เรกูเลเตอร์ย้ำค่าเอฟทีรอบใหม่พ.ค.-ส.ค. 55 จะปรับขึ้นแต่ไม่ครอบคลุมต้นทุน 100% หวั่นประชาชนรับภาระหนักเหตุเอฟทีล่าสุดพุ่งสูงกว่า 40สตางค์ต่อหน่วยแต่ตัวเลขรอเคาะอีกครั้ง ดึงเงินคอลแบคที่เรียกคืนจาก 3 การไฟฟ้าโปะช่วย 3 พันล้านบาท ขณะที่ก.พลังงานรณรงค์ประชาชนงดใช้พลังงาน 1 ชม. 10 เม.ย.
นายดิเรก ลาวัลย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือ เอฟที รอบเดือน พ.ค.-ส.ค.55 นี้ ยอมรับว่า จากต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวในระดับ 300 บาทต่อล้านบีทียู ส่งผลให้ค่าเอฟทีจะสูงกว่า 40 สตางค์ต่อหน่วย แต่ขณะนี้เรกูเลเตอร์กำลังพิจารณาลดผลกระทบให้กับประชาชนอยู่ และการพิจารณาให้ปรับค่าเอฟทีขึ้นคงจะไม่ให้ประชาชนรับภาระทั้งหมดทีเดียวแต่จะทยอยปรับขึ้นส่วนจะเป็นตัวเลขใดจะขอดูรายละเอียดต่างๆ ก่อน
“เรากำลังพิจารณาลดผลกระทบต่างๆ อยู่โดยเบื้องต้นจะดึงเงินจาก 3 การไฟฟ้าที่ไม่ได้มีการลงทุนหรือ คอลแบก ประมาณ 3,000 ล้านบาทที่ยังเหลืออยู่มาอุดหนุนค่าไฟครั้งนี้” นายดิเรก กล่าว
นอกจากนี้ ยังจะหารือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่จะเจรจากับผู้ผลิตภาคเอกชนรายใหญ่ ที่จะขอความร่วมมือในการหยุดการผลิตในช่วงเวลาความต้องการใช้ไฟสูงสุด หรือ Peak Demand ในช่วงที่ก๊าซธรรมชาติจากพม่าจะหยุดจ่ายเพื่อซ่อมบำรุงช่วงวันที่ 8-10 เม.ย.55 ซึ่งหากมีการลดควมต้องการใช้ไฟช่วงนี้ได้ก็จะทำให้ประหยัดการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ต้องพึ่งดีเซลและน้ำมันแทนก๊าซฯซึ่งจะมีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า วันที่ 10 เม.ย. 55 กระทรวงพลังงานจะจัดกิจกรรมรณรงค์เชิญชวนประชาชนร่วมลดใช้พลังงาน 10 เม.ย.ปฏิบัติการช่วยชาติ งดใช้พลังงาน 1 ชั่วโมง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เวลา 13.00-14.00 น.ณ ทำเนียบรัฐบาลซึ่งโครงการดังกล่าวกระทรวงพลังงานคาดหวังว่าจะลดการใช้ไฟฟ้าได้ 1,500 เมกะวัตต์ หรือเท่ากับการลดการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าประมาณ 4-5 หมื่นล้านบาท
“กิจกรรมครั้งนี้เราจะรณรงค์ให้มีการปิดไฟที่ไม่ใช้ และปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไปที่ 26 องศาเซลเซียส เพื่อลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) คือลดการใช้น้ำมันเตา ดีเซล และก๊าซธรรมชาติที่นำมาผลิตไฟฟ้า ซึ่งช่วงที่เลือกวันที่ 10 เม.ย.เพราะที่ผ่านมาเป็นช่วงเกิดพีคสูงสุด ประกอบกับช่วง 8-10 เม.ย.เป็นช่วงที่ก๊าซธรรมชาติจากพม่าหยุดซ่อมบำรุง” รมว.พลังงาน กล่าว
นายดิเรก ลาวัลย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือ เอฟที รอบเดือน พ.ค.-ส.ค.55 นี้ ยอมรับว่า จากต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวในระดับ 300 บาทต่อล้านบีทียู ส่งผลให้ค่าเอฟทีจะสูงกว่า 40 สตางค์ต่อหน่วย แต่ขณะนี้เรกูเลเตอร์กำลังพิจารณาลดผลกระทบให้กับประชาชนอยู่ และการพิจารณาให้ปรับค่าเอฟทีขึ้นคงจะไม่ให้ประชาชนรับภาระทั้งหมดทีเดียวแต่จะทยอยปรับขึ้นส่วนจะเป็นตัวเลขใดจะขอดูรายละเอียดต่างๆ ก่อน
“เรากำลังพิจารณาลดผลกระทบต่างๆ อยู่โดยเบื้องต้นจะดึงเงินจาก 3 การไฟฟ้าที่ไม่ได้มีการลงทุนหรือ คอลแบก ประมาณ 3,000 ล้านบาทที่ยังเหลืออยู่มาอุดหนุนค่าไฟครั้งนี้” นายดิเรก กล่าว
นอกจากนี้ ยังจะหารือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่จะเจรจากับผู้ผลิตภาคเอกชนรายใหญ่ ที่จะขอความร่วมมือในการหยุดการผลิตในช่วงเวลาความต้องการใช้ไฟสูงสุด หรือ Peak Demand ในช่วงที่ก๊าซธรรมชาติจากพม่าจะหยุดจ่ายเพื่อซ่อมบำรุงช่วงวันที่ 8-10 เม.ย.55 ซึ่งหากมีการลดควมต้องการใช้ไฟช่วงนี้ได้ก็จะทำให้ประหยัดการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ต้องพึ่งดีเซลและน้ำมันแทนก๊าซฯซึ่งจะมีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า วันที่ 10 เม.ย. 55 กระทรวงพลังงานจะจัดกิจกรรมรณรงค์เชิญชวนประชาชนร่วมลดใช้พลังงาน 10 เม.ย.ปฏิบัติการช่วยชาติ งดใช้พลังงาน 1 ชั่วโมง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เวลา 13.00-14.00 น.ณ ทำเนียบรัฐบาลซึ่งโครงการดังกล่าวกระทรวงพลังงานคาดหวังว่าจะลดการใช้ไฟฟ้าได้ 1,500 เมกะวัตต์ หรือเท่ากับการลดการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าประมาณ 4-5 หมื่นล้านบาท
“กิจกรรมครั้งนี้เราจะรณรงค์ให้มีการปิดไฟที่ไม่ใช้ และปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไปที่ 26 องศาเซลเซียส เพื่อลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) คือลดการใช้น้ำมันเตา ดีเซล และก๊าซธรรมชาติที่นำมาผลิตไฟฟ้า ซึ่งช่วงที่เลือกวันที่ 10 เม.ย.เพราะที่ผ่านมาเป็นช่วงเกิดพีคสูงสุด ประกอบกับช่วง 8-10 เม.ย.เป็นช่วงที่ก๊าซธรรมชาติจากพม่าหยุดซ่อมบำรุง” รมว.พลังงาน กล่าว