เอกชนเริ่มมองปัจจัยกรณีปัญหามาบตาพุดเริ่มผ่อนคลายลงและมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นและน่าจะจบลงได้ชัดเจนในปี 2553 เมื่อองค์กรอิสระชัดเจน หากเทียบกับปัญหาการเมืองที่ยังมองหาทางจบไม่ลง ตรงกันข้ามม็อบเสื้อแดงที่เตรียมชุมนุมใหญ่ม.ค. อาจฉุดเชื่อมั่นดิ่งลงหากก้าวสู่ความรุนแรง เผยองค์กรอิสระคืบชัดเจนได้ใน 2 เดือน
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ปัจจัยภายในประเทศที่จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชนมากสุดเป็นปัจจัยทางการเมืองเนื่องจากยังมองว่าเป็นปัญหาที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ว่าจะจบลงเมื่อใดและยังมีโอกาสที่จะนำไปสู่ความไม่แน่นอนมากขึ้นโดยเฉพาะหากกลุ่มคนเสื้อแดงที่ประกาศชุมนุมใหญ่ม.ค. 53 นำไปสู่ความรุนแรงก็จะกระทบความเชื่อมั่นมากขึ้น
สำหรับกรณีปัญหามาบตาพุดแม้จะยังคงมีผลต่อความเชื่อมั่นอยู่บ้างในปี 2553 แต่ปัญหาเริ่มมีข้อยุติที่ชัดเจนในหลายๆ ด้านโดยเฉพาะกรอบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 67 วรรค 2 แห่งรัฐธรรมนูญปี 2550 ทั้งการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) และสุขภาพ(HIA) ที่ล่าสุดคณะกรรมการ 4 ฝ่ายได้สรุปแนวทางและได้มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว ส่วนองค์กรอิสระก็คงจะสรุปได้ใน ม.ค. 53
“การเมืองปี 2553 เป็นปัจจัยเสี่ยงที่เอกชนกังวลกว่ามากกว่าปัญหามาบตาพุดเพราะเป็นปัญหาที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ เพราะการชุมนุมทุกครั้งก็จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว และหากบานปลายก็จะกระทบกับความเชื่อมั่นในทุกๆ ด้านและก็ยังไม่รู้ว่าท้ายสุดจะจบเมื่อใดและอย่างไร”นายสันติกล่าว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ปี 2553 ปัญหามาบตาพุดนั้นเอกชนยังค่อนข้างมีความหวังเนื่องจากปัญหาต่างๆ ที่ไม่ชัดเจนเริ่มมีความคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นแล้วและทุกฝ่ายก็ร่วมมือกันที่จะแก้ไขปัญหาให้เป็นไปได้ด้วยดี เมื่อองค์กรอิสระชัดเจนช่วงม.ค. 53 กระบวนการทุกอย่างก็จะชัดเจนยิ่งขึ้น ขณะที่ปัญหาการเมืองไทยยังไม่สามารถมองเห็นทางออกได้ว่าจะก้าวไปสู่จุดใด
“กรณีมาบตาพุดเรายังมีความหวังว่าท้ายสุดจะกลับมาเดินหน้ากันได้อีกครั้ง ส่วนรายละเอียดการปฏิบัติก็ยังมีความเห็นห่วงอยุ่บ้างทั้งเวทีการรังฟังความเห็น รายละเอียดของการจัดทำรายงานผลกระทบต่างๆ ว่าจะมีปัญหาจัดทำได้ช้าหรือไม่ แต่สิ่งเหล่านี้ทางฝ่ายราชการที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมก็พยายามเข้ามาช่วยเหลือ”นายพยุงศักดิ์กล่าว
หวั่นปี’53 เอ็นจีโอฟ้อง 181 กิจการอีก
อย่างไรก็ตามหากปี 2553 มีการยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพิ่มเติมอีก 181 โครงการยอมรับว่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนของไทยเพิ่มเข้าไปอีก ดังนั้นประเด็นดังกล่าวก็จะต้องติดตามเช่นกันซึ่งที่ผ่านมาเอกชนไม่ได้จะหนีกติกาหรือทำผิดกฏหมายแต่อย่างใดหากแต่ขั้นตอนการปฏิบัติไม่ชัดเจนที่จะให้เอกชนปฏิบัติตามมาตรา 67 วรร 2 เป็นสำคัญ
