บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้ทำการสำรวจ “พฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนปี’53ของคนกรุงเทพฯ” โดยในปีนี้ได้ทำการสำรวจเชิงคุณภาพระหว่างวันที่ 18-31 มกราคม 2553 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 455 คน สำหรับในประเด็นเกี่ยวกับกระดาษไหว้เจ้าพบว่า คนกรุงเทพฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างตั้งงบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระดาษไหว้เจ้าประมาณ 100 บาทต่อครัวเรือน คาดว่าในช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2553 นี้ จะมีเม็ดเงินสะพัดในธุรกิจกระดาษไหว้เจ้า 120 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เนื่องจากราคากระดาษที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังพบว่า ค่าใช้จ่ายในการซื้อกระดาษไหว้เจ้าโดยเฉลี่ยของครัวเรือนที่ไหว้เจ้าคิดเป็นประมาณร้อยละ 3.0-5.0 ของค่าใช้จ่ายเครื่องเซ่นไหว้ทั้งหมดในช่วงเทศกาลตรุษจีน
โดยมูลค่าธุรกิจกระดาษไหว้เจ้าทั้งปีเฉลี่ยปีละประมาณ 500 ล้านบาท เป็นการประเมินรวมการใช้กระดาษไหว้เจ้าทั้งปีของชาวไทยเชื้อสายจีน ในทุกเทศกาลต่างๆตามประเพณีจีน โดยคำนวณจากการสำรวจค่าใช้จ่ายในการซื้อกระดาษไหว้เจ้าของครัวเรือนชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งคาดว่าในช่วงตรุษจีนความต้องการใช้กระดาษไหว้เจ้าคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.0-30.0 ของการใช้กระดาษไหว้เจ้าทั้งปี
ปัจจัยที่ช่วยหนุนให้ธุรกิจกระดาษไหว้เจ้าของไทยยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง นอกเหนือจากความเชื่อและความเคร่งครัดในประเพณีของชาวไทยเชื้อสายจีนในไทยแล้ว ชาวจีนและชาวต่างชาติที่มีเชื้อสายจีนในต่างประเทศก็มีผลต่อการขยายตัวของตลาดส่งออกกระดาษไหว้เจ้าของไทยเช่นกัน ประกอบกับการสร้างสรรค์กระดาษไหว้เจ้าในรูปแบบใหม่ๆด้วยสีสันที่หลากหลาย เช่น แบงค์ฉบับต่างๆ บัตรเครดิต ตั๋วเครื่องบิน เหรียญทอง เสื้อผ้า เครื่องประดับ ของใช้ รวมถึงการจัดชุดกระดาษไหว้เจ้าไว้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ไหว้ ตามวัตถุประสงค์ต่างๆในการไหว้เป็นการเฉพาะ ตามศาลเจ้าหรือสถานที่ประกอบพิธีไหว้เจ้าต่างๆ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจพบว่า ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อกระดาษไหว้เจ้าของกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพฯ คือ ถูกต้องตามประเพณีร้อยละ 51.4 ระดับราคาร้อยละ 28.0 ความสวยงามร้อยละ 14.4 และที่เหลืออีกร้อยละ 6.2 เลือกซื้อจากความแปลกใหม่
ในปี 2552 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ไต้หวัน ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐฯ มาเลเซีย และปากีสถาน มีสัดส่วนการส่งออกถึงร้อยละ 98.5 ของปริมาณการส่งออกกระดาษไหว้เจ้าของไทย โดยเฉพาะปริมาณการส่งออกไปไต้หวันที่มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 90 ต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดส่งออกกระดาษไหวเจ้า คือ ในปี 2552 ไทยส่งออกกระดาษไหว้เจ้าไปซาอุดิอาระเบีย ด้วยปริมาณและมูลค่าที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งในปี 2552 ทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 9 เท่าตัว และ 6 เท่าตัวตามลำดับ จากปีก่อนหน้า ทำให้ซาอุดิอาระเบียกลายมาเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยในอันดับ 2
ส่วนการนำเข้ากระดาษไหว้เจ้า แหล่งนำเข้ากระดาษไหว้เจ้าที่สำคัญของไทยคือ ญี่ปุ่นและจีน ในปี 2552 ที่มีปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมกันเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 98 ของการนำเข้ากระดาษไหว้เจ้าทั้งหมดของไทย ทั้งนี้ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไทยจะนำเข้ากระดาษไหว้เจ้าจากจีนสูงที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง แต่ในปี 2552 นี้ไทยได้นำเข้ากระดาษไหว้เจ้าจากญี่ปุ่นมาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากคุณภาพและรูปแบบกระดาษไหว้เจ้าจากญี่ปุ่นที่น่าจะเป็นที่ต้องการของผู้ไหว้มากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีราคาโดยเฉลี่ยแล้วสูงกว่ากระดาษไหว้เจ้าจากประเทศจีนถึงประมาณ 5 เท่าตัวก็ตาม
นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังพบว่า ค่าใช้จ่ายในการซื้อกระดาษไหว้เจ้าโดยเฉลี่ยของครัวเรือนที่ไหว้เจ้าคิดเป็นประมาณร้อยละ 3.0-5.0 ของค่าใช้จ่ายเครื่องเซ่นไหว้ทั้งหมดในช่วงเทศกาลตรุษจีน
โดยมูลค่าธุรกิจกระดาษไหว้เจ้าทั้งปีเฉลี่ยปีละประมาณ 500 ล้านบาท เป็นการประเมินรวมการใช้กระดาษไหว้เจ้าทั้งปีของชาวไทยเชื้อสายจีน ในทุกเทศกาลต่างๆตามประเพณีจีน โดยคำนวณจากการสำรวจค่าใช้จ่ายในการซื้อกระดาษไหว้เจ้าของครัวเรือนชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งคาดว่าในช่วงตรุษจีนความต้องการใช้กระดาษไหว้เจ้าคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.0-30.0 ของการใช้กระดาษไหว้เจ้าทั้งปี
ปัจจัยที่ช่วยหนุนให้ธุรกิจกระดาษไหว้เจ้าของไทยยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง นอกเหนือจากความเชื่อและความเคร่งครัดในประเพณีของชาวไทยเชื้อสายจีนในไทยแล้ว ชาวจีนและชาวต่างชาติที่มีเชื้อสายจีนในต่างประเทศก็มีผลต่อการขยายตัวของตลาดส่งออกกระดาษไหว้เจ้าของไทยเช่นกัน ประกอบกับการสร้างสรรค์กระดาษไหว้เจ้าในรูปแบบใหม่ๆด้วยสีสันที่หลากหลาย เช่น แบงค์ฉบับต่างๆ บัตรเครดิต ตั๋วเครื่องบิน เหรียญทอง เสื้อผ้า เครื่องประดับ ของใช้ รวมถึงการจัดชุดกระดาษไหว้เจ้าไว้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ไหว้ ตามวัตถุประสงค์ต่างๆในการไหว้เป็นการเฉพาะ ตามศาลเจ้าหรือสถานที่ประกอบพิธีไหว้เจ้าต่างๆ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจพบว่า ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อกระดาษไหว้เจ้าของกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพฯ คือ ถูกต้องตามประเพณีร้อยละ 51.4 ระดับราคาร้อยละ 28.0 ความสวยงามร้อยละ 14.4 และที่เหลืออีกร้อยละ 6.2 เลือกซื้อจากความแปลกใหม่
ในปี 2552 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ไต้หวัน ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐฯ มาเลเซีย และปากีสถาน มีสัดส่วนการส่งออกถึงร้อยละ 98.5 ของปริมาณการส่งออกกระดาษไหว้เจ้าของไทย โดยเฉพาะปริมาณการส่งออกไปไต้หวันที่มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 90 ต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดส่งออกกระดาษไหวเจ้า คือ ในปี 2552 ไทยส่งออกกระดาษไหว้เจ้าไปซาอุดิอาระเบีย ด้วยปริมาณและมูลค่าที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งในปี 2552 ทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 9 เท่าตัว และ 6 เท่าตัวตามลำดับ จากปีก่อนหน้า ทำให้ซาอุดิอาระเบียกลายมาเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยในอันดับ 2
ส่วนการนำเข้ากระดาษไหว้เจ้า แหล่งนำเข้ากระดาษไหว้เจ้าที่สำคัญของไทยคือ ญี่ปุ่นและจีน ในปี 2552 ที่มีปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมกันเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 98 ของการนำเข้ากระดาษไหว้เจ้าทั้งหมดของไทย ทั้งนี้ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไทยจะนำเข้ากระดาษไหว้เจ้าจากจีนสูงที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง แต่ในปี 2552 นี้ไทยได้นำเข้ากระดาษไหว้เจ้าจากญี่ปุ่นมาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากคุณภาพและรูปแบบกระดาษไหว้เจ้าจากญี่ปุ่นที่น่าจะเป็นที่ต้องการของผู้ไหว้มากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีราคาโดยเฉลี่ยแล้วสูงกว่ากระดาษไหว้เจ้าจากประเทศจีนถึงประมาณ 5 เท่าตัวก็ตาม