การบินไทยโล่ง คลังไฟเขียวเพิ่มทุนตามสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ 51% ใช้เงิน 1.5 หมื่นล้าน หวังหนี้สินต่อทุนลดเหลือ 2 ต่อ 1 เท่า พร้อมรับแผนขยายธุรกิจการบินไทยวงเงินลงทุน 1.52 แสนล้าน ใน 5 ปี เพิ่มฝูงบิน 15 ลำ ขึ้นแท่นท็อปไฟว์สายการบินของโลก
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัทการบินไทยอยู่ระหว่างการเจรจารายละเอียดกับกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในการเพิ่มทุนจดทะเบียน เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นไว้ที่ 51% โดยวงเงินที่อยู่ระหว่างการเจรจาคือ 2-3 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะเป็นส่วนกระทรวงการคลัง 1-1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ฐานะทางการเงินแข็งแกร่งขึ้น รองแผนการดำเนินและการลงทุนของการบินไทยในอนาคต โดยต้องการลดสัดส่วนหนี้สินต่อทุนให้เหลือ 2 ต่อ 1 เท่า จากปัจจุบันที่สูงถึง 5 ต่อ 1 เท่า
“โดยในขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปตัวเลขที่ชัดเจนได้ เพราะต้องพิจารณาในหลายๆ ด้าน ทั้งหนี้สินต่อทุน สัดส่วนกระแสเงินสดต่อการชำระหนี้ที่ต้องการ เพื่อให้ฐานะการเงินแข็งแกร่ง เนื่องจากแผนการซื้อเครื่องบินใหม่ เพื่อมาทดแทนเครื่องเก่าที่อายุมากแล้ว อย่างน้อยต้องมีทุนที่มากพอ จึงจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าได้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถสรุปเรื่องได้เร็วๆ นี้ เพื่อเข้าเสนอที่ประชุมคณะกรรมการในเดือนมีนาคมและเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเดือนเมษายน” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (THAI) อยู่ระหว่างการเจรจาการเพิ่มทุนจดทะเบียนกับกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ เพื่อให้ฐานะการเงินแข็งแกร่งขึ้น โดยยังไม่สามารถสรุปตัวเลขการเพิ่มทุนที่ชัดเจนได้ แต่โดยหลักการต้องการลดสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (ดีอี) ให้เหลือ 2 ต่อ 1 เท่า เพื่อรองรับแผนการลงทุนของการบินไทยในช่วง 5 ปี โดยมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 1.52 แสนล้านบาท ซึ่งจะนำมาใช้สำหรัยจัดหาเครื่องบินใหม่ 15 ลำ โดยจะแบ่งเป็นทั้งการเช่าและซื้อบางส่วน เพราะไม่สามารถจัดซื้อได้ทั้งหมด 15 ลำได้ ไม่เช่นนั้นภาระหนี้สินจะสูงมากเกินไป
“ขณะนี้อายุการใช้งานเครื่องบินของการบินไทยสูงมากเฉลี่ย 11.7 ปี ทำให้การบินไทยตกไปอยู่ที่อันดับ 8 ในเอเชียจากเดิมที่เคยอยู่ในลำดับ 1 ใน 3 ของเอเชีย และ 1 ใน 5 ของโลก ซึ่งสามารถจะพัฒนาการบินไทยให้ขึ้นมาเป็นระดับ 5 ดาว จากปัจจุบัน 4 ดาวได้หรือกลับมาเป็น 1 ใน 3 ของเอเชียได้ภายใน 2 ปี เพราะคุณภาพการบริการ ผลิตภัณฑ์อยู่ในวิสัยที่ปรับปรุงได้ ด้วยการจัดหาเครื่องบินใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ฐานะการเงินต้องมั่นคงด้วย โดยต้องสรุปการเพิ่มทุนให้เสร็จภายในมีนาคมนี้ เพื่อให้ทันเสนออนุมัติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 28 เมษายน”
ทั้งนี้ สถานการณ์ทางการเงินของการบินไทยในปัจจุบันถือว่าดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าพอใจ โดยในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นถึง 82% สูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ทำให้สามารถบีบตั๋วกลุ่มราคาถูกให้ลดลงได้มากขึ้น แม้ว่าราคาน้ำมันซึ่งถือเป็นต้นทุนของการบินถึง 40% จะปรับเพิ่มขึ้น แต่ก็ทำให้ค่าโดยสารต่อคนต่อกิโลเมตรสูงขึ้น และแนวโน้มจำนวนผู้โดยสารยังเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีปัญหาสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง แต่ก็ยังไม่เห็นสัญญาณการยกเลิกตั๋วแต่อย่างใด
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัทการบินไทยอยู่ระหว่างการเจรจารายละเอียดกับกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในการเพิ่มทุนจดทะเบียน เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นไว้ที่ 51% โดยวงเงินที่อยู่ระหว่างการเจรจาคือ 2-3 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะเป็นส่วนกระทรวงการคลัง 1-1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ฐานะทางการเงินแข็งแกร่งขึ้น รองแผนการดำเนินและการลงทุนของการบินไทยในอนาคต โดยต้องการลดสัดส่วนหนี้สินต่อทุนให้เหลือ 2 ต่อ 1 เท่า จากปัจจุบันที่สูงถึง 5 ต่อ 1 เท่า
“โดยในขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปตัวเลขที่ชัดเจนได้ เพราะต้องพิจารณาในหลายๆ ด้าน ทั้งหนี้สินต่อทุน สัดส่วนกระแสเงินสดต่อการชำระหนี้ที่ต้องการ เพื่อให้ฐานะการเงินแข็งแกร่ง เนื่องจากแผนการซื้อเครื่องบินใหม่ เพื่อมาทดแทนเครื่องเก่าที่อายุมากแล้ว อย่างน้อยต้องมีทุนที่มากพอ จึงจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าได้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถสรุปเรื่องได้เร็วๆ นี้ เพื่อเข้าเสนอที่ประชุมคณะกรรมการในเดือนมีนาคมและเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเดือนเมษายน” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (THAI) อยู่ระหว่างการเจรจาการเพิ่มทุนจดทะเบียนกับกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ เพื่อให้ฐานะการเงินแข็งแกร่งขึ้น โดยยังไม่สามารถสรุปตัวเลขการเพิ่มทุนที่ชัดเจนได้ แต่โดยหลักการต้องการลดสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (ดีอี) ให้เหลือ 2 ต่อ 1 เท่า เพื่อรองรับแผนการลงทุนของการบินไทยในช่วง 5 ปี โดยมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 1.52 แสนล้านบาท ซึ่งจะนำมาใช้สำหรัยจัดหาเครื่องบินใหม่ 15 ลำ โดยจะแบ่งเป็นทั้งการเช่าและซื้อบางส่วน เพราะไม่สามารถจัดซื้อได้ทั้งหมด 15 ลำได้ ไม่เช่นนั้นภาระหนี้สินจะสูงมากเกินไป
“ขณะนี้อายุการใช้งานเครื่องบินของการบินไทยสูงมากเฉลี่ย 11.7 ปี ทำให้การบินไทยตกไปอยู่ที่อันดับ 8 ในเอเชียจากเดิมที่เคยอยู่ในลำดับ 1 ใน 3 ของเอเชีย และ 1 ใน 5 ของโลก ซึ่งสามารถจะพัฒนาการบินไทยให้ขึ้นมาเป็นระดับ 5 ดาว จากปัจจุบัน 4 ดาวได้หรือกลับมาเป็น 1 ใน 3 ของเอเชียได้ภายใน 2 ปี เพราะคุณภาพการบริการ ผลิตภัณฑ์อยู่ในวิสัยที่ปรับปรุงได้ ด้วยการจัดหาเครื่องบินใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ฐานะการเงินต้องมั่นคงด้วย โดยต้องสรุปการเพิ่มทุนให้เสร็จภายในมีนาคมนี้ เพื่อให้ทันเสนออนุมัติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 28 เมษายน”
ทั้งนี้ สถานการณ์ทางการเงินของการบินไทยในปัจจุบันถือว่าดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าพอใจ โดยในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นถึง 82% สูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ทำให้สามารถบีบตั๋วกลุ่มราคาถูกให้ลดลงได้มากขึ้น แม้ว่าราคาน้ำมันซึ่งถือเป็นต้นทุนของการบินถึง 40% จะปรับเพิ่มขึ้น แต่ก็ทำให้ค่าโดยสารต่อคนต่อกิโลเมตรสูงขึ้น และแนวโน้มจำนวนผู้โดยสารยังเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีปัญหาสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง แต่ก็ยังไม่เห็นสัญญาณการยกเลิกตั๋วแต่อย่างใด