สศค.ชี้กรอบงบประมาณปี 55 เพิ่มขึ้นจากปีนี้เล็กน้อยตามประมาณการจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มขึ้น “นริศ ชัยสูตร” ระบุ 5 แนวทางจัดทำงบประมาณต้องไม่เป็นภาระการคลังระยะยาว และต้องสร้างวินัยให้กับผู้รับนโยบาย โอด! ทำงบปี 55 ยังมืดมน เพราะนโยบายภาษีรัฐบาลใหม่ยังไม่ชัดเจน
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค.อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2555 เพื่อหารือร่วมกับสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รวม.คลังได้มอบนโยบายให้จัดทำงบประมาณโดยจัดลำดับความสำคัญของโครงการแต่ละโครงการตามนโยบายของรัฐบาลโดยต้องพิจารณาเรื่องเงินเฟ้อและดุลบัญชีเดินสะพัดด้วย
“งบประมาณปี 55 จะต้องไม่ให้เกิดภาระทางการคลังมากเกินไปนักหรือจะมีได้ก็ให้มีเท่าที่จำเป็น ซึ่งรายละเอียดเบื้องต้นก็ได้หารือกับรัฐมนตรีมาบ้างแล้ว และตอนนี้การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นก็จะพยายามทำกรอบงบประมาณไม่ให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการขาดวินัยทางการเงินทั้งผู้กำหนดนโยบายและผู้ที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายแต่ละนโยบายที่ออกไป โดยในเบื้องต้นกรอบงบประมาณน่าจะสูงกว่าปีนี้เล็กน้อยตามประมาณการจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มขึ้น” นายนริศกล่าว
สำหรับกรอบการกำหนดงบประมาณที่นักวิชาการ สศค.ศึกษานั้นได้กำหนดแนวทางเบื้องต้นไว้ 5 แนวทางประกอบไปด้วย 1.ด้านแหล่งที่มาของรายได้ที่ต้องพิจารณาว่ามีรายได้มาจากส่วนใดบ้าง เพราะนโยบายที่ออกมาบางส่วนมีผลกระทบและกลายเป็นข้อจำกัดทางด้านรายได้ เช่นมาตรการลดภาษี แต่ผลจากนโยบายด้านอื่นรวมทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ยังพอไปได้ก็คงทำให้การจัดเก็บรายได้ไม่มีปัญหามากนัก
ส่วนแนวทางที่ 2.พิจารณาในระดับเศรษฐกิจจุลภาคที่มีความสำคัญด้วยเช่นกันเนื่องจากโครงการต่างๆ ที่รัฐบาลออกมาและโฟกัสไปแต่ละกลุ่มเป้าหมายเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนในกลุ่มนั้นแต่ต้องหาวิธีที่ต้องไม่เป็นภาระทางการคลังมากเกินไป และที่สำคัญประชาชนที่ได้ประโยชน์จากนโยบายต่างๆ จะต้องรู้สึกว่าไม่ใช่สิ่งที่ได้มาฟรีเพราะเป็นภาษีของประชาชนทั้งประเทศต้องสร้างความเข้าใจในเรื่องวินัยตรงส่วนนี้ด้วย
สำหรับแนวทางที่ 3 คือผลกระทบด้านเศรษฐกิจมหภาคที่ต้องอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลัง การก่อหนี้ต้อไม่ให้ล้นพ้นตัวภายใต้กรอบกฎหมายพ.ร.บ.หนี้สาธารณะเป็นตัวกำหนดสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชน ส่วนแนวทางที่ 4.จะต้องกระจายการใช้จ่ายด้านการลงทุนไปยังเอกชนมากขึ้นโดยใช้รัฐวิสาหกิจเป็นตัวขับเคลื่อนร่วมกับเอกชนทั้งในรูปแบบกองทุนสาธารณูปโภคและการลงทุนร่วมรัฐเอกชนหรือ PPPs
“แนวทางสุดท้ายที่รัฐมนตรีได้กำชับมาคือกรอบวงเงินงบประมาณต้องเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตในประเทศมากขึ้นทั้งในส่วนของบุคลากรและกำลังการผลิตของเอกชน ที่สำคัญต้องรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพทั้งเรื่องเงินเฟ้อ งบประมาณ และค่าเงิน เพราะการใช้นโยบายทุกนโยบายจะมีผลกระทบอยู่แล้วต้องดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้มั่นคงด้วย” นายนริศกล่าว
ชี้นโยบายรัฐบาลยังไม่นิ่ง
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังระบุว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างวิเคราะห์ความชัดเจนของนโยบายรัฐบาล เพราะเบื้องต้นมีเพียงกรอบนโยบายว่าจะทำอะไรบ้างเท่านั้น โดยยอมรับว่าการทำงบประมาณปี 55 ความยากอยู่ที่ความไม่ชัดเจนของนโยบายเรื่องภาษีที่ยังไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะทำแค่ไหน ในช่วงเวลาใดเพราะจะมีผลกับรายได้ที่จะนำมาเป็นตัวตั้งในการกำหนดกรอบงบประมาณปี 2555 ทั้งภาษีนิติบุคคล ภาษีสรรพสามิต และต้องพิจารณาภาษีตัวอื่นๆเพื่อหารายได้เข้ามาเพิ่มเติมด้วยจึงต้องต้องดูองค์รวม
“การรื้อกรอบงบปี 55 ใหม่ทั้งแง่รายได้รายจ่ายนั้นกระทรวงการคลังยังเอารายได้เป็นตัวตั้งเหมือนเดิม โดยหากรายได้เพิ่มขึ้นก็สามารถขยับรายจ่ายเพิ่มขึ้นได้ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่จะใส่เข้ามาทั้งหดในปี 55 ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเพราะปี 54 เพิ่มจากเป้าหมายแล้ว 2 แสนล้านบาท จาก1.65 เป็น 1.85 ล้านล้านบาท และยังมีงบในส่วนที่ตั้งไว้ชำระเงินคงคลังอีก 8 หมื่นล้านบาทที่สามารถนำมาใช้ได้เพราะได้ใช้ไปแล้วในช่วงทำงบกลางปีของปี 54” แหล่งข่าวกล่าวและว่าส่งผลให้สิ้นปี 54 จะมีเงินคงคลังถึง 5 แสนล้านบาทซึ่งสามารถนำมาสำรองใช้ได้ตามนโยบายเร่งด่วนแต่ต้องตั้งงบชดใช้คืนในภายหลัง
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค.อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2555 เพื่อหารือร่วมกับสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รวม.คลังได้มอบนโยบายให้จัดทำงบประมาณโดยจัดลำดับความสำคัญของโครงการแต่ละโครงการตามนโยบายของรัฐบาลโดยต้องพิจารณาเรื่องเงินเฟ้อและดุลบัญชีเดินสะพัดด้วย
“งบประมาณปี 55 จะต้องไม่ให้เกิดภาระทางการคลังมากเกินไปนักหรือจะมีได้ก็ให้มีเท่าที่จำเป็น ซึ่งรายละเอียดเบื้องต้นก็ได้หารือกับรัฐมนตรีมาบ้างแล้ว และตอนนี้การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นก็จะพยายามทำกรอบงบประมาณไม่ให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการขาดวินัยทางการเงินทั้งผู้กำหนดนโยบายและผู้ที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายแต่ละนโยบายที่ออกไป โดยในเบื้องต้นกรอบงบประมาณน่าจะสูงกว่าปีนี้เล็กน้อยตามประมาณการจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มขึ้น” นายนริศกล่าว
สำหรับกรอบการกำหนดงบประมาณที่นักวิชาการ สศค.ศึกษานั้นได้กำหนดแนวทางเบื้องต้นไว้ 5 แนวทางประกอบไปด้วย 1.ด้านแหล่งที่มาของรายได้ที่ต้องพิจารณาว่ามีรายได้มาจากส่วนใดบ้าง เพราะนโยบายที่ออกมาบางส่วนมีผลกระทบและกลายเป็นข้อจำกัดทางด้านรายได้ เช่นมาตรการลดภาษี แต่ผลจากนโยบายด้านอื่นรวมทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ยังพอไปได้ก็คงทำให้การจัดเก็บรายได้ไม่มีปัญหามากนัก
ส่วนแนวทางที่ 2.พิจารณาในระดับเศรษฐกิจจุลภาคที่มีความสำคัญด้วยเช่นกันเนื่องจากโครงการต่างๆ ที่รัฐบาลออกมาและโฟกัสไปแต่ละกลุ่มเป้าหมายเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนในกลุ่มนั้นแต่ต้องหาวิธีที่ต้องไม่เป็นภาระทางการคลังมากเกินไป และที่สำคัญประชาชนที่ได้ประโยชน์จากนโยบายต่างๆ จะต้องรู้สึกว่าไม่ใช่สิ่งที่ได้มาฟรีเพราะเป็นภาษีของประชาชนทั้งประเทศต้องสร้างความเข้าใจในเรื่องวินัยตรงส่วนนี้ด้วย
สำหรับแนวทางที่ 3 คือผลกระทบด้านเศรษฐกิจมหภาคที่ต้องอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลัง การก่อหนี้ต้อไม่ให้ล้นพ้นตัวภายใต้กรอบกฎหมายพ.ร.บ.หนี้สาธารณะเป็นตัวกำหนดสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชน ส่วนแนวทางที่ 4.จะต้องกระจายการใช้จ่ายด้านการลงทุนไปยังเอกชนมากขึ้นโดยใช้รัฐวิสาหกิจเป็นตัวขับเคลื่อนร่วมกับเอกชนทั้งในรูปแบบกองทุนสาธารณูปโภคและการลงทุนร่วมรัฐเอกชนหรือ PPPs
“แนวทางสุดท้ายที่รัฐมนตรีได้กำชับมาคือกรอบวงเงินงบประมาณต้องเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตในประเทศมากขึ้นทั้งในส่วนของบุคลากรและกำลังการผลิตของเอกชน ที่สำคัญต้องรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพทั้งเรื่องเงินเฟ้อ งบประมาณ และค่าเงิน เพราะการใช้นโยบายทุกนโยบายจะมีผลกระทบอยู่แล้วต้องดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้มั่นคงด้วย” นายนริศกล่าว
ชี้นโยบายรัฐบาลยังไม่นิ่ง
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังระบุว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างวิเคราะห์ความชัดเจนของนโยบายรัฐบาล เพราะเบื้องต้นมีเพียงกรอบนโยบายว่าจะทำอะไรบ้างเท่านั้น โดยยอมรับว่าการทำงบประมาณปี 55 ความยากอยู่ที่ความไม่ชัดเจนของนโยบายเรื่องภาษีที่ยังไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะทำแค่ไหน ในช่วงเวลาใดเพราะจะมีผลกับรายได้ที่จะนำมาเป็นตัวตั้งในการกำหนดกรอบงบประมาณปี 2555 ทั้งภาษีนิติบุคคล ภาษีสรรพสามิต และต้องพิจารณาภาษีตัวอื่นๆเพื่อหารายได้เข้ามาเพิ่มเติมด้วยจึงต้องต้องดูองค์รวม
“การรื้อกรอบงบปี 55 ใหม่ทั้งแง่รายได้รายจ่ายนั้นกระทรวงการคลังยังเอารายได้เป็นตัวตั้งเหมือนเดิม โดยหากรายได้เพิ่มขึ้นก็สามารถขยับรายจ่ายเพิ่มขึ้นได้ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่จะใส่เข้ามาทั้งหดในปี 55 ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเพราะปี 54 เพิ่มจากเป้าหมายแล้ว 2 แสนล้านบาท จาก1.65 เป็น 1.85 ล้านล้านบาท และยังมีงบในส่วนที่ตั้งไว้ชำระเงินคงคลังอีก 8 หมื่นล้านบาทที่สามารถนำมาใช้ได้เพราะได้ใช้ไปแล้วในช่วงทำงบกลางปีของปี 54” แหล่งข่าวกล่าวและว่าส่งผลให้สิ้นปี 54 จะมีเงินคงคลังถึง 5 แสนล้านบาทซึ่งสามารถนำมาสำรองใช้ได้ตามนโยบายเร่งด่วนแต่ต้องตั้งงบชดใช้คืนในภายหลัง