“ไม่แน่ใจว่าสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนจะฟ้องโครงการทั่วประเทศ 181 โครงการหลังช่วงปีใหม่เพื่ออะไร เพราะขณะนี้ทุกฝ่ายก็มีความชัดเจนเกี่ยวกับกรอบปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 แล้ว และเอกชนทุกรายก็พร้อมทำหมดทุกอย่าง”นายพยุงศักดิ์กล่าว
นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ปี 2553 ปัจจัยเสี่ยงธุรกิจในประเทศปัญหาการเมืองไทยยังคงน่ากลัวกว่าปัญหามาบตาพุดค่อนข้างมากเนื่องจากยังไม่สามารถทราบได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นโดยเฉพาะการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่ออกมาขู่ว่าจะชุมนุมใหญ่ทั่วประเทศซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนไทยค่อนข้างมากเพราะปัจจุบันคนไทยเองก็มีความสุขระดับหนึ่งแล้วแต่ก็ยังระแวงวาการเมืองจะร้อนแรงเมื่อใด
“การชุมนุมไม่รุนแรงก็ไม่น่ามีปัญหาแต่ถ้าให้ดีไม่มีเลยก็จะทำให้ภาพลักษณ์เมืองไทยกลับไปเหมือนเดิม ซึ่งหากการชุมนุมทางการเมืองยังอยู่คู่กับสังคมไทยเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ท้ายสุดการเมืองเข้ามาจะยุ่งแต่การเมืองเศรษฐกิจไม่ต้องดูแลกันวันหนึ่งคงสู้เวียดนามไม่ได้และอาจต้องไปเป็นคู่แข่งกับลาว”นายทวีกิจกล่าว
องค์กรอิสระคืบ 2 เดือนเห็นแน่
นายเดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า วันที่ 4 ม.ค. 53 คณะกรรมการอิสระที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานจะหารือรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อให้สอดรับกับมาตรา 67 วรรค 2 โดยจะใช้ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีออกประกาศเพื่อให้รวดเร็วเพราะไม่ต้องผ่านกระบวนการรัฐสภาคาดว่าจะใช้เวลาจัดตั้งประมาณ 2 เดือน
สำหรับองค์กรอิสระจะประกอบด้วยคณะกรรมการจากฝ่ายสถาบันการศึกษา และองค์กรภาคเอกชน(เอ็นจีโอ) ฝ่ายละ 6 คน และให้แต่ละฝ่ายสรุปเลือกประธานมา 1 คนหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกเลือกเป็นประธานก็ให้หากรรมการมาแทนใหม่ในฝ่ายนั้น ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรอิสระประกอบด้วย 13 คน โดยประธานจะไม่มีสิทธิ์ออกเสียงหรือโหวตใดๆ เว้นแต่กรณีเสียงเท่ากันจึงให้สิทธิชี้ขาด
“ กรอบระยะเวลาที่องค์กรอิสระจะต้องให้ความเห็นประกอบนั้นขณะนี้ยังไม่สรุปโดยมีความเห็นอยู่ระหว่าง 45 วันกับ 60 วัน “นายเดชรัตกล่าว
ยังไม่ฟันธงฟ้อง 181 กิจการเพิ่ม
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวว่า สมาคมฯเตรียมข้อมูลแล้วเพื่อที่จะยื่นฟ้องศาลปกครองเพิ่มเติมอีก 181 โครงการเนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากชุมชนต่างๆ ว่าเข้าข่ายก่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมกับชุมชน และฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ เพราะหลังจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ประกาศใช้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)ให้ความเห็นชอบโครงการต่างๆ ไปมากกว่า 621 โครงการ ส่วนท้ายสุดจะยื่นหรือไม่อย่างไรคงต้องดูความคืบหน้าเกี่ยวกับ 64 กิจการก่อนว่ามีการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจหรือไม่
