ยื้อสรุปเช่าเอ็นจีวี 4,000 คันอีก 1 เดือน อนุกรรมการตรวจสอบ ร่างทีโออาร์และราคากลางขอเวลาเพิ่ม เหตุข้อมูลประกอบมากและมีข้อสังเกตุจาก ป.ป.ช.อีก “คมนาคม”ระบุ ต้องรอบคอบ เนื่องจากสังคมจับตาโครงการ เรื่องความโปร่งใส จึงต้องมีข้อมูลพร้อมชี้แจงได้ทุกเรื่อง ยันเดินหน้า คาดสรุป ม.ค. ดันเปิดประมูล ก.พ.53
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณารายละเอียดโครงการจัดหารถโดยสารปรับอากาศที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (CNG) จำนวน 4,000 คันขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ด้วยวิธีการเช่า วงเงิน 63,000 ล้านบาท เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการตรวจสอบร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR)และคณะอนุกรรมการตรวจสอบราคากลางได้ส่งหนังสือขอขยายเวลาการตรวจสอบรายละเอียดออกไปอีก 30 วัน เนื่องจากคระอนุกรรมการฯ ทั้ง 2 ชุดต้องการตรวจสอบข้อมูลโครงการทั้งหมดให้รอบคอบ ประกอบกับ โครงการฯมีรายละเอียดมาก และคณะอนุกรรมการทั้งหมดเป็นบุคคลที่แต่งตั้งจากภายนอก จึงต้องใช้เวลาศึกษาทำความเข้าใจรวมทั้งต้องนำข้อทักท้วงของสำนักงานคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มาพิจารณาร่วมด้วย ทำให้ต้องเลื่อนกำหนดจากเดิมวันที่ 12 ธ.ค. 2552 ไปเป็นวันที่ 10 ม.ค. 2553
“ต้องให้เวลาคณะอนุกรรมการฯ ทำงานให้รอบคอบมากที่สุด โดยเฉพาะข้อมูลโครงการที่มีจำนวนมาก เช่น เรื่องสถานีบริการก๊าซ การเกษียณก่อนอายุ (Early Retire) เรื่องที่ ป.ป.ช.ท้วงติง ต้องนำมาดูทั้งหมด จึงต้องใช้เวลาทำงานค่อนข้างมาก ประเด็นสำคัญ สังคมจับตามองว่าโครงการนี้โปร่งใสหรือไม่ มีนอกมีในหรือไม่ จึงต้องตรวจข้อมูลให้ครบทุกด้าน เพื่อชี้แจงได้ทุกข้อสงสัย แต่ยืนยันว่าไม่ใช่การถ่วงเวลาอะไรเป็นการทำงานตามหน้าที่” นายถวัลย์รัฐกล่าว
โดยหลังจากคณะอนุกรรมการทั้ง 2 ชุด ตรวจสอบรายละเอียดโครงการฯ แล้วเสร็จ ขั้นตอนต่อไปจะเสนอให้คณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีตนเป็นประธานพิจารณา ก่อนหารือร่วมกับคณะกรรมการบริหารขสมก.ที่มีนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต เป็นประธาน จากนั้นจึงเสนอนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อรายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ต่อไป ซึ่งคาดว่าขสมก.จะสามารถประกาศประกวดราคาได้ภายในต้นเดือน ก.พ.2553
ทั้งนี้ ป.ป.ช.ได้นำรายงานคณะทำงานพิจารณาติดตามเรื่องการประกวดราคาเช่ารถเมล์เอ็นจีวี เสนอครม.เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2552 ที่ผ่านมา โดยรายงานว่า โครงการดังกล่าวมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการทุจริตและอาจมีลักษณะการกระทำผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐฯโดยเห็นว่า การดำเนินการยังขาดขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสมและความคุ้มค่า , ไม่ปรากฎที่มาของราคา, TOR กำหนดให้มีรถ 2,800 คัน ประกอบตัวถังในประเทศ แต่ข้อเท็จจริงมีความารถผลิตได้ประมาณ 250-300 คันต่อปีเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตและข้อเสนอ 10 ประเด็น ประกอบด้วย 1. ในขั้นเริ่มต้นโครงการไม่ได้ทำการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ และสมควรให้มีการศึกษาวิเคราะห์และประเมินโครงการอย่างละเอียดทุกด้านก่อนเสนอครม. 