บสก.เดินหน้ารับซื้อรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินมาบริหารจัดการต่อเนื่อง ล่าสุดเตรียมรับซื้อ NPL และ NPA ส่วนที่เป็นของ บสก.ทั้งหมดจาก บสท.จำนวน 3,922 ล้านบาท คาด ปีนี้กวาด NPL-NPA จากสถาบันการเงิน 20,000 ล้านบาท
วันนี้ (10 พ.ย.) นายสุเมธ มณีวัฒนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) นายกฤษณ์ เสสะเวช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บสก.พร้อมคณะกรรมการชำระบัญชี บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) นำโดย นายสมชัย สัจจพงษ์ ประธานกรรมการชำระบัญชี บสท.และ นายอนุรักษ์ เสงี่ยมจิตร กรรมการชำระบัญชีและผู้รับมอบอำนาจ ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ การรับซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ทั้ง NPL และ NPA ณ ห้องประชุม 1 อาคารธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
นายสุเมธ กล่าวว่า การลงนามในบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ฉบับ ฉบับแรก มีสาระสำคัญ คือ บสก.สนใจที่จะซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) และทรัพย์สินรอการขาย (NPA) คงเหลือ ส่วนที่เป็นของ บสก.ทั้งหมดโดยการชำระเงินค่าซื้อขายสินทรัพย์ดังกล่าว จำนวน 3,922 ล้านบาท และฉบับที่ 2 บสก.มีความสนใจที่จะรับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ และทรัพย์สินรอการขายในส่วนที่ บสท.ได้รับโอนจากสถาบันผู้โอนทุกราย
“ภายหลังจากการลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว บสท.และ บสก.พร้อมที่จะประสานงานในการทำ Due Diligence ทั้ง NPL และ NPA ที่ซื้อขายกัน โดยการรับมอบ-ส่งข้อมูลอิเลกทรอนิกส์ และเอกสารให้ครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์”
โดยในปีนี้ บสก.ได้ทยอยรับซื้อรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินมาบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับซื้อ NPL จากสถาบันการเงินแล้ว จำนวน 10,178 ล้านบาท รวมทั้งอยู่ระหว่างเจรจากับสถาบันการเงินเพื่อรับซื้อ NPA มูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับซื้อ NPA จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน มาบริหารอีก จำนวน 93 รายการ มูลค่า 675 ล้านบาท ประกอบด้วย อาคารสำนักงาน บ้านพักอาศัย ห้องชุดสำนักงาน โกดัง และที่ดินเปล่า
ดังนั้น ในปีนี้ บสก.คาดว่า จะสามารถรับซื้อรับโอน NPL และ NPA จากสถาบันการเงินมาบริหารจัดการได้ประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
ปัจจุบัน บสก.มี NPL ในความดูแลทั้งสิ้น 43,436 ราย คิดเป็นมูลค่า 230,861 ล้านบาท ขณะที่มี NPA จำนวน 14,029 ราย คิดเป็นมูลค่า 36,432 ล้านบาท โดยวัตถุประสงค์หลักของการรับซื้อทรัพย์สินจากธนาคารพาณิชย์มาบริหารจัดการ มุ่งเน้นการเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐที่จะช่วยแก้ปัญหาและลดหนี้ด้อยคุณภาพในระบบสถาบันการเงิน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต
วันนี้ (10 พ.ย.) นายสุเมธ มณีวัฒนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) นายกฤษณ์ เสสะเวช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บสก.พร้อมคณะกรรมการชำระบัญชี บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) นำโดย นายสมชัย สัจจพงษ์ ประธานกรรมการชำระบัญชี บสท.และ นายอนุรักษ์ เสงี่ยมจิตร กรรมการชำระบัญชีและผู้รับมอบอำนาจ ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ การรับซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ทั้ง NPL และ NPA ณ ห้องประชุม 1 อาคารธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
นายสุเมธ กล่าวว่า การลงนามในบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ฉบับ ฉบับแรก มีสาระสำคัญ คือ บสก.สนใจที่จะซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) และทรัพย์สินรอการขาย (NPA) คงเหลือ ส่วนที่เป็นของ บสก.ทั้งหมดโดยการชำระเงินค่าซื้อขายสินทรัพย์ดังกล่าว จำนวน 3,922 ล้านบาท และฉบับที่ 2 บสก.มีความสนใจที่จะรับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ และทรัพย์สินรอการขายในส่วนที่ บสท.ได้รับโอนจากสถาบันผู้โอนทุกราย
“ภายหลังจากการลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว บสท.และ บสก.พร้อมที่จะประสานงานในการทำ Due Diligence ทั้ง NPL และ NPA ที่ซื้อขายกัน โดยการรับมอบ-ส่งข้อมูลอิเลกทรอนิกส์ และเอกสารให้ครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์”
โดยในปีนี้ บสก.ได้ทยอยรับซื้อรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินมาบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับซื้อ NPL จากสถาบันการเงินแล้ว จำนวน 10,178 ล้านบาท รวมทั้งอยู่ระหว่างเจรจากับสถาบันการเงินเพื่อรับซื้อ NPA มูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับซื้อ NPA จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน มาบริหารอีก จำนวน 93 รายการ มูลค่า 675 ล้านบาท ประกอบด้วย อาคารสำนักงาน บ้านพักอาศัย ห้องชุดสำนักงาน โกดัง และที่ดินเปล่า
ดังนั้น ในปีนี้ บสก.คาดว่า จะสามารถรับซื้อรับโอน NPL และ NPA จากสถาบันการเงินมาบริหารจัดการได้ประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
ปัจจุบัน บสก.มี NPL ในความดูแลทั้งสิ้น 43,436 ราย คิดเป็นมูลค่า 230,861 ล้านบาท ขณะที่มี NPA จำนวน 14,029 ราย คิดเป็นมูลค่า 36,432 ล้านบาท โดยวัตถุประสงค์หลักของการรับซื้อทรัพย์สินจากธนาคารพาณิชย์มาบริหารจัดการ มุ่งเน้นการเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐที่จะช่วยแก้ปัญหาและลดหนี้ด้อยคุณภาพในระบบสถาบันการเงิน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต