ศูนย์ข่าวภูมิภาค -"ในหลวง"ทรงห่วงพสกนิกรที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมดินโคลนถล่ม ทรงอยากจะเห็นคนไทยมีจิตสำนึกที่ดี มีความรับผิดชอบ หลายจังหวัดยังวิกฤต"เชียงใหม่"น้ำป่าหลากท่วมหลายหมู่บ้าน "รันเวย์สนามบินลำปาง"ท่วมในรอบ 30 ปีท่าอากาศยานสั่งงดบิน โบราณสถาน"ป้อมเพชร"กรุงเก่าจมแล้ว นายกฯ ถก กทม.รับมือน้ำจ่อท่วมกรุงฯวันนี้ สั่ง ผู้ว่าฯทุกจังหวัดประสานกรมชลฯตรวจเช็คคันกั้นน้ำ
วานนี้ (3 ต.ค.) เวลา 15.00 น.ในงานเปิดตัวหนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ”ผลงานล่าล่าสุดของนายดนัย จันทร์เจ้าฉาย ที่หอประชุมพุทธคยา สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โดยประมวลความงดงามแห่งพระราชจริยวัตรผ่านพระบรมฉายาลักษณ์และธรรมะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงปฏิบัติมาตลอดระยะเวลา 65 ปีแห่งการครองราชย์
ภายในงานได้เปิดวีทีอาร์บทสัมภาษณ์ของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ถึงสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงคนไทยและสิ่งที่ทรงขอจากคนไทย ความว่า สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงคนไทยเห็นจะเป็นเรื่องจิตสำนึกที่มีต่อแผ่นดิน ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา ทรงพยายามเสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกหัวระแหง แต่ถ้าหากว่า 60 ล้านกว่าคนนั้นไม่ได้แยแสแผ่นดิน เห็นประโยชน์ต่อแผ่นดินอย่างมักง่าย เห็นต้นไม้ก็ทำลาย เอาไปขายเป็นไม้ฟืนไม้แผ่น เข้าโรงสี เห็นดินก็ทำลาย เห็นน้ำก็ทำให้มันเกิดความเน่าเสีย โดยไร้จิตสำนึกนั้น
“พระชนมายุมากทีเดียวในขณะนี้ 84 พรรษาก็ควรจะทรงพักผ่อน แต่ก็ยังทรงกังวลอยู่และความกังวลของพระองค์จะเสื่อมคลายลงไปได้ จะหายลงไปได้ก็คงจะเป็นเมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นพสกนิกรของพระองค์นั้นได้เข้ามาช่วยเหลือดูแลแผ่นดิน รักษาแผ่นดิน ฟื้นฟูอนุรักษ์ในสิ่งที่ควรจะฟื้นฟูอนุรักษ์ เพื่อประคองชีวิตของเราต่อไป และวันนั้น ผมคิดว่าพระองค์ก็จะทรงคลายความเป็นห่วงอันนี้ลงไป”
นอกจากนี้ ดร.สุเมธ กล่าวต่อว่า มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ประทับอยู่โรงพยาบาลศิริราช พระองค์ยังทรงเป็นห่วงเป็นใย รับสั่งในเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน เกี่ยวกับชีวิตความทุกข์ร้อน ภัยพิบัติอะไรต่ออะไรต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทรงงานอยู่ทุกวัน ความพะวงแต่เรื่องนั้นเรื่องนี้ยังมีอยู่ทุกวัน โดยเฉพาะภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในขณะนี้ เข้าเฝ้าฯ ทีไรก็รับสั่งด้วยความห่วงใย ดินถล่ม น้ำท่วม ดินพังทลาย คือชีวิตของประชาชนที่เผชิญภัยอยู่นั้นก็เป็นที่กังวลของพระองค์
**แม่แจ่มจมบาดาล-สั่งปิดโรงเรียน
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดยังวิกฤตหนัก ที่ จ.เชียงใหม่ หลังมีฝนตกหนักตลอดทั้งคืนในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม ช่วงเวลา 04.00 น.วานนี้ น้ำป่าจากเทือกเขาได้ไหลลงสู่แม่น้ำแจ่มส่งผลให้แม่น้ำแจ่มที่ไหลผ่านตัวอำเภอได้เพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 2 ฝั่งของแม่น้ำ โดยระดับน้ำที่สูงเกือบ 3 เมตรได้ทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่ทางการเกษตรใน ต.ช่างเคิ่ง และ ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม เบื้องต้นมีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 200 หลังคาเรือน ทำให้ประชาชนต่างเร่งขนย้ายทรัพย์สินหนีน้ำกันอย่างโกลาหล
นอกจากนี้ น้ำยังได้ไหลเข้าท่วมสถานที่ราชการหลายแห่ง ทั้งที่ว่าการอำเภอ สำนักงานสาธารณะสุขอำเภอ และสถานีตำรวจภูธรอำเภอแม่แจ่ม เช่นเดียวกับที่โรงเรียนแม่แจ่ม ที่ถูกน้ำท่วมจนต้องประกาศปิดโรงเรียน และให้นักเรียนกลับบ้านทันทีเพราะเกรงว่าระดับน้ำอาจจะเพิ่มสูงขึ้น
