“คมนาคม” ชง ครม.ไฟเขียวขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน 1 บาทตามสัญญา ดีเดย์ 3 กรกฎาคมนี้ ด้านบีเอ็มซีแอลชี้รายได้ปี 55 เพิ่มไม่มาก เหตุปรับน้อยและเริ่มกลางปีนี้ “จารุพงศ์” ไล่บี้ ร.ฟ.ท.ไร้แผนบริหารชัดเจน สั่งแจงรายละเอียดซื้อหัวจักร พร้อมหาทางเคลียร์ปมประมูลสายสีแดงไม่เกิน 2 สัปดาห์
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 พฤษภาคมนี้ กระทรวงคมนาคมจะเสนอที่ประชุมรับทราบการปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล (หัวลำโพง-บางซื่อ) ขึ้นประมาณ 1บาท ซึ่งคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้มีมติอนุมัติและเป็นไปตามสัญญาสัมปทานที่บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล สามารถขึ้นราคาค่าโดยสารได้ทุกๆ 2 ปี ตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) โดยเมื่อ ครม.รับทราบแล้วจะต้องประกาศอัตราค่าโดยสารใหม่ล่วงหน้าและจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2555 โดยอัตราค่าโดยสารใหม่จะปรับเป็น 16-40 บาท ตามระยะทาง จากปัจจุบันอยู่ที่ 15-40 บาท
ด้านนายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ กรรมการผู้จัดการบีเอ็มซีแอล กล่าวว่า คาดว่าบริษัทจะมีรายได้เพิ่มในปี 2555 ประมาณ 2% เนื่องจากการปรับขึ้นค่าโดยสารอีก 1 บาทนั้นจะมีระยะเวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น (ก.ค.-ธ.ค.) โดยจะปรับในส่วนของบุคคลทั่วไปเป็นหลัก ส่วนของเด็กและผู้สูงอายุนั้นจะมีการทำโปรโมชันค่าโดยสาร และทำโปรโมชันในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน เพื่อจูงใจผู้ใช้บริการ โดยจำนวนผู้โดยสารมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ย 2.5 แสนคนต่อวัน
***บี้ ร.ฟ.ท.สั่งปรับการทำงานและเร่งแก้ปัญหาสายสีแดง
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมาได้ประชุมร่วมกับสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อติดตามการดำเนินงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พร้อมกับรับฟังปัญหาอุปสรรคและการดำเนินงานในภาพรวม พบว่าแผนการดำเนินงานและการพัฒนาโครงการต่างๆ ยังไม่ชัดเจน เช่น การแก้ปัญหาขาดทุน ซึ่งจะต้องมีการกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องตลอดเวลา หรือการจัดซื้อหัวรถจักรใหม่ 50 หัว และซ่อมแซมหัวจักรเก่าอีก 100 หัวเพราะมีความต้องการให้มีใช้งานประมาณ 150 หัว ก็ไม่มีการเปรียบเทียบความคุ้มค่าของการลงทุน เพราะลงทุนซื้อใหม่กับซ่อมไม่ต่างกันมากแต่ประสิทธิภาพการใช้งานต่างกัน เป็นต้น
ส่วนโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิตที่มีปัญหาการปะมูลทั้ง 3สัญญา เพราะพบว่ามีเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคคือ ถ้าสัญญา 1 งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุงสรุปไม่ได้ สัญญา 2 (งานโยธาสำหรับทางรถไฟ) ก็เปิดราคาไม่ได้ ส่วนสัญญา 3 (งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกลรวมงานจัดซื้อตู้รถไฟฟ้าทั้งช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน) ถ้าไม่เดินหน้าสัญญา 1 ก็ไปไม่ได้เพราะมีการเคลียร์รางเพื่อทำสถานีบางซื่อกลายเป็นงูกินหาง จึงให้ ร.ฟ.ท.ไปทำแผนการแก้ปัญหาทั้งหมดและรายงานต่อที่ประชุมอีกครั้งในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ อย่างไรก็ตาม จะมีการประชุมติดตามการดำเนินงานด้านทางบก, ทางน้ำ และทางอากาศเพื่อแก้ปัญหาในทุกๆ สัปดาห์ และติดตามผลทุก 2 สัปดาห์ต่อเนื่อง
