ที่มอบให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พิจารณาดำเนินการประกาศเมืองหัวหินและพื้นที่เชื่อมโยง (ชะอำ- ปราณบุรี) ภายในกลุ่มท่องเที่ยว “เดอะ รอยัล โคสต์” ให้เป็นเขตพื้นที่พิเศษ
ทั้งๆที่ในข้อเสนอที่นำเข้าพิจารณาใน ครม.ระบุให้ อพท. เป็นผู้บริหารจัดการเพื่อกำหนดแผนงานและงบประมาณในการดำเนินการนั้น โดยส่วนตัวมองว่า มีความเป็นไปได้ว่า อาจเป็นการปูทางพิจารณาโครงสร้างขององค์กรให้ไปอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงท่องเที่ยวฯ โดยอาจจะหยิบขึ้นมาพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายท่องเที่ยวแห่งชาติ วันที่ 25 พ.ค.นี้ โดยใช้ประเด็นการพิจารณาประกาศเมืองหัวหินฯและพื้นที่เชื่อมโยงขึ้นมาพิจารณาเป็นพิเศษ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความทับซ้อนของโครงการกับรอยัล โคสต์ฯ ที่อยู่ใต้กระทรวงฯอยู่แล้ว และจะได้เสนอให้เห็นประโยชน์ของการนำ อพท.มาอยู่รวมใต้กระทรวงท่องเที่ยวฯ
สำหรับปีงบประมาณ 2556 อพท. เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณ ที่ 446 ล้านบาท เพื่อทำโครงการ ตามแผนงานที่วางไว้ ส่วน จะนำ อพท. ไปอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการท่องเที่ยวหรือไม่ โดยส่วนตัวไม่มีข้อติดขัดและเชื่อว่ายังทำงานได้ตามแผน
ล่าสุด นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกและรมว.กระทรวงการท่องเที่ยว ได้มอบให้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ กพร. ไปศึกษาในเงื่อนไข
การนำ อพท.และ สสปน. เข้าไปอยู่ในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดผยว่า การจัดทำงบประมาณประจำปี ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในภาพยอดเงินรวม จะมีผู้รู้เพียง 2 คนหลัก คือ นายชุมพล ศิลปอาชา และ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ส่วนข้าราชการระดับสูงคนอื่นๆจะไม่ได้รับทราบ ขณะที่หน่วยงานอื่นๆจะรู้เฉพาะยอดเงินในหน่วยงานของตัวเอง เท่านั้น
***เขี่ย”จันทิมา”พ้นทาง สังเวยอีลิทรอด
นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด (ทีพีซี) กล่าวหลังจากการประชุมผู้ถือหุ้นฯ ว่า มีการพิจารณาตำแหน่งคณะกรรมการในทีพีซี 3 ตำแหน่งที่ครบวาระ ได้แก่ โควต้าผู้แทนจากกระทรวงการคลัง คือ นางจันทิมา สิริแสงทักษิณ ที่ดำรงตำแหน่งรักษาการณ์ผู้จัดการใหญ่ด้วยนั้น จะยังคงนั่งในตำแหน่งเดิมจนกว่ากระทรวงการคลังจะส่งรายชื่อตัวแทนคนใหม่เข้ามาแทน โดยขั้นตอนต่อไปเมื่อกระทรวงคลังเสนอชื่อมาแล้ว บอร์ดทีพีซี จึงจะประชุมเพื่อหาตำแหน่งรักษาการณ์ใหม่มาแทน
ส่วนบอร์ดอีก 2 ตำแหน่งที่ครบวาระครั้งนี้ คือ พ.ต.อ.วรพล อินทเส ที่ประชุม ยังแต่งตั้งกลับเข้าไป ส่วน นางสาวเมธาวี ตันวัฒนะพงษ์ ซึ่งหมดวาระลง ให้เว้นว่างไปก่อน
แหล่งข่าวจากวงการท่องเที่ยว ระบุว่า ที่ผ่านมามีความพยายามจากพรรคการเมืองที่ดูแล ทีพีซี ต้องการให้ นางจันทิมา ออกพ้นทางไป เพราะเกิดความไม่พอใจ หลังจากที่ นางจันทิมา พยายามนำเสนอประโยชน์ของ อีลิทการ์ด และ ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากปิดกิจการ จนทำให้ มีใบสั่งจากผู้บงการพรรคเพื่อไทย ให้ พรรคชาติไทยพัฒนา กลับลำ หันมาเสนอปรับเปลี่ยนมติ ครม. แทนการยุบทิ้งกิจการ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯยืนยันมาตลอดว่า ต้องปิดกิจการอีลิทให้ได้
อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขงบประมาณ ที่อยู่ภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งดูแลโดยพรรคชาติไทยพัฒนา และรวมงบของ อพท. สสปน. และ อีลิทการ์ด ซึ่งอยู่ในความดูแลของพรรคนี้ ก็เป็นตัวเลขที่มากอยู่ แม้จะไม่เท่ากระทรวงคมนาคม แต่ ด้วยวิธีการทำงาน ซึ่งแตกต่างกัน โดย งานของกระทรวงคมนาคมอย่างการสร้างถนนหนทาง จะตรวจสอบย้อนหลังได้มากกว่า การใช้งบของกระทรวงการท่องเที่ยวซึ่งหมดไปกับการจัดอีเว้นต์ พอจบงาน ก็รื้อสิ่งก่อสร้าง ตรวจสอบย้อนหลังได้ยากกว่า
ดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว อย่าง อพท. และ สสปน. เข้ามาดูแลอย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งทั้งสองหน่วยงาน ดังกล่าว เป็นองค์การมหาชน ซึ่งตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับจัดสรรงบประมาณ ในแต่ละปี รวมกันเกือบ 2,000 ล้านบาท ไม่นับรวมงบประมาณประจำปี ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กว่า 10,000
ล้านบาทต่อปี
นอกจากนั้นยังมี บริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด หรือ ทีพีซี ผู้ดูแลโครงการบัตรไทยแลนด์ อีลิทการ์ด ที่เตรียมจะพลิกฟื้นโครงการ พร้อมชำระทุนจดทะเบียนที่ค้างไว้ 500 ล้านบาท พร้อมเงินสดใช้จ่ายถึงสิ้นปีนี้อีก 80 ล้านบาท
ขณะเดียวกันยังมีกระแสข่าวว่า มีความเป็นไปได้สูงที่พรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งนำโดย นายชุมพล ศิลปอาชา และมีตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อาจใช้โอกาสนี้ เสนอรูปแบบโครงสร้างงานที่ทับซ้อนกันของสองหน่วยงาน เพื่อดึงเอา อพท. เข้ามาอยู่ในความดูแลของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เช่นเดียวกับที่ ก่อนหน้านี้ได้รุกคืบเข้าคุม
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน. จนเป็นผลให้ นายอรรคพล สรสุชาติ ต้องยื่นลาออกจ่ากตำแหน่งผู้อำนวยการ สสปน.
ในปีงบประมาณ 2556 สสปน. เสนอของบประมาณไปที่ 882 ล้านบาทเศษ ล่าสุด น.ส.เพ็ญสุดา ไพร อร่าม ประธานบอร์ด สสปน. ยังได้ตั้งคณะกรรมการสรรหา ผู้อำนวยการ สสปน. โดยมีนายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯเป็นประธาน
***อพท.ยอมรับเตรียมเข้าสังกัดก.ท่องเที่ยวฯ
พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) กล่าวว่า จาก มติ ครม.เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 55 ที่มอบให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พิจารณาดำเนินการประกาศเมืองหัวหินและพื้นที่เชื่อมโยง (ชะอำ- ปราณบุรี) ภายในกลุ่มท่องเที่ยว “เดอะ รอยัล โคสต์” ให้เป็นเขตพื้นที่พิเศษ
ทั้งๆที่ในข้อเสนอที่นำเข้าพิจารณาใน ครม.ระบุให้ อพท. เป็นผู้บริหารจัดการเพื่อกำหนดแผนงานและงบประมาณในการดำเนินการนั้น โดยส่วนตัวมองว่า มีความเป็นไปได้ว่า อาจเป็นการปูทางพิจารณาโครงสร้างขององค์กรให้ไปอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงท่องเที่ยวฯ โดยอาจจะหยิบขึ้นมาพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายท่องเที่ยวแห่งชาติ วันที่ 25 พ.ค.นี้ โดยใช้ประเด็นการพิจารณาประกาศเมืองหัวหินฯและพื้นที่เชื่อมโยงขึ้นมาพิจารณาเป็นพิเศษ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความทับซ้อนของโครงการกับรอยัล โคสต์ฯ ที่อยู่ใต้กระทรวงฯอยู่แล้ว และจะได้เสนอให้เห็นประโยชน์ของการนำ อพท.มาอยู่รวมใต้กระทรวงท่องเที่ยวฯ
