จับตาบีบระบายข้าวผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าหรือเอเฟต 2 ล้านตัน หลังประชาธิปัตย์ตั้งแง่เกณฑ์คิดค่าเสื่อมข้าว ทำภูมิใจไทยระบายข้าวผ่านมือเอกชนไม่ได้
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เร็วๆนี้ กระทรวงพาณิชย์จะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาลจำนวนถึง 2 ล้านตัน ผ่านตลาดสินค้าเกตรล่วงหน้า (เอเฟต) หลังจากมีแนวโน้มว่าการระบายข้าวผ่าน 3 วิธี คือ การระบายรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ให้ผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเสนอซื้อข้าวในสต๊อกรัฐบาล แะการตั้งราคากลางเพื่อให้เอกชนมาเสนอราคาซื้อไม่สามารถดำเนนการได้ เนื่องจากติดปัญหาเกณฑ์คำนวณค่าเสื่อมสภาพที่นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกขช. ยังไม่เห็นชอบอัตราคำนวณค่าเสื่อมสภาพที่กรมการค้าตางประเทศเสนอมา
“การประชุม กขช.ครั้งที่แล้วนายไตรรงค์ได้ตีกลับเรื่องอัตราคำนวณค่าเสื่อมสภาพ ที่กรมการค้าต่างประเทศเสนอมาใหม่ โดยหักค่าเสื่อมสภาพ 30 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากเดิม 10 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากเห็นว่าการหักค่าเสื่อมสภาพข้าวแทนที่จะคิดจากสภาพขาวจริง กลับนำต้นทุน ดอกเบี้ย จากการรับจำนำมาคิดด้วย” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อไม่สามารถสรุปเรื่องค่าเสื่อมสภาพได้ ทำให้มีความจำเป็นต้องระบายข้าวผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพียงรูปแบบเดียว โดยจะทยอยระบายปริมาณครั้งละ 2-3 แสนตัน จนครบ 2 ล้านตัน
รายงานข่าวจากวงการค้าข้าว แจ้งว่า เอกชนกำลังจับตามองการระบายข้าวผ่านตลาดเอเฟท ซึ่งมีการวิเคราะห์กันว่าเป็นเกมการมืองระหว่างพรรคประาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย เพราะเดิมพรรคภูมิใจไทยต้องการระบายข้าวผ่านวิธีให้เอกชนมาเสนอซื้อข้าวในสต๊อกรัฐบาล แต่พรรคประชาธิปัตย์ต้องการให้ระบายผ่านตลาดเอเฟท จึงได้ตั้งเงื่อนไขการหักค่าเสื่อมสภาพขึ้นมา เพื่อไม่ให้พรรคภูมิใจไทยระบายข้าวผ่านวิธีดังกล่าวได้ ซึ่งสอดคล้องกับมติของกขช. ที่มีนายไตรงค์ เป็นประธานในวันนั้น โดยให้ผู้ส่งออกที่จะร่วมประมูลหรือเสนอซื้อข้าวจากรัฐบาล จะต้องมีประวัติการซื้อขายในตลาเอเฟทก่อน
ทั้งนี้ มีการจับตาผู้ที่ได้ประโยน์และเสียประโยชน์ ซึ่งสนิทกับพรรคการเมืองทั้ง 2 พรรค โดยคาดว่าการระบายข้าวผ่านเอเฟทครั้งนี้ กลุ่มผ้ประกอบการโรงสีเป็ผู้ได้รับประโยชน์มากสุด เพราะมีการซื้อขายผ่านตลาดเอเฟตอยู่แล้ว ส่วนผู้ส่งออกมีได้ประโยชน์ 2-3 ราย คือบริษัทซี.พี. อินเตอร์เทรด บริษัทพงษ์ลาภ และบริษัทเจียเม้ง ซึ่งผ่านการซื้อขายข้าวจากเอเฟท ด้านผู้ส่ออกที่เหลือไม่ชำนาญหรือเคยระบายข้าวผ่านเอเฟทเลย จึงอาจจะเสียเปรียบจากเกมการเมืองครั้งนี้
แหล่งข่าว กล่าวว่า ให้จับตากรระบายข้าวผ่านตลาดเอเฟต แม้จะดูโปร่งใสในแง่การแข่งขัน และสะท้อนราคาตลาดที่แท้จริง แต่มีจุดอ่อน คือการปั่นราคาสินค้า เหมือนกับการซื้อขายในตลาดหุ้น โดยขณะนี้กำลังมีการเข้าไปตรวจสอบการซื้อขายยางพาราผ่านตลดเอเฟท ว่ามีการปั่นราคาด้วยหรือไม่
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เร็วๆนี้ กระทรวงพาณิชย์จะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาลจำนวนถึง 2 ล้านตัน ผ่านตลาดสินค้าเกตรล่วงหน้า (เอเฟต) หลังจากมีแนวโน้มว่าการระบายข้าวผ่าน 3 วิธี คือ การระบายรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ให้ผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเสนอซื้อข้าวในสต๊อกรัฐบาล แะการตั้งราคากลางเพื่อให้เอกชนมาเสนอราคาซื้อไม่สามารถดำเนนการได้ เนื่องจากติดปัญหาเกณฑ์คำนวณค่าเสื่อมสภาพที่นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกขช. ยังไม่เห็นชอบอัตราคำนวณค่าเสื่อมสภาพที่กรมการค้าตางประเทศเสนอมา
“การประชุม กขช.ครั้งที่แล้วนายไตรรงค์ได้ตีกลับเรื่องอัตราคำนวณค่าเสื่อมสภาพ ที่กรมการค้าต่างประเทศเสนอมาใหม่ โดยหักค่าเสื่อมสภาพ 30 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากเดิม 10 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากเห็นว่าการหักค่าเสื่อมสภาพข้าวแทนที่จะคิดจากสภาพขาวจริง กลับนำต้นทุน ดอกเบี้ย จากการรับจำนำมาคิดด้วย” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อไม่สามารถสรุปเรื่องค่าเสื่อมสภาพได้ ทำให้มีความจำเป็นต้องระบายข้าวผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพียงรูปแบบเดียว โดยจะทยอยระบายปริมาณครั้งละ 2-3 แสนตัน จนครบ 2 ล้านตัน
รายงานข่าวจากวงการค้าข้าว แจ้งว่า เอกชนกำลังจับตามองการระบายข้าวผ่านตลาดเอเฟท ซึ่งมีการวิเคราะห์กันว่าเป็นเกมการมืองระหว่างพรรคประาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย เพราะเดิมพรรคภูมิใจไทยต้องการระบายข้าวผ่านวิธีให้เอกชนมาเสนอซื้อข้าวในสต๊อกรัฐบาล แต่พรรคประชาธิปัตย์ต้องการให้ระบายผ่านตลาดเอเฟท จึงได้ตั้งเงื่อนไขการหักค่าเสื่อมสภาพขึ้นมา เพื่อไม่ให้พรรคภูมิใจไทยระบายข้าวผ่านวิธีดังกล่าวได้ ซึ่งสอดคล้องกับมติของกขช. ที่มีนายไตรงค์ เป็นประธานในวันนั้น โดยให้ผู้ส่งออกที่จะร่วมประมูลหรือเสนอซื้อข้าวจากรัฐบาล จะต้องมีประวัติการซื้อขายในตลาเอเฟทก่อน
ทั้งนี้ มีการจับตาผู้ที่ได้ประโยน์และเสียประโยชน์ ซึ่งสนิทกับพรรคการเมืองทั้ง 2 พรรค โดยคาดว่าการระบายข้าวผ่านเอเฟทครั้งนี้ กลุ่มผ้ประกอบการโรงสีเป็ผู้ได้รับประโยชน์มากสุด เพราะมีการซื้อขายผ่านตลาดเอเฟตอยู่แล้ว ส่วนผู้ส่งออกมีได้ประโยชน์ 2-3 ราย คือบริษัทซี.พี. อินเตอร์เทรด บริษัทพงษ์ลาภ และบริษัทเจียเม้ง ซึ่งผ่านการซื้อขายข้าวจากเอเฟท ด้านผู้ส่ออกที่เหลือไม่ชำนาญหรือเคยระบายข้าวผ่านเอเฟทเลย จึงอาจจะเสียเปรียบจากเกมการเมืองครั้งนี้
แหล่งข่าว กล่าวว่า ให้จับตากรระบายข้าวผ่านตลาดเอเฟต แม้จะดูโปร่งใสในแง่การแข่งขัน และสะท้อนราคาตลาดที่แท้จริง แต่มีจุดอ่อน คือการปั่นราคาสินค้า เหมือนกับการซื้อขายในตลาดหุ้น โดยขณะนี้กำลังมีการเข้าไปตรวจสอบการซื้อขายยางพาราผ่านตลดเอเฟท ว่ามีการปั่นราคาด้วยหรือไม่