ASTVผู้จัดการรายวัน-“พรทิวา” สั่งล้มประมูลข้าว 3.75 แสนตัน อ้างต่อรองแล้วได้ราคาต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แถมให้ข้อมูลแปลกบอกผู้ส่งออกไม่ต้องการซื้อข้าว ทั้งๆ ที่แห่เสนอซื้อยอดรวมเฉียดล้านตัน ออกตัวกำหนดแนวทางขายข้าวใหม่ เล็งใช้ 3 รูปแบบระบายสต๊อก ผ่านเอเฟท ผู้ส่งออกยื่นซื้อโดยตรง และตั้งราคากลางขายเอง ด้าน “วิจักร” ให้ข้อมูลสวนระบุทุกรายให้ราคาสูงกว่าเกณฑ์ และยอมเพิ่มราคาให้
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านการตลาดข้าว เปิดเผยว่า ไม่เห็นชอบผลการเสนอซื้อข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลจำนวน 3.75 แสนตัน แบ่งเป็นข้าวขาว 5% จำนวน 3 แสนตัน และข้าวเหนียว 7.5% หมื่นตัน ตามข้อเสนอของคณะทำงานเจรจาต่อรองการระบายข้าวสารในสต๊อกรัฐบาล ที่มีนายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นประธาน
ทั้งนี้ ทางคณะทำงานฯ ให้ความเห็นว่า แม้จะมีการต่อรองราคาข้าวกับผู้ที่เสนอราคาแล้ว ผลปรากฏว่าสามารถต่อรองราคาเสนอซื้อข้าวขาว 5% เพิ่มขึ้นแค่ตันละ 121-500 บาทเท่านั้น หรือรวมเป็นเงิน 65 ล้านบาท ซึ่งหากจำหน่ายในปริมาณ 2.91 แสนตัน จะทำให้รัฐบาลต้องขาดทุน 1,839 ล้านบาท จากต้นทุนรับจำนำ 6,512 ล้านบาท ส่วนข้าวเหนียวมีการเสนอราคาต่ำกว่าเกณฑ์มาก จึงไม่มีการต่อรอง
“ราคาเสนอซื้อเฉลี่ยต่อตัน ยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้มาก และแนวโน้มราคาอนาคตน่าจะมีการปรับสูงขึ้น หลังจากผลผลิตข้าวได้รับความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งผลผลิตอาจลดลง 20% อีกทั้งการเสนอราคาแข่งขันบางคลังมีผู้เสนอซื้อเพียงรายเดียว บางคลังไม่มีผู้เสนอซื้อเลย สะท้อนให้เห็นว่าเอกชนไม่มีความต้องการข้าว หรือน่าจะยังมีข้าวสารในสต๊อกอยู่ จึงซื้อคลังของตัวเองหรือในพื้นที่ใกล้ๆ เท่านั้น” นางพรทิวากล่าว
นางพรทิวากล่าวว่า แม้จะมีการยกเลิกผลการประมูลข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลครั้งนี้ แต่กระทรวงฯ ก็มีแผนจะระบายข้าวสารในเร็วๆ นี้ โดยกำลังพิจารณาวิธีการที่จะเปิดระบายครั้งต่อไป เบื้องต้นมี 3 วิธี คือ 1.เปิดระบายผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (เอเฟท) จำนวน 3 แสนตัน แบบทยอย 2.ให้ผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อข้าวจากต่างประเทศเข้ามาเสนอซื้อข้าวกับรัฐ โดยวิธีการนี้ จะให้กรมส่งเสริมการส่งออกเป็นผู้ตรวจสอบออร์เดอร์ข้าวที่ผู้ส่งออกนำมาแสดงเป็นหลักฐานว่าจริงหรือไม่ ซึ่งราคาที่จะขายให้ยึดตามเกณฑ์ราคาตลาดเป็นอย่างต่ำ และ 3.ภาครัฐตั้งราคากลางขายข้าวในสต๊อกขึ้นมา และให้ผู้ส่งออกมาเสนอซื้อ
“มีหลายวิธีที่จะระบายข้าว แต่ยังไม่เลือกว่าจะใช้วิธีไหนกันแน่ เพราะต้องมีลูกล่อลูกชน แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีใด ผลการเสนอขายจะต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติก่อนทุกครั้ง โดยจะขอความเห็นจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการระบายข้าวอีกครั้ง ว่าจะใช้วิธีการใดบ้าง หรืออาจจะใช้การประมูลก็ได้ ซึ่งตามแผนปีนี้จะระบายข้าวออกจากสต๊อกประมาณ 2 ล้านตัน หรือระบาย 1 แสนตันต่อ 2 สัปดาห์ จากสต๊อกที่มีอยู่กว่า 5 ล้านตัน”นางพรทิวากล่าว
