เอกชนเริ่มปรับตัวรองรับค่าแรง 300 บาทต่อวันที่นำร่อง 7 จังหวัดและจะมีผลทั่วประเทศ 1 มกราคม 56 มีนโยบายไม่รับคนเพิ่มแต่เน้นใช้เครื่องจักรแทน และเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานเดิม จับตาเอสเอ็มอีถูกบีบรอบด้าน มองแรงงานต่างด้าวมากขึ้น
นายพากร วังศิลาบัตร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยาเริ่มมีการปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ที่ล่าสุดนำร่อง 7 จังหวัดและจะมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ 1 มกราคม 56 โดยการมองหาเครื่องจักรมาทดแทนแรงงานและการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานที่มีอยู่เดิมเพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยรวม
แนวโน้มภาคธุรกิจอุตสาหกรรมจะรัดเข็มขัดโดยการไม่รับแรงงานเพิ่ม แม้แต่โรงงานที่ลงทุนใหม่ก็จะเน้นเครื่องจักรมากขึ้น การจ้างแรงงานคนก็จะลดอัตราลงไปจากปกติ
“ตอนนี้ค่าแรงขึ้น 300 บาทต่อวันนำร่อง 7 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม นนทบุรี และภูเก็ต วันที่ 1 มกราคม 56 ก็จะมีผลทั่วประเทศทำให้โรงงานส่วนใหญ่ต้องเร่งปรับตัวเพราะค่าจ้างเป็นต้นทุนส่วนหนึ่ง แต่วัตถุดิบ ค่าขนส่ง เวลานี้ขึ้นหมดทำให้ธุรกิจต้องดิ้นลดต้นทุนมากขึ้น” นายพากรกล่าว
ทั้งนี้ สิ่งที่กังวลคือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่จะได้รับผลกระทบหนักจากภาระต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นทุกด้านแต่ไม่สามารถปรับราคาสินค้าขึ้นได้ ทั้งในแง่เอสเอ็มอีที่ขายผลิตภัณฑ์โดยตรงที่มีการแข่งขันสูงอยู่แล้วในตลาดและแรงงานในประเทศยังไม่ดีนัก และเอสเอ็มอีที่รับจ้างการผลิตหรือซับคอนแทรกต์เองก็ไม่มีอำนาจต่อรองไปขอปรับราคาสินค้ากับผู้ผลิตรายใหญ่ ดังนั้น สิ่งที่จะตามมาคือธุรกิจเหล่านี้อาจหันไปพึ่งแรงงานต่างด้าวมากขึ้นเนื่องจากแรงงานเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีสวัสดิการมากเมื่อเทียบกับแรงงานไทย
สำหรับเอสเอ็มอีทั่วประเทศมีราว 2.3 ล้านราย คิดเป็น 97% ของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในไทย และในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยามีโรงงานภาคการผลิตที่เป็นเอสเอ็มอีอย่างต่ำประมาณ 1,800 แห่ง
นายพากร วังศิลาบัตร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยาเริ่มมีการปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ที่ล่าสุดนำร่อง 7 จังหวัดและจะมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ 1 มกราคม 56 โดยการมองหาเครื่องจักรมาทดแทนแรงงานและการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานที่มีอยู่เดิมเพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยรวม
แนวโน้มภาคธุรกิจอุตสาหกรรมจะรัดเข็มขัดโดยการไม่รับแรงงานเพิ่ม แม้แต่โรงงานที่ลงทุนใหม่ก็จะเน้นเครื่องจักรมากขึ้น การจ้างแรงงานคนก็จะลดอัตราลงไปจากปกติ
“ตอนนี้ค่าแรงขึ้น 300 บาทต่อวันนำร่อง 7 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม นนทบุรี และภูเก็ต วันที่ 1 มกราคม 56 ก็จะมีผลทั่วประเทศทำให้โรงงานส่วนใหญ่ต้องเร่งปรับตัวเพราะค่าจ้างเป็นต้นทุนส่วนหนึ่ง แต่วัตถุดิบ ค่าขนส่ง เวลานี้ขึ้นหมดทำให้ธุรกิจต้องดิ้นลดต้นทุนมากขึ้น” นายพากรกล่าว
ทั้งนี้ สิ่งที่กังวลคือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่จะได้รับผลกระทบหนักจากภาระต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นทุกด้านแต่ไม่สามารถปรับราคาสินค้าขึ้นได้ ทั้งในแง่เอสเอ็มอีที่ขายผลิตภัณฑ์โดยตรงที่มีการแข่งขันสูงอยู่แล้วในตลาดและแรงงานในประเทศยังไม่ดีนัก และเอสเอ็มอีที่รับจ้างการผลิตหรือซับคอนแทรกต์เองก็ไม่มีอำนาจต่อรองไปขอปรับราคาสินค้ากับผู้ผลิตรายใหญ่ ดังนั้น สิ่งที่จะตามมาคือธุรกิจเหล่านี้อาจหันไปพึ่งแรงงานต่างด้าวมากขึ้นเนื่องจากแรงงานเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีสวัสดิการมากเมื่อเทียบกับแรงงานไทย
สำหรับเอสเอ็มอีทั่วประเทศมีราว 2.3 ล้านราย คิดเป็น 97% ของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในไทย และในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยามีโรงงานภาคการผลิตที่เป็นเอสเอ็มอีอย่างต่ำประมาณ 1,800 แห่ง