สำหรับปีงบประมาณ 2556 อพท. เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณ ที่ 446 ล้านบาท เพื่อทำโครงการ ตามแผนงานที่วางไว้ ส่วน จะนำ อพท. ไปอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการท่องเที่ยวหรือไม่ โดยส่วนตัวไม่มีข้อติดขัดและเชื่อว่ายังทำงานได้ตามแผน
ล่าสุด นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกและรมว.กระทรวงการท่องเที่ยว ได้มอบให้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ กพร. ไปศึกษาในเงื่อนไข
การนำ อพท.และ สสปน. เข้าไปอยู่ในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดผยว่า การจัดทำงบประมาณประจำปี ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในภาพยอดเงินรวม จะมีผู้รู้เพียง 2 คนหลัก คือ นายชุมพล ศิลปอาชา และ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ส่วนข้าราชการระดับสูงคนอื่นๆจะไม่ได้รับทราบ ขณะที่หน่วยงานอื่นๆจะรู้เฉพาะยอดเงินในหน่วยงานของตัวเอง เท่านั้น
***เขี่ย”จันทิมา”พ้นทาง สังเวยอีลิทรอด
นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด (ทีพีซี) กล่าวหลังจากการประชุมผู้ถือหุ้นฯ ว่า มีการพิจารณาตำแหน่งคณะกรรมการในทีพีซี 3 ตำแหน่งที่ครบวาระ ได้แก่ โควต้าผู้แทนจากกระทรวงการคลัง คือ นางจันทิมา สิริแสงทักษิณ ที่ดำรงตำแหน่งรักษาการณ์ผู้จัดการใหญ่ด้วยนั้น จะยังคงนั่งในตำแหน่งเดิมจนกว่ากระทรวงการคลังจะส่งรายชื่อตัวแทนคนใหม่เข้ามาแทน โดยขั้นตอนต่อไปเมื่อกระทรวงคลังเสนอชื่อมาแล้ว บอร์ดทีพีซี จึงจะประชุมเพื่อหาตำแหน่งรักษาการณ์ใหม่มาแทน
ส่วนบอร์ดอีก 2 ตำแหน่งที่ครบวาระครั้งนี้ คือ พ.ต.อ.วรพล อินทเส ที่ประชุม ยังแต่งตั้งกลับเข้าไป ส่วน นางสาวเมธาวี ตันวัฒนะพงษ์ ซึ่งหมดวาระลง ให้เว้นว่างไปก่อน
แหล่งข่าวจากวงการท่องเที่ยว ระบุว่า ที่ผ่านมามีความพยายามจากพรรคการเมืองที่ดูแล ทีพีซี ต้องการให้ นางจันทิมา ออกพ้นทางไป เพราะเกิดความไม่พอใจ หลังจากที่ นางจันทิมา พยายามนำเสนอประโยชน์ของ อีลิทการ์ด และ ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากปิดกิจการ จนทำให้ มีใบสั่งจากผู้บงการพรรคเพื่อไทย ให้ พรรคชาติไทยพัฒนา กลับลำ หันมาเสนอปรับเปลี่ยนมติ ครม. แทนการยุบทิ้งกิจการ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯยืนยันมาตลอดว่า ต้องปิดกิจการอีลิทให้ได้
อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขงบประมาณ ที่อยู่ภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งดูแลโดยพรรคชาติไทยพัฒนา และรวมงบของ อพท. สสปน. และ อีลิทการ์ด ซึ่งอยู่ในความดูแลของพรรคนี้ ก็เป็นตัวเลขที่มากอยู่ แม้จะไม่เท่ากระทรวงคมนาคม แต่ ด้วยวิธีการทำงาน ซึ่งแตกต่างกัน โดย งานของกระทรวงคมนาคมอย่างการสร้างถนนหนทาง จะตรวจสอบย้อนหลังได้มากกว่า การใช้งบของกระทรวงการท่องเที่ยวซึ่งหมดไปกับการจัดอีเว้นต์ พอจบงาน ก็รื้อสิ่งก่อสร้าง ตรวจสอบย้อนหลังได้ยากกว่า