ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศประเมินส่งออกปีนี้โตแค่ 10.5% เหตุการณ์แข่งขันรุนแรง เวียดนามลดค่าด่อง ทำสินค้าไทยแข่งขันยากขึ้น ข้าว เสื้อผ้า รองเท้า อาหารอาการหนัก แถมเปิดเสรีกับจีนและอาฟตา การแข่งขันด้านราคาเดือดแน่
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงผลวิเคราะห์ทิศทาง ปัญหา และอุปสรรคภาคการค้าระหว่างประเทศของไทยปี 2553 ว่า การส่งออกของไทยปีนี้ยังฟื้นตัวระดับต่ำ เมื่อเทียบกับปี 2551 หรือสมัยปี 2541-44 ที่เคยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โดยผลศึกษาระบุว่าโอกาสการส่งออกไทยขยายตัว 10.5% มีโอกาสเกิดมากสุด 60% ซึ่งต่ำกว่าที่กระทรวงพาณิชย์คาดไว้ที่ 14%
รองลงมา ขยายตัว 13.9% มีโอกาสเกิด 30% และขยายตัว 6.4% มีโอกาสเกิด 10%
ปัจจัยลบที่จะกระทบต่อการส่งออก คือ การลดค่าเงินด่องของเวียดนาม เพราะการลดค่าเงิน 5-15% ทำให้เวียดนามได้เปรียบไทย สามารถขายสินค้าได้ถูกกว่า ทำให้มูลค่าการส่งออกไทยลดลง 13.97-111.73 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าข้าวขาวกระทบมากสุด 24.62 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาเป็นเสื้อผ้าลดลง 9.16 ล้านเหรียญสหรัฐ รองเท้าลดลง 3.08 ล้านเหรียญสหรัฐ และอาหารประมงลดลง 0.57 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ ผลจากการเปิดเสรีการค้ากับจีน และเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ทำให้การแข่งขันส่งออกด้านราคาสินค้ารุนแรงมากขึ้น อุตสาหกรรมไทยหลายสาขาที่มีต้นทุนผลิตสูงกว่าเพื่อนบ้านประสบปัญหาส่งออก ดังนั้น ผู้ผลิตต้องปรับตัวเน้นผลิตสินค้าระดับบนทดแทน เพราะตลาดยังเปิดกว้างอยู่ ส่วนสินค้าเกษตรน่าจะได้รับประโยชน์ เพราะไทยมีคุณภาพสินค้าดีกว่าเพื่อนบ้าน โดยภาพรวมการเปิดอาฟตายังเป็นประโยชน์ทำให้การส่งออกไทยไปอาเซียนเพิ่ม 2.3% มูลค่า 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนปัจจัยลบอื่นได้แก่ ทิศทางดอกเบี้ยสูงขึ้นช่วงครึ่งปีหลัง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มซึ่งกระทบต่อต้นทุนการผลิต การเพิ่มมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีจากประเทศคู่ค้ารายใหญ่ เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป รวมถึงความเสี่ยงจากการยืดชำระหนี้ของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในดูไบ และโครงการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด หากยืดเยื้อจะสร้างความเสียหายและกระทบต่อความเชื่อมั่นทางการค้าการลงทุน
สำหรับปัจจัยบวกต่อการส่งออก ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการส่งออกไปประเทศคู่ค้ารายใหญ่จะกลับมาเป็นบวก เช่น สหรัฐฯ ขยายตัว 12.6% สหภาพยุโรป ขยายตัว 10% ญี่ปุ่น ขยายตัว 10.8% จีน ขยายตัว 8.3%
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงผลวิเคราะห์ทิศทาง ปัญหา และอุปสรรคภาคการค้าระหว่างประเทศของไทยปี 2553 ว่า การส่งออกของไทยปีนี้ยังฟื้นตัวระดับต่ำ เมื่อเทียบกับปี 2551 หรือสมัยปี 2541-44 ที่เคยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โดยผลศึกษาระบุว่าโอกาสการส่งออกไทยขยายตัว 10.5% มีโอกาสเกิดมากสุด 60% ซึ่งต่ำกว่าที่กระทรวงพาณิชย์คาดไว้ที่ 14%
รองลงมา ขยายตัว 13.9% มีโอกาสเกิด 30% และขยายตัว 6.4% มีโอกาสเกิด 10%
ปัจจัยลบที่จะกระทบต่อการส่งออก คือ การลดค่าเงินด่องของเวียดนาม เพราะการลดค่าเงิน 5-15% ทำให้เวียดนามได้เปรียบไทย สามารถขายสินค้าได้ถูกกว่า ทำให้มูลค่าการส่งออกไทยลดลง 13.97-111.73 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าข้าวขาวกระทบมากสุด 24.62 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาเป็นเสื้อผ้าลดลง 9.16 ล้านเหรียญสหรัฐ รองเท้าลดลง 3.08 ล้านเหรียญสหรัฐ และอาหารประมงลดลง 0.57 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ ผลจากการเปิดเสรีการค้ากับจีน และเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ทำให้การแข่งขันส่งออกด้านราคาสินค้ารุนแรงมากขึ้น อุตสาหกรรมไทยหลายสาขาที่มีต้นทุนผลิตสูงกว่าเพื่อนบ้านประสบปัญหาส่งออก ดังนั้น ผู้ผลิตต้องปรับตัวเน้นผลิตสินค้าระดับบนทดแทน เพราะตลาดยังเปิดกว้างอยู่ ส่วนสินค้าเกษตรน่าจะได้รับประโยชน์ เพราะไทยมีคุณภาพสินค้าดีกว่าเพื่อนบ้าน โดยภาพรวมการเปิดอาฟตายังเป็นประโยชน์ทำให้การส่งออกไทยไปอาเซียนเพิ่ม 2.3% มูลค่า 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนปัจจัยลบอื่นได้แก่ ทิศทางดอกเบี้ยสูงขึ้นช่วงครึ่งปีหลัง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มซึ่งกระทบต่อต้นทุนการผลิต การเพิ่มมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีจากประเทศคู่ค้ารายใหญ่ เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป รวมถึงความเสี่ยงจากการยืดชำระหนี้ของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในดูไบ และโครงการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด หากยืดเยื้อจะสร้างความเสียหายและกระทบต่อความเชื่อมั่นทางการค้าการลงทุน
สำหรับปัจจัยบวกต่อการส่งออก ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการส่งออกไปประเทศคู่ค้ารายใหญ่จะกลับมาเป็นบวก เช่น สหรัฐฯ ขยายตัว 12.6% สหภาพยุโรป ขยายตัว 10% ญี่ปุ่น ขยายตัว 10.8% จีน ขยายตัว 8.3%