**แม่สามหมอกขาดไฟฟ้า4อำเภอรวด
ที่ จ.แม่ฮ่องสอน นายจรัส ทองบุญ ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า หลังเกิดพายุฝนตกหนักในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำสายต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณหลายพื้นที่ และทำให้กระแสไฟฟ้าดับ ตั้งแต่เวลา 04.00 น.วานนี้ เนื่องจากระบบจำหน่ายแรงสูงที่จ่ายไฟจาก อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ให้กับ อ.แม่สะเรียง อ.แม่ลาน้อย อ.สบเมย และ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ชำรุด ยังไม่สามารถซ่อมแซมได้ บริเวณที่เกิดเหตุอยู่ระหว่าง กม.ที่ 4-กม.ที่ 10 ทางหลวงแผ่นดิน 108 ช่วงบริเวณอุทยานแห่งชาติออบหลวง
ล่าสุด ขณะนี้ต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ดีเซลของโรงจักรแม่สะเรียง ให้กับอำเภอแม่สะเรียง ในเขตเทศบาลตำบลแม่สะเรียง (บางส่วน) ไปก่อน
ขณะเดียวกัน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้เร่งดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อจะได้จ่ายไฟฟ้าให้ครอบคลุมทุกอำเภอของจังหวัดแม่ฮ่องสอนต่อไป
**น้ำป่าท่วมนครลำปาง-เขลางค์นคร
ส่วนที่ จ.ลำปาง นายกฤชเพชร เพชรบูรณิน ปภ.ลำปาง พร้อมเจ้าหน้าที่ได้รุดเข้าตรวจสอบในพื้นที่เขตเทศบาลนครลำปาง และเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อ.เมืองลำปาง หลังฝนตกลงมาอย่างหนักทำให้น้ำป่าจากดอยพระบาทไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรหลายร้อยหลังคาเรือน ในเขตเทศบาลนครลำปาง และในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ได้แก่ ต.พระบาท ต.ชมพู ต.กล้วยแพะ ทำให้เกิดดินล่มตัวลงมาที่บริเวณกิ่วพระเจ้า ถนนลำปาง-เด่นชัย เจ้าเหน้าที่แขวงการทางต้องเร่งนำรถแบ๊คโฮ เปิดเส้นทางและให้รถวิ่งเพียงเลนเดียว
นายกฤชเพชร เปิดเผยอีกว่า สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.ลำปาง ขณะนี้ขยายวงกว้างกว่า 7 อำเภอแล้ว โดยอำเภอที่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติม คือ อ.เกาะคา อ.สบปราบ อ.แม่ทะ อ.แม่พริก อ.เสริมงาม อ.แจ้ห่ม หลังจากลำน้ำต่างๆ ในทุกพื้นที่ ทั่วทั้ง จ.ลำปาง ยังคงระดับเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ส่วนแม่น้ำวัง ในเขตเทศบาลนครลำปาง น้ำได้เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรที่อยู่ริมสองฝั่งริมน้ำวังแล้ว และได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ ปภ.ลำปาง ในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม ออกช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้ง 13 อำเภออย่างเร่งด่วนและเต็มกำลัง
**รันเวย์ลำปางจมสั่งงดบิน-ดับอีก 1 ศพ
มีรายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ฝนตกหนักต่อเนื่องนอกจากจะทำให้น้ำท่วมรันเวย์สนามบินลำปางในรอบ 30 ปีจนท่าอากาศยานลำปางงดบินวานนี้ (3 ต.ค.) เพื่อความปลอดภัยแล้ว
ด้านนายสุวรรณ กล่าวสุนทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้ออกตรวจพื้นที่น้ำท่วมพร้อมแจ้งให้ อปท.ทุกแห่งเร่งช่วยเหลือประชาชนให้เร็วที่สุดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แต่เนื่องจากนำท่วมเป็นบริเวณกว้างจึงไม่สามารถเข้าช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง
ข่าวแจ้งอีกว่า เหตุน้ำท่วมรอบนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีก 1 ราย คือ นายจันทร์ตุ้ย ศรีอิ่นแก้ว อายุ 88 ปี บ้านเลขที่351 ม.1 บ้านกล้วยหลวง ต.กล้วยแพะ อ.เมืองลำปาง เสียชีวิตจากน้ำป่าพัดเมื่อกลางดึกวันที่ 2 ต.ค.เนื่องจากนอนอยู่ชั้นล่างของตัวบ้าน เมื่อน้ำป่ามาหนีขึ้นบ้านไม่ทัน จึงถูกน้ำพัดไปติดอยู่ที่บริเวณห้องครัวเสียชีวิต
**"ป่าซาง"ท่วมหนักสุดรอบ48ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านหลายหมู่บ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ ต.ป่าซาง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เมื่อคืนวันที่ 2 ต.ค.ที่ผ่านมานั้นสาเหตุหลักคือน้ำจากแม่น้ำแม่ทา ที่ไหลจากเทือกเขาขุนตานเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับระดับแม่น้ำปิงจาก จ.เชียงใหม่ ไหลเข้ามาสมทบอีกทำให้ระดับน้ำแม่ทาเกินจุดวิกฤตที่อยู่ที่ 4.10 เมตร และเวลา 13.00 น.วานนี้(3ต.ค.)ระดับน้ำแม่น้ำทาอยู่ที่ 4.28 เมตร ชาวบ้านบอกว่า น้ำท่วมครั้งนี้ถือว่าหนักสุดในรอบ 48 ปี และเป็นครั้งที่ 6 ที่ระดับแม่น้ำทาหลังตลาดสดป่าซาง เส้นทางเลียบแม่น้ำทาที่ท่วมสูงถึงต้นขา
**ลิงประสบภัยน้ำท่วมขาดอาหาร
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำชีที่ไหลผ่าน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ยังคงอยู่ในระดับวิกฤต ทำให้พื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายในวงกว้าง ขณะเดียวกันที่วนอุทยานโกสัมพี อ.โกสุมพิสัย ซึ่งเป็นที่อยู่ของลิงแสมกว่า 1,000 ตัวบนพื้นที่ 125 ไร่ถูกน้ำท่วมขังทั้งหมด โดยจุดที่ลึกที่สุดภายในวนอุทยานความลึกอยู่ประมาณไม่ต่ำกว่า 5 เมตร อีกทั้งน้ำจากแม่น้ำชีที่เอ่อล้นขึ้นมาได้กัดเซาะต้นจามจุรีขนาดใหญ่ อายุกว่า 200 ปีหักโค่นลงมา ทำให้ฝูงลิงแสมต้องหนีตายกระจัดกระจายไปอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆทำให้ลิงทั้งหมดขาดแคลนแหล่งอาหารตามธรรมชาติ
**เจ้าพระยาท่วม"ป้อมเพชร"กรุงเก่า
ด้านระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักที่ จ.พระนครศรีอยุธยา สูงขึ้นอีกทำให้เอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ที่อยู่ริมแม่น้ำฝั่งตรงข้ามเกาะเมือง และท่วมถนนสายสถานีรถไฟอยุธยา-วัดป่าโค ต.กะมัง อ.พระนครศรีอยุธยา ระยะทางยาวกว่า 2 กม.รถยนต์ขนาดเล็กผ่านไม่ได้ ประชาชนและเทศบาลพยายามเร่งกู้ถนนเส้นดังกล่าว โดยพยายามสร้างคันดินตลอดแนว และวางกระสอบทรายเพื่อรักษาถนนเส้นนี้ไว้
ขณะที่ระดับน้ำสูงขึ้นส่งผลให้กระสอบทรายที่ป้องกันบริเวณโบราณสถานป้อมเพชร ซึ่งอยู่ฝั่งเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดพังลงมาเป็นทางยาวเกือบ 6 เมตร ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วม นายสุพจน์ พรหมมาโนช ผอ.ศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา สั่งการให้นายอรรถสิทธิ์ อินต๊ะ นายช่างโยธาชำนาญการ นำคนงานไปดำเนินการซ่อมแซมแนวป้องกัน พบว่าบริเวณที่น้ำทะลักเข้ามานั้นเป็นแนวกระสอบทรายที่วางสูง 3 เมตรริมแม่น้ำเนื่องจากเป็นจุดที่ต่ำที่สุด ทำให้น้ำไหลเข้าไปในส่วนของโบราณสถาน
**ปูเตรียมถกกทม.รับมือน้ำท่วมกรุงฯ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์น้ำที่กำลังจะเข้ามาในกรุงเทพฯ เนื่องจากปริมาณน้ำที่ผ่านมาถึง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เริ่มจะถึงจุดสูงสุดว่า ในวันอังคารนี้จะวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ติดตามสถานการณ์ในกรุงเทพฯด้วย ซึ่งวันนี้ได้ติดตามในส่วนของ จ.ปทุมธานี และ จ.นนทบุรีแล้ว เพราะเราต้องดูสภาพของจังหวัดใกล้เคียงด้วย และเท่าที่คุยกันก็น่าจะพอรองรับได้ แต่ตนไม่ได้นิ่งนอนใจ และขอดูเพื่อความเรียบร้อย และวันนี้ได้มีการสั่งการให้ผู้ว่าฯ เชิญเจ้าหน้าที่กรมชลประทานไปตรวจดูสถานการณ์น้ำแต่ละจุด ในเรื่องการทำแนวกั้นน้ำว่าเพียงพอหรือรองรับปริมาณน้ำได้หรือไม่ และจะได้เริ่มเข้าไปทำงานในทุกจังหวัด
**เตือน16-17ต.ค.น้ำทะเลหนุนสูง
นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ เปิดเผยหลังการประชุมติดตามสถานการณ์ปัญหาอุทกภัย ณ ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน สามเสนว่า ในภาพรวมสถานการณ์น้ำในวันนี้พบว่า ยังคงมีปริมาณน้ำค้างอยู่ในหลายพื้นที่ค่อนข้างมากโดยเฉพาะปริมาณน้ำที่จะมาเพิ่มเติมจากอิทธิพลของพายุเนสาด และนาลแก ซึ่งจุดวัดน้ำที่ จ.นครสวรรค์ พบว่ามีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจากวันที่ 2 ต.ค.