2. ขั้นตอนพิจารณาอนุมัติโครงการไม่ได้รับการกลั่นกรองจากหน่วยงานกลาง คือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) 3.รายละเอียดร่างขอบเขตของงาน (TOR) ที่กำหนดอุปกรณ์ค่อนข้างง่ายต่อการล๊อกสเปค , มีการตัดระบบความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมออก, การส่งมองรถ 4,000 คันใน 2 ปี อาจเป็นเงื่อนไขทำให้การแข่งขันลดลง ทำให้คณะกรรมการ่าง TOR และผู้มีอำนาจอนุมัติเสี่ยงต่อความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐฯ
4. คุณภาพของก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและพม่าต่ำกว่ามาตรฐาน ควรกำหนดเงื่อนไขและวิธีกำกับด้านสมรรถนะและระดับมลพิษไอเสียตลอดอายุโครงการ 5.อู่จอดรถและสถานีเติมก๊าซไม่มีความชัดเจน 6. การประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Auction) ไม่เป็นประโยชน์กับโครงการที่ซับซ้อน อาจมีคอร์รัปชั่นได้ 7. รายรับไม่สมดุลกับค่าใช้จ่าย และรัฐต้องติดตามผลประกอบการจริงเปรียบเทียบที่คำนวนได้เสนอครม.พิจารณาอนุมัติ 8. โครงการควรมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทด้านการขนส่งของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งจะเสร็จต้นปี 2553 ซึ่งเห็นว่าขณะนี้ยังไม่ควรเริ่มลงทุน
9.สมควรทบทวนบทบาทของ ขสมก.ว่าจะเป็นผู้กำกับดูแล/ปฎิบัติ เนื่องจากปัจจุบัน ขสมก.มีรถบริการเพียง 20% เท่านั้น 10. ต้องตอบสังคมว่าจะได้ประโยชน์อะไรจากโครงการ มีความสะดวกจริงหรือไม่
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณารายละเอียดโครงการจัดหารถโดยสารปรับอากาศที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (CNG) จำนวน 4,000 คันขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ด้วยวิธีการเช่า วงเงิน 63,000 ล้านบาท เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการตรวจสอบร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR)และคณะอนุกรรมการตรวจสอบราคากลางได้ส่งหนังสือขอขยายเวลาการตรวจสอบรายละเอียดออกไปอีก 30 วัน เนื่องจากคระอนุกรรมการฯ ทั้ง 2 ชุดต้องการตรวจสอบข้อมูลโครงการทั้งหมดให้รอบคอบ ประกอบกับ โครงการฯมีรายละเอียดมาก และคณะอนุกรรมการทั้งหมดเป็นบุคคลที่แต่งตั้งจากภายนอก จึงต้องใช้เวลาศึกษาทำความเข้าใจรวมทั้งต้องนำข้อทักท้วงของสำนักงานคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มาพิจารณาร่วมด้วย ทำให้ต้องเลื่อนกำหนดจากเดิมวันที่ 12 ธ.ค. 2552 ไปเป็นวันที่ 10 ม.ค. 2553
“ต้องให้เวลาคณะอนุกรรมการฯ ทำงานให้รอบคอบมากที่สุด โดยเฉพาะข้อมูลโครงการที่มีจำนวนมาก เช่น เรื่องสถานีบริการก๊าซ การเกษียณก่อนอายุ (Early Retire) เรื่องที่ ป.ป.ช.ท้วงติง ต้องนำมาดูทั้งหมด จึงต้องใช้เวลาทำงานค่อนข้างมาก ประเด็นสำคัญ สังคมจับตามองว่าโครงการนี้โปร่งใสหรือไม่ มีนอกมีในหรือไม่ จึงต้องตรวจข้อมูลให้ครบทุกด้าน เพื่อชี้แจงได้ทุกข้อสงสัย แต่ยืนยันว่าไม่ใช่การถ่วงเวลาอะไรเป็นการทำงานตามหน้าที่” นายถวัลย์รัฐกล่าว
