ครม.เห็นชอบให้ รฟม.ใช้เงื่อนไขอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท ในสัญญางานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ หลังไจก้าเจ้าของเงินกู้ ไม่ยอมรับเงื่อนไข ชี้ เป็นมาตรฐานสากล รฟม.เตรียมส่งสัญญาเพิ่มเติมให้ไจก้าอนุมัติ ก่อนให้ผู้รับเหมาลงมือก่อสร้างในพื้นที่
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ (13 ต.ค.) เห็นชอบให้เพิ่มเงื่อนไขอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท ในสัญญาก่อสร้างงานโยธา สัญญาจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมโครงการ ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ จำนวน 3 สัญญา และสัญญางานวางราง 1 สัญญาตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และเป็นไปตามเงื่อนไขเงินกู้ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ทำไว้กับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า)
ทั้งนี้ จากที่ไจก้าได้พิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงสัญญาจ้างในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการยกเลิกการใช้อนุญาโตตุลาการในการะงับข้อพิพาทเพื่อให้เป็นไปตามมติ ครม.วันที่ 28 ก.ค.2552 แล้ว แต่ทางไจก้า เห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้มีการร้องขอในการยกเว้นหลักเกณฑ์ต่างๆ ของไจก้า จากผู้กู้ยืมรายอื่น ซึ่งจะทำให้ไจก้าไม่สามารถรักษามาตรฐานที่ทำไว้ได้ ไจก้าจึงไม่อนุญาตให้ยกเลิกการใช้อนุญาโตตุลการในการระงับข้อพิพาท ซึ่งมติครม.28 ก.ค.2552 ได้กำหนดว่า กรณีที่มีปัญหาหรือมีความจำเป็นหรือเป็นข้อเรียกร้องของคู่สัญญาอีกฝ่ายที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ให้เสนอ ครม.พิจารณาเป็นรายๆ ไป
นายชูเกียรติ โพธานุวัตร รองผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ภายใน 2-3 วันนี้ รฟม.จะจัดส่งสัญญาที่มีอนุญาโตตุลาการแนวท้ายส่งให้ไจก้าพิจารณา และคาดว่า ไจก้าจะให้ความเห็นชอบและตอบกลับภายในสิ้นเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งจะทำให้กลุ่ม CKTC Joint Venture (บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และ บริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด) ซึ่งเป็นผู้รับเหมาในสัญญาที่ 1 ทำงานได้อย่างเต็มที่
ส่วนสัญญาที่ 2 และ 3 คาดว่า ภายในสัปดาห์นี้ ไจก้าจะแจ้งอนุมัติผลการประกวดราคา กลับมาให้ รฟม.และหากร่างสัญญาก่อสร้างได้รับความเห็นชอบจากอัยการ รฟม.ก็จะสามารถลงนามในสัญญาก่อสร้างทั้ง 2 สัญญาได้ภายในเดือน ต.ค.นี้ โดยภาพรวมการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงยังถือว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดไม่ล่าช้าแต่อย่างใด
สำหรับสัญญาที่ 2 ผู้รับเหมา คือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC วงเงิน 13,100 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 ผู้รับเหมา คือ กลุ่ม PAR Joint Venture (บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASCON, บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ PLE และบริษัท รวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย) จำกัด) วงเงิน 5,025 ล้านบาท
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ (13 ต.ค.) เห็นชอบให้เพิ่มเงื่อนไขอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท ในสัญญาก่อสร้างงานโยธา สัญญาจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมโครงการ ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ จำนวน 3 สัญญา และสัญญางานวางราง 1 สัญญาตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และเป็นไปตามเงื่อนไขเงินกู้ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ทำไว้กับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า)
ทั้งนี้ จากที่ไจก้าได้พิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงสัญญาจ้างในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการยกเลิกการใช้อนุญาโตตุลาการในการะงับข้อพิพาทเพื่อให้เป็นไปตามมติ ครม.วันที่ 28 ก.ค.2552 แล้ว แต่ทางไจก้า เห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้มีการร้องขอในการยกเว้นหลักเกณฑ์ต่างๆ ของไจก้า จากผู้กู้ยืมรายอื่น ซึ่งจะทำให้ไจก้าไม่สามารถรักษามาตรฐานที่ทำไว้ได้ ไจก้าจึงไม่อนุญาตให้ยกเลิกการใช้อนุญาโตตุลการในการระงับข้อพิพาท ซึ่งมติครม.28 ก.ค.2552 ได้กำหนดว่า กรณีที่มีปัญหาหรือมีความจำเป็นหรือเป็นข้อเรียกร้องของคู่สัญญาอีกฝ่ายที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ให้เสนอ ครม.พิจารณาเป็นรายๆ ไป
นายชูเกียรติ โพธานุวัตร รองผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ภายใน 2-3 วันนี้ รฟม.จะจัดส่งสัญญาที่มีอนุญาโตตุลาการแนวท้ายส่งให้ไจก้าพิจารณา และคาดว่า ไจก้าจะให้ความเห็นชอบและตอบกลับภายในสิ้นเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งจะทำให้กลุ่ม CKTC Joint Venture (บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และ บริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด) ซึ่งเป็นผู้รับเหมาในสัญญาที่ 1 ทำงานได้อย่างเต็มที่
ส่วนสัญญาที่ 2 และ 3 คาดว่า ภายในสัปดาห์นี้ ไจก้าจะแจ้งอนุมัติผลการประกวดราคา กลับมาให้ รฟม.และหากร่างสัญญาก่อสร้างได้รับความเห็นชอบจากอัยการ รฟม.ก็จะสามารถลงนามในสัญญาก่อสร้างทั้ง 2 สัญญาได้ภายในเดือน ต.ค.นี้ โดยภาพรวมการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงยังถือว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดไม่ล่าช้าแต่อย่างใด
สำหรับสัญญาที่ 2 ผู้รับเหมา คือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC วงเงิน 13,100 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 ผู้รับเหมา คือ กลุ่ม PAR Joint Venture (บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASCON, บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ PLE และบริษัท รวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย) จำกัด) วงเงิน 5,025 ล้านบาท