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบภาพจากดาวเทียมกรมชลฯ ได้ประเมินปริมาณก้อนน้ำที่อยู่เหนือ จ.นครสวรรค์ขึ้นไปคาดว่าจะมีอยู่ประมาณ 3,700 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงได้กำชับกรมชลฯในการเฝ้าระวังปริมาณน้ำที่ผ่าน อ.บางไทร ในช่วงที่น้ำทะเลจะหนุนสูงในช่วงระหว่าง 16-17 ต.ค.นี้ พร้อมทั้งแจ้งเตือนกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียงได้แก่ นนทบุรี และปทุมธานี เพื่อรับมือสถานการณ์ดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น
**กรมชลฯ ยันเขื่อนทั้งหมดมั่นคงแข็งแรง
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายชูชาติ ฉุยกลม วิศวกรใหญ่ กรมชลประทาน นายกิตติ ตันเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าพลังน้ำ และนายวีรชัย ไชยสระแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาโยธา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวชี้แจงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า เขื่อนขนาดใหญ่ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ โดยนายชูชาติยืนยันว่า เขื่อนทั้งหมดมีการตรวจสอบทุกปี โดยเฉพาะในฤดูที่มีน้ำลงเขื่อน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ พร้อมนำเครื่องมือมาวัดความมั่นคงของตัวเขื่อน
**รมว.สธ.สั่งโรงพยาบาลป้องกันน้ำท่วม
นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า สั่งการให้โรงพยาบาลทุกแห่ง ปฏิบัติตามแผนงานของกระทรวงอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมสถานพยาบาล และเตรียมความพร้อมเป็นศูนย์อพยพให้แก่ประชาชน พร้อมทั้งสั่งการให้สาธารณสุขในจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วม จัดทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว เพื่อเฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำ และให้ตรวจสอบการระบาดของโรคให้เร็วที่สุด
**กทม.เปิดวอรูมรับเตือนภัยน้ำท่วม
ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหาร กทม.ว่า ที่ประชุมได้ติดตามสถานการณ์น้ำใน กทม.อย่างใกล้ชิด เนื่องจากน้ำที่ปล่อยออกมาจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณค่อนข้างสูง ซึ่งส่งผลกระทบใน จ.ปทุมธานี รวมทั้งเขตมีนบุรี และเขตหนองจอก ที่อยู่ทางด้านฝั่งตะวันออกของ กทม.แต่ยังยืนยันว่า กทม.ยังสามารถรับมือได้ แต่ใน 7 วันข้างหน้า ปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นเป็น 60-70% จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ กทม.ยังเตรียมเปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อไขข้อข้องใจให้ประชาชนไม่เกิดการวิตกกังวล เรื่องของสถานการณ์น้ำท่วม รวมทั้งสามารถขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งปัญหาที่เกี่ยวข้องกับน้ำท่วม เพื่อประสานไปยังหน่วยงานของ กทม. ให้เตรียมแก้ปัญหาทั้งเบื้องต้นและระยะยาวที่กทม.ดำเนินการอยู่ โดยให้กองประชาสัมพันธ์กทม.และสำนักการระบายน้ำ เผยแพร่ข้อมูลประจำวันของสถานการณ์น้ำ ให้สื่อมวลชนและประชาชนรับทราบ นอกจากนี้จะเชื่อมโยงสายด่วน 1555 ของ กทม.เพื่อให้ครอบคลุมด้วย
**"อภิสิทธิ์"ชี้รัฐบาลดูแลเหยื่อน้ำท่วมไม่ทั่วถึง
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการช่วยเหลือผู้ประสับภัยน้ำท่วมว่า ขณะนี้ความช่วยเหลือยังไม่ทั่วถึง การให้รัฐมนตรีลงไปค้างในพื้นที่ก็เกรงว่าเมื่อรัฐมนตรีมีภารกิจมาก พอเอาเข้าจริงก็ยังลงไปจุดเดิมๆ ข้าราชการก็จะไปดูแลเฉพาะรัฐมนตรีมากกว่าๆ ไปดูแลประชาชน หรือแม้แต่เรื่องการประชุมทางไกล ก็ต้องเลือกเวลาที่ไม่กระทบต่อการทำหน้าที่ของพื้นที่ในการไปดูแลประชาชน
