“มาร์ค” หวั่นต่างชาติย้ายฐาน สั่งแรงงาน เร่งแก้ปัญหาม็อบรถยนต์-ไทรอัมพ์ หลัง “ฟอร์ด ”ขู่ย้ายการลงทุน ขณะที่ตลาดแรงงานไทยเริ่มกระเตื้อง หลังพบตัวเลขอัตราว่างงานลด เหลือ 1.1 % ในปี 52 เชื่อคนไทยเริ่มมีงานทำ
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้นายไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน แก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน กรณีอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งหากยังไม่สามารถตกลงกันได้ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมดังกล่าว
" นายกฯกำชับว่า ให้เร่งเจรจากรณีลูกจ้างประกอบรถยนต์ และลูกจ้างอดีตบริษัทไทรอัมพ์ มีการประท้วงตามข้อเรียกร้องต่าง ๆ ให้จบสิ้น เนื่องจากมีตัวแทนจากฟอร์ดมอเตอร์ เข้าพบ นายกฯ และหากแก้ปัญหาแรงงานไม่จบ มีแนวโน้มการพิจารณาลงทุนในประเทศไทยจะมีปัญหาไปถึงขั้นย้ายฐานลงทุน"
ทั้งนี้ ให้ใช้กระบวนการแรงงานสัมพันธ์ โดยเจรจาในเรื่องค่าจ้าง และโบนัสของลูกจ้างให้ได้ข้อยุติต่อไป และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประสานกับกระทรวงแรงงาน พิจารณาความเหมาะสมของระบบค่าจ้างขั้นต่ำ และค่าจ้างแรงงานของไทย เพื่อให้ประเทศไทยยังคงสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้ในอนาคต และการติดตาม Structural Unemployment ด้วย เนื่องจากในระยะต่อไปหากอุตสาหกรรมหลักของไทย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์ เป็นต้น ไม่สามารถพัฒนาให้มีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อแรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต
นายวัชระ กล่าวว่า ครม. รับทราบรายงานสถานการณ์ด้านแรงงาน และผลกระทบต่อแรงงานไทยในรัฐดูไบ โดยในส่วนของสถานการณ์การเลิกจ้างเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สรุปได้ว่า จำนวนผู้ประกันตนที่มาขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน เริ่มลดลง หลังจากจำนวนเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือนก.พ.2552 จากจำนวน 101,939 คน ลดลงเหลือ 40,638 คน ในเดือนพ.ย. 2552
สำหรับอัตราการว่างงานรายเดือน ปี 2552 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากเดือนเม.ย. มีอัตราการว่างงานสูงสุดถึงร้อยละ 2.1 ลดลงเหลือร้อยละ 1.2 ในเดือนก.ย. และประมาณว่า อัตราการว่างงานจะลดลงเหลือร้อยละ 1.1 ในเดือนพ.ย.และธ.ค. 52 หรือคิดเป็นประมาณ 400,000 คน
สำหรับความต้องการแรงงานนั้น ขณะนี้มีสถานประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานประมาณ 120,000 ตำแหน่ง โดยมีความต้องการแรงงานสูงขึ้น ประมาณ ร้อยละ 6.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว และขณะนี้มีสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยเริ่มที่จะประสบภาวะขาดแคลนแรงงานขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะแรงงานในภาคอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ซึ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาได้ถูกเลิกจ้างไปบางส่วน
ในส่วนความต้องการแรงงานไทยในต่างประเทศ พบว่า มีความต้องการแรงงานไทยสูงถึง 140,000 คน โดยประเทศไต้หวันมีความต้องการแรงงานไทยสูงสุดถึง 45,000 ตำแหน่ง ซึ่งกระทรวงแรงงาน ได้กำหนดเป็นนโยบายให้การส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศจะต้องเน้นแรงงานที่มีคุณภาพ โดยจะต้องผ่านการอบรมจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานก่อน ด้านสถานการณ์แรงงานในพื้นที่มาบตาพุดนั้น หากมีการระงับโครงการทั่ง 65 โครงการ คาดว่า จะมีลูกจ้างได้รับผลกระทบประมาณ 40,000 คน ซึ่งหากก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จจะมีการรับลูกจ้างเข้าทำงานประมาณ 15,000 ตำแหน่ง
