กสิกรฯรุกขยายความร่วมมือไทย-จีน จับมือซีดีบีร่วมมือด้านธุรกิจ-การเงินระหว่างกัน ประเดิมสำรองเงินปล่อยกู้ลูกค้า 7.5 พันล้าน รองรับการขยายธุรกิจ ด้านแบงก์กรุงเทพ(ประเทศจีน) ได้รับอนุมัติให้นำร่องเปิดซื้อขาย-แลกเปลี่ยนเงินบาท-หยวนโดยตรงไม่ต้องผ่านสกุลที่ 3 ระบุช่วยหนุนการค้าต่างประเทศ-ลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ นายหลี่ จี๋ผิง รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งชาติจีน (China Development Bank) (CDB) เพื่อความร่วมมือด้านธุรกิจและการเงินระหว่างกัน โดยธนาคารซีดีบีจะให้การสนับสนุนวงเงินสำรองมูลค่ากว่า 1,500 ล้านหยวน หรือ 7,500 ล้านบาท แก่ธนาคารกสิกรไทย สาขาเซินเจิ้น ขณะที่ธนาคารกสิกรไทยก็จะให้การสนับสนุนวงเงินสินเชื่อสำรองในจำนวนที่ใกล้เคียงกันแก่ธนาคารซีดีบี เพื่อรองรับการขยายธุรกิจในประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือทางธุรกิจด้านอื่นๆ ประกอบด้วย ความร่วมมือในการให้สินเชื่อร่วม (Syndicate Loan) แก่โครงการขนาดใหญ่ การก่อสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคต่างๆ ให้กับนักลงทุนในประเทศไทย การแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ประสบการณ์ในการทำวิจัย และนวัตกรรมใหม่ๆ ในการบริหารธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อกัน รวมถึงการพัฒนาทักษะและฝึกอบรมพนักงานเพื่อเสริมศักยภาพบุคคลากรระหว่างสองธนาคาร ซึ่งถือเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งทางด้านการเงินและเสริมสร้างพันธมิตรในอนาคต
ทั้งนี้ ธนาคารซีดีบี มองว่า การค้าและการลงทุนระหว่างนักธุรกิจไทยและจีนมีเพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความร่วมมือระหว่างทั้งสองธนาคารจะสามารถสนับสนุนด้านการเงินในการเพิ่มความคล่องตัวให้กับโครงการยักษ์ใหญ่ที่กำลังจะเกิดในอนาคตได้เป็นอย่างดี และด้วยภาคเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องของไทย ความร่วมมือกันในด้านต่างๆ จะสามารถให้บริการที่สอดคล้องกับการขยายตัวของธุรกิจและการลงทุนในประเทศไทยได้ โดยจะสร้างความแข็งแกร่งและสภาพคล่องด้านการลงทุนให้แก่นักลงทุนในประเทศไทยและจีน รวมถึงกระชับความสัมพันธ์อันดีให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
“การลงนามในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของภาคเอกชน ซึ่งสอดคล้องกันในโอกาสที่ ฯพณฯ สี จิ้น ผิง รองประธานาธิบดี สาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อกระชับความสัมพันธ์และลงนามความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล เป็นการแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างสองประเทศ”
**BBL จีนเปิดแลกบาท-หยวน**
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพ (ประเทศจีน) ธนาคารท้องถิ่นในประเทศจีนเครือธนาคารกรุงเทพ ร่วมกับธนาคารชั้นนำของประเทศจีน 6 แห่ง ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลจีนเปิดให้บริการซื้อขาย/แลกเปลี่ยนเงินระหว่างสกุลเงินบาทและสกุลเงินหยวนของจีน ในตลาดระหว่างธนาคาร (หรือ Interbank Market) ในประเทศจีน ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่พัฒนาการที่จะช่วยให้ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกในประเทศไทยและจีน สามารถลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เพราะนักธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินหยวนได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเงินสกุลที่ 3 อีกต่อไป
ก่อนหน้านี้ การซื้อขาย/แลกเปลี่ยนเงินระหว่างสกุลเงินบาทและสกุลเงินหยวน ในตลาดระหว่างธนาคารในประเทศจีน จะต้องดำเนินการผ่านสกุลเงินที่ 3 เช่น หากต้องการนำเงินหยวนไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท ต้องนำเงินหยวนไปแลกเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐก่อน แล้วจึงนำเงินดอลลาร์สหรัฐฯไปแลกเป็นเงินบาทอีกทอดหนึ่ง ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และมีค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม 2 ต่อ อีกทั้งมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มากกว่าปกติ ด้วยเหตุนี้ ธนาคารประชาชนจีน (People’s Bank of China) ซึ่งเป็นธนาคารกลางของประเทศจีน จึงได้มีกรอบนโยบายและแนวทางที่จะส่งเสริมให้เกิดการซื้อขาย/แลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินหยวนได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านสกุลเงินที่ 3 ในตลาดระหว่างธนาคาร
นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ นายหลี่ จี๋ผิง รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งชาติจีน (China Development Bank) (CDB) เพื่อความร่วมมือด้านธุรกิจและการเงินระหว่างกัน โดยธนาคารซีดีบีจะให้การสนับสนุนวงเงินสำรองมูลค่ากว่า 1,500 ล้านหยวน หรือ 7,500 ล้านบาท แก่ธนาคารกสิกรไทย สาขาเซินเจิ้น ขณะที่ธนาคารกสิกรไทยก็จะให้การสนับสนุนวงเงินสินเชื่อสำรองในจำนวนที่ใกล้เคียงกันแก่ธนาคารซีดีบี เพื่อรองรับการขยายธุรกิจในประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือทางธุรกิจด้านอื่นๆ ประกอบด้วย ความร่วมมือในการให้สินเชื่อร่วม (Syndicate Loan) แก่โครงการขนาดใหญ่ การก่อสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคต่างๆ ให้กับนักลงทุนในประเทศไทย การแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ประสบการณ์ในการทำวิจัย และนวัตกรรมใหม่ๆ ในการบริหารธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อกัน รวมถึงการพัฒนาทักษะและฝึกอบรมพนักงานเพื่อเสริมศักยภาพบุคคลากรระหว่างสองธนาคาร ซึ่งถือเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งทางด้านการเงินและเสริมสร้างพันธมิตรในอนาคต
ทั้งนี้ ธนาคารซีดีบี มองว่า การค้าและการลงทุนระหว่างนักธุรกิจไทยและจีนมีเพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความร่วมมือระหว่างทั้งสองธนาคารจะสามารถสนับสนุนด้านการเงินในการเพิ่มความคล่องตัวให้กับโครงการยักษ์ใหญ่ที่กำลังจะเกิดในอนาคตได้เป็นอย่างดี และด้วยภาคเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องของไทย ความร่วมมือกันในด้านต่างๆ จะสามารถให้บริการที่สอดคล้องกับการขยายตัวของธุรกิจและการลงทุนในประเทศไทยได้ โดยจะสร้างความแข็งแกร่งและสภาพคล่องด้านการลงทุนให้แก่นักลงทุนในประเทศไทยและจีน รวมถึงกระชับความสัมพันธ์อันดีให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
“การลงนามในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของภาคเอกชน ซึ่งสอดคล้องกันในโอกาสที่ ฯพณฯ สี จิ้น ผิง รองประธานาธิบดี สาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อกระชับความสัมพันธ์และลงนามความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล เป็นการแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างสองประเทศ”
**BBL จีนเปิดแลกบาท-หยวน**
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพ (ประเทศจีน) ธนาคารท้องถิ่นในประเทศจีนเครือธนาคารกรุงเทพ ร่วมกับธนาคารชั้นนำของประเทศจีน 6 แห่ง ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลจีนเปิดให้บริการซื้อขาย/แลกเปลี่ยนเงินระหว่างสกุลเงินบาทและสกุลเงินหยวนของจีน ในตลาดระหว่างธนาคาร (หรือ Interbank Market) ในประเทศจีน ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่พัฒนาการที่จะช่วยให้ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกในประเทศไทยและจีน สามารถลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เพราะนักธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินหยวนได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเงินสกุลที่ 3 อีกต่อไป
ก่อนหน้านี้ การซื้อขาย/แลกเปลี่ยนเงินระหว่างสกุลเงินบาทและสกุลเงินหยวน ในตลาดระหว่างธนาคารในประเทศจีน จะต้องดำเนินการผ่านสกุลเงินที่ 3 เช่น หากต้องการนำเงินหยวนไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท ต้องนำเงินหยวนไปแลกเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐก่อน แล้วจึงนำเงินดอลลาร์สหรัฐฯไปแลกเป็นเงินบาทอีกทอดหนึ่ง ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และมีค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม 2 ต่อ อีกทั้งมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มากกว่าปกติ ด้วยเหตุนี้ ธนาคารประชาชนจีน (People’s Bank of China) ซึ่งเป็นธนาคารกลางของประเทศจีน จึงได้มีกรอบนโยบายและแนวทางที่จะส่งเสริมให้เกิดการซื้อขาย/แลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินหยวนได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านสกุลเงินที่ 3 ในตลาดระหว่างธนาคาร