ดังนั้น รัฐบาลควรต้องจัดการในเชิงประเด็นมากกว่า เพราะที่ผ่านมามีการใช้คำพูด “บางระกำโมเดล”หรือพยายามจะบอกว่า มีรัฐมนตรีประจำพื้นที่ แต่สภาพปัญหาครั้งนี้เป็นสถานการณ์ที่ยืดเยื้อ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงอยากให้เกาะติดสถานการณ์และติดตามเรื่องการช่วยเหลือของหน่วยงานราชการที่จะเน้นพื้นที่คนของตัวเองซึ่งเป็นการเลือกปฎิบัติ
วานนี้ (3 ต.ค.) เวลา 15.00 น.ในงานเปิดตัวหนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ”ผลงานล่าล่าสุดของนายดนัย จันทร์เจ้าฉาย ที่หอประชุมพุทธคยา สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โดยประมวลความงดงามแห่งพระราชจริยวัตรผ่านพระบรมฉายาลักษณ์และธรรมะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงปฏิบัติมาตลอดระยะเวลา 65 ปีแห่งการครองราชย์
ภายในงานได้เปิดวีทีอาร์บทสัมภาษณ์ของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ถึงสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงคนไทยและสิ่งที่ทรงขอจากคนไทย ความว่า สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงคนไทยเห็นจะเป็นเรื่องจิตสำนึกที่มีต่อแผ่นดิน ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา ทรงพยายามเสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกหัวระแหง แต่ถ้าหากว่า 60 ล้านกว่าคนนั้นไม่ได้แยแสแผ่นดิน เห็นประโยชน์ต่อแผ่นดินอย่างมักง่าย เห็นต้นไม้ก็ทำลาย เอาไปขายเป็นไม้ฟืนไม้แผ่น เข้าโรงสี เห็นดินก็ทำลาย เห็นน้ำก็ทำให้มันเกิดความเน่าเสีย โดยไร้จิตสำนึกนั้น
“พระชนมายุมากทีเดียวในขณะนี้ 84 พรรษาก็ควรจะทรงพักผ่อน แต่ก็ยังทรงกังวลอยู่และความกังวลของพระองค์จะเสื่อมคลายลงไปได้ จะหายลงไปได้ก็คงจะเป็นเมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นพสกนิกรของพระองค์นั้นได้เข้ามาช่วยเหลือดูแลแผ่นดิน รักษาแผ่นดิน ฟื้นฟูอนุรักษ์ในสิ่งที่ควรจะฟื้นฟูอนุรักษ์ เพื่อประคองชีวิตของเราต่อไป และวันนั้น ผมคิดว่าพระองค์ก็จะทรงคลายความเป็นห่วงอันนี้ลงไป”
นอกจากนี้ ดร.สุเมธ กล่าวต่อว่า มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ประทับอยู่โรงพยาบาลศิริราช พระองค์ยังทรงเป็นห่วงเป็นใย รับสั่งในเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน เกี่ยวกับชีวิตความทุกข์ร้อน ภัยพิบัติอะไรต่ออะไรต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทรงงานอยู่ทุกวัน ความพะวงแต่เรื่องนั้นเรื่องนี้ยังมีอยู่ทุกวัน โดยเฉพาะภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในขณะนี้ เข้าเฝ้าฯ ทีไรก็รับสั่งด้วยความห่วงใย ดินถล่ม น้ำท่วม ดินพังทลาย คือชีวิตของประชาชนที่เผชิญภัยอยู่นั้นก็เป็นที่กังวลของพระองค์
**แม่แจ่มจมบาดาล-สั่งปิดโรงเรียน
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดยังวิกฤตหนัก ที่ จ.เชียงใหม่ หลังมีฝนตกหนักตลอดทั้งคืนในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม ช่วงเวลา 04.00 น.วานนี้ น้ำป่าจากเทือกเขาได้ไหลลงสู่แม่น้ำแจ่มส่งผลให้แม่น้ำแจ่มที่ไหลผ่านตัวอำเภอได้เพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 2 ฝั่งของแม่น้ำ โดยระดับน้ำที่สูงเกือบ 3 เมตรได้ทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่ทางการเกษตรใน ต.ช่างเคิ่ง และ ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม เบื้องต้นมีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 200 หลังคาเรือน ทำให้ประชาชนต่างเร่งขนย้ายทรัพย์สินหนีน้ำกันอย่างโกลาหล
นอกจากนี้ น้ำยังได้ไหลเข้าท่วมสถานที่ราชการหลายแห่ง ทั้งที่ว่าการอำเภอ สำนักงานสาธารณะสุขอำเภอ และสถานีตำรวจภูธรอำเภอแม่แจ่ม เช่นเดียวกับที่โรงเรียนแม่แจ่ม ที่ถูกน้ำท่วมจนต้องประกาศปิดโรงเรียน และให้นักเรียนกลับบ้านทันทีเพราะเกรงว่าระดับน้ำอาจจะเพิ่มสูงขึ้น
