โดย... อัจฉรา พุ่มจันทร์ มจษ.
เชื่อว่าในห้องสมุดของโรงเรียนทุกแห่งคงต้องมี “ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ” ประกอบอยู่ด้วย เพราะหนังสือเล่มนี้ถือเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาชิ้นสำคัญ ที่เป็นการรวบรวมเนื้อหาในหลากหลายสาขาวิชามารวมกันถึง 35 เล่ม และยังมีฉบับเสริมการเรียนรู้อีก 15 เล่ม ซึ่งเหมาะที่เด็ก เยาวชน จะได้ศึกษาค้นคว้า เก็บเกี่ยวข้อมูลไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในห้องเรียนได้
แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไปสู่ยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ การสืบค้นหาข้อมูลจากทั่วโลก จึงถูกแทนที่ด้วยอินเทอร์เน็ตที่ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วคลิ๊ก หนังสือสารานุกรมไทยฯ จึงค่อยๆ หายไปจากสารบบของเด็กไทย คงเป็นเพียงไม้ประดับประจำห้องสมุดที่ไม่มีใครเหลียวแล
“ วีณา อัครธรรม” ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขันพื้นฐาน (สพฐ.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้หนังสือสารานุกรมไทยฯ จึงร่วมกับ สำนักงานโครงการสารานุกรมไทย จัดโครงการประกวด “การใช้หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เพื่อจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน” ขึ้นใน 2 ระดับ คือ ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เพื่อทำให้เด็กหันมาสนใจและคิดวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่ใช้สารนุกรมไทยฯ เป็นตัวช่วย และยังช่วยสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของสารานุกรมไทยฯ มากยิ่งขึ้น โดยให้เขียนโครงการที่แสดงให้เห็นภาพการนำหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน และ หรือคนในชุมชน โดยมีกรอบแนวคิดดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม แสดงถึงกระบวนการทำงาน รวมทั้งแนวทางในการบริหารจัดการที่นำไปสู่ความยั่งยืน
“การจะส่งเสริมให้เด็กสนใจการอ่านนั้นก็ขึ้นอยู่กับโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นการจัดบรรยากาศ จัดสิ่งแวดล้อมให้มีหนังสืออ่านที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันโรงเรียนก็ต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้เขาด้วย โดยช่วยให้เขาเข้าถึงเนื้อหาที่มีอยู่ในห้องสมุดให้มากที่สุด ตรงนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทางโรงเรียนควรปลูกฝัง” ผอ.สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาฯสะท้อน
ขณะที่ “ณัฐฐา มะระกานนท์” หัวหน้าสำนักงานโครงการสารานุกรมไทย มองว่า เด็กได้เรียนเนื้อหาด้านวิชาการมากพอแล้วจากในห้องเรียน จะให้เด็กมาหยิบหนังสือวิชาการอ่านอีกคงทำได้ยาก ทั้งนี้ ทางโรงเรียนควรรวบรวมความรู้ไว้ไห้ หากเด็กติดขัดหรือต้องการค้นคว้าส่วนใด ก็จะสามารถไปหาจากแหล่งนั้นได้ ซึ่งยังดีกว่าที่จะไม่มีเลย แต่ในขณะเดียวกันครูหรือบรรณารักษ์ จะต้องจัดกิจกรรม ให้นักเรียนไปค้นหว้า ให้นักเรียนได้ไปหาข้อมูลจากหนังสือสารานุกรมไทยฯ เพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่านและไม่เห็นหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงแค่ไม้ประดับที่ไม่มีใครสนใจ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหนังสือสารานุกรมไทยฯ ได้เปลี่ยนรูปลักษณ์ให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถพกพาได้สะดวก ทั้งนี้ยังราคาไม่แพง ซึ่งตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยกระตุ้นให้เด็กหันมาสนใจกันมากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับ “ สมลักษณ์ แซ่ก้วน” อายุ 17 ปี ชั้น ม.4 โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม กลับมองว่า ทุกคนต้องใส่ใจ และรู้จักค้นคว้าจากหนังสือสารานุกรมไทยฯ และหนังสืออีกมากมายในห้องสมุด เพราะหากวันใดที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ หนังสือก็จะกลายเป็นหนึ่งในขุมทรัพย์ทางปัญญาที่จะช่วยอำนวยความสะดวกด้านข้อมูลต่างๆ ตามที่ต้องการได้ แต่หากปล่อยทิ้งไว้หรือไม่เห็นคุณค่าของมัน หนังสือดีๆ ก็จะเป็นเพียงแค่สิ่งๆ หนึ่งที่วางอยู่บนชั้นในมุมหนึ่งของห้องสมุดเท่านั้น
สำหรับเยาวชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถติดต่อสอบถาม และขอใบสมัครได้ที่สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) หรือจะดาวโหลดที่ http:// acadamic.obec.go.th และ http:// kanchanapisek.or.th ตั้งแต่วันนี้ - 30 ม.ค.2554
