ASTVผู้จัดการรายวัน - กองทุนประกันภัยพิบัติเดินหน้ารับประกันภัยจากบริษัทประกัน สัปดาห์หน้า คาดมีเงินค่าเบี้ยประกันเข้ามา 1-2 หมื่นล้าน ระบุครัวเรือนต้องทำประกันควบคู่ทั้งวินาศภัยและภัยพิบัติ ขีดเส้นไม่รับประกันพื้นที่แก้มลิง-ฟลัดเวย์ เตรียม 3 หมื่นล้านรองรับค่าเสียหาย ส่วนอีก 2 หมื่นล้านซื้อประกันภัยต่อในต่างประเทศเพื่อให้ครอบคลุมความเสียหาย 3 แสนล้าน
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)และกรรมการกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนวันที่ 9 มีนาคมนี้จะมีการพิจารณาเตรียมการลงนามในสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากนั้นสัปดาห์หน้าคาดจะเริ่มเปิดขายกรมธรรม์ภัยพิบัติให้ประชาชนทั่วไปและภาคธุรกิจได้ เบื้องเต้นมองว่าจะมีเบี้ยประกันเข้ามาที่กองทุนประมาณ 1-2 หมื่นล้านบาท จากทั้ง 3 กลุ่ม โดยคิดอัตราค่าเบี้ย 0.5%ของทุนประกัน 1 แสนบาทสำหรับครัวเรือน เอสเอ็มอี 1% และรายใหญ่ 1.25% กรณีของครัวเรือนหากมีประกันวินาศภัยอยู่แล้วสามารถซื้อประกันภัยพิบัติได้ทันที แต่หากยังไม่มีประกันภัยใดๆ ต้องซื้อกรมธรรม์ประกันวินาศภัยพ่วงภัยพิบัติได้โดยเสียค่าเบี้ยทั้ง 2 ประเภทในฉบับเดียวกัน
ทั้งนี้ ครัวเรือนจะไม่สามารถซื้อประภัยภัยพิบัติได้เพียงอย่างเดียว และถึงแม้จะเปิดกว้างคิดค่าเบี้ยเท่ากันทั่วประเทศแต่จะยกเว้นไม่รับประกันภัยในพื้นที่กักเก็บน้ำหรือแก้มลิง และทางน้ำผ่านหรือฟลัดเวย์ เพราะรัฐบาลจ่ายเงินชดเชยให้อยู่แล้ว ส่วนภาคธุรกิจสามารถเลือกได้ว่าจะซื้อกรมธรรม์ภัยพิบัติเพิ่มหรือไม่เพราะส่วนใหญ่จะมีการทำประกันภัยอื่นเพื่อบริหารความเสี่ยงของตัวเองอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม กองทุนจะมีการเตรียมพร้อมวงเงินไว้รองรับความเสียหายจากภัยพิบัติเอง 3 หมื่นล้านบาท ส่วนอีก 2 หมื่นล้านบาทจะนำไปซื้อประกันภัยต่อในต่างประเทศแต่ต้องรอช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมหากเห็นว่าเบี้ยประกันในต่างประเทศปรับลดลงจึงจะเข้าไปทยอยซื้อครั้งละ 10% ของวงเงินที่ตั้งไว้
“ขณะนี้แนวโน้มค่าเบี้ยประกันภัยต่อในต่างประเทศเริ่มปรับลดลงต่อเนื่อง หลังจากที่รัฐบาลไทยมีการเตรียมพร้อมป้องกันภัยพิบัติและนิคมฯต่างๆ เริ่มสร้างเขื่อนกั้นน้ำทำให้บริษัทประกันภัยในต่างประเทศเริ่มเชื่อมั่นค่าเบี้ยจึงลดลงจาก 10-12% ก่อนหน้านี้เหลือ 5% ซึ่งหากซื้อทั้งหมดตอนนี้ก็จะใช้เงินประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ครอบคลุมความเสียหายที่ประเมินไว้จากน้ำท่วมปลายปีก่อน 3 แสนล้านบาท แต่ในอนาคตมองว่าเบี้ยน่าจะลดลงเหลอ 4% หรือ3% จึงใช้วิธีทยอยซื้อ”นายประเวช กล่าวและว่า การทำประกันภัยต่อน่าจะดำเนินการในช่วงครึ่งหลังหรือ 4- 5 เดือนหลังจากนี้
สำหรับโครงสร้างการรับประกันภัยนั้นทางกองทุนจะรับประกันภัยต่อมาจากบริษัทประกันที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 66 ราย โดยที่บริษัทประกันจะต้องรับความเสี่ยงไว้เองบางส่วน สามารถเลือกได้ซึ่งขึ้นอยู่กับทุนประกันหากไม่เกิน 300 ล้านบาทบริษัทประกันต้องรับไว้เองอย่างต่ำ 1% ส่วนที่เกิน 300 ล้านบาทขึ้นไปต้องรับไว้เอง 0.5% ที่เหลือส่งเบี้ยประกันภัยต่อให้กองทุนแต่ทุกรายต้องรับในอัตราที่เท่ากันเพื่อไม่ให้เป็นการเลือกปฎิบัติ โดยบริษัประกันจะมีความรับผิดชอบความเสียหายแค่ 5% ของทุนเอาประกันที่เหลือกองทุนจ่ายให้ตามที่กำหนดไว้เกิน 30% ของทุนประกัน ส่วนของครัวเรือน 1.3 ล้านกรมธรรม์กองทุนจะรับผิดชอบเองทั้งหมด
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)และกรรมการกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนวันที่ 9 มีนาคมนี้จะมีการพิจารณาเตรียมการลงนามในสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากนั้นสัปดาห์หน้าคาดจะเริ่มเปิดขายกรมธรรม์ภัยพิบัติให้ประชาชนทั่วไปและภาคธุรกิจได้ เบื้องเต้นมองว่าจะมีเบี้ยประกันเข้ามาที่กองทุนประมาณ 1-2 หมื่นล้านบาท จากทั้ง 3 กลุ่ม โดยคิดอัตราค่าเบี้ย 0.5%ของทุนประกัน 1 แสนบาทสำหรับครัวเรือน เอสเอ็มอี 1% และรายใหญ่ 1.25% กรณีของครัวเรือนหากมีประกันวินาศภัยอยู่แล้วสามารถซื้อประกันภัยพิบัติได้ทันที แต่หากยังไม่มีประกันภัยใดๆ ต้องซื้อกรมธรรม์ประกันวินาศภัยพ่วงภัยพิบัติได้โดยเสียค่าเบี้ยทั้ง 2 ประเภทในฉบับเดียวกัน
ทั้งนี้ ครัวเรือนจะไม่สามารถซื้อประภัยภัยพิบัติได้เพียงอย่างเดียว และถึงแม้จะเปิดกว้างคิดค่าเบี้ยเท่ากันทั่วประเทศแต่จะยกเว้นไม่รับประกันภัยในพื้นที่กักเก็บน้ำหรือแก้มลิง และทางน้ำผ่านหรือฟลัดเวย์ เพราะรัฐบาลจ่ายเงินชดเชยให้อยู่แล้ว ส่วนภาคธุรกิจสามารถเลือกได้ว่าจะซื้อกรมธรรม์ภัยพิบัติเพิ่มหรือไม่เพราะส่วนใหญ่จะมีการทำประกันภัยอื่นเพื่อบริหารความเสี่ยงของตัวเองอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม กองทุนจะมีการเตรียมพร้อมวงเงินไว้รองรับความเสียหายจากภัยพิบัติเอง 3 หมื่นล้านบาท ส่วนอีก 2 หมื่นล้านบาทจะนำไปซื้อประกันภัยต่อในต่างประเทศแต่ต้องรอช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมหากเห็นว่าเบี้ยประกันในต่างประเทศปรับลดลงจึงจะเข้าไปทยอยซื้อครั้งละ 10% ของวงเงินที่ตั้งไว้
“ขณะนี้แนวโน้มค่าเบี้ยประกันภัยต่อในต่างประเทศเริ่มปรับลดลงต่อเนื่อง หลังจากที่รัฐบาลไทยมีการเตรียมพร้อมป้องกันภัยพิบัติและนิคมฯต่างๆ เริ่มสร้างเขื่อนกั้นน้ำทำให้บริษัทประกันภัยในต่างประเทศเริ่มเชื่อมั่นค่าเบี้ยจึงลดลงจาก 10-12% ก่อนหน้านี้เหลือ 5% ซึ่งหากซื้อทั้งหมดตอนนี้ก็จะใช้เงินประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ครอบคลุมความเสียหายที่ประเมินไว้จากน้ำท่วมปลายปีก่อน 3 แสนล้านบาท แต่ในอนาคตมองว่าเบี้ยน่าจะลดลงเหลอ 4% หรือ3% จึงใช้วิธีทยอยซื้อ”นายประเวช กล่าวและว่า การทำประกันภัยต่อน่าจะดำเนินการในช่วงครึ่งหลังหรือ 4- 5 เดือนหลังจากนี้
สำหรับโครงสร้างการรับประกันภัยนั้นทางกองทุนจะรับประกันภัยต่อมาจากบริษัทประกันที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 66 ราย โดยที่บริษัทประกันจะต้องรับความเสี่ยงไว้เองบางส่วน สามารถเลือกได้ซึ่งขึ้นอยู่กับทุนประกันหากไม่เกิน 300 ล้านบาทบริษัทประกันต้องรับไว้เองอย่างต่ำ 1% ส่วนที่เกิน 300 ล้านบาทขึ้นไปต้องรับไว้เอง 0.5% ที่เหลือส่งเบี้ยประกันภัยต่อให้กองทุนแต่ทุกรายต้องรับในอัตราที่เท่ากันเพื่อไม่ให้เป็นการเลือกปฎิบัติ โดยบริษัประกันจะมีความรับผิดชอบความเสียหายแค่ 5% ของทุนเอาประกันที่เหลือกองทุนจ่ายให้ตามที่กำหนดไว้เกิน 30% ของทุนประกัน ส่วนของครัวเรือน 1.3 ล้านกรมธรรม์กองทุนจะรับผิดชอบเองทั้งหมด