เศรษฐกิจปี 54 ชะลอตัว ส่งโมเดลร้านหนังสือขนาดเล็กลง “ซีเอ็ด” ชี้ หนังสือแปลหดตัว ส่วนอี-บุ๊ก ดูกระแสปลายปีมาแน่ ชวนสำนักพิมพ์วางแผนตั้งรับ มั่นใจสิ้นปีเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% เท่าปีก่อน
วานนี้ (15 ก.พ.) บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้จัดสัมมนาเรื่อง ที่สุดในธุรกิจหนังสือปี 2553 โดย นายทนง โชติสรยุทธ์ กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจหนังสือปี 2553 ที่ผ่านมา จากตัวเลขของทางสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จําหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย พบว่า มีการเติบโตขึ้น 5-7.5% มากกว่าเป้าที่วางไว้ โดยเป็นการเติบโตจากช่องทางการจัดจำหน่ายในกลุ่มร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า และร้านหนังสือ เป็นหลัก
นอกจากนี้ พบด้วยว่า การขยายของธุรกิจค้าปลีกทุกรูปแบบเติบโตต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้ร้านหนังสือเครือข่ายเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในทางกลับกันพื้นที่ในศูนย์การค้าแพงมากขึ้น มีการแข่งขันสูง พื้นที่ร้านหนังสือจึงมีขนาดเล็กลง ส่งผลให้หนังสือถูกคัดเลือกเข้าร้านมากขึ้น โดยในปี 2552 พื้นที่ขายในร้านหนังสือเติบโตขึ้น 10% ปีก่อนเหลือเพียง 5% และในปีนี้คาดว่าจะเติบโตลดลงอีกเล็กน้อย
ในปี 2553 จำนวนร้านหนังสือ ในกรุงเทพฯและปริมณฑล 1,311 ร้าน เพิ่ม 13.2% ต่างจังหวัด 2,022 ร้าน เพิ่ม 13.3% เป็นร้านรูปแบบเครือข่าย 2,958 ร้าน หรือกว่า 89% ของจำนวนร้านทั้งหมด และมีร้านอิสระเปิด 20 ร้าน แต่ปิดตัวไปแล้ว 18 ร้าน โดยในส่วนของซีเอ็ดนั้น ปีก่อนขยายสาขา 25 สาขา รายได้เติบโต 10% (เทียบจากสาขาเดิม) ปีนี้จะขยายเพิ่มอีก 25 สาขาเท่าเดิม และปีนี้คาดว่าจะมีการเติบโตใกล้เคียงกับปีก่อน
ในปี 2553 ตัวเลขการออกหนังสือใหม่เพิ่มขึ้น 11% หรือกว่า 15,086 เล่ม เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 41.3 เล่ม ราคาเฉลี่ยต่อเล่มเท่าเดิม ประมาณ 168.15 บาท โดยกลุ่มหนังสือวรรณกรรมเป็นกลุ่มที่มีการออกใหม่มากที่สุด ราว 3,493 เล่ม เติบโตขึ้น 12.8% รองลงมาคือ หนังสือเด็กเล็ก 3,068 เล่ม เพิ่มขึ้น 8.5% และอันดับสาม คือ คู่มือเรียน/สอบ อยู่ที่ 1,735 เล่ม เพิ่มขึ้น 23%
กลุ่มสำนักพิมพ์ที่มีการออกหนังสือใหม่มากสุด คือ สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย จำนวน 1,008 เล่ม อันดับสอง คือ เพชรประกาย 694 เล่ม และ เนชั่น เป็นอันดับที่สาม 516 เล่ม โดยกลุ่มผู้จัดจำหน่ายหนังสือ ที่มีหนังสือออกใหม่มากสุด คือ อมรินทร์ จำนวน 2,427 เล่ม, ซีเอ็ด 2,203 เล่ม และ สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย 1,048 เล่ม ตามลำดับ ส่วนสำนักพิมพ์ที่มีจำนวนเล่มขายของหนังสือออกใหม่มากสุด คือ แจ่มใส นานมีบุ๊คส์ และ ซีเอ็ด ตามลำดับ แนวโน้มหนังสือแปลออกใหม่มีจำนวนน้อยลง ขณะที่รายชื่อหนังสือที่มีจำนวนเล่มขายมากสุด คือ “ความทุกข์มาโปรด ความทุกข์โปรยปราย” ผู้แต่ง ว.วชิรเมธี
สำหรับกระแสอี-บุ๊ก นั้น ต้องรอดูในช่วงไตรมาสสามและสี่ กับแนวโน้มของเครื่องอี-บุ๊ก และแทปแลท ที่กำลังจะเข้ามาอีกมาก จากปัจจุบันมีผู้ใช้อยู่กว่า 3 แสนเครื่อง และส่วนมากใช้เพื่อความบันเทิงมากกว่าอ่านหนังสือ มองว่าถ้าถึง 5 แสนเครื่อง และราคาต่ำกว่า 10,000 บาท จะเป็นปัจจัยบวกที่จะทำให้ อี-บุ๊ก เติบโตได้อย่างรวดเร็ว ในส่วนของสำนักพิมพ์ควรเตรียมตัวจัดทำข้อมูลรองรับเทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นให้พร้อมเช่นกัน
วานนี้ (15 ก.พ.) บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้จัดสัมมนาเรื่อง ที่สุดในธุรกิจหนังสือปี 2553 โดย นายทนง โชติสรยุทธ์ กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจหนังสือปี 2553 ที่ผ่านมา จากตัวเลขของทางสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จําหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย พบว่า มีการเติบโตขึ้น 5-7.5% มากกว่าเป้าที่วางไว้ โดยเป็นการเติบโตจากช่องทางการจัดจำหน่ายในกลุ่มร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า และร้านหนังสือ เป็นหลัก
นอกจากนี้ พบด้วยว่า การขยายของธุรกิจค้าปลีกทุกรูปแบบเติบโตต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้ร้านหนังสือเครือข่ายเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในทางกลับกันพื้นที่ในศูนย์การค้าแพงมากขึ้น มีการแข่งขันสูง พื้นที่ร้านหนังสือจึงมีขนาดเล็กลง ส่งผลให้หนังสือถูกคัดเลือกเข้าร้านมากขึ้น โดยในปี 2552 พื้นที่ขายในร้านหนังสือเติบโตขึ้น 10% ปีก่อนเหลือเพียง 5% และในปีนี้คาดว่าจะเติบโตลดลงอีกเล็กน้อย
ในปี 2553 จำนวนร้านหนังสือ ในกรุงเทพฯและปริมณฑล 1,311 ร้าน เพิ่ม 13.2% ต่างจังหวัด 2,022 ร้าน เพิ่ม 13.3% เป็นร้านรูปแบบเครือข่าย 2,958 ร้าน หรือกว่า 89% ของจำนวนร้านทั้งหมด และมีร้านอิสระเปิด 20 ร้าน แต่ปิดตัวไปแล้ว 18 ร้าน โดยในส่วนของซีเอ็ดนั้น ปีก่อนขยายสาขา 25 สาขา รายได้เติบโต 10% (เทียบจากสาขาเดิม) ปีนี้จะขยายเพิ่มอีก 25 สาขาเท่าเดิม และปีนี้คาดว่าจะมีการเติบโตใกล้เคียงกับปีก่อน
ในปี 2553 ตัวเลขการออกหนังสือใหม่เพิ่มขึ้น 11% หรือกว่า 15,086 เล่ม เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 41.3 เล่ม ราคาเฉลี่ยต่อเล่มเท่าเดิม ประมาณ 168.15 บาท โดยกลุ่มหนังสือวรรณกรรมเป็นกลุ่มที่มีการออกใหม่มากที่สุด ราว 3,493 เล่ม เติบโตขึ้น 12.8% รองลงมาคือ หนังสือเด็กเล็ก 3,068 เล่ม เพิ่มขึ้น 8.5% และอันดับสาม คือ คู่มือเรียน/สอบ อยู่ที่ 1,735 เล่ม เพิ่มขึ้น 23%
กลุ่มสำนักพิมพ์ที่มีการออกหนังสือใหม่มากสุด คือ สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย จำนวน 1,008 เล่ม อันดับสอง คือ เพชรประกาย 694 เล่ม และ เนชั่น เป็นอันดับที่สาม 516 เล่ม โดยกลุ่มผู้จัดจำหน่ายหนังสือ ที่มีหนังสือออกใหม่มากสุด คือ อมรินทร์ จำนวน 2,427 เล่ม, ซีเอ็ด 2,203 เล่ม และ สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย 1,048 เล่ม ตามลำดับ ส่วนสำนักพิมพ์ที่มีจำนวนเล่มขายของหนังสือออกใหม่มากสุด คือ แจ่มใส นานมีบุ๊คส์ และ ซีเอ็ด ตามลำดับ แนวโน้มหนังสือแปลออกใหม่มีจำนวนน้อยลง ขณะที่รายชื่อหนังสือที่มีจำนวนเล่มขายมากสุด คือ “ความทุกข์มาโปรด ความทุกข์โปรยปราย” ผู้แต่ง ว.วชิรเมธี
สำหรับกระแสอี-บุ๊ก นั้น ต้องรอดูในช่วงไตรมาสสามและสี่ กับแนวโน้มของเครื่องอี-บุ๊ก และแทปแลท ที่กำลังจะเข้ามาอีกมาก จากปัจจุบันมีผู้ใช้อยู่กว่า 3 แสนเครื่อง และส่วนมากใช้เพื่อความบันเทิงมากกว่าอ่านหนังสือ มองว่าถ้าถึง 5 แสนเครื่อง และราคาต่ำกว่า 10,000 บาท จะเป็นปัจจัยบวกที่จะทำให้ อี-บุ๊ก เติบโตได้อย่างรวดเร็ว ในส่วนของสำนักพิมพ์ควรเตรียมตัวจัดทำข้อมูลรองรับเทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นให้พร้อมเช่นกัน