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ปัจจัยภายในประเทศที่จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชนมากสุดเป็นปัจจัยทางการเมืองเนื่องจากยังมองว่าเป็นปัญหาที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ว่าจะจบลงเมื่อใดและยังมีโอกาสที่จะนำไปสู่ความไม่แน่นอนมากขึ้นโดยเฉพาะหากกลุ่มคนเสื้อแดงที่ประกาศชุมนุมใหญ่ม.ค. 53 นำไปสู่ความรุนแรงก็จะกระทบความเชื่อมั่นมากขึ้น
สำหรับกรณีปัญหามาบตาพุดแม้จะยังคงมีผลต่อความเชื่อมั่นอยู่บ้างในปี 2553 แต่ปัญหาเริ่มมีข้อยุติที่ชัดเจนในหลายๆ ด้านโดยเฉพาะกรอบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 67 วรรค 2 แห่งรัฐธรรมนูญปี 2550 ทั้งการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) และสุขภาพ(HIA) ที่ล่าสุดคณะกรรมการ 4 ฝ่ายได้สรุปแนวทางและได้มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว ส่วนองค์กรอิสระก็คงจะสรุปได้ใน ม.ค. 53
“การเมืองปี 2553 เป็นปัจจัยเสี่ยงที่เอกชนกังวลกว่ามากกว่าปัญหามาบตาพุดเพราะเป็นปัญหาที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ เพราะการชุมนุมทุกครั้งก็จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว และหากบานปลายก็จะกระทบกับความเชื่อมั่นในทุกๆ ด้านและก็ยังไม่รู้ว่าท้ายสุดจะจบเมื่อใดและอย่างไร”นายสันติกล่าว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ปี 2553 ปัญหามาบตาพุดนั้นเอกชนยังค่อนข้างมีความหวังเนื่องจากปัญหาต่างๆ ที่ไม่ชัดเจนเริ่มมีความคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นแล้วและทุกฝ่ายก็ร่วมมือกันที่จะแก้ไขปัญหาให้เป็นไปได้ด้วยดี เมื่อองค์กรอิสระชัดเจนช่วงม.ค. 53 กระบวนการทุกอย่างก็จะชัดเจนยิ่งขึ้น ขณะที่ปัญหาการเมืองไทยยังไม่สามารถมองเห็นทางออกได้ว่าจะก้าวไปสู่จุดใด
“กรณีมาบตาพุดเรายังมีความหวังว่าท้ายสุดจะกลับมาเดินหน้ากันได้อีกครั้ง ส่วนรายละเอียดการปฏิบัติก็ยังมีความเห็นห่วงอยุ่บ้างทั้งเวทีการรังฟังความเห็น รายละเอียดของการจัดทำรายงานผลกระทบต่างๆ ว่าจะมีปัญหาจัดทำได้ช้าหรือไม่ แต่สิ่งเหล่านี้ทางฝ่ายราชการที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมก็พยายามเข้ามาช่วยเหลือ”นายพยุงศักดิ์กล่าว
หวั่นปี’53 เอ็นจีโอฟ้อง 181 กิจการอีก
อย่างไรก็ตามหากปี 2553 มีการยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพิ่มเติมอีก 181 โครงการยอมรับว่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนของไทยเพิ่มเข้าไปอีก ดังนั้นประเด็นดังกล่าวก็จะต้องติดตามเช่นกันซึ่งที่ผ่านมาเอกชนไม่ได้จะหนีกติกาหรือทำผิดกฏหมายแต่อย่างใดหากแต่ขั้นตอนการปฏิบัติไม่ชัดเจนที่จะให้เอกชนปฏิบัติตามมาตรา 67 วรร 2 เป็นสำคัญ