อย่างไรก็ตาม ไม่ห่วงว่าจะเกิดข้อครหาหากใช้วิธีให้ผู้ส่งออกยื่นเสนอราคาซื้อข้าวมา เพราะจะมีการเปิดเผยข้อมูลว่าแต่ละรายเสนอซื้อเข้ามาและให้ราคาเท่าไร โดยคาดว่าจะระบายให้ผู้ส่งออกไม่เกินรายละ 1 แสนตัน ส่วนกระแสข่าวลือเรียกรับเงินใต้โต๊ะการซื้อข้าวรัฐบาล เห็นว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะขณะไม่อนุมัติขายข้าว ยังเกิดกระแสข่าวดังกล่าวได้
ด้านนายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ในช่วงเช้าวานนี้ (26 ม.ค.) ว่า เท่าที่ได้มีการเจรจาต่อรองราคาที่เอกชนเสนอซื้อข้าวจำนวนดังกล่าว เป็นราคาที่ผ่านเกณฑ์ที่กรมการค้าต่างประเทศกำหนดไว้ทุกราย และทุกรายยอมเพิ่มราคาให้เฉลี่ย 10-500 บาท โดยได้เสนอผลการเจรจาต่อรองไปให้รมว.พาณิชย์พิจารณาแล้ว ส่วนจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการเปิดประมูลข้าวขาว 5% และข้าวเหนียว ในวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ส่งออกยื่นซองประมูลทั้งสิ้น 22 ราย ยื่นซื้อข้าวมีปริมาณรวมเกือบ 1 ล้านตัน ซึ่งเป็นการซื้อซ้ำโกดังกัน มูลค่ารวมเกือบ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยราคาเสนอซื้อข้าวขาว 5% ส่วนใหญ่อยู่ที่เฉลี่ยตันละ 1.6-1.62 หมื่นบาท ขณะที่ราคาตลาดปัจจุบันอยู่ที่ตันละ 1.69-1.7 หมื่นบาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับราคาตลาดมาก ส่วนข้าวเหนียว 10% ได้ราคาเฉลี่ยต่ำสุดตันละ 1 หมื่นบาท สูงสุด 1.71 หมื่นบาท จากราคาตลาดเฉลี่ยตันละ 2.14-2.21 หมื่นบาท ทั้งนี้ มีกระแสข่าวออกมาตั้งแต่วันจันทร์ที่ 25 ม.ค. ว่าจะไม่อนุมัติการประมูลข้าวครั้งนี้ โดยกระทรวงพาณิชย์ให้เหตุผลว่าผู้ส่งออกกดราคาซื้อ ขณะที่ผู้ส่งออกให้ข้อมูลว่าเป็นเพราะตกลงเรื่องเงินใต้โต๊ะไม่ได้ และในที่สุดก็มีการยกเลิกการประมูล และมีเหตุผลแปลกประหลาดออกมาให้เห็นข้างต้น
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านการตลาดข้าว เปิดเผยว่า ไม่เห็นชอบผลการเสนอซื้อข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลจำนวน 3.75 แสนตัน แบ่งเป็นข้าวขาว 5% จำนวน 3 แสนตัน และข้าวเหนียว 7.5% หมื่นตัน ตามข้อเสนอของคณะทำงานเจรจาต่อรองการระบายข้าวสารในสต๊อกรัฐบาล ที่มีนายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นประธาน
ทั้งนี้ ทางคณะทำงานฯ ให้ความเห็นว่า แม้จะมีการต่อรองราคาข้าวกับผู้ที่เสนอราคาแล้ว ผลปรากฏว่าสามารถต่อรองราคาเสนอซื้อข้าวขาว 5% เพิ่มขึ้นแค่ตันละ 121-500 บาทเท่านั้น หรือรวมเป็นเงิน 65 ล้านบาท ซึ่งหากจำหน่ายในปริมาณ 2.91 แสนตัน จะทำให้รัฐบาลต้องขาดทุน 1,839 ล้านบาท จากต้นทุนรับจำนำ 6,512 ล้านบาท ส่วนข้าวเหนียวมีการเสนอราคาต่ำกว่าเกณฑ์มาก จึงไม่มีการต่อรอง
“ราคาเสนอซื้อเฉลี่ยต่อตัน ยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้มาก และแนวโน้มราคาอนาคตน่าจะมีการปรับสูงขึ้น หลังจากผลผลิตข้าวได้รับความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งผลผลิตอาจลดลง 20% อีกทั้งการเสนอราคาแข่งขันบางคลังมีผู้เสนอซื้อเพียงรายเดียว บางคลังไม่มีผู้เสนอซื้อเลย สะท้อนให้เห็นว่าเอกชนไม่มีความต้องการข้าว หรือน่าจะยังมีข้าวสารในสต๊อกอยู่ จึงซื้อคลังของตัวเองหรือในพื้นที่ใกล้ๆ เท่านั้น” นางพรทิวากล่าว