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 พฤษภาคมนี้ กระทรวงคมนาคมจะเสนอที่ประชุมรับทราบการปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล (หัวลำโพง-บางซื่อ) ขึ้นประมาณ 1บาท ซึ่งคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้มีมติอนุมัติและเป็นไปตามสัญญาสัมปทานที่บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล สามารถขึ้นราคาค่าโดยสารได้ทุกๆ 2 ปี ตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) โดยเมื่อ ครม.รับทราบแล้วจะต้องประกาศอัตราค่าโดยสารใหม่ล่วงหน้าและจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2555 โดยอัตราค่าโดยสารใหม่จะปรับเป็น 16-40 บาท ตามระยะทาง จากปัจจุบันอยู่ที่ 15-40 บาท
ด้านนายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ กรรมการผู้จัดการบีเอ็มซีแอล กล่าวว่า คาดว่าบริษัทจะมีรายได้เพิ่มในปี 2555 ประมาณ 2% เนื่องจากการปรับขึ้นค่าโดยสารอีก 1 บาทนั้นจะมีระยะเวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น (ก.ค.-ธ.ค.) โดยจะปรับในส่วนของบุคคลทั่วไปเป็นหลัก ส่วนของเด็กและผู้สูงอายุนั้นจะมีการทำโปรโมชันค่าโดยสาร และทำโปรโมชันในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน เพื่อจูงใจผู้ใช้บริการ โดยจำนวนผู้โดยสารมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ย 2.5 แสนคนต่อวัน
***บี้ ร.ฟ.ท.สั่งปรับการทำงานและเร่งแก้ปัญหาสายสีแดง
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมาได้ประชุมร่วมกับสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อติดตามการดำเนินงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พร้อมกับรับฟังปัญหาอุปสรรคและการดำเนินงานในภาพรวม พบว่าแผนการดำเนินงานและการพัฒนาโครงการต่างๆ ยังไม่ชัดเจน เช่น การแก้ปัญหาขาดทุน ซึ่งจะต้องมีการกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องตลอดเวลา หรือการจัดซื้อหัวรถจักรใหม่ 50 หัว และซ่อมแซมหัวจักรเก่าอีก 100 หัวเพราะมีความต้องการให้มีใช้งานประมาณ 150 หัว ก็ไม่มีการเปรียบเทียบความคุ้มค่าของการลงทุน เพราะลงทุนซื้อใหม่กับซ่อมไม่ต่างกันมากแต่ประสิทธิภาพการใช้งานต่างกัน เป็นต้น
ส่วนโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิตที่มีปัญหาการปะมูลทั้ง 3สัญญา เพราะพบว่ามีเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคคือ ถ้าสัญญา 1 งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุงสรุปไม่ได้ สัญญา 2 (งานโยธาสำหรับทางรถไฟ) ก็เปิดราคาไม่ได้ ส่วนสัญญา 3 (งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกลรวมงานจัดซื้อตู้รถไฟฟ้าทั้งช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน) ถ้าไม่เดินหน้าสัญญา 1 ก็ไปไม่ได้เพราะมีการเคลียร์รางเพื่อทำสถานีบางซื่อกลายเป็นงูกินหาง จึงให้ ร.ฟ.ท.ไปทำแผนการแก้ปัญหาทั้งหมดและรายงานต่อที่ประชุมอีกครั้งในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ อย่างไรก็ตาม จะมีการประชุมติดตามการดำเนินงานด้านทางบก, ทางน้ำ และทางอากาศเพื่อแก้ปัญหาในทุกๆ สัปดาห์ และติดตามผลทุก 2 สัปดาห์ต่อเนื่อง