เอกชน ร้องเงินบาทแข็งค่ากว่าประเทศคู่แข่งทางการค้า จี้ ธปท.แทรกแซงด่วน ชี้ส่งออกไตรมาส 4 มีสิทธิ์เจ๊งลามถึงไตรมาส 1 ปีหน้า ยอมรับปัจจัยจากค่าเงินดอลลาร์อ่อนต่อเนื่อง ผวามีโอกาสต่ำกว่าระดับ33 บาท/ดอลลาร์ หอการค้า แนะซื้อประกันความเสี่ยง ทางรอดเดียว
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงภาวะอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทไทยเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาว่า ค่าเงินบาทไทยขณะนี้เคลื่อนไหวอยู่ระดับ 33.2-33.3 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ มีการแข็งค่าจากเดือนมิ.ย.ประมาณ 5% ซึ่งหากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว พบว่ามีการแข็งค่ามากกว่าเนื่องจากเฉลี่ยประเทศอื่นๆ เช่น ค่าเงินหยวน เปโซ ริงกิต แข็งค่าขึ้นเพียง0.8-3% เท่านั้น
“ กรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระบุว่าค่าเงินบาทของไทยเทียบกับภูมิภาคใกล้เคียงกันเป็นเพราะใช้พื้นฐานการเทียบสกุลเงินทั้งหมดมาเฉลี่ยกับค่าเงินบาท แต่เอกชนนั้นจะเทียบเฉพาะดอลลาร์กับบาทเท่านั้น เพราะส่วนใหญ่เอกชนจะซื้อขายในรูปของดอลลาร์”นายธนิตกล่าว
การแข็งค่าของเงินบาทไทยไม่ได้สะท้อนจากเศรษฐกิจที่แท้จริง แต่เป็นเพราะค่าเงินสหรัฐอเมริกาอ่อนค่าลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร ประกอบกับเศรษฐกิจสหรัฐฯยังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อคนยังไม่เชื่อมั่นค่าเงินทำให้เกิดการไหลออกของเงินต่อเนื่อง ดังนั้นโอกาสจะเห็นค่าเงินบาทแตะและต่ำกว่า 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จึงมีสูงซึ่งคงจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ดังนั้นเอกชนจึงต้องระมัดระวังในเรื่องของการวางแผนทางการค้าและจัดซื้อวัตถุดิบ
นายธนิตกล่าวว่า ภาวการณ์ส่งออกไทยไตรมาส 3 คาดว่าจะยังคงติดลบอยู่แต่ไตรมาส 4 การส่งออกน่าจะกลับมาเป็นบวกได้เล็กน้อยจากคำสั่งซื้อที่เริ่มกลับมาในอุตสาหกรรมหลักๆ ทั้งยานยนต์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร สิ่งทอ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ทั้งปีการส่งออกของไทยน่าจะยังคงติดลบ 17-18%
*** จี้ธปท.ดูแลค่าบาทเร่งด่วน
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์และกรรมการสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขณะนี้ ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันสินค้าไทยสู้ประเทศคู่แข่งไม่ได้แน่นอน ซึ่งธปท.ควรเข้ามาดูแลปัญหานี้อย่างเร่งด่วน ไม่เช่นนั้นจะทำให้การส่งออกสินค้าไทยในไตรมาส 4 ปีนี้ ขยายตัวลดลงมากว่าเดิม และอาจต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกปีหน้า
“การซื้อประกันความเสี่ยง ทางกลุ่มฯทำอยู่แล้ว แต่จะมีผลกระทบในเรื่องความสามารถการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งมากกว่า โดยเฉพาะสินค้ากุ้งที่มีคู่แข่งอย่างอินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย จีน ค่าเงินบาทเราแข็งค่ากว่าเยอะ ซึ่งจริงๆตอนเงินบาทแข็งค่า 34 บาท/เหรียญสหรัฐ การส่งออกก็ทรุดอยู่แล้ว นี่แข็งมาถึง 33 บาท อยู่ไม่ไหว ธปท.ควรรีบเข้ามาดูด่วน” นายพจน์ กล่าว
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจาก 35 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ 33 บาท/เหรียญสหรัฐ ภายในวันเดียว ซึ่งถือว่าแกว่งตัวมาก มีปัญหากับภาคเอกชนแน่นอน ซึ่งทางออกเดียวในขณะนี้คือผู้ส่งออกต้องซื้อประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้ากับทางธนาคารพาณิชย์ไว้ เพราะหากจะถือเงินดอลลาร์เก็บไว้ เพื่อรอให้บาทอ่อนค่า มีโอกาสที่จะขาดทุนมากกว่าเดิม
“จะรอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าไปแก้ไขปัญหา คงช้าเกินไป เพราะที่ผ่านมาเอกชนได้หารือให้ธปท.หลายรอบเรื่องการเข้าแทรกแซง แต่ทางธปท.ก็ไม่รับปาก และยิ่งเงินบาทแกว่งค่าขณะนี้ เอกชนเหนื่อยแน่ ทางเดียวที่จะอยู่รอดคือซื้อประกันความเสี่ยง อย่าถือเงินเก็บไว้ เมื่อได้เงินจากลูกค้าต่างประเทศ ก็ให้มาขึ้นกับแบงก์ทันที” นายพรศิลป์ กล่าว
นายวัลลภ วิตนากร เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า ในส่วนของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน โดยเงินบาทแข็งค่าทุก 1 บาท กระทบต่อเม็ดเงินที่จะได้รับหายไป 3% ของยอดส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องนุ่มห่มทั้งหมด หรือเกือบ 4,000 ล้านบาท โดยขณะนี้ผู้ส่งออกกังวลว่าจะมีความเสี่ยงจากการรับคำสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า 6 เดือน (ต.ค.-มี.ค.) ว่าเงินบาทจะแข็งค่า มากกว่านี้ หรือยู่ที่ระดับ 31-32 บาท/เหรียญสหรัฐ
“แม้ว่าผู้ประกอบการจะซื้อประกันค่าเงินล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยง แต่ทุกรายไม่สามารถประกันได้เท่ากันหมด เพราะขึ้นอยู่กับเครดิตของแต่ละบริษัท ส่วนการปรับขึ้นราคาสินค้าเพื่อชดเชยค่าเงินบาท เป็นสิ่งที่ทำได้ยากในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวขณะนี้”
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานหอการค้าไทย กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท ถือว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ ซึ่งพบว่ามีอัตราแข็งค่าเทียบกับประเทศคู่แข่งทางการค้าหรือเนีย เฉลี่ยแล้วเพียง 1.5% โดยในจำนวนนี้เป็นการแข็งค่ากว่าจีน 4% ประเทศในอาเซียน 4% ซึ่งการดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพและไม่แข็งค่ากว่าคู่แข่งทางการค้าจริงๆของไทยจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออก ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงภาวะอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทไทยเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาว่า ค่าเงินบาทไทยขณะนี้เคลื่อนไหวอยู่ระดับ 33.2-33.3 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ มีการแข็งค่าจากเดือนมิ.ย.ประมาณ 5% ซึ่งหากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว พบว่ามีการแข็งค่ามากกว่าเนื่องจากเฉลี่ยประเทศอื่นๆ เช่น ค่าเงินหยวน เปโซ ริงกิต แข็งค่าขึ้นเพียง0.8-3% เท่านั้น
“ กรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระบุว่าค่าเงินบาทของไทยเทียบกับภูมิภาคใกล้เคียงกันเป็นเพราะใช้พื้นฐานการเทียบสกุลเงินทั้งหมดมาเฉลี่ยกับค่าเงินบาท แต่เอกชนนั้นจะเทียบเฉพาะดอลลาร์กับบาทเท่านั้น เพราะส่วนใหญ่เอกชนจะซื้อขายในรูปของดอลลาร์”นายธนิตกล่าว
การแข็งค่าของเงินบาทไทยไม่ได้สะท้อนจากเศรษฐกิจที่แท้จริง แต่เป็นเพราะค่าเงินสหรัฐอเมริกาอ่อนค่าลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร ประกอบกับเศรษฐกิจสหรัฐฯยังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อคนยังไม่เชื่อมั่นค่าเงินทำให้เกิดการไหลออกของเงินต่อเนื่อง ดังนั้นโอกาสจะเห็นค่าเงินบาทแตะและต่ำกว่า 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จึงมีสูงซึ่งคงจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ดังนั้นเอกชนจึงต้องระมัดระวังในเรื่องของการวางแผนทางการค้าและจัดซื้อวัตถุดิบ
นายธนิตกล่าวว่า ภาวการณ์ส่งออกไทยไตรมาส 3 คาดว่าจะยังคงติดลบอยู่แต่ไตรมาส 4 การส่งออกน่าจะกลับมาเป็นบวกได้เล็กน้อยจากคำสั่งซื้อที่เริ่มกลับมาในอุตสาหกรรมหลักๆ ทั้งยานยนต์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร สิ่งทอ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ทั้งปีการส่งออกของไทยน่าจะยังคงติดลบ 17-18%
*** จี้ธปท.ดูแลค่าบาทเร่งด่วน
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์และกรรมการสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขณะนี้ ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันสินค้าไทยสู้ประเทศคู่แข่งไม่ได้แน่นอน ซึ่งธปท.ควรเข้ามาดูแลปัญหานี้อย่างเร่งด่วน ไม่เช่นนั้นจะทำให้การส่งออกสินค้าไทยในไตรมาส 4 ปีนี้ ขยายตัวลดลงมากว่าเดิม และอาจต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกปีหน้า
“การซื้อประกันความเสี่ยง ทางกลุ่มฯทำอยู่แล้ว แต่จะมีผลกระทบในเรื่องความสามารถการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งมากกว่า โดยเฉพาะสินค้ากุ้งที่มีคู่แข่งอย่างอินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย จีน ค่าเงินบาทเราแข็งค่ากว่าเยอะ ซึ่งจริงๆตอนเงินบาทแข็งค่า 34 บาท/เหรียญสหรัฐ การส่งออกก็ทรุดอยู่แล้ว นี่แข็งมาถึง 33 บาท อยู่ไม่ไหว ธปท.ควรรีบเข้ามาดูด่วน” นายพจน์ กล่าว
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจาก 35 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ 33 บาท/เหรียญสหรัฐ ภายในวันเดียว ซึ่งถือว่าแกว่งตัวมาก มีปัญหากับภาคเอกชนแน่นอน ซึ่งทางออกเดียวในขณะนี้คือผู้ส่งออกต้องซื้อประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้ากับทางธนาคารพาณิชย์ไว้ เพราะหากจะถือเงินดอลลาร์เก็บไว้ เพื่อรอให้บาทอ่อนค่า มีโอกาสที่จะขาดทุนมากกว่าเดิม
“จะรอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าไปแก้ไขปัญหา คงช้าเกินไป เพราะที่ผ่านมาเอกชนได้หารือให้ธปท.หลายรอบเรื่องการเข้าแทรกแซง แต่ทางธปท.ก็ไม่รับปาก และยิ่งเงินบาทแกว่งค่าขณะนี้ เอกชนเหนื่อยแน่ ทางเดียวที่จะอยู่รอดคือซื้อประกันความเสี่ยง อย่าถือเงินเก็บไว้ เมื่อได้เงินจากลูกค้าต่างประเทศ ก็ให้มาขึ้นกับแบงก์ทันที” นายพรศิลป์ กล่าว
นายวัลลภ วิตนากร เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า ในส่วนของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน โดยเงินบาทแข็งค่าทุก 1 บาท กระทบต่อเม็ดเงินที่จะได้รับหายไป 3% ของยอดส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องนุ่มห่มทั้งหมด หรือเกือบ 4,000 ล้านบาท โดยขณะนี้ผู้ส่งออกกังวลว่าจะมีความเสี่ยงจากการรับคำสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า 6 เดือน (ต.ค.-มี.ค.) ว่าเงินบาทจะแข็งค่า มากกว่านี้ หรือยู่ที่ระดับ 31-32 บาท/เหรียญสหรัฐ
“แม้ว่าผู้ประกอบการจะซื้อประกันค่าเงินล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยง แต่ทุกรายไม่สามารถประกันได้เท่ากันหมด เพราะขึ้นอยู่กับเครดิตของแต่ละบริษัท ส่วนการปรับขึ้นราคาสินค้าเพื่อชดเชยค่าเงินบาท เป็นสิ่งที่ทำได้ยากในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวขณะนี้”
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานหอการค้าไทย กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท ถือว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ ซึ่งพบว่ามีอัตราแข็งค่าเทียบกับประเทศคู่แข่งทางการค้าหรือเนีย เฉลี่ยแล้วเพียง 1.5% โดยในจำนวนนี้เป็นการแข็งค่ากว่าจีน 4% ประเทศในอาเซียน 4% ซึ่งการดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพและไม่แข็งค่ากว่าคู่แข่งทางการค้าจริงๆของไทยจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออก ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป