“ชุมพล” ชี้แจงทุกปัญหาใน ททท. แบบเอาสีข้างถู อ้างวีระศักดิ์ลาออกเพราะเงินน้อย กรณีตั้งที่ปรึกษา 11 บอกไม่รู้เรื่อง แค่นั่งฟังเพราะนำนโยบายนายกฯไปมอบ ยืนกระต่ายขาเดียวเหมาะสมไม่ขอล้มมติบอร์ดททท.เด็ดขาด ส่วนว่าที่ประธานบอร์ดฯคนใหม่ย้ำ 7 ต.ค.นี้รู้ ด้านสหภาพฯททท.ขีดเส้นตาย 2 ต.ค. รวมตัวอารยะขัดขืน ล่ารายชื่อพนักงานส่งถึง”บรรหาร”ตัดสิน
วานนี้(1 ต.ค.52)นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้เปิดแถลงข่าวเพื่อชี้แจงเหตุผล 9 ประเด็นร้อนที่ตกเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ กรณีการลาออกของนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานบอร์ดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกระบวนการสรรหาประธานบอร์ดททท.คนใหม่ รวมถึงมติบอร์ดททท.ที่แต่งตั้งนายอักกะพล พฤกษะวัน รองผู้ว่าการด้านสินค้าท่องเที่ยวขึ้นเป็นที่ปรึกษาระดับ 11 ,การสับเปลี่ยนตำแหน่งระดับรองผู้ว่าการททท. โดยทั้งหมดเป็นเพราะการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำงานของ ททท.
**ยันไม่เปลี่ยนมติบอร์ดททท.****
จากประเด็นดังกล่าว นายชุมพล กล่าวยืนยันว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมติบอร์ด ททท.เป็นเด็ดขาด เพราะเป็นการเสนอในที่ประชุมบอร์ด ททท. ซึ่งบังเอิญตนเองได้เข้าไปมีส่วนนั่งรับฟังด้วย เพราะ ในวันที่ 15 ก.ย. ที่ประชุมบอร์ดททท.นั้น ตนเองได้นำคำของนายกรัฐมนตรีที่สั่งการเรื่องภารกิจกระตุ้นนักท่องเที่ยวช่วงไตรมาสสุดท้าย เข้าไปบอกกล่าวให้ที่ประชุมบอร์ดรับฟัง
“ที่ผ่านมา ททท.ก็มีการแต่งตั้งตำแหน่งที่ปรึกษามาหลายครั้ง ซึ่งดูไม่สมเหตุสมผลมากกว่านี้อีก เพราะครั้งนี้เราเลือกจากคนที่มีความรู้ความสามารถด้านการวางแผน ซึ่งนายอักกะพลมีประสบการณ์งานด้านนี้ถึง 30 ปี ภาระกิจหลัก ต้องมาดูแลเตรียมความพร้อมการเปิดเสรีอาเซียน และ การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคอินโดจีน รวมถึงการเตรียมผ่องถ่ายภารกิจลงสู่องค์กรท้องถิ่นตามของบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 50 ดังนั้นแล้ว นายอักกะพล จึงเหมาะสมที่สุด
***อ้างวีระศักดิ์ลาออกเพราะเงินเดือนน้อย***
สำหรับประเด็นการลาออกของนายวีระศักดิ์ เป็นเพราะตำแหน่งประธานบอร์ด ททท. ได้รับเพียงค่าตอบแทนเดือนละไม่กี่หมื่นบาท ไม่พอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว ทำให้ นายวีระศักดิ์ ต้องมองหางานเพิ่ม ซึ่งก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา(ITD) ในวันที่ 1 ต.ค.52 มีรายได้เดือนละ 1.6 แสนบาท
ก่อนหน้านี้นายวีระศักดิ์ เคยพูดว่าจะขอลาออก เมื่อท่องเที่ยวทรุดหนักเพราะการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง จึงอยู่ช่วยงานต่อ ตำแหน่งของนายวีระศักดิ์จะหมดวาระ 13 ธ.ค.ศกนี้ เพราะเป็นตำแหน่งที่นับอายุต่อเนื่องจากประธานบอร์ดคนก่อนเพื่อให้ครบเทอม 2 ปี ซึ่งจะเหลืออีก 2 เดือนเศษ ดังนั้นการแต่งตั้งประธานบอร์ด ททท.จะต้องมี 2 วาระ คือ ตั้งเพื่อทำงานต่อจากคนเก่า และ
ตั้งเพื่อเริ่มนับเทอมใหม่
ขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกบุคคลที่มาดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด ททท. คาดว่าไม่เกิน วันที่ 7 ต.ค.นี้ทราบผล กรรมการในบอร์ดททท.เป็นผู้ทรงคุณวุฒิมากมายระดับปลัดกระทรวงขึ้นไปทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้ที่จะมารับตำแหน่งนี้ต้องอยู่ในระดับเดียวกันหรือสูงกว่า อาจเป็นอดีตปลัด หรืออดีตรัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการก็ได้ ซึ่งทาบทามไว้ 2-3 คนแล้ว
*****เล็งแก้กฎหมายปรับผู้รับตำแหน่งปธ.บอร์ด***
นอกจากนั้นยังอยู่ระหว่างการวบรวมข้อมูลของผู้ที่รับตำแหน่งประธานบอร์ด ซึ่งศึกษาจากการท่องเที่ยวของในหลายๆประเทศ ว่าส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใดดำรงตำแหน่ง
ส่วนกรณีที่มองว่าการเมืองเข้าไปแทรกแซงการดำเนินงานของ ททท.นั้น เห็นว่าตามกฎหมายรัฐมนตรีมีอำนาจ 4 ข้อ คือ 1.แต่งตั้งประธานบอร์ด ททท. และผู้ทรงคุณวุฒิในบอร์ด 2.อำนาจยับยั้งมติบอร์ด 3.เป็นผู้นำเรื่องของ ททท.ส่งไปยังคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา และ4.แต่งตั้งรักษาการผู้ว่า ททท. ส่วนความรับผิดชอบจะต้องเป็นทั้งแพะและแกะ ที่ต้องตกเป็นจำเลยของสังคมเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะมีการแก้ไขกฎหมายตำแหน่งประธานบอร์ด
**สหภาพฯขู่ใช้อารยะขัดขืนร้องบรรหารตัดสิน******
ด้านนายประเสริฐ วรพิทักษ์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สรทท.) เปิดเผยว่า สหภาพฯ จะให้เวลาบอร์ด ททท. ทั้ง 14 คน ถึงวันนี้(2 ต.ค.52) เพื่อตอบกลับมาว่าจะนัดประชุมเร่งด่วนยับยั้งมติบอร์ดฯเมื่อวันที่ 15 ก.ย.52 หรือไม่ หากไม่ได้รับคำตอบ พนักงานททท จะใช้วิธีอารยะขัดขืน รวบรวมรายชื่อพนักงาน ยับยั้งมติบอร์ด ททท.ส่งถึงนายบรรหาร ศิลปอาชา
อดีตนายกรัฐมนตรี พิจารณาตัดสิน เพราะเห็นว่า หากส่งให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน อาจไม่มีความคืบหน้า เพราะไม่ต้องการก้าวก่ายการทำงานของพรรคการเมืองที่ดูแล
ขณะที่นายนิกร จำนง ที่ปรึกษารมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้จัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ยืนยันไม่ขอรับตำแหน่งประธานบอร์ด ททท. ตามที่เป็นข่าวลือ
วานนี้(1 ต.ค.52)นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้เปิดแถลงข่าวเพื่อชี้แจงเหตุผล 9 ประเด็นร้อนที่ตกเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ กรณีการลาออกของนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานบอร์ดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกระบวนการสรรหาประธานบอร์ดททท.คนใหม่ รวมถึงมติบอร์ดททท.ที่แต่งตั้งนายอักกะพล พฤกษะวัน รองผู้ว่าการด้านสินค้าท่องเที่ยวขึ้นเป็นที่ปรึกษาระดับ 11 ,การสับเปลี่ยนตำแหน่งระดับรองผู้ว่าการททท. โดยทั้งหมดเป็นเพราะการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำงานของ ททท.
**ยันไม่เปลี่ยนมติบอร์ดททท.****
จากประเด็นดังกล่าว นายชุมพล กล่าวยืนยันว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมติบอร์ด ททท.เป็นเด็ดขาด เพราะเป็นการเสนอในที่ประชุมบอร์ด ททท. ซึ่งบังเอิญตนเองได้เข้าไปมีส่วนนั่งรับฟังด้วย เพราะ ในวันที่ 15 ก.ย. ที่ประชุมบอร์ดททท.นั้น ตนเองได้นำคำของนายกรัฐมนตรีที่สั่งการเรื่องภารกิจกระตุ้นนักท่องเที่ยวช่วงไตรมาสสุดท้าย เข้าไปบอกกล่าวให้ที่ประชุมบอร์ดรับฟัง
“ที่ผ่านมา ททท.ก็มีการแต่งตั้งตำแหน่งที่ปรึกษามาหลายครั้ง ซึ่งดูไม่สมเหตุสมผลมากกว่านี้อีก เพราะครั้งนี้เราเลือกจากคนที่มีความรู้ความสามารถด้านการวางแผน ซึ่งนายอักกะพลมีประสบการณ์งานด้านนี้ถึง 30 ปี ภาระกิจหลัก ต้องมาดูแลเตรียมความพร้อมการเปิดเสรีอาเซียน และ การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคอินโดจีน รวมถึงการเตรียมผ่องถ่ายภารกิจลงสู่องค์กรท้องถิ่นตามของบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 50 ดังนั้นแล้ว นายอักกะพล จึงเหมาะสมที่สุด
***อ้างวีระศักดิ์ลาออกเพราะเงินเดือนน้อย***
สำหรับประเด็นการลาออกของนายวีระศักดิ์ เป็นเพราะตำแหน่งประธานบอร์ด ททท. ได้รับเพียงค่าตอบแทนเดือนละไม่กี่หมื่นบาท ไม่พอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว ทำให้ นายวีระศักดิ์ ต้องมองหางานเพิ่ม ซึ่งก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา(ITD) ในวันที่ 1 ต.ค.52 มีรายได้เดือนละ 1.6 แสนบาท
ก่อนหน้านี้นายวีระศักดิ์ เคยพูดว่าจะขอลาออก เมื่อท่องเที่ยวทรุดหนักเพราะการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง จึงอยู่ช่วยงานต่อ ตำแหน่งของนายวีระศักดิ์จะหมดวาระ 13 ธ.ค.ศกนี้ เพราะเป็นตำแหน่งที่นับอายุต่อเนื่องจากประธานบอร์ดคนก่อนเพื่อให้ครบเทอม 2 ปี ซึ่งจะเหลืออีก 2 เดือนเศษ ดังนั้นการแต่งตั้งประธานบอร์ด ททท.จะต้องมี 2 วาระ คือ ตั้งเพื่อทำงานต่อจากคนเก่า และ
ตั้งเพื่อเริ่มนับเทอมใหม่
ขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกบุคคลที่มาดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด ททท. คาดว่าไม่เกิน วันที่ 7 ต.ค.นี้ทราบผล กรรมการในบอร์ดททท.เป็นผู้ทรงคุณวุฒิมากมายระดับปลัดกระทรวงขึ้นไปทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้ที่จะมารับตำแหน่งนี้ต้องอยู่ในระดับเดียวกันหรือสูงกว่า อาจเป็นอดีตปลัด หรืออดีตรัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการก็ได้ ซึ่งทาบทามไว้ 2-3 คนแล้ว
*****เล็งแก้กฎหมายปรับผู้รับตำแหน่งปธ.บอร์ด***
นอกจากนั้นยังอยู่ระหว่างการวบรวมข้อมูลของผู้ที่รับตำแหน่งประธานบอร์ด ซึ่งศึกษาจากการท่องเที่ยวของในหลายๆประเทศ ว่าส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใดดำรงตำแหน่ง
ส่วนกรณีที่มองว่าการเมืองเข้าไปแทรกแซงการดำเนินงานของ ททท.นั้น เห็นว่าตามกฎหมายรัฐมนตรีมีอำนาจ 4 ข้อ คือ 1.แต่งตั้งประธานบอร์ด ททท. และผู้ทรงคุณวุฒิในบอร์ด 2.อำนาจยับยั้งมติบอร์ด 3.เป็นผู้นำเรื่องของ ททท.ส่งไปยังคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา และ4.แต่งตั้งรักษาการผู้ว่า ททท. ส่วนความรับผิดชอบจะต้องเป็นทั้งแพะและแกะ ที่ต้องตกเป็นจำเลยของสังคมเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะมีการแก้ไขกฎหมายตำแหน่งประธานบอร์ด
**สหภาพฯขู่ใช้อารยะขัดขืนร้องบรรหารตัดสิน******
ด้านนายประเสริฐ วรพิทักษ์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สรทท.) เปิดเผยว่า สหภาพฯ จะให้เวลาบอร์ด ททท. ทั้ง 14 คน ถึงวันนี้(2 ต.ค.52) เพื่อตอบกลับมาว่าจะนัดประชุมเร่งด่วนยับยั้งมติบอร์ดฯเมื่อวันที่ 15 ก.ย.52 หรือไม่ หากไม่ได้รับคำตอบ พนักงานททท จะใช้วิธีอารยะขัดขืน รวบรวมรายชื่อพนักงาน ยับยั้งมติบอร์ด ททท.ส่งถึงนายบรรหาร ศิลปอาชา
อดีตนายกรัฐมนตรี พิจารณาตัดสิน เพราะเห็นว่า หากส่งให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน อาจไม่มีความคืบหน้า เพราะไม่ต้องการก้าวก่ายการทำงานของพรรคการเมืองที่ดูแล
ขณะที่นายนิกร จำนง ที่ปรึกษารมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้จัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ยืนยันไม่ขอรับตำแหน่งประธานบอร์ด ททท. ตามที่เป็นข่าวลือ