“ไม่แน่ใจว่าสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนจะฟ้องโครงการทั่วประเทศ 181 โครงการหลังช่วงปีใหม่เพื่ออะไร เพราะขณะนี้ทุกฝ่ายก็มีความชัดเจนเกี่ยวกับกรอบปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 แล้ว และเอกชนทุกรายก็พร้อมทำหมดทุกอย่าง”นายพยุงศักดิ์กล่าว
นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ปี 2553 ปัจจัยเสี่ยงธุรกิจในประเทศปัญหาการเมืองไทยยังคงน่ากลัวกว่าปัญหามาบตาพุดค่อนข้างมากเนื่องจากยังไม่สามารถทราบได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นโดยเฉพาะการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่ออกมาขู่ว่าจะชุมนุมใหญ่ทั่วประเทศซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนไทยค่อนข้างมากเพราะปัจจุบันคนไทยเองก็มีความสุขระดับหนึ่งแล้วแต่ก็ยังระแวงวาการเมืองจะร้อนแรงเมื่อใด
“การชุมนุมไม่รุนแรงก็ไม่น่ามีปัญหาแต่ถ้าให้ดีไม่มีเลยก็จะทำให้ภาพลักษณ์เมืองไทยกลับไปเหมือนเดิม ซึ่งหากการชุมนุมทางการเมืองยังอยู่คู่กับสังคมไทยเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ท้ายสุดการเมืองเข้ามาจะยุ่งแต่การเมืองเศรษฐกิจไม่ต้องดูแลกันวันหนึ่งคงสู้เวียดนามไม่ได้และอาจต้องไปเป็นคู่แข่งกับลาว”นายทวีกิจกล่าว
องค์กรอิสระคืบ 2 เดือนเห็นแน่
นายเดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า วันที่ 4 ม.ค. 53 คณะกรรมการอิสระที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานจะหารือรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อให้สอดรับกับมาตรา 67 วรรค 2 โดยจะใช้ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีออกประกาศเพื่อให้รวดเร็วเพราะไม่ต้องผ่านกระบวนการรัฐสภาคาดว่าจะใช้เวลาจัดตั้งประมาณ 2 เดือน
สำหรับองค์กรอิสระจะประกอบด้วยคณะกรรมการจากฝ่ายสถาบันการศึกษา และองค์กรภาคเอกชน(เอ็นจีโอ) ฝ่ายละ 6 คน และให้แต่ละฝ่ายสรุปเลือกประธานมา 1 คนหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกเลือกเป็นประธานก็ให้หากรรมการมาแทนใหม่ในฝ่ายนั้น ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรอิสระประกอบด้วย 13 คน โดยประธานจะไม่มีสิทธิ์ออกเสียงหรือโหวตใดๆ เว้นแต่กรณีเสียงเท่ากันจึงให้สิทธิชี้ขาด
“ กรอบระยะเวลาที่องค์กรอิสระจะต้องให้ความเห็นประกอบนั้นขณะนี้ยังไม่สรุปโดยมีความเห็นอยู่ระหว่าง 45 วันกับ 60 วัน “นายเดชรัตกล่าว
ยังไม่ฟันธงฟ้อง 181 กิจการเพิ่ม
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวว่า สมาคมฯเตรียมข้อมูลแล้วเพื่อที่จะยื่นฟ้องศาลปกครองเพิ่มเติมอีก 181 โครงการเนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากชุมชนต่างๆ ว่าเข้าข่ายก่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมกับชุมชน และฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ เพราะหลังจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ประกาศใช้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)ให้ความเห็นชอบโครงการต่างๆ ไปมากกว่า 621 โครงการ ส่วนท้ายสุดจะยื่นหรือไม่อย่างไรคงต้องดูความคืบหน้าเกี่ยวกับ 64 กิจการก่อนว่ามีการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจหรือไม่