ASTVผู้จัดการรายวัน - เอกชนทำใจรับสภาพค่าแรง 300 บาท/วัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เม.ย.55 เป็นต้นไป รัฐต้องทำใจเมื่อค่าแรงขยับหนีไม่พ้นสินค้าปรับขึ้นตามทฤษฎี 2 สูง คาด อีก 3 เดือนรู้ชัดอยู่หรือไปผวาเอสเอ็มอีเจ๊ง
นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ส.อ.ท.เปิดเผยถึงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ต่อวันที่มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 1 เม.ย.55 เป็นต้นไป ว่า เป็นกฎหมายที่เอกชนคงต้องปฏิบัติตาม และทุกฝ่ายก็ต้องปรับตัวรองรับโดยส่วนเอกชนที่ไม่สามารถจะแบกรับภาระได้จริงที่สุดคงหนีไม่พ้นการปรับขึ้นราคาสินค้าซึ่งก็เป็นไปตามวัฎจักรหรือทฤษฎี 2 สูง คือ ปล่อยให้ราคาสินค้าปรับขึ้นตามกลไกควบคู่ไปกับการปรับขึ้นค่าแรงเพื่อให้สอดรับกับรายจ่าย
“จริงๆ เราเองไม่ได้คัดค้านการขึ้นค่าแรงเลยเพราะว่าเมื่อหันไปดูค่าครองชีพประชาชนแล้วเขามีรายได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับรายจ่ายแต่ปัญหา คือ รัฐเองควรมีกลไกในการดูแลราคาสินค้าให้นิ่งก่อนสักพักแล้วใช้วิธีทยอยปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่ขึ้นครั้งนี้เท่ากับ 40% มันเร็วไปนิดนึง และอยากให้หามาตรการดูแลผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม หรือเอสเอ็มอี เพราะเขามีอำนาจต่อรองต่ำมากที่สุดจะอยู่ลำบากซึ่งตอนนี้คงประเมินยากแต่ผมคิดว่าอีก 3 เดือนข้างหน้าจะเห็นชัดว่าผลกระทบจะมากน้อยเพียงใด” นายวิศิษฎ์ กล่าว
นายวัลลภ วิตนากร รองประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้เอกชนส่วนใหญ่ ได้เตรียมรับภาระรายจ่ายที่จะต้องเพิ่มขึ้นจากนโยบายการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน แล้วซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ เอสเอ็มอีที่มีอยู่ประมาณ 2.3 ล้านรายทั่วประเทศ อาจต้องประสบกับปัญหาขาดทุนและที่สุด 20-30% ของเอสเอ็มอีทั้งหมดมีโอกาสต้องปิดกิจการลงเพราะขณะนี้เท่าที่ทราบเริ่มทยอยปิดแล้วจำนวนมาก ดังนั้นรัฐบาลควรหามาตรการในการดูแลเอสเอ็มอีอย่างเร่งด่วน
“รายใหญ่ไม่น่าห่วง เพราะถ้าผลิตสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงแล้วส่วนใหญ่ก็จ่ายมากกว่าอยู่แล้ว และอีกส่วนต้องเจรจาลูกค้าในการขอเพิ่มราคาสินค้าสำหรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าใหม่บางรายก็เจรจาได้แต่บางรายก็ไม่ได้ซึ่งที่สุดก็จะต้องไปลดต้นทุนส่วนอื่นๆ แทนแต่รายเล็กลำบากที่จะปรับราคาสินค้าระยะแรกๆ นี้ แถมยังมีต้นทุนรอบด้านทั้งน้ำมันค่าแรงที่เพิ่มและบางรายยังเจอน้ำท่วมก็ยังไม่ฟื้นตัวอีกมากเอสเอ็มอีคงจะทยอยเจ๊ง และปัญหานี้คงจะชัดมากขึ้นปี 2556 เพราะค่าแรงจะปรับขึ้นทั่วประเทศ” นายวัลลภ กล่าว
**เอสเอ็มอีชิงปิดหนีจ่ายชดเชยเพิ่ม
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการ ส.อ.ท.กล่าวว่า การขึ้นค่าแรง คาดว่า จะส่งผลให้กิจการคนไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี อาจต้องล้มหายไปพอสมควร ซึ่งขณะนี้กิจการที่ใช้แรงงานเข้มข้นในหลายจังหวัดเริ่มทยอยปิด เพราะประเมินแล้วว่าไม่สามารถรับภาระค่าจ้างที่เพิ่มอีก 40% โดยหากปล่อยให้ไปปิดกิจการหลัง เม.ย.55 ไปแล้ว การจ่ายชดเชยจะยึดฐานเงินเดือนใหม่ที่ปรับขึ้นจะทำให้ต้องมีภาระจ่ายค่าตอบแทนล่วงหน้าสูง
“ผมคิดว่า ภาพมันจะค่อยๆ เห็น และจะไปรุนแรงในปี 2556 ที่ค่าจ้างขึ้นทั่วประเทศ วันนี้มาตรการช่วยเหลือทุกอย่างไม่ได้ตกกับเอสเอ็มอีเลย ขณะที่ลูกจ้างเองก็เชื่อว่าถ้าเลือกได้ระหว่างการขึ้นค่าจ้างกับของไม่ขึ้นราคาเขาเลือกของไม่ขึ้นราคาดีกว่าเพราะเขาเองก็ไม่แน่ใจว่าที่สุดแล้วกิจการจะอยู่ได้นานแค่ไหน” นายสมมาต กล่าว
นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ส.อ.ท.เปิดเผยถึงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ต่อวันที่มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 1 เม.ย.55 เป็นต้นไป ว่า เป็นกฎหมายที่เอกชนคงต้องปฏิบัติตาม และทุกฝ่ายก็ต้องปรับตัวรองรับโดยส่วนเอกชนที่ไม่สามารถจะแบกรับภาระได้จริงที่สุดคงหนีไม่พ้นการปรับขึ้นราคาสินค้าซึ่งก็เป็นไปตามวัฎจักรหรือทฤษฎี 2 สูง คือ ปล่อยให้ราคาสินค้าปรับขึ้นตามกลไกควบคู่ไปกับการปรับขึ้นค่าแรงเพื่อให้สอดรับกับรายจ่าย
“จริงๆ เราเองไม่ได้คัดค้านการขึ้นค่าแรงเลยเพราะว่าเมื่อหันไปดูค่าครองชีพประชาชนแล้วเขามีรายได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับรายจ่ายแต่ปัญหา คือ รัฐเองควรมีกลไกในการดูแลราคาสินค้าให้นิ่งก่อนสักพักแล้วใช้วิธีทยอยปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่ขึ้นครั้งนี้เท่ากับ 40% มันเร็วไปนิดนึง และอยากให้หามาตรการดูแลผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม หรือเอสเอ็มอี เพราะเขามีอำนาจต่อรองต่ำมากที่สุดจะอยู่ลำบากซึ่งตอนนี้คงประเมินยากแต่ผมคิดว่าอีก 3 เดือนข้างหน้าจะเห็นชัดว่าผลกระทบจะมากน้อยเพียงใด” นายวิศิษฎ์ กล่าว
นายวัลลภ วิตนากร รองประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้เอกชนส่วนใหญ่ ได้เตรียมรับภาระรายจ่ายที่จะต้องเพิ่มขึ้นจากนโยบายการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน แล้วซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ เอสเอ็มอีที่มีอยู่ประมาณ 2.3 ล้านรายทั่วประเทศ อาจต้องประสบกับปัญหาขาดทุนและที่สุด 20-30% ของเอสเอ็มอีทั้งหมดมีโอกาสต้องปิดกิจการลงเพราะขณะนี้เท่าที่ทราบเริ่มทยอยปิดแล้วจำนวนมาก ดังนั้นรัฐบาลควรหามาตรการในการดูแลเอสเอ็มอีอย่างเร่งด่วน
“รายใหญ่ไม่น่าห่วง เพราะถ้าผลิตสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงแล้วส่วนใหญ่ก็จ่ายมากกว่าอยู่แล้ว และอีกส่วนต้องเจรจาลูกค้าในการขอเพิ่มราคาสินค้าสำหรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าใหม่บางรายก็เจรจาได้แต่บางรายก็ไม่ได้ซึ่งที่สุดก็จะต้องไปลดต้นทุนส่วนอื่นๆ แทนแต่รายเล็กลำบากที่จะปรับราคาสินค้าระยะแรกๆ นี้ แถมยังมีต้นทุนรอบด้านทั้งน้ำมันค่าแรงที่เพิ่มและบางรายยังเจอน้ำท่วมก็ยังไม่ฟื้นตัวอีกมากเอสเอ็มอีคงจะทยอยเจ๊ง และปัญหานี้คงจะชัดมากขึ้นปี 2556 เพราะค่าแรงจะปรับขึ้นทั่วประเทศ” นายวัลลภ กล่าว
**เอสเอ็มอีชิงปิดหนีจ่ายชดเชยเพิ่ม
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการ ส.อ.ท.กล่าวว่า การขึ้นค่าแรง คาดว่า จะส่งผลให้กิจการคนไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี อาจต้องล้มหายไปพอสมควร ซึ่งขณะนี้กิจการที่ใช้แรงงานเข้มข้นในหลายจังหวัดเริ่มทยอยปิด เพราะประเมินแล้วว่าไม่สามารถรับภาระค่าจ้างที่เพิ่มอีก 40% โดยหากปล่อยให้ไปปิดกิจการหลัง เม.ย.55 ไปแล้ว การจ่ายชดเชยจะยึดฐานเงินเดือนใหม่ที่ปรับขึ้นจะทำให้ต้องมีภาระจ่ายค่าตอบแทนล่วงหน้าสูง
“ผมคิดว่า ภาพมันจะค่อยๆ เห็น และจะไปรุนแรงในปี 2556 ที่ค่าจ้างขึ้นทั่วประเทศ วันนี้มาตรการช่วยเหลือทุกอย่างไม่ได้ตกกับเอสเอ็มอีเลย ขณะที่ลูกจ้างเองก็เชื่อว่าถ้าเลือกได้ระหว่างการขึ้นค่าจ้างกับของไม่ขึ้นราคาเขาเลือกของไม่ขึ้นราคาดีกว่าเพราะเขาเองก็ไม่แน่ใจว่าที่สุดแล้วกิจการจะอยู่ได้นานแค่ไหน” นายสมมาต กล่าว