“มาร์ค” สั่งการ “พาณิชย์” ติดตามสถานการณ์น้ำมันปาล์มใกล้ชิด หวั่นกระทบเป็นลูกโซ่ถึงสินค้าอื่น “เจ๊วา” ชง ครม.ตั้งกองทุนช่วยเหลือประชาชนด้านน้ำมันพืช ของบพันล้าน ดึงเงินจากภาษีบาป สุรา บุหรี่ หรือใช้เงิน คชก.พร้อมสั่งตรวจสอบสถานการณ์น้ำมันพืชใกล้ชิด หลังยังวิกฤตไม่หยุด เผยสต๊อกน้ำมันปาล์ม 3 จังหวัดใต้ยังขาดแคลนหนัก “วัชรี” ยันน้ำมันถั่วเหลืองมีเพียงพอบริโภค พบเห็นโก่งราคาแจ้ง 1569 ด้านราคาขยับแรงทะลุขวดละ 55-60 แล้ว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีการขึ้นราคาของน้ำมันปาล์ม ว่า กระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานว่า ตั้งแต่เดือน มี.ค.เป็นต้นไป สถานการณ์จะคลี่คลาย หลังจากที่ได้คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่มี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เป็นประธาน ได้อนุมัติให้นำเข้าจำนวน 30,000 ตัน ซึ่งตนได้กำชับไปด้วยว่าอย่าให้การขึ้นราคาไปกระทบเป็นลูกโซ่ไปสู่สินค้าอื่นๆ และอยากให้ติดตามอย่างใกล้ชิด
เมื่อถามว่า ทำไมจึงมอบหมายให้นายสุเทพ เป็นประธานคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ นายกฯ กล่าวว่า ท่านเป็นมานานแล้วตั้งแต่ต้น ทั้งเรื่องยาง และปาล์ม ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่า นายสุเทพ มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องดังกล่าว นายกฯ เดินหนี เพื่อเลี่ยงการตอบคำถาม
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์ม ในระยะสั้น และระยะยาวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งแนวทางระยะสั้น ได้มีการดูแลการปรับราคาของน้ำมันปาล์มให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เพื่อไม่ให้น้ำมันปาล์มขาดแคลน ส่วนแนวทางการแก้ไขระยะยาว ได้เสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเงินกองทุน จะมีที่มาจาก 1.ให้มีการปรับงบประมาณจากงบประจำ มาเป็นเงินของกองทุน 1 พันล้านบาท 2.อาจจะมีการนำเงินมาจากการจัดเก็บภาษี สุรา และบุหรี่ ซึ่งมีการจัดเก็บอยู่ปีละ 1.7 แสนล้านบาท 3.อาจจะมีการนำเงินมาจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) โดยข้อศึกษาทั้งหมดจะนำเสนอให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาต่อไป
สำหรับการแก้ไขปัญหาการกักตุนและมีราคาแพง ของน้ำมันพืชทั้ง 2 ชนิด ทั้งน้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม ได้มอบหมายให้กรมการค้าภายในดูแลการจำหน่ายน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์ม เพื่อไม่ให้ฉวยโอกาสขึ้นราคาและกักตุนสินค้าสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนผู้บริโภค โดยส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบสต๊อกน้ำมันพืชทั้งระบบแล้ว
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า เมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบสต็อกของผู้ผลิต นำเข้า โรงงานสกัด และโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม ในแหล่งผลิตสำคัญ ซึ่งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า น้ำมันปาล์มดิบในจังหวัดกระบี่ มีสต๊อกเหลือเดือนละประมาณ 4,000 ตัน จากปกติมีเดือนละ 24,000 ตัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเพียง 13,000 ตัน จากปกติมี 30,000 ตัน และจังหวัดชุมพร มีเพียง 6,800 ตัน จากปกติ 12,000 ตัน ซึ่งรวมกันแล้วมีเพียง 23,800 ตัน จากปกติ 66,000 ตัน ซึ่งทำให้เกิดการปัญหาตึงตัวของน้ำมันปาล์มสำหรับบริโภคในตลาดในช่วงนี้ กรมฯ จึงได้ประสานโรงกลั่นน้ำมันปาล์มนำน้ำมันปาล์มบรรจุขวดออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
ส่วนน้ำมันถั่วเหลืองนั้น ขณะนี้ยังมีสต๊อกเก่าเพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศได้อีก 2 เดือน ขณะเดียวกัน ราคาวัตถุดิบยังทรงตัว ไมได้ปรับสูงจากเดิมมากนัก กรมฯ จึงได้ประสานงานกับโรงงานสกัดให้กระจาย และจำหน่ายน้ำมันถั่วเหลืองในท้องตลาดให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคและไม่ให้ขายเกินราคาที่กำหนด หากประชาชนพบเห็นการฉวยโอกาสขึ้นราคาน้ำมันถั่วเหลืองหรือไม่สามารถหาซื้อน้ำมันพืชได้ แจ้งที่สายด่วน กรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานการค้าภายในจังหวัดทั่วประเทศ กรมฯ จะส่งเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบ หากพบการกระทำผิดจะดำเนินคดีตามกฎหมายทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การสำรวจการจำหน่ายน้ำมันพืชตามตลาดสดเขตกรุงเทพฯ พบว่า นอกจากน้ำมันปาล์มขวดที่ขาดแคลนแล้ว น้ำมันถั่วเหลืองยังประสบปัญหาขาดตลาดอย่างหนัก และขายสูงถึงขวดละ 55-60 บาท โดยห้างค้าปลีกสมัยใหม่ย่านรังสิต เหลือขายแค่เฉพาะน้ำมันปาล์มขวด 47 บาท และจำกัดจำนวนซื้อไม่เกิน 2 ขวดต่อครอบครัว แต่น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวานไม่มีวางจำหน่ายที่ชั้นเลย ส่วนตลาดสดยิ่งเจริญ ย่านสะพานใหม่ พบน้ำมันปาล์มขายอยู่ที่ 55-60 บาท เช่นเดียวกับน้ำมันถั่วเหลืองที่ฉวยโอกาสขายเป็นขวดละ 60 บาท สูงกว่าเพดานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้ที่ 49 บาท