โดยหลังจากคณะอนุกรรมการทั้ง 2 ชุด ตรวจสอบรายละเอียดโครงการฯ แล้วเสร็จ ขั้นตอนต่อไปจะเสนอให้คณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีตนเป็นประธานพิจารณา ก่อนหารือร่วมกับคณะกรรมการบริหารขสมก.ที่มีนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต เป็นประธาน จากนั้นจึงเสนอนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อรายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ต่อไป ซึ่งคาดว่าขสมก.จะสามารถประกาศประกวดราคาได้ภายในต้นเดือน ก.พ.2553
ทั้งนี้ ป.ป.ช.ได้นำรายงานคณะทำงานพิจารณาติดตามเรื่องการประกวดราคาเช่ารถเมล์เอ็นจีวี เสนอครม.เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2552 ที่ผ่านมา โดยรายงานว่า โครงการดังกล่าวมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการทุจริตและอาจมีลักษณะการกระทำผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐฯโดยเห็นว่า การดำเนินการยังขาดขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสมและความคุ้มค่า , ไม่ปรากฎที่มาของราคา, TOR กำหนดให้มีรถ 2,800 คัน ประกอบตัวถังในประเทศ แต่ข้อเท็จจริงมีความารถผลิตได้ประมาณ 250-300 คันต่อปีเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตและข้อเสนอ 10 ประเด็น ประกอบด้วย 1. ในขั้นเริ่มต้นโครงการไม่ได้ทำการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ และสมควรให้มีการศึกษาวิเคราะห์และประเมินโครงการอย่างละเอียดทุกด้านก่อนเสนอครม. 2. ขั้นตอนพิจารณาอนุมัติโครงการไม่ได้รับการกลั่นกรองจากหน่วยงานกลาง คือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) 3.รายละเอียดร่างขอบเขตของงาน (TOR) ที่กำหนดอุปกรณ์ค่อนข้างง่ายต่อการล๊อกสเปค , มีการตัดระบบความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมออก, การส่งมองรถ 4,000 คันใน 2 ปี อาจเป็นเงื่อนไขทำให้การแข่งขันลดลง ทำให้คณะกรรมการ่าง TOR และผู้มีอำนาจอนุมัติเสี่ยงต่อความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐฯ
4. คุณภาพของก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและพม่าต่ำกว่ามาตรฐาน ควรกำหนดเงื่อนไขและวิธีกำกับด้านสมรรถนะและระดับมลพิษไอเสียตลอดอายุโครงการ 5.อู่จอดรถและสถานีเติมก๊าซไม่มีความชัดเจน 6. การประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Auction) ไม่เป็นประโยชน์กับโครงการที่ซับซ้อน อาจมีคอร์รัปชั่นได้ 7. รายรับไม่สมดุลกับค่าใช้จ่าย และรัฐต้องติดตามผลประกอบการจริงเปรียบเทียบที่คำนวนได้เสนอครม.พิจารณาอนุมัติ 8. โครงการควรมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทด้านการขนส่งของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งจะเสร็จต้นปี 2553 ซึ่งเห็นว่าขณะนี้ยังไม่ควรเริ่มลงทุน
9.สมควรทบทวนบทบาทของ ขสมก.ว่าจะเป็นผู้กำกับดูแล/ปฎิบัติ เนื่องจากปัจจุบัน ขสมก.มีรถบริการเพียง 20% เท่านั้น 10. ต้องตอบสังคมว่าจะได้ประโยชน์อะไรจากโครงการ มีความสะดวกจริงหรือไม่