เชื่อว่าในห้องสมุดของโรงเรียนทุกแห่งคงต้องมี “ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ” ประกอบอยู่ด้วย เพราะหนังสือเล่มนี้ถือเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาชิ้นสำคัญ ที่เป็นการรวบรวมเนื้อหาในหลากหลายสาขาวิชามารวมกันถึง 35 เล่ม และยังมีฉบับเสริมการเรียนรู้อีก 15 เล่ม ซึ่งเหมาะที่เด็ก เยาวชน จะได้ศึกษาค้นคว้า เก็บเกี่ยวข้อมูลไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในห้องเรียนได้
แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไปสู่ยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ การสืบค้นหาข้อมูลจากทั่วโลก จึงถูกแทนที่ด้วยอินเทอร์เน็ตที่ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วคลิ๊ก หนังสือสารานุกรมไทยฯ จึงค่อยๆ หายไปจากสารบบของเด็กไทย คงเป็นเพียงไม้ประดับประจำห้องสมุดที่ไม่มีใครเหลียวแล
“ วีณา อัครธรรม” ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขันพื้นฐาน (สพฐ.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้หนังสือสารานุกรมไทยฯ จึงร่วมกับ สำนักงานโครงการสารานุกรมไทย จัดโครงการประกวด “การใช้หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เพื่อจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน” ขึ้นใน 2 ระดับ คือ ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เพื่อทำให้เด็กหันมาสนใจและคิดวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่ใช้สารนุกรมไทยฯ เป็นตัวช่วย และยังช่วยสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของสารานุกรมไทยฯ มากยิ่งขึ้น โดยให้เขียนโครงการที่แสดงให้เห็นภาพการนำหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน และ หรือคนในชุมชน โดยมีกรอบแนวคิดดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม แสดงถึงกระบวนการทำงาน รวมทั้งแนวทางในการบริหารจัดการที่นำไปสู่ความยั่งยืน
“การจะส่งเสริมให้เด็กสนใจการอ่านนั้นก็ขึ้นอยู่กับโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นการจัดบรรยากาศ จัดสิ่งแวดล้อมให้มีหนังสืออ่านที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันโรงเรียนก็ต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้เขาด้วย โดยช่วยให้เขาเข้าถึงเนื้อหาที่มีอยู่ในห้องสมุดให้มากที่สุด ตรงนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทางโรงเรียนควรปลูกฝัง” ผอ.สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาฯสะท้อน
ขณะที่ “ณัฐฐา มะระกานนท์” หัวหน้าสำนักงานโครงการสารานุกรมไทย มองว่า เด็กได้เรียนเนื้อหาด้านวิชาการมากพอแล้วจากในห้องเรียน จะให้เด็กมาหยิบหนังสือวิชาการอ่านอีกคงทำได้ยาก ทั้งนี้ ทางโรงเรียนควรรวบรวมความรู้ไว้ไห้ หากเด็กติดขัดหรือต้องการค้นคว้าส่วนใด ก็จะสามารถไปหาจากแหล่งนั้นได้ ซึ่งยังดีกว่าที่จะไม่มีเลย แต่ในขณะเดียวกันครูหรือบรรณารักษ์ จะต้องจัดกิจกรรม ให้นักเรียนไปค้นหว้า ให้นักเรียนได้ไปหาข้อมูลจากหนังสือสารานุกรมไทยฯ เพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่านและไม่เห็นหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงแค่ไม้ประดับที่ไม่มีใครสนใจ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหนังสือสารานุกรมไทยฯ ได้เปลี่ยนรูปลักษณ์ให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถพกพาได้สะดวก ทั้งนี้ยังราคาไม่แพง ซึ่งตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยกระตุ้นให้เด็กหันมาสนใจกันมากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับ “ สมลักษณ์ แซ่ก้วน” อายุ 17 ปี ชั้น ม.4 โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม กลับมองว่า ทุกคนต้องใส่ใจ และรู้จักค้นคว้าจากหนังสือสารานุกรมไทยฯ และหนังสืออีกมากมายในห้องสมุด เพราะหากวันใดที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ หนังสือก็จะกลายเป็นหนึ่งในขุมทรัพย์ทางปัญญาที่จะช่วยอำนวยความสะดวกด้านข้อมูลต่างๆ ตามที่ต้องการได้ แต่หากปล่อยทิ้งไว้หรือไม่เห็นคุณค่าของมัน หนังสือดีๆ ก็จะเป็นเพียงแค่สิ่งๆ หนึ่งที่วางอยู่บนชั้นในมุมหนึ่งของห้องสมุดเท่านั้น
สำหรับเยาวชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถติดต่อสอบถาม และขอใบสมัครได้ที่สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) หรือจะดาวโหลดที่ http:// acadamic.obec.go.th และ http:// kanchanapisek.or.th ตั้งแต่วันนี้ - 30 ม.ค.2554