**แม่สามหมอกขาดไฟฟ้า4อำเภอรวด
ที่ จ.แม่ฮ่องสอน นายจรัส ทองบุญ ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า หลังเกิดพายุฝนตกหนักในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำสายต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณหลายพื้นที่ และทำให้กระแสไฟฟ้าดับ ตั้งแต่เวลา 04.00 น.วานนี้ เนื่องจากระบบจำหน่ายแรงสูงที่จ่ายไฟจาก อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ให้กับ อ.แม่สะเรียง อ.แม่ลาน้อย อ.สบเมย และ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ชำรุด ยังไม่สามารถซ่อมแซมได้ บริเวณที่เกิดเหตุอยู่ระหว่าง กม.ที่ 4-กม.ที่ 10 ทางหลวงแผ่นดิน 108 ช่วงบริเวณอุทยานแห่งชาติออบหลวง
ล่าสุด ขณะนี้ต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ดีเซลของโรงจักรแม่สะเรียง ให้กับอำเภอแม่สะเรียง ในเขตเทศบาลตำบลแม่สะเรียง (บางส่วน) ไปก่อน
ขณะเดียวกัน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้เร่งดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อจะได้จ่ายไฟฟ้าให้ครอบคลุมทุกอำเภอของจังหวัดแม่ฮ่องสอนต่อไป
**น้ำป่าท่วมนครลำปาง-เขลางค์นคร
ส่วนที่ จ.ลำปาง นายกฤชเพชร เพชรบูรณิน ปภ.ลำปาง พร้อมเจ้าหน้าที่ได้รุดเข้าตรวจสอบในพื้นที่เขตเทศบาลนครลำปาง และเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อ.เมืองลำปาง หลังฝนตกลงมาอย่างหนักทำให้น้ำป่าจากดอยพระบาทไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรหลายร้อยหลังคาเรือน ในเขตเทศบาลนครลำปาง และในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ได้แก่ ต.พระบาท ต.ชมพู ต.กล้วยแพะ ทำให้เกิดดินล่มตัวลงมาที่บริเวณกิ่วพระเจ้า ถนนลำปาง-เด่นชัย เจ้าเหน้าที่แขวงการทางต้องเร่งนำรถแบ๊คโฮ เปิดเส้นทางและให้รถวิ่งเพียงเลนเดียว
นายกฤชเพชร เปิดเผยอีกว่า สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.ลำปาง ขณะนี้ขยายวงกว้างกว่า 7 อำเภอแล้ว โดยอำเภอที่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติม คือ อ.เกาะคา อ.สบปราบ อ.แม่ทะ อ.แม่พริก อ.เสริมงาม อ.แจ้ห่ม หลังจากลำน้ำต่างๆ ในทุกพื้นที่ ทั่วทั้ง จ.ลำปาง ยังคงระดับเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ส่วนแม่น้ำวัง ในเขตเทศบาลนครลำปาง น้ำได้เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรที่อยู่ริมสองฝั่งริมน้ำวังแล้ว และได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ ปภ.ลำปาง ในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม ออกช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้ง 13 อำเภออย่างเร่งด่วนและเต็มกำลัง
**รันเวย์ลำปางจมสั่งงดบิน-ดับอีก 1 ศพ
มีรายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ฝนตกหนักต่อเนื่องนอกจากจะทำให้น้ำท่วมรันเวย์สนามบินลำปางในรอบ 30 ปีจนท่าอากาศยานลำปางงดบินวานนี้ (3 ต.ค.) เพื่อความปลอดภัยแล้ว
ด้านนายสุวรรณ กล่าวสุนทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้ออกตรวจพื้นที่น้ำท่วมพร้อมแจ้งให้ อปท.ทุกแห่งเร่งช่วยเหลือประชาชนให้เร็วที่สุดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แต่เนื่องจากนำท่วมเป็นบริเวณกว้างจึงไม่สามารถเข้าช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง
ข่าวแจ้งอีกว่า เหตุน้ำท่วมรอบนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีก 1 ราย คือ นายจันทร์ตุ้ย ศรีอิ่นแก้ว อายุ 88 ปี บ้านเลขที่351 ม.1 บ้านกล้วยหลวง ต.กล้วยแพะ อ.เมืองลำปาง เสียชีวิตจากน้ำป่าพัดเมื่อกลางดึกวันที่ 2 ต.ค.เนื่องจากนอนอยู่ชั้นล่างของตัวบ้าน เมื่อน้ำป่ามาหนีขึ้นบ้านไม่ทัน จึงถูกน้ำพัดไปติดอยู่ที่บริเวณห้องครัวเสียชีวิต
**"ป่าซาง"ท่วมหนักสุดรอบ48ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านหลายหมู่บ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ ต.ป่าซาง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เมื่อคืนวันที่ 2 ต.ค.ที่ผ่านมานั้นสาเหตุหลักคือน้ำจากแม่น้ำแม่ทา ที่ไหลจากเทือกเขาขุนตานเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับระดับแม่น้ำปิงจาก จ.เชียงใหม่ ไหลเข้ามาสมทบอีกทำให้ระดับน้ำแม่ทาเกินจุดวิกฤตที่อยู่ที่ 4.10 เมตร และเวลา 13.00 น.วานนี้(3ต.ค.)ระดับน้ำแม่น้ำทาอยู่ที่ 4.28 เมตร ชาวบ้านบอกว่า น้ำท่วมครั้งนี้ถือว่าหนักสุดในรอบ 48 ปี และเป็นครั้งที่ 6 ที่ระดับแม่น้ำทาหลังตลาดสดป่าซาง เส้นทางเลียบแม่น้ำทาที่ท่วมสูงถึงต้นขา
**ลิงประสบภัยน้ำท่วมขาดอาหาร
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำชีที่ไหลผ่าน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ยังคงอยู่ในระดับวิกฤต ทำให้พื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายในวงกว้าง ขณะเดียวกันที่วนอุทยานโกสัมพี อ.โกสุมพิสัย ซึ่งเป็นที่อยู่ของลิงแสมกว่า 1,000 ตัวบนพื้นที่ 125 ไร่ถูกน้ำท่วมขังทั้งหมด โดยจุดที่ลึกที่สุดภายในวนอุทยานความลึกอยู่ประมาณไม่ต่ำกว่า 5 เมตร อีกทั้งน้ำจากแม่น้ำชีที่เอ่อล้นขึ้นมาได้กัดเซาะต้นจามจุรีขนาดใหญ่ อายุกว่า 200 ปีหักโค่นลงมา ทำให้ฝูงลิงแสมต้องหนีตายกระจัดกระจายไปอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆทำให้ลิงทั้งหมดขาดแคลนแหล่งอาหารตามธรรมชาติ
**เจ้าพระยาท่วม"ป้อมเพชร"กรุงเก่า
ด้านระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักที่ จ.พระนครศรีอยุธยา สูงขึ้นอีกทำให้เอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ที่อยู่ริมแม่น้ำฝั่งตรงข้ามเกาะเมือง และท่วมถนนสายสถานีรถไฟอยุธยา-วัดป่าโค ต.กะมัง อ.พระนครศรีอยุธยา ระยะทางยาวกว่า 2 กม.รถยนต์ขนาดเล็กผ่านไม่ได้ ประชาชนและเทศบาลพยายามเร่งกู้ถนนเส้นดังกล่าว โดยพยายามสร้างคันดินตลอดแนว และวางกระสอบทรายเพื่อรักษาถนนเส้นนี้ไว้
ขณะที่ระดับน้ำสูงขึ้นส่งผลให้กระสอบทรายที่ป้องกันบริเวณโบราณสถานป้อมเพชร ซึ่งอยู่ฝั่งเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดพังลงมาเป็นทางยาวเกือบ 6 เมตร ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วม นายสุพจน์ พรหมมาโนช ผอ.ศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา สั่งการให้นายอรรถสิทธิ์ อินต๊ะ นายช่างโยธาชำนาญการ นำคนงานไปดำเนินการซ่อมแซมแนวป้องกัน พบว่าบริเวณที่น้ำทะลักเข้ามานั้นเป็นแนวกระสอบทรายที่วางสูง 3 เมตรริมแม่น้ำเนื่องจากเป็นจุดที่ต่ำที่สุด ทำให้น้ำไหลเข้าไปในส่วนของโบราณสถาน
**ปูเตรียมถกกทม.รับมือน้ำท่วมกรุงฯ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์น้ำที่กำลังจะเข้ามาในกรุงเทพฯ เนื่องจากปริมาณน้ำที่ผ่านมาถึง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เริ่มจะถึงจุดสูงสุดว่า ในวันอังคารนี้จะวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ติดตามสถานการณ์ในกรุงเทพฯด้วย ซึ่งวันนี้ได้ติดตามในส่วนของ จ.ปทุมธานี และ จ.นนทบุรีแล้ว เพราะเราต้องดูสภาพของจังหวัดใกล้เคียงด้วย และเท่าที่คุยกันก็น่าจะพอรองรับได้ แต่ตนไม่ได้นิ่งนอนใจ และขอดูเพื่อความเรียบร้อย และวันนี้ได้มีการสั่งการให้ผู้ว่าฯ เชิญเจ้าหน้าที่กรมชลประทานไปตรวจดูสถานการณ์น้ำแต่ละจุด ในเรื่องการทำแนวกั้นน้ำว่าเพียงพอหรือรองรับปริมาณน้ำได้หรือไม่ และจะได้เริ่มเข้าไปทำงานในทุกจังหวัด
**เตือน16-17ต.ค.น้ำทะเลหนุนสูง
นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ เปิดเผยหลังการประชุมติดตามสถานการณ์ปัญหาอุทกภัย ณ ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน สามเสนว่า ในภาพรวมสถานการณ์น้ำในวันนี้พบว่า ยังคงมีปริมาณน้ำค้างอยู่ในหลายพื้นที่ค่อนข้างมากโดยเฉพาะปริมาณน้ำที่จะมาเพิ่มเติมจากอิทธิพลของพายุเนสาด และนาลแก ซึ่งจุดวัดน้ำที่ จ.นครสวรรค์ พบว่ามีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจากวันที่ 2 ต.ค.
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบภาพจากดาวเทียมกรมชลฯ ได้ประเมินปริมาณก้อนน้ำที่อยู่เหนือ จ.นครสวรรค์ขึ้นไปคาดว่าจะมีอยู่ประมาณ 3,700 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงได้กำชับกรมชลฯในการเฝ้าระวังปริมาณน้ำที่ผ่าน อ.บางไทร ในช่วงที่น้ำทะเลจะหนุนสูงในช่วงระหว่าง 16-17 ต.ค.นี้ พร้อมทั้งแจ้งเตือนกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียงได้แก่ นนทบุรี และปทุมธานี เพื่อรับมือสถานการณ์ดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น
**กรมชลฯ ยันเขื่อนทั้งหมดมั่นคงแข็งแรง
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายชูชาติ ฉุยกลม วิศวกรใหญ่ กรมชลประทาน นายกิตติ ตันเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าพลังน้ำ และนายวีรชัย ไชยสระแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาโยธา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวชี้แจงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า เขื่อนขนาดใหญ่ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ โดยนายชูชาติยืนยันว่า เขื่อนทั้งหมดมีการตรวจสอบทุกปี โดยเฉพาะในฤดูที่มีน้ำลงเขื่อน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ พร้อมนำเครื่องมือมาวัดความมั่นคงของตัวเขื่อน
**รมว.สธ.สั่งโรงพยาบาลป้องกันน้ำท่วม
นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า สั่งการให้โรงพยาบาลทุกแห่ง ปฏิบัติตามแผนงานของกระทรวงอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมสถานพยาบาล และเตรียมความพร้อมเป็นศูนย์อพยพให้แก่ประชาชน พร้อมทั้งสั่งการให้สาธารณสุขในจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วม จัดทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว เพื่อเฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำ และให้ตรวจสอบการระบาดของโรคให้เร็วที่สุด
**กทม.เปิดวอรูมรับเตือนภัยน้ำท่วม
ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหาร กทม.ว่า ที่ประชุมได้ติดตามสถานการณ์น้ำใน กทม.อย่างใกล้ชิด เนื่องจากน้ำที่ปล่อยออกมาจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณค่อนข้างสูง ซึ่งส่งผลกระทบใน จ.ปทุมธานี รวมทั้งเขตมีนบุรี และเขตหนองจอก ที่อยู่ทางด้านฝั่งตะวันออกของ กทม.แต่ยังยืนยันว่า กทม.ยังสามารถรับมือได้ แต่ใน 7 วันข้างหน้า ปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นเป็น 60-70% จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ กทม.ยังเตรียมเปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อไขข้อข้องใจให้ประชาชนไม่เกิดการวิตกกังวล เรื่องของสถานการณ์น้ำท่วม รวมทั้งสามารถขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งปัญหาที่เกี่ยวข้องกับน้ำท่วม เพื่อประสานไปยังหน่วยงานของ กทม. ให้เตรียมแก้ปัญหาทั้งเบื้องต้นและระยะยาวที่กทม.ดำเนินการอยู่ โดยให้กองประชาสัมพันธ์กทม.และสำนักการระบายน้ำ เผยแพร่ข้อมูลประจำวันของสถานการณ์น้ำ ให้สื่อมวลชนและประชาชนรับทราบ นอกจากนี้จะเชื่อมโยงสายด่วน 1555 ของ กทม.เพื่อให้ครอบคลุมด้วย
**"อภิสิทธิ์"ชี้รัฐบาลดูแลเหยื่อน้ำท่วมไม่ทั่วถึง
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการช่วยเหลือผู้ประสับภัยน้ำท่วมว่า ขณะนี้ความช่วยเหลือยังไม่ทั่วถึง การให้รัฐมนตรีลงไปค้างในพื้นที่ก็เกรงว่าเมื่อรัฐมนตรีมีภารกิจมาก พอเอาเข้าจริงก็ยังลงไปจุดเดิมๆ ข้าราชการก็จะไปดูแลเฉพาะรัฐมนตรีมากกว่าๆ ไปดูแลประชาชน หรือแม้แต่เรื่องการประชุมทางไกล ก็ต้องเลือกเวลาที่ไม่กระทบต่อการทำหน้าที่ของพื้นที่ในการไปดูแลประชาชน
ดังนั้น รัฐบาลควรต้องจัดการในเชิงประเด็นมากกว่า เพราะที่ผ่านมามีการใช้คำพูด “บางระกำโมเดล”หรือพยายามจะบอกว่า มีรัฐมนตรีประจำพื้นที่ แต่สภาพปัญหาครั้งนี้เป็นสถานการณ์ที่ยืดเยื้อ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงอยากให้เกาะติดสถานการณ์และติดตามเรื่องการช่วยเหลือของหน่วยงานราชการที่จะเน้นพื้นที่คนของตัวเองซึ่งเป็นการเลือกปฎิบัติ