มาตามคาดสำหรับดาบสองของ “โมเดลอุ้มน้ำมันดีเซล” หลังจากใช้เงินกองทุนน้ำมันไปหมดหน้าตัก แล้วตามต่อด้วยการลดภาษีรวม 5.83 บาท/ลิตร เพื่อยันราคาดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร โดยมีผลตั้งแต่ 21 เมษายน ถึงเดือนกันยายน...ศิริรวม 5 เดือนนี้รัฐต้องสูญรายได้ไปกว่า 44,000 ล้านบาท
เหตุผลมากมายที่รัฐบาลโดย “นายก อภิสิทธิ์” และ “ท่านกรณ์ ขุนคลัง” ยกขึ้นมาสาธยายตามสื่อต่างๆซึ่งมีแต่ข้อดีทั้งนั้น แต่ลึกๆแล้วใครก็รู้ว่านี่คือ “ประชานิยมหาเสียง” โดยไม่สนเรื่องวินัยการคลัง ส่วนวิธีการขยับขยายหรือจัดทำงบประมาณอย่างไรต่อไป “รัฐบาลหน้าค่อยว่ากัน”
...เข้าใจว่าห่วงเรื่องต้นทุนค่าขนส่ง หวั่นราคาสินค้าพุ่ง ตามด้วยเงินเฟ้อ อันจะส่งผลถึงภาพรวมเศรษฐกิจ แต่นโยบายทั้งหลายทั้งปวงควรจะทำแต่พอดี ไม่ตึงไม่หย่อนเกินไป
แม้ไม่อยากยึดกลไกลตลาดก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าช่วยเหลือกันแบบหว่านแห พร้อมเอาเงินภาษีไปถมไม่เต็มอย่างนี้ โครงสร้างราคาน้ำมันจะบิดเบือนไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกันจะทำให้ประชาชนเสียนิสัย ผิดวินัยเรื่องการใช้พลังงานไปหมด
ใครก็ทราบว่าในตลาดโลก น้ำมันดีเซลนั้นแพงกว่าเบนซิน แต่มีบ้านเรานี่ละที่บิดเบือนโครงสร้างราคาให้ถูกกว่าด้วยเหตุผลว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม ต้องสนับสนุนคนใช้ปิกอัพ ซึ่งมองในแง่นี้ก็ดีนะครับ แต่อย่าลืมว่าในปัจจุบันเทคโนโลยียานยนต์พัฒนาไปมาก ยิ่งเดี๋ยวนี้รถหรูเขาวางเครื่องยนต์ดีเซลกันเพียบ ที่สำคัญยังได้รับความนิยมอีกด้วย เพราะแรงกว่า ขับสนุก แถมประหยัดน้ำมัน เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์เบนซินในพิกัดเดียวกัน
ดังนั้นเราจึงเห็นยอดขาย“เมอร์เซเดส-เบนซ์” และ “บีเอ็มดับเบิลยู” 50-60 % เป็นสัดส่วนของรุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล
กลับมามองอีกด้านในกลุ่มคนที่ใช้รถเครื่องยนต์เบนซิน ก็ทนไม่ไหวที่รัฐบาล “หมกหมุ่นอุ้มแต่ดีเซล” ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือนำรถไปติดแก็ส ไม่ว่าจะเป็น “ซีเอ็นจี” หรือ “แอลพีจี” ซึ่งพลังงานตัวหลังนี้ รัฐบาลก็สนับสนุนเป็นปกติอยู่ 16บาท/ กิโลกรัมอยู่แล้ว
...สรุปยิ่งคนใช้พลังงาน“แอลพีจี”มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเข้าเนื้อรัฐบาล
ถ้านานวันผ่านไป ไม่มีการแก้ปัญหาพลังงานอย่างเป็นระบบ คนก็ยิ่ง “เสพติดความสุข” ทีนี้จะปรับหรือไปแตะอะไรไม่ได้อีกแล้ว เพราะจะมีผลต่อคะแนนเสียง!