นางพรทิวากล่าวว่า แม้จะมีการยกเลิกผลการประมูลข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลครั้งนี้ แต่กระทรวงฯ ก็มีแผนจะระบายข้าวสารในเร็วๆ นี้ โดยกำลังพิจารณาวิธีการที่จะเปิดระบายครั้งต่อไป เบื้องต้นมี 3 วิธี คือ 1.เปิดระบายผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (เอเฟท) จำนวน 3 แสนตัน แบบทยอย 2.ให้ผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อข้าวจากต่างประเทศเข้ามาเสนอซื้อข้าวกับรัฐ โดยวิธีการนี้ จะให้กรมส่งเสริมการส่งออกเป็นผู้ตรวจสอบออร์เดอร์ข้าวที่ผู้ส่งออกนำมาแสดงเป็นหลักฐานว่าจริงหรือไม่ ซึ่งราคาที่จะขายให้ยึดตามเกณฑ์ราคาตลาดเป็นอย่างต่ำ และ 3.ภาครัฐตั้งราคากลางขายข้าวในสต๊อกขึ้นมา และให้ผู้ส่งออกมาเสนอซื้อ
“มีหลายวิธีที่จะระบายข้าว แต่ยังไม่เลือกว่าจะใช้วิธีไหนกันแน่ เพราะต้องมีลูกล่อลูกชน แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีใด ผลการเสนอขายจะต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติก่อนทุกครั้ง โดยจะขอความเห็นจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการระบายข้าวอีกครั้ง ว่าจะใช้วิธีการใดบ้าง หรืออาจจะใช้การประมูลก็ได้ ซึ่งตามแผนปีนี้จะระบายข้าวออกจากสต๊อกประมาณ 2 ล้านตัน หรือระบาย 1 แสนตันต่อ 2 สัปดาห์ จากสต๊อกที่มีอยู่กว่า 5 ล้านตัน”นางพรทิวากล่าว
อย่างไรก็ตาม ไม่ห่วงว่าจะเกิดข้อครหาหากใช้วิธีให้ผู้ส่งออกยื่นเสนอราคาซื้อข้าวมา เพราะจะมีการเปิดเผยข้อมูลว่าแต่ละรายเสนอซื้อเข้ามาและให้ราคาเท่าไร โดยคาดว่าจะระบายให้ผู้ส่งออกไม่เกินรายละ 1 แสนตัน ส่วนกระแสข่าวลือเรียกรับเงินใต้โต๊ะการซื้อข้าวรัฐบาล เห็นว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะขณะไม่อนุมัติขายข้าว ยังเกิดกระแสข่าวดังกล่าวได้
ด้านนายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ในช่วงเช้าวานนี้ (26 ม.ค.) ว่า เท่าที่ได้มีการเจรจาต่อรองราคาที่เอกชนเสนอซื้อข้าวจำนวนดังกล่าว เป็นราคาที่ผ่านเกณฑ์ที่กรมการค้าต่างประเทศกำหนดไว้ทุกราย และทุกรายยอมเพิ่มราคาให้เฉลี่ย 10-500 บาท โดยได้เสนอผลการเจรจาต่อรองไปให้รมว.พาณิชย์พิจารณาแล้ว ส่วนจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการเปิดประมูลข้าวขาว 5% และข้าวเหนียว ในวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ส่งออกยื่นซองประมูลทั้งสิ้น 22 ราย ยื่นซื้อข้าวมีปริมาณรวมเกือบ 1 ล้านตัน ซึ่งเป็นการซื้อซ้ำโกดังกัน มูลค่ารวมเกือบ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยราคาเสนอซื้อข้าวขาว 5% ส่วนใหญ่อยู่ที่เฉลี่ยตันละ 1.6-1.62 หมื่นบาท ขณะที่ราคาตลาดปัจจุบันอยู่ที่ตันละ 1.69-1.7 หมื่นบาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับราคาตลาดมาก ส่วนข้าวเหนียว 10% ได้ราคาเฉลี่ยต่ำสุดตันละ 1 หมื่นบาท สูงสุด 1.71 หมื่นบาท จากราคาตลาดเฉลี่ยตันละ 2.14-2.21 หมื่นบาท ทั้งนี้ มีกระแสข่าวออกมาตั้งแต่วันจันทร์ที่ 25 ม.ค. ว่าจะไม่อนุมัติการประมูลข้าวครั้งนี้ โดยกระทรวงพาณิชย์ให้เหตุผลว่าผู้ส่งออกกดราคาซื้อ ขณะที่ผู้ส่งออกให้ข้อมูลว่าเป็นเพราะตกลงเรื่องเงินใต้โต๊ะไม่ได้ และในที่สุดก็มีการยกเลิกการประมูล และมีเหตุผลแปลกประหลาดออกมาให้เห็นข้างต้น