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้นายไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน แก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน กรณีอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งหากยังไม่สามารถตกลงกันได้ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมดังกล่าว
" นายกฯกำชับว่า ให้เร่งเจรจากรณีลูกจ้างประกอบรถยนต์ และลูกจ้างอดีตบริษัทไทรอัมพ์ มีการประท้วงตามข้อเรียกร้องต่าง ๆ ให้จบสิ้น เนื่องจากมีตัวแทนจากฟอร์ดมอเตอร์ เข้าพบ นายกฯ และหากแก้ปัญหาแรงงานไม่จบ มีแนวโน้มการพิจารณาลงทุนในประเทศไทยจะมีปัญหาไปถึงขั้นย้ายฐานลงทุน"
ทั้งนี้ ให้ใช้กระบวนการแรงงานสัมพันธ์ โดยเจรจาในเรื่องค่าจ้าง และโบนัสของลูกจ้างให้ได้ข้อยุติต่อไป และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประสานกับกระทรวงแรงงาน พิจารณาความเหมาะสมของระบบค่าจ้างขั้นต่ำ และค่าจ้างแรงงานของไทย เพื่อให้ประเทศไทยยังคงสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้ในอนาคต และการติดตาม Structural Unemployment ด้วย เนื่องจากในระยะต่อไปหากอุตสาหกรรมหลักของไทย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์ เป็นต้น ไม่สามารถพัฒนาให้มีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อแรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต
นายวัชระ กล่าวว่า ครม. รับทราบรายงานสถานการณ์ด้านแรงงาน และผลกระทบต่อแรงงานไทยในรัฐดูไบ โดยในส่วนของสถานการณ์การเลิกจ้างเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สรุปได้ว่า จำนวนผู้ประกันตนที่มาขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน เริ่มลดลง หลังจากจำนวนเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือนก.พ.2552 จากจำนวน 101,939 คน ลดลงเหลือ 40,638 คน ในเดือนพ.ย. 2552
สำหรับอัตราการว่างงานรายเดือน ปี 2552 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากเดือนเม.ย. มีอัตราการว่างงานสูงสุดถึงร้อยละ 2.1 ลดลงเหลือร้อยละ 1.2 ในเดือนก.ย. และประมาณว่า อัตราการว่างงานจะลดลงเหลือร้อยละ 1.1 ในเดือนพ.ย.และธ.ค. 52 หรือคิดเป็นประมาณ 400,000 คน
สำหรับความต้องการแรงงานนั้น ขณะนี้มีสถานประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานประมาณ 120,000 ตำแหน่ง โดยมีความต้องการแรงงานสูงขึ้น ประมาณ ร้อยละ 6.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว และขณะนี้มีสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยเริ่มที่จะประสบภาวะขาดแคลนแรงงานขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะแรงงานในภาคอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ซึ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาได้ถูกเลิกจ้างไปบางส่วน
ในส่วนความต้องการแรงงานไทยในต่างประเทศ พบว่า มีความต้องการแรงงานไทยสูงถึง 140,000 คน โดยประเทศไต้หวันมีความต้องการแรงงานไทยสูงสุดถึง 45,000 ตำแหน่ง ซึ่งกระทรวงแรงงาน ได้กำหนดเป็นนโยบายให้การส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศจะต้องเน้นแรงงานที่มีคุณภาพ โดยจะต้องผ่านการอบรมจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานก่อน ด้านสถานการณ์แรงงานในพื้นที่มาบตาพุดนั้น หากมีการระงับโครงการทั่ง 65 โครงการ คาดว่า จะมีลูกจ้างได้รับผลกระทบประมาณ 40,000 คน ซึ่งหากก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จจะมีการรับลูกจ้างเข้าทำงานประมาณ 15,000 ตำแหน่ง