ดังนั้นการอุ้มดีเซล จนไม่ลืมหูลืมตา แล้วพาลไปถึงพลังงานตัวอื่น ส่งผลพฤติกรรมผู้บริโภคผิดเพี้ยน ในระยะยาวต้องมาตามแก้กันไม่จบ ซึ่งสุดท้ายก็ต้องใช้เงินภาษีของเราๆท่านๆจัดการปัญหาอยู่ดี...“น่างงนะครับกับ รัฐสวัสดิการแบบนี้”
เหตุผลมากมายที่รัฐบาลโดย “นายก อภิสิทธิ์” และ “ท่านกรณ์ ขุนคลัง” ยกขึ้นมาสาธยายตามสื่อต่างๆซึ่งมีแต่ข้อดีทั้งนั้น แต่ลึกๆแล้วใครก็รู้ว่านี่คือ “ประชานิยมหาเสียง” โดยไม่สนเรื่องวินัยการคลัง ส่วนวิธีการขยับขยายหรือจัดทำงบประมาณอย่างไรต่อไป “รัฐบาลหน้าค่อยว่ากัน”
...เข้าใจว่าห่วงเรื่องต้นทุนค่าขนส่ง หวั่นราคาสินค้าพุ่ง ตามด้วยเงินเฟ้อ อันจะส่งผลถึงภาพรวมเศรษฐกิจ แต่นโยบายทั้งหลายทั้งปวงควรจะทำแต่พอดี ไม่ตึงไม่หย่อนเกินไป
แม้ไม่อยากยึดกลไกลตลาดก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าช่วยเหลือกันแบบหว่านแห พร้อมเอาเงินภาษีไปถมไม่เต็มอย่างนี้ โครงสร้างราคาน้ำมันจะบิดเบือนไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกันจะทำให้ประชาชนเสียนิสัย ผิดวินัยเรื่องการใช้พลังงานไปหมด
ใครก็ทราบว่าในตลาดโลก น้ำมันดีเซลนั้นแพงกว่าเบนซิน แต่มีบ้านเรานี่ละที่บิดเบือนโครงสร้างราคาให้ถูกกว่าด้วยเหตุผลว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม ต้องสนับสนุนคนใช้ปิกอัพ ซึ่งมองในแง่นี้ก็ดีนะครับ แต่อย่าลืมว่าในปัจจุบันเทคโนโลยียานยนต์พัฒนาไปมาก ยิ่งเดี๋ยวนี้รถหรูเขาวางเครื่องยนต์ดีเซลกันเพียบ ที่สำคัญยังได้รับความนิยมอีกด้วย เพราะแรงกว่า ขับสนุก แถมประหยัดน้ำมัน เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์เบนซินในพิกัดเดียวกัน
ดังนั้นเราจึงเห็นยอดขาย“เมอร์เซเดส-เบนซ์” และ “บีเอ็มดับเบิลยู” 50-60 % เป็นสัดส่วนของรุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล
กลับมามองอีกด้านในกลุ่มคนที่ใช้รถเครื่องยนต์เบนซิน ก็ทนไม่ไหวที่รัฐบาล “หมกหมุ่นอุ้มแต่ดีเซล” ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือนำรถไปติดแก็ส ไม่ว่าจะเป็น “ซีเอ็นจี” หรือ “แอลพีจี” ซึ่งพลังงานตัวหลังนี้ รัฐบาลก็สนับสนุนเป็นปกติอยู่ 16บาท/ กิโลกรัมอยู่แล้ว
...สรุปยิ่งคนใช้พลังงาน“แอลพีจี”มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเข้าเนื้อรัฐบาล
ถ้านานวันผ่านไป ไม่มีการแก้ปัญหาพลังงานอย่างเป็นระบบ คนก็ยิ่ง “เสพติดความสุข” ทีนี้จะปรับหรือไปแตะอะไรไม่ได้อีกแล้ว เพราะจะมีผลต่อคะแนนเสียง!
ดังนั้นการอุ้มดีเซล จนไม่ลืมหูลืมตา แล้วพาลไปถึงพลังงานตัวอื่น ส่งผลพฤติกรรมผู้บริโภคผิดเพี้ยน ในระยะยาวต้องมาตามแก้กันไม่จบ ซึ่งสุดท้ายก็ต้องใช้เงินภาษีของเราๆท่านๆจัดการปัญหาอยู่ดี...“น่างงนะครับกับ รัฐสวัสดิการแบบนี้”