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีการขึ้นราคาของน้ำมันปาล์ม ว่า กระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานว่า ตั้งแต่เดือน มี.ค.เป็นต้นไป สถานการณ์จะคลี่คลาย หลังจากที่ได้คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่มี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เป็นประธาน ได้อนุมัติให้นำเข้าจำนวน 30,000 ตัน ซึ่งตนได้กำชับไปด้วยว่าอย่าให้การขึ้นราคาไปกระทบเป็นลูกโซ่ไปสู่สินค้าอื่นๆ และอยากให้ติดตามอย่างใกล้ชิด
เมื่อถามว่า ทำไมจึงมอบหมายให้นายสุเทพ เป็นประธานคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ นายกฯ กล่าวว่า ท่านเป็นมานานแล้วตั้งแต่ต้น ทั้งเรื่องยาง และปาล์ม ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่า นายสุเทพ มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องดังกล่าว นายกฯ เดินหนี เพื่อเลี่ยงการตอบคำถาม
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์ม ในระยะสั้น และระยะยาวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งแนวทางระยะสั้น ได้มีการดูแลการปรับราคาของน้ำมันปาล์มให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เพื่อไม่ให้น้ำมันปาล์มขาดแคลน ส่วนแนวทางการแก้ไขระยะยาว ได้เสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเงินกองทุน จะมีที่มาจาก 1.ให้มีการปรับงบประมาณจากงบประจำ มาเป็นเงินของกองทุน 1 พันล้านบาท 2.อาจจะมีการนำเงินมาจากการจัดเก็บภาษี สุรา และบุหรี่ ซึ่งมีการจัดเก็บอยู่ปีละ 1.7 แสนล้านบาท 3.อาจจะมีการนำเงินมาจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) โดยข้อศึกษาทั้งหมดจะนำเสนอให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาต่อไป
สำหรับการแก้ไขปัญหาการกักตุนและมีราคาแพง ของน้ำมันพืชทั้ง 2 ชนิด ทั้งน้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม ได้มอบหมายให้กรมการค้าภายในดูแลการจำหน่ายน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์ม เพื่อไม่ให้ฉวยโอกาสขึ้นราคาและกักตุนสินค้าสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนผู้บริโภค โดยส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบสต๊อกน้ำมันพืชทั้งระบบแล้ว
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า เมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบสต็อกของผู้ผลิต นำเข้า โรงงานสกัด และโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม ในแหล่งผลิตสำคัญ ซึ่งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า น้ำมันปาล์มดิบในจังหวัดกระบี่ มีสต๊อกเหลือเดือนละประมาณ 4,000 ตัน จากปกติมีเดือนละ 24,000 ตัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเพียง 13,000 ตัน จากปกติมี 30,000 ตัน และจังหวัดชุมพร มีเพียง 6,800 ตัน จากปกติ 12,000 ตัน ซึ่งรวมกันแล้วมีเพียง 23,800 ตัน จากปกติ 66,000 ตัน ซึ่งทำให้เกิดการปัญหาตึงตัวของน้ำมันปาล์มสำหรับบริโภคในตลาดในช่วงนี้ กรมฯ จึงได้ประสานโรงกลั่นน้ำมันปาล์มนำน้ำมันปาล์มบรรจุขวดออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
ส่วนน้ำมันถั่วเหลืองนั้น ขณะนี้ยังมีสต๊อกเก่าเพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศได้อีก 2 เดือน ขณะเดียวกัน ราคาวัตถุดิบยังทรงตัว ไมได้ปรับสูงจากเดิมมากนัก กรมฯ จึงได้ประสานงานกับโรงงานสกัดให้กระจาย และจำหน่ายน้ำมันถั่วเหลืองในท้องตลาดให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคและไม่ให้ขายเกินราคาที่กำหนด หากประชาชนพบเห็นการฉวยโอกาสขึ้นราคาน้ำมันถั่วเหลืองหรือไม่สามารถหาซื้อน้ำมันพืชได้ แจ้งที่สายด่วน กรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานการค้าภายในจังหวัดทั่วประเทศ กรมฯ จะส่งเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบ หากพบการกระทำผิดจะดำเนินคดีตามกฎหมายทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การสำรวจการจำหน่ายน้ำมันพืชตามตลาดสดเขตกรุงเทพฯ พบว่า นอกจากน้ำมันปาล์มขวดที่ขาดแคลนแล้ว น้ำมันถั่วเหลืองยังประสบปัญหาขาดตลาดอย่างหนัก และขายสูงถึงขวดละ 55-60 บาท โดยห้างค้าปลีกสมัยใหม่ย่านรังสิต เหลือขายแค่เฉพาะน้ำมันปาล์มขวด 47 บาท และจำกัดจำนวนซื้อไม่เกิน 2 ขวดต่อครอบครัว แต่น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวานไม่มีวางจำหน่ายที่ชั้นเลย ส่วนตลาดสดยิ่งเจริญ ย่านสะพานใหม่ พบน้ำมันปาล์มขายอยู่ที่ 55-60 บาท เช่นเดียวกับน้ำมันถั่วเหลืองที่ฉวยโอกาสขายเป็นขวดละ 60 บาท สูงกว่าเพดานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้ที่ 49 บาท