ส.ผู้จัดพิมพ์ฯ เตรียมชง พ.ร.บ.ส่งเสริมการอ่านยื่นรัฐ หาเจ้าภาพกระตุ้นการอ่านหนังสือ หลังสิ้นปี 53 รัฐช่วยหนุนอุตสาหกรรมหนังสือโตขึ้น 5-7.5% แตะ 20,000-21,000 ล.แต่สำนักพิมพ์รายเล็กขยายตัวลดลง เหตุสายป่านสั้น ส่วนรายใหญ่เติบโตต่อเนื่อง เชื่อปีนี้อุตสาหกรรมฯโตได้อีก 5%
นางริสรวล อร่ามเจริญ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมหนังสือในปี 2553 เติบโต 5-7.5% คิดเป็นมูลค่ากว่า 20,000-21,000 ล้านบาท มาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว และจากการได้รับแรงกระตุ้นของภาครัฐที่ได้กำหนดนโยบายให้ปี 2552-2561 เป็น “ทศวรรษแห่งการอ่านแห่งชาติ” และได้จัดสรรงบประมาณมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ “ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง” เพื่อจัดซื้อหนังสือและสื่อการเรียนการสอนเข้าห้องสมุดตามนโยบาย 3ดี คือ หนังสือดี ห้องสมุดดี และบรรณารักษ์ดี รวมทั้งสนับสนุนการศึกษานอกระบบ
หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมหนังสืออาจเติบโตลดลงด้วยซ้ำ ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยอดการอ่านไม่ได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ในปีนี้มองว่า อุตสาหกรรมหนังสือยังได้รับอานิสงส์จากนโยบายภาครัฐต่อเนื่อง ดังนั้น จึงคาดว่าปีนี้อุตสาหกรรมฯจะมีอัตราการเติบโตขึ้นอีกอย่างน้อย 5%
ในส่วนของอุตสาหกรรมหนังสือ พบว่า กลุ่มสำนักพิมพ์ที่เป็นผู้นำตลาดมีอยู่ 8 ราย มีการขยายตัวของรายได้สูงสุดที่ 17.44% และยึดครองส่วนแบ่งในตลาดได้ถึง 31.71% ขณะที่สำนักพิมพ์ขนาดเล็กที่มีกว่า 320 ราย มีส่วนแบ่งในอุตสาหกรรมฯเพียง 15.56% และมีอัตราการขยายตัวลดลงเหลือ 20.88% เท่านั้น ซึ่งปิดตัวลงไปกว่า 5-10 สำนักพิมพ์ เพราะเงินทุนมีไม่มากพอ รวมทั้งเลือกผลิตหนังสือที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ดังนั้น ปีนี้ทางสมาคมเตรียมวางนโยบายเข้าช่วยเหลือกลุ่มสำนักพิมพ์ขนาดเล็กให้อยู่รอดต่อไป
ในปีนี้ทางสมาคมยังเตรียมจัดทำร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการอ่าน เพื่อเสนอต่อภาครัฐด้วย เนื่องจากต้องการหาผู้ที่จะเข้ามาดูแลเรื่องการอ่านอย่างแท้จริง จากที่ผ่านมาเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลที นโยบายด้านการอ่านจะถูกย้ายไปสังกัดในความดูแลในหน่วยงานใหม่ด้วย ทำให้ไม่มีความต่อเนื่อง โดยภายในวันที่ 2 เม.ย.นี้ ซึ่งเป็นวันรักการอ่าน จะยื่นร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวให้ทางคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งถ้าไม่มีอะไรคืบหน้าก็จะนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป
สำหรับสาระสำคัญของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการอ่านในครั้งนี้ เช่น 1.กำหนดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ไปจนถึงระดับประเทศ 2.กำหนดให้แต่ละองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีจำนวนบุคลากรในอัตราที่กำหนด จะต้องมีห้องสมุดเกิดขึ้น เป็นต้น
นางริสรวล อร่ามเจริญ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมหนังสือในปี 2553 เติบโต 5-7.5% คิดเป็นมูลค่ากว่า 20,000-21,000 ล้านบาท มาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว และจากการได้รับแรงกระตุ้นของภาครัฐที่ได้กำหนดนโยบายให้ปี 2552-2561 เป็น “ทศวรรษแห่งการอ่านแห่งชาติ” และได้จัดสรรงบประมาณมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ “ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง” เพื่อจัดซื้อหนังสือและสื่อการเรียนการสอนเข้าห้องสมุดตามนโยบาย 3ดี คือ หนังสือดี ห้องสมุดดี และบรรณารักษ์ดี รวมทั้งสนับสนุนการศึกษานอกระบบ
หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมหนังสืออาจเติบโตลดลงด้วยซ้ำ ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยอดการอ่านไม่ได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ในปีนี้มองว่า อุตสาหกรรมหนังสือยังได้รับอานิสงส์จากนโยบายภาครัฐต่อเนื่อง ดังนั้น จึงคาดว่าปีนี้อุตสาหกรรมฯจะมีอัตราการเติบโตขึ้นอีกอย่างน้อย 5%
ในส่วนของอุตสาหกรรมหนังสือ พบว่า กลุ่มสำนักพิมพ์ที่เป็นผู้นำตลาดมีอยู่ 8 ราย มีการขยายตัวของรายได้สูงสุดที่ 17.44% และยึดครองส่วนแบ่งในตลาดได้ถึง 31.71% ขณะที่สำนักพิมพ์ขนาดเล็กที่มีกว่า 320 ราย มีส่วนแบ่งในอุตสาหกรรมฯเพียง 15.56% และมีอัตราการขยายตัวลดลงเหลือ 20.88% เท่านั้น ซึ่งปิดตัวลงไปกว่า 5-10 สำนักพิมพ์ เพราะเงินทุนมีไม่มากพอ รวมทั้งเลือกผลิตหนังสือที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ดังนั้น ปีนี้ทางสมาคมเตรียมวางนโยบายเข้าช่วยเหลือกลุ่มสำนักพิมพ์ขนาดเล็กให้อยู่รอดต่อไป
ในปีนี้ทางสมาคมยังเตรียมจัดทำร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการอ่าน เพื่อเสนอต่อภาครัฐด้วย เนื่องจากต้องการหาผู้ที่จะเข้ามาดูแลเรื่องการอ่านอย่างแท้จริง จากที่ผ่านมาเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลที นโยบายด้านการอ่านจะถูกย้ายไปสังกัดในความดูแลในหน่วยงานใหม่ด้วย ทำให้ไม่มีความต่อเนื่อง โดยภายในวันที่ 2 เม.ย.นี้ ซึ่งเป็นวันรักการอ่าน จะยื่นร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวให้ทางคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งถ้าไม่มีอะไรคืบหน้าก็จะนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป
สำหรับสาระสำคัญของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการอ่านในครั้งนี้ เช่น 1.กำหนดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ไปจนถึงระดับประเทศ 2.กำหนดให้แต่ละองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีจำนวนบุคลากรในอัตราที่กำหนด จะต้องมีห้องสมุดเกิดขึ้น เป็นต้น