บอร์ด ททท. เห็นชอบ ควรเดินหน้าอีลิทการ์ดต่อไป อ้างพิจารณาแล้ว ยุบทิ้ง เสียหายมากกว่า เร่งทำเรื่องถึง”ชุมพล” เสนอ ครม. ยกเลิกมติ ครม. เดิม พร้อมขอเงิน 500 ล้านบาท ชำระค่าหุ้น บทสรุปครั้งนี้ เป็นใบสั่ง”ทักษิณ”
วานนี้(25เม.ย.55) ภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการ ททท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมเห็นชอบ เดินหน้าโครงการอีลิทการ์ด ต่อไป โดยจะทำรายงานการประชุมเสนอต่อนายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อชงเรื่อง เสนอต่อที่ประชุม ครม. ตามลำดับ โดยเป็นการขอให้ครม. พิจารณา ทบทวนและยกเลิกมติ ครม. เดิม เมื่อวันที่ 26 เม.ย.54 ที่ให้ยุบเลิกโครงการนี้
การศึกษาของ บริษัท ทีพีซี ที่นำเสนอต่อบอร์ด ททท. ถึงแนวทางการยุบเลิก มีทั้งหมด 3 ส่วน กล่าวคือ 1.การประเมินค่าใช้จ่ายหากต้องยุบเลิกกิจการ ซึ่งจะต้องใช้เงินชดเชยเงินให้แก่สมาชิกและดำเนินการ รวมเป็นเงิน 2,400 ล้านบาท ยังไม่รวมรายจ่ายที่จะเกิดจากการฟ้องเรียกค่าเสียหายของสมาชิก 2.ผลสำรวจจากสมาชิกผู้ถือบัตร พบว่า 70% ของสมาชิกที่ตอบแบบสอบถาม ไม่ต้องการให้ยุบโครงการนี้ และ 3.ผลกระทบหากยุบเลิกกิจการอีลิทการ์ด จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นในรัฐบาลไทยและประเทศไทย
เมื่อบอร์ด ททท. พิจารณาแล้ว เห็นว่า ถ้ายุบเลิกโครงการนี้จะมีผลเสียมาก โดยเฉพาะด้านภาพลักษณ์ ทั้งที่เราพยายามจะกู้คืน ให้ต่างชาติมีความเชื่อมั่นประเทศไทย ประกอบกับมองว่า แนวทางธุรกิจของอีลิท จะเอื้อต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ และ การดึงนักลงทุนต่างชาติ เพราะสมาชิกอีลิทการ์ดได้นำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยแล้วกว่า 20,000 ล้านบาท
หลังจากวันนี้ บอร์ดททท.จะทำรายงานมติบอร์ด ส่งถึง นายชุมพล ศิลปอาชา เพื่อ ชงเรื่องเข้าที่ประชุม ครม. เป็นการเร่งด่วน พร้อมจะเสนอขอ ครม.อนุมัติเงิน 500 ล้านบาท เพื่อชำระค่าหุ้นส่วนที่เหลือให้แก่ทีพีซี
นายสุรพล กล่าวว่า หาก ครม.เห็นชอบทบทวน มติ ครม. ก็จะเข้าสู่กระบวนการ จัดทำแผนธุรกิจ ทีพีซี ใหม่ โดยเน้นปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน การจับกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนการปรับหลักเกณฑ์เงื่อนไขใหม่ทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เบื้องหลังการตัดสินใจเดินหน้ากิจการอีลิทต่อไป ทั้งที่เหตุผลของการอยู่ต่อเป็นเหตุผลเดิมๆที่เคยพูดมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีก็ยังยืนยันที่จะยุบทิ้งกิจการนี้ แต่ จากกระแสข่าวที่จะมีการปรับพรรคชาติไทยพัฒนาออกจากรัฐบาล หรือไม่ก็ปรับไม่ให้พรรคนี้ดูแลกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ทำให้ นายชุมพลและนายบรรหาร ศิลปอาชา ต้องเดินทางไปหา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ต่างประเทศหลายครั้ง เพื่อเจรจาต่อรองตำแหน่งทางการเมือง จนข้อตกลงล่าสุด คือ ต้องไม่ยุบเลิกอีลิทการ์ด ซึ่งเป็นโครงการ ที่ก่อตั้งจากแนวคิดของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
วานนี้(25เม.ย.55) ภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการ ททท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมเห็นชอบ เดินหน้าโครงการอีลิทการ์ด ต่อไป โดยจะทำรายงานการประชุมเสนอต่อนายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อชงเรื่อง เสนอต่อที่ประชุม ครม. ตามลำดับ โดยเป็นการขอให้ครม. พิจารณา ทบทวนและยกเลิกมติ ครม. เดิม เมื่อวันที่ 26 เม.ย.54 ที่ให้ยุบเลิกโครงการนี้
การศึกษาของ บริษัท ทีพีซี ที่นำเสนอต่อบอร์ด ททท. ถึงแนวทางการยุบเลิก มีทั้งหมด 3 ส่วน กล่าวคือ 1.การประเมินค่าใช้จ่ายหากต้องยุบเลิกกิจการ ซึ่งจะต้องใช้เงินชดเชยเงินให้แก่สมาชิกและดำเนินการ รวมเป็นเงิน 2,400 ล้านบาท ยังไม่รวมรายจ่ายที่จะเกิดจากการฟ้องเรียกค่าเสียหายของสมาชิก 2.ผลสำรวจจากสมาชิกผู้ถือบัตร พบว่า 70% ของสมาชิกที่ตอบแบบสอบถาม ไม่ต้องการให้ยุบโครงการนี้ และ 3.ผลกระทบหากยุบเลิกกิจการอีลิทการ์ด จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นในรัฐบาลไทยและประเทศไทย
เมื่อบอร์ด ททท. พิจารณาแล้ว เห็นว่า ถ้ายุบเลิกโครงการนี้จะมีผลเสียมาก โดยเฉพาะด้านภาพลักษณ์ ทั้งที่เราพยายามจะกู้คืน ให้ต่างชาติมีความเชื่อมั่นประเทศไทย ประกอบกับมองว่า แนวทางธุรกิจของอีลิท จะเอื้อต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ และ การดึงนักลงทุนต่างชาติ เพราะสมาชิกอีลิทการ์ดได้นำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยแล้วกว่า 20,000 ล้านบาท
หลังจากวันนี้ บอร์ดททท.จะทำรายงานมติบอร์ด ส่งถึง นายชุมพล ศิลปอาชา เพื่อ ชงเรื่องเข้าที่ประชุม ครม. เป็นการเร่งด่วน พร้อมจะเสนอขอ ครม.อนุมัติเงิน 500 ล้านบาท เพื่อชำระค่าหุ้นส่วนที่เหลือให้แก่ทีพีซี
นายสุรพล กล่าวว่า หาก ครม.เห็นชอบทบทวน มติ ครม. ก็จะเข้าสู่กระบวนการ จัดทำแผนธุรกิจ ทีพีซี ใหม่ โดยเน้นปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน การจับกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนการปรับหลักเกณฑ์เงื่อนไขใหม่ทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เบื้องหลังการตัดสินใจเดินหน้ากิจการอีลิทต่อไป ทั้งที่เหตุผลของการอยู่ต่อเป็นเหตุผลเดิมๆที่เคยพูดมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีก็ยังยืนยันที่จะยุบทิ้งกิจการนี้ แต่ จากกระแสข่าวที่จะมีการปรับพรรคชาติไทยพัฒนาออกจากรัฐบาล หรือไม่ก็ปรับไม่ให้พรรคนี้ดูแลกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ทำให้ นายชุมพลและนายบรรหาร ศิลปอาชา ต้องเดินทางไปหา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ต่างประเทศหลายครั้ง เพื่อเจรจาต่อรองตำแหน่งทางการเมือง จนข้อตกลงล่าสุด คือ ต้องไม่ยุบเลิกอีลิทการ์ด ซึ่งเป็นโครงการ ที่ก่อตั้